หน่วยงานระดับชาติที่ทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณผู้ประกอบอาชีพ คืออะไร

จรรยาบรรณของวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตัวเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ต่อการพัฒนาทางวิทาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกายวาจา และจิตใจ
6. ผู้ประกอบวิชาการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และรับบริการ
7. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
9. ผู้ประกอบวิชาชีพการศึกษา พึงปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษา ผลประโยชน์ของส่วนร่วม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ความหมาย

จรรยาบรรณวิชาชีพครู
คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ
ความสำคัญ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ
๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
๓. พัฒนาวิชาชีพ
ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครู จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
๒. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
๓. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
๔. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)

จรรยาบรรณนักขาย
จรรยาบรรณนักการขาย
หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการขายกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของนักการขาย
ดังนั้น จรรยาบรรณ (Morals) และจริยธรรม จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำนึกที่ถูกต้องทางศีลธรรมที่พนักงานขายพึงมี
จริยธรรม มีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพการขาย ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมมาตรฐานการประกอบอาชีพงานขาย
2. เป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพให้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
3. เป็นสิ่งที่ใช้ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ
4. เป็นสิ่งที่ใช้ส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพผู้ผลิต
5. เป็นสิ่งที่ใช้ลดปัญหาต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น ลดปัญหาการหลอกลวง คดโกง

ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
นักขายทุกประเภทที่เป็นมืออาชีพ ต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจในการให้บริการช่วยเหลือ
ลูกค้าแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการ เป็นผู้ติดตามการร้องเรียนอย่างรวดเร็ว

จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน
หมายถึง ระบบของพฤติกรรมที่พึงปารถนาในการทำงานของข้าราชการ เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติ/ผู้รับผลประโยชน์หรือโทษ (ผู้รับบริการ) สถานการณ์การทำงาน / กระบวนการทำงาน (ผลงาน)
จรรยาบรรณต่อตนเอง
- มีศีลธรรม ประพฤติตนเหมาะสม
- ใช้วิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาประโยชน์
- มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
- สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ
- ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังความสามารถรวดเร็วขยันหมั่นเพียร ถูกต้อง สมเหตุสมผล
- ตรงต่อเวลา ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
- ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน
- ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำ
- เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง
- สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่
- สุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษย์สัมพันธ์
- ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม
- ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจสุภาพ อ่อนโยน
- ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
- ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยจากผู้มาติดต่อราชการ

จรรยาบรรณของประชาชนต่อสังคม
คำว่าจรรณยา หมายถึง ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ และคำว่าจรรยาบรรณของคน นั้นจะหมายความถึงว่าอะไร อาจหมายถึงความประพฤติของคนที่พึงกระทำแก่กัน หลายคนอาจเคยได้ยินคำพูดที่ว่า
“คนนี้เป็นคนที่มีจรรยาบรรณ” หรือว่าจะเป็น “คนนั้นช่างเป็นคนที่ไม่มีจรรยาบรรณเสียเลย” คำว่าจรรยาบรรณ ใน ปัจจุบันดูเหมือนว่าความหมายของมันดูจะผิดเพี้ยนไปมาก โดยที่ถ้าใครทำถูกใจก็มักจะมองดูว่าเป็นคนดี เป็นคนที่มีจรรยาบรรณ แต่หากใครทำไม่ถูกใจก็ดูเหมือนจะเป็นคนไม่ดีไปเสียหมด ดังนั้นด้วยเหตุนี้เองจึงแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปในสังคม คนเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นนึกถึงแต่ตนเอง และในขณะเดียวกันเพื่อให้ตนเองอยู่รอด ทำให้เกิดกลุ่มคนที่ชอบประจบประแจงกันมากขึ้น แล้วความจริงคืออะไร แล้วความถูกต้องที่แท้จริงคืออะไร หลายคนอาจจะมีคำตอบในใจว่า “ ก็ถูกใจ” และเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตนเองและพวกพ้อง ความโปร่งใสก็มักจะหายไป ตัวอย่างเช่น ตำรวจ หลายคนรับสินบนใต้โต๊ะ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หรือไม่อยากมีปัญหากับผู้ที่มียศสูงกว่า แพทย์รักษาคนไข้ด้วยความไม่ซื่อสัตว์เนื่องจากต้องการมีรายได้จำนวนมาก ครูเอาใจใส่เด็กแตกต่างกันเนื่องจากได้รับสิ่งของตอบแทนที่แตกต่างกัน ลองคิดตามดูนะคะว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ประเทศของเราจะเป็นอย่างไร จรรยาบรรณของคนเริ่มที่จะถูกกัดกร่อนไปทีละเล็กทีละน้อย รุ่นสู่รุ่นและในที่สุดก็จะไม่เหลือเลย แล้วใครล่ะคะที่จะได้รับผลกระทบที่เลวร้ายของมัน ก็คนทุกๆคนนั่นแหละค่ะ เราจะอยู่กันอย่างแข่งขันกันสูง ใครมีเงินมากคนนั้นก็ได้ในสิ่งที่ต้องการ ส่วนคนที่ไม่มีเงินก็แทบไม่ต้องหวังถึงความยุติธรรมเป็นจรรยาบรรณเพราะมันไม่มีเหลือสำหรับใคร
หลายคนอาจคิดว่ามันมากไปรึเปล่า หรือฉันอาจจะไม่เจอเรื่องแบบนี้กับตนเองหรอก แต่ลองสำรวจดูรอบๆข้างตัวคุณ เหตุการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มเกิดขึ้นแล้ว ลองคิดดูนะคะว่าหากมนุษย์ไม่มีจรรยาบรรณแล้วจะยังคงเป็นสัตว์ประเสริฐอยู่หรือไม่ มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับตัวทำลาย ไม่ว่าจะเป็น ทำลายประเทศชาติของตนเอง ทำลายโลกด้วยความเห็นแก่ตัว และที่สำคัญที่สุดก็คือทำลายตนเอง
ที่ว่าทำลายตนเองก็เพราะ มนุษย์ได้เกิดมาเป็น คน หากแต่ไม่มีจรรยาบรรณความเป็นคนเพื่อที่จะพิสูจน์ความเป็นคน ของตัวเอง หากแต่ใช้เพียง ความโลภ ความพอใจของตนในการดำเนินชีวิต ไม่มีคำว่ายุติธรรม ไม่มีคำว่าสงสาร ไม่มีคำว่าแบ่งปัน สิ่งเดียวที่คนเหล่านี้รู้จักคือ “ ฉันเกิดมาเพื่อเงิน เพื่ออำนาจ” ไม่มีคำว่าถูกต้อง มีเพียงแต่คำว่าพอใจ ขอทิ้งท้ายด้วยคำถามสั้นๆนะคะว่า “คำว่าพอใจของคนนั้นมันสิ้นสุดเมื่อใด”

จรรยาบรรณทางการแพทย์
จรรยาบรรณแพทย์ (medical ethics) เป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์ประยุกต์ (applied ethics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ (Ethics) ในวิชาปรัชญา (Philosophy) วิชานี้นำเสนอวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์และพยาบาลควร ปฏิบัติต่อคนไข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แต่ละประเทศก็จะมีองค์ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง องค์ความรู้ที่ตกผลึกในสังคมตะวันตกนั้น ได้แนะนำให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้
* เน้นประโยชน์ผู้ป่วยสูงสุด (beneficence)
* สิ่งที่จะทำต้องเน้นไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายใดๆ เพิ่มขึ้น (Non-maleficence)
* ผู้ป่วยมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะรู้สาเหตุและอาการป่วยของตัวเองและเลือกวิธีรักษาตามความเหมาะสม (Autonomy)
* การรักษาต้องอาศัยความบริสุทธิ์ยุติธรรมไปตามสมุฏฐานโรคของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างแท้จริง (Justice)
* ทั้งผู้รักษาหรือผู้ดูแลพยาบาลและคนไข้ต่างมีเกียรติและสมควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีเกียรติ (dignity)
* แพทย์และพยาบาลต้องไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย และควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความหนักเบาของอาการป่วยตามความจริง แต่ทั้งนี้ ต้องดูความเหมาะสมอย่างอื่นประกอบ เช่น สภาพจิตผู้ป่วยด้วย (Truthfulness and Honesty)
นอกจากหลักปฏิบัติเหล่านี้แล้ว ผู้บรรยายวิชานี้ จะนำองค์ความรู้จากศาสนาและวัฒนธรรมท้อง ถิ่นให้เห็นว่าคล้ายคลึงหรือแตกต่างจากองค์ความรู้ในประเทศตะวันตกอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล

จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
๑.๑ ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
๑.๒ ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
๒. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
๒.๑ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
๒.๒ ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
๒.๓ รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
๓.๑ ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
๓.๒ ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
๓.๓ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม
๔. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
๔.๑ ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
๔.๒ ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
๔.๓ ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๕. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
๕.๑ รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
๕.๒ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

จรรยาบรรณของนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนิน
งานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษา
ค้นคว้าให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น
ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหา
ทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณี ในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงานที่
สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณี และข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลา
ทำงานวิจัย ให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงาน ระหว่างดำเนินการ
3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ
หรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกัน ปัญหา
การวิเคราะห์ การตีความ หรือ การสรุป ที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ต่องานวิจัย
4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต
นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคน
สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม
ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึง ผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรี ของ
เพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัย แก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่
หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียง ทางวิชาการ อาจส่งผล
ให้มีการ บิดเบือนข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย
7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และสังคมไม่ขยายผลข้อค้นพบ จนเกิน
ความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัย ไปในทางมิชอบ
8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล และขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผล
ทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข งานวิจัยของตนให้ถูกต้อง
9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
นักวิจัยพึงมีจิตสำนึก ที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อ
ความเจริญ และประโยชน์สุข ของสังคมและมวลมนุษยชาติ

จรรยาบรรณนักบัญชี
เมื่อกล่าวถึงนักบัญชี ทุกคนคงนึกถึงคนที่ต้องทำงานคลุกคลีอยู่กับตัวเลข และเอกสารหลักฐานต่างๆ ทางการเงินของบริษัท เป็นคนที่มียึดมั่นในหลักการ และทำตามขั้นตอนที่เป็นแบบแผนอยู่ตลอดเวลา สำหรับผู้ที่เรียนมาทางด้านการบัญชี และต้องการทำงานในด้านนี้ มีคำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีซึ่งนักบัญชีทั้งหลายพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด

1. ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
2. ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
3. ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
4. มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และ การนำความรู้และประสบการณ์ที่นักบัญชีมีอยู่มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน พัฒนางานของฝ่ายบัญชีให้สามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหารและฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ นักบัญชีควรจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ล้าสมัยและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งได้
6. กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
7. ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
8. เปิดใจให้กว้าง การทำงานร่วมกับบุคลากรจำนวนมาก ๆ นั้นมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไป ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบเห็นก็คือ นักบัญชีบางรายใจแคบไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การให้คำแนะนำ การเสนอแนะจากบุคคลอื่น มักจะคิดว่าสิ่งที่ตนเองได้ทำไปแล้วนั้นถูกต้องเสมอหากแต่บางครั้งอาจจะมีข้อผิดพลาดที่ตนเองทำเอาไว้ หากมีบุคคลอื่นแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขก็ควรจะนำมาพิจารณาปรับปรุงหรือเป็นแนวความคิดที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานของฝ่ายบัญชีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
9. เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด รวมทั้งหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะได้นำมาพัฒนาปรับปรุงองค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การหาความรู้เพิ่มเติมอาจจะมีการศึกษาในสถาบันศึกษาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม หรืออาจจะซื้อหาตำรามาอ่านเพิ่มเติมตลอดจนอบรมหรือสัมมนา
10.รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหา เมื่อมีการทำงานมีปัญหาเกิดขึ้นจะต้องมีการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น แนวทางการแก้ปัญหาให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ควรจะมีการวิเคราะห์รากเหง้าของปัญหาว่าเกิดจากอะไร แล้วมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อนักบัญชีพบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วแก้ปัญหานั้นเสร็จสิ้นหากไม่มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาเหล่านั้นก็อาจจะเกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อยเพราะรากเหง้าของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข
คุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ได้มีติดตัวมาแต่กำเนิดแต่อย่างใด หากใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีที่ดีแล้วล่ะก็เริ่มต้นสร้างมันตั้งแต่วันนี้ ไม่มีสิ่งใดยากเกินความตั้งใจของเราอยู่แล้ว

จรรยาบรรณของนัก ธุรกิจ
จรรยาบรรณ (Ethics) ไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นข้อที่ควรปฏิบัติสำหรับอาชีพใดอาชีพหนึ่งเช่นแพทย์ ไม่ควรเปิดเผยความลับของคนไข้ เพราะผิดจรรยาแพทย์ เป็นต้น สำหรับการประกอบธุรกิจ ก็เช่นกัน ผู้ประกอบธุรกิจควรที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่เขาอาศัยอยู่ เช่น
1. การให้สิ่งที่ดีต่อสังคม การผลิตสิ่งของที่ดีมีคุณภาพให้กับสังคม การไม่ปลอมปนสินค้า ความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าที่ผลิตออกไป การเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่มีอันตรายในการผลิตสินค้า
2. ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน ลดการเอารัดเอาเปรียบคนงาน ควรจ่ายค่าจ้างการทำงานและสวัสดิการในด้านการบริโภค การปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด
3. สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง เช่น งานก่อสร้าง งานการเกษตร งานให้บริการต่าง ๆ งานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่เป็นการช่วยสังคมไม่ให้มีการว่างงาน
4. การกำหนดราคาสินค้า ไม่ควรกำหนดสูงไปเพื่อหวังกำไร แต่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสม การไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
5. ป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษ เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุด ในทางธุรกิจอุตสาหกรรมก็คือสิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเกิดมลภาวะอากาศเป็นพิษ น้ำเสีย ของเสียที่ทับถมบนพื้นดิน
สภาพแวดล้อมที่ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ โดยจัดระบบการจำกัดและป้องกันให้เหมาะสม
6 . ให้ความสนับสนุนการศึกษา ธุรกิจจะต้องให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐ และเอกชน อาจทำได้โดยการให้ทุนการศึกษา กู้ยืมเงิน การฝึกงานดูงานของนักศึกษา เชิญผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายให้นักศึกษาฟัง
7. ให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและนันทนาการ ควรช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ และให้บริการด้านต่าง ๆ ของสังคม เช่น ลูกเสือชาวบ้าน การกุศล กิจกรรมต่าง ๆ
ความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งต้อง ปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบการทางธุรกิจ จะต้องมีคุณธรรม มีความยุติธรรม ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมอันเป็นส่วนรวมอีกด้วย

จรรยาบรรณนักเขียน
คุณสมบัติของนักเขียนที่ดี
วันนี้เราจะมาให้คุณได้เตรียมตัวเตรียมใจกันก่อนสำหรับการจะเป็นนักเขียน หลาย ๆ คนอ่านถึงตรงนี้อาจมีความคิดจะกดปิดหน้านี้ทิ้งไป แต่... ช้าก่อน การจะเป็นมืออาชีพทีดีได้เราจะต้องเริ่มต้นจาก o ไป ๑ ๒ ๓ และ ๔ อย่าคิดจะกระโดดข้ามขั้นเพราะนั่นจะทำให้เราพลาดสิ่งดี ๆ หลาย ๆ อย่างได้ ขอให้คุณใจเย็นและจงเรียนรู้ไปทีละขั้นแต่มั่นคง ดีกว่าก้าวกระโดดและล้มจนเจ็บตัว
๑. ตั้งใจ : คือ นักเขียนต้องมีความตั้งใจ (ตรงตัวเลยแฮะ) และรับผิดชอบในทุกข้อความที่ตนเองได้เขียนถ่ายทอดออกมาไม่ใช่เพียงตัวอักษรที่เรียงร้อยออกมาเป็นนิยายเท่านั้น แม้แต่ย่อหน้าหรือเว้นวรรคก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจของนักเขียนที่นักอ่านจะสามารถมองเห็นได้เหมือนกัน จุดประสงค์ของการเป็นนักเขียนไม่ใช่เป็นเพื่อเขียนอะไรสักเรื่องให้จบแล้วก็เลิกรากันไป แต่นักเขียนควรใส่ใจทุ่มเทในสิ่งที่เขียน และลงมือถ่ายทอดเรื่องราวในจินตนาการนั้นอย่างสุดความสามารถ หากมีความตั้งใจจริงคนอ่านจะรับรู้ได้ทันที แต่หากไม่มีความตั้งใจก็คนอ่านนั้นอีกแหละที่จะรู้และจะปิดนิยายคุณลงตั้งแต่สองบรรทัดแรก
๒. รับฟัง : คือ นักเขียนต้องรู้จักที่จะรับฟังคำวิจารณ์ของเพื่อนนักเขียนด้วยกันอย่างใจกว้าง เพราะไม่ว่านักเขียนจะมีฝีมือระดับไหน ก็สามารถมีข้อผิดพลาดได้เหมือนกัน (สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง) แม้แต่ความคิดเห็นของนักอ่านก็มีส่วนช่วยให้นักเขียนปรับปรุงแก้ไขนิยายของตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้ เพราะโดยส่วนมากนักอ่านมักจะเห็นข้อบกพร่องในบทความของนักเขียนมากกว่าตัวนักเขียนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว นักเขียนก็ต้องรู้จักใช้วิจารณญาณในการรับฟัง การที่เราจะรับฟังทุกอย่างแล้วนำมาปฏิบัติตามเสียหมด บางครั้งอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีทั้งต่อตัวเราและนิยายของเราก็ได้ จงอย่าสูญเสียความเป็นตัวเองเพราะคำวิจารณ์ แต่จงรู้จักนำคำวิจารณ์มาปรับใช้ให้เหมาะสมและอยู่ในความพอดี
๓. ใฝ่รู้ : คือ นักเขียนต้องรู้จักค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องมาพัฒนาการเขียนของตนเอง การเขียนนิยายโดยปราศจากข้อมูลจะทำให้นิยายคุณดูไร้สาระและแก่นสาร คนอ่านจะไม่รู้สึกสนุกไปตามนิยายของคุณเพราะมันดูช่างไม่มีอะไรเลย มีแต่พร่ำบ่นในสิ่งที่ไม่มีหลักความเป็นจริงเอาซะเลย แม้แต่ในนิยายแฟนตาซีที่ใช้จินตนาการในการเขียนแล้ว ยังไงก็ต้องมีหลักความเป็นจริงปนเปอยู่ด้วยเสมอ เพราะฉะนั้นควรหาความรู้ใส่ตัวอย่างสม่ำเสมอ เพราะความรู้นั้นสามารถเติมเต็มได้ไม่มีวันหมด
๔. จรรยาบรรณ ครับ ไม่ว่าอาชีพไหน ๆ ก็ต้องมีจรรยาบรรณเป็นของตนเอง นักเขียนก็เช่นกัน นักเขียนที่มีจรรยาบรรณ ประการแรก คือ ไม่ลอก ไม่ลอกเอานิยายของคนอื่นมาแอบอ้างชื่อเป็นของตนเองนี่คือสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับนักเขียน หากคุณคิดจะทำแบบนี้ตั้งแต่เริ่มเขียนคุณก็หมดคุณสมบัติที่ดีของนักเขียนไปแล้วล่ะครับ ประการที่สอง คือ ไม่ทำผิดศีลธรรม ในที่นี้หมายถึงการเขียนนิยายที่ผิดต่อศีลธรรมความดี เช่น เขียนนิยายรักความรักระหว่างลูกชายวัย ๑๘ เป็นชู้กับแม่แท้ ๆ ของตัวเองวัย ๔๐ มันถือเป็นการเอาความรักระหว่างแม่ลูกมาดูถูกได้รุนแรงมากครับ อันนี้คือตัวอย่างของการเขียนที่ผิดศีลธรรมและไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน
ประการที่สาม คือ ไม่ใช้ภาษาวิบัติ นักเขียนที่ดีจะไม่ใช้ภาษาวิบัติในการเขียนนิยายเพราะนั้นเป็นการทำลายภาษาไทยและภาษานิยาย เพราะฉะนั้นนักเขียนไม่ควรใช้ภาษาวิบัติเขียนนิยายครับ
ประการสุดท้าย คือ ไม่เขียนสิ่งที่ทำร้ายจิตใจผู้อื่น นักเขียนทุกคนย่อมอยากให้คนอ่านรู้สึกมีความสุขเมื่อได้อ่านเรื่องราวที่เขียน แต่นักเขียนกลุ่มนี้คือนักเขียนที่ชอบเขียนทำร้ายจิตใจผู้อื่นซึ่งมันผิดจุดประสงค์ของการเป็นนักเขียน เช่น วันนี้เพื่อนคุณเจอพวกวิปริตแอบถ่ายรูปตอนเข้าห้องน้ำไปลงในเน๊ต พอตอนเย็นคุณกลับมาบ้านก็เลยอัพไดอารี่ประจานให้ชาวบ้านเค้าได้รู้เรื่องของเพื่อนคุณซะเลย แบบนี้แหละครับเรียกว่าเขียนเพื่อทำร้ายจิตใจผู้อื่น
๕. ความรับผิดชอบ แน่นอนไม่ว่าอาชีพไหน ๆ ความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญแต่ความรับผิดชอบที่เรากำลังจะอธิบายในที่นี้ หมายถึง ความรับผิดชอบต่อถ้อยคำทุกถ้อยคำในนิยาย ไม่ว่าคุณจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจแต่ก่อนจะโชว์ผลงานให้ใครได้อ่านหากนิยายของคุณได้สร้างความเดือดร้อนกับใครก็ตามคุณจะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่คุณเขียน ขอย้ำไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
๖. ความสุข มาถึงข้อสุดท้ายกันแล้วหลายคนอาจแอบคิดอยู่ในใจว่าการเป็นนักเขียนเนี่ยไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกันแฮะ ใช่ครับ ไม่ว่าอาชีพไหน ๆ ก็ต้องมีจุดง่ายจุดยากกันทั้งนั้น แล้วทำไมเป็นนักเขียนต้องมีความสุขด้วยล่ะ เพราะถ้าหากเราเขียนไปด้วยความทุกข์ไม่รู้สึกมีความสุขกับมันก็แสดงว่าคุณไม่เหมาะกับการเป็นนักเขียนแล้วล่ะ เพราะฉะนั้นจงมีความสุขกับการเขียนนะครับ
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ต้องยอมรับว่าคุณเป็นคนมีความตั้งใจและอดทนมากทีเดียวที่จะมาเริ่มเรียนรู้กันตั้งแต่ต้น เราขอให้คุณจงจำคำเหล่านี้ไว้ เมื่อใดที่รู้สึกว่าตัวเองหลงลืมไป ขอให้ย้อนกลับมาอ่านสิ่งเตือนใจนี้อีกครั้งและคุณจะพบว่าตัวเองก็เป็นนักเขียนที่ใช้ได้เลยทีเดียว

จรรยาบรรณวิศวกร
๑. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
บทบัญญัติในข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะกว้างเพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรม หรือลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี มีความภาคภูมิในในเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพของตนเอง
๒. ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ
บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ต้องรับผิดชอบในผลการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและ วิชาการ โดยจะต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของงานวิศวกรรม และหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานสาขาต่างๆ เป็นต้น
กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๓ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๔/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๔ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๓/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๕ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)
กรณีศึกษา ๖ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๔/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖)
กรณีศึกษา ๗ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)
กรณีศึกษา ๘ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๘/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๖)
๓. ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นกรณีที่มิใช่เรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ผู้ประกอบวิชาชีพได้กระทำการใดๆ อย่างไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น และไต่สวนแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง อาจลงโทษโดยไม่ใช้บทบัญญัตินี้ แต่ไปใช้บทบัญญัติตามข้อ ๑ คือกระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพแทนได้
กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๒/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗)
๔. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อื่นในด้านต่างๆ ใช้อำนาจหน้าที่อันเป็นการ บีบบังคับ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับงาน หรือบังคับผู้อื่นไม่ให้งานนั้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งนี้งานนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และบุคคลทั่วไปหากต้องเสียประโยชน์จากการกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย สามารถร้องเรียนกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น เพื่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาความผิดทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้
๕. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเมื่อได้รับงานจากผู้ว่าจ้างแล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง เสมือนกับที่วิญญูชนทั่วไปพึงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพในข้อนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผลประโยชน์อื่นที่มิควรได้ นอกจากค่าจ้างที่ได้รับทำงานให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะหากปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เอารัดเอาเปรียบผู้ว่าจ้างแล้ว ความเสื่อมศรัทธาต่อบุคคลและสถาบันแห่งวิชาชีพจะเกิดขึ้น บทบัญญัติในข้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลทั่วไปด้วย
๖. ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแข่งขันกันรับงานโดยการโฆษณา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยก เนื่องจากการแย่งงานกันทำ และส่งผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน
กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖)
๗. ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับงานโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมได้ อนึ่ง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะทำได้นั้น หมายถึงการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด และรวมถึงความสามารถที่ตนเองจะทำได้ตามความเป็นจริงด้วย
กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ ( คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๓/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ )

๘. ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร
บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อรับปฏิบัติงานแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับทำ เพราะหากปล่อยให้มีการละทิ้งงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้มีการประกอบวิชาชีพอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแห่งวงการวิชาชีพ
กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗)
๙. ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง
บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่สามารถรับปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้แล้ว ก็ไม่ควรลงลายมือชื่อเป็นผู้รับทำงานนั้น เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง และบุคคลภายนอกได้
๑๐. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองวงการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป เนื่องจากหากบุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสถาบันแห่งวิชาชีพได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในฐานะที่รู้ความลับของ ผู้ว่าจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และหน้าที่ที่จะไม่เปิดเผยความลับนั้น ถ้าเปิดเผยความลับโดยประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างก็ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
๑๑. ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี โดยมุ่งให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน
๑๒. ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน
กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๗/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗)

๑๓. ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
๑๔. ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับรายการคำนวณอันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
๑๕. ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้มีวิชาชีพเดียวกัน คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

จรรยาบรรณนักออกแบบ
2071102 บุคลิกภาพและจรรยาบรรณสำหรับนักออกแบบ 3(3-0-6)
Personality and Ethics for Designer
ศึกษาความหมายของคำว่าบุคลิกภาพ ขอบเขตและหน้าที่รวมทั้งจริยธรรมสำหรับนักออกแบบ องค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีบุคลิกภาพที่ต่างกัน การพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลและบุคลิกภาพทางสังคม เช่น การแต่งตัว การใช้ภาษาพูดและท่าทาง มารยาทและการเข้าสังคม การเป็นผู้นำ เพื่อใช้ในวิชาชีพการออกแบบ
Study the meaning of personality, extent and duty include the ethical behavior for designer, basic element of human personality, development of individual and social personality such as dressing up, speech and body language, manners and socialization, leadership for design profession. (Thienthaworn, 2007, p. 50)
สมรรถนะและคุณสมบัติที่ดีของนักออกแบบงานแสดงและนิทรรศการ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ด้านดังต่อไปนี้ (Thienthaworn, 2007, p. 128)
1. ทักษะการออกแบบจัดแสดงนิทรรศการ
มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติในการออกแบบงานนิทรรศการ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลางและสามารถประยุกต์ใช้กับนิทรรศการขนาดใหญ่ได้ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ จัดแสดงนิทรรศการจริงอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

2. ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ
มีความคิด ในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบการจัดแสดงและนิทรรศการที่มีรูปแบบที่แปลกใหม่ วิเคราะห์ และหาแนวทางในการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงาน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. นำเสนอผลงานการออกแบบ
การใช้คำพูด ท่าทาง อารมณ์ สื่อนำเสนอ อุปกรณ์ และการสร้างบรรยากาศแวดล้อม ประกอบในการนำเสนอผลงานการออกแบบ เพื่อให้ผู้รับฟังมองเห็นแนวคิด และผลงานการออกแบบ เกิดความเข้าใจและคล้อยตาม
4. การทำงานเป็นทีม
มีการวางแผนในการทำงานอย่างมีระบบ โดยแบ่งงานตามความสามารถและความถนัดของแต่ละคน มีการระดมความคิด แลกเปลี่ยนและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันภายในทีม โดยจุดมุ่งหมายหลักไม่ใช่แค่ทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมายให้สำเร็จแต่อย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงผลงานในภาพรวมที่ทุกคนร่วมกันทำ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. ประสบการณ์ในการทำงาน
แสวงหาประสบการณ์ด้านการจัดแสดงและนิทรรศการ การศึกษาดูงาน การเข้าร่วมสัมมนากับสถานประกอบการหรือนักออกแบบผู้มีประสบการณ์ การเข้าไปฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยมีนักออกแบบมืออาชีพคอยแนะนำ

จรรยาบรรณนักแต่งเพลง
“เพลงที่ดีควรจะเป็นเพลงที่ไม่มีคำหยาบคาย และไม่ลามกอนาจาร หรือเป็นเพลงที่ชักชวนไปทำอะไรไม่ดีงาม เพราะมันเป็นจรรยาบรรณของคนทำงานเพลง แต่เราก็ไม่สามารถจะบล็อกความคิดและควบคุมงานเพลงได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้ปกครองควรอยู่กับลูกในเวลาที่ลูกรับสื่อต่างๆ เหล่านี้ อย่าผลักหน้าที่ให้โทรทัศน์ และนักแต่งเพลงเป็นผู้เลี้ยงลูก ก็จะช่วยลดปัญหาด้านทัศนคติเชิงลบที่จะเกิดกับเด็กและครอบครัวได้”
ห้ามทำ
- การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน ของคุณเอง หรือ คนอื่นมาใช้
สามารถทำได้
- เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน

จรรยาบรรณผู้ประกาศข่าว
ก่อนที่จะทำความเข้าใจในเรื่องจริยธรรมสื่อมวลชน จะต้องเข้าใจบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนก่อน เพราะเมื่อพูดถึงสิทธิ เสรีภาพ แต่เพียงประการเดียว ก็อาจตีความได้ว่า สื่อมวลชนมีสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ในมาตรา ๔๕ อย่างไร้ขอบเขต และอาจมีมากกว่าผู้ประกอบอาชีพอื่นๆในสังคม แต่แท้จริงแล้ว สื่อมวลชนไม่สามารถใช้พื้นที่สาธารณะในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล หรือวิพากษ์วิจารณ์ ตามความต้องการ โดยไม่มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่นได้เลย
ความรับผิดชอบของนักข่าว
ในการปฏิบัติงานข่าวทุกแขนงย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน ในการนี้ นักข่าวพึงต้องมีความรับผิดชอบควบคู่ไปกับสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบที่สำคัญอย่างน้อย ๒ ประการ คือ
1.ความรับผิดชอบทางกฎหมาย
ในฐานะที่นักข่าวเป็นนายประตูข่าวสาร หรือเป็นด่านแรกในการทำงานข่าว ควรจะต้องศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยเฉพาะความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยคดีเด็กและเยาวชน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยความผิดฐานละเมิดต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และทางทำมาหาได้ ทั้งนี้เพราะความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นข้อจำกัด ในการใช้สิทธิ เสรีภาพประการหนึ่ง ภายใต้หลักประกันสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
สำหรับความผิดทางกฎหมายที่นักข่าว หรือบรรณาธิการจะต้องเผชิญอยู่เสมอ คือความผิดฐานหมิ่นประมาท ละเมิดต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และทางทำมาหาได้ของบุคคลอื่น ละเมิดอำนาจศาล นักข่าวจึงต้องระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำ การรายงานข่าวที่ต้องเคารพหลักการพูดความจริง
2.ความรับผิดชอบทางจริยธรรม
ความรับผิดชอบทางจริยธรรม (ethics) เป็นความรับผิดชอบที่ต้องใช้จิตสำนึก พิจารณาและใคร่ครวญถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นข่าว ญาติพี่น้อง และครอบครัว ในแง่ของการกำกับ ดูแลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้อยู่ในกรอบของจริยธรรมนั้น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะเป็นองค์กรหลักในการควบคุมการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สมาชิกใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน นอกจากนั้น องค์กรสื่อบางแห่ง เช่น กลุ่มเนชั่น โพสต์ ก็ได้ตราข้อกำหนด แนวทางประพฤติปฏิบัติในเรื่องจริยธรรมเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงรายละเอียดของการประพฤติที่พึงกระทำหรืองดเว้น เพื่อให้พนักงานใช้เป็นหลักในการทำงานด้วย

คำว่าจริยธรรม มาจากรากของคำว่า “จริยศาสตร์” เป็นคำที่ พลตรีศาสตราจารย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก สำหรับคำว่า ethics และถือเป็นศัพท์บัญญัติในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยและใช้คำว่า จริยธรรรมมากกว่าจริยศาสตร์ อาจสรุปได้ว่า จริยธรรมหมายถึงความเชื่อ ค่านิยม และหลักศีลธรรม ซึ่งแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการตัดสินว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทั้งนี้ หมายถึงแนวทางปฏิบัติของบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนที่สังคมเรียกร้องความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมสูง
ประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่มีการพูดถึงกันอยู่เสมอ ได้แก่
การรายงานข่าวที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น
ถึงแม้บางเหตุการณ์จะมีคุณค่าข่าวที่ควรนำเสนอ แต่ข่าวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่นทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ด้วยสไตล์การเขียน การเขียนเนื้อข่าวและความนำ การให้หัวข่าวหรือการใช้ภาพประกอบที่อาจสร้างความเจ็บปวดซ้ำๆให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายที่เป็นข่าวได้ หลายครั้งที่สื่อมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์ และมีเสียงเรียกร้องให้ใช้จิตสำนึกชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล นักข่าวจึงต้องใช้วิจารณญาณในการคัดเลือก และรายงานข่าวด้วย
ในหนังสือคู่มือจริยธรรม สำหรับทุกสื่อในเครือเนชั่นฯ Nation Way ผิดจากนี้ไม่ใช่เรา หมวด ๒ ว่าด้วยจริยธรรมของสื่อในเครือเนชั่นฯ ข้อ ๒.๑๐ เขียนไว้ว่า ในการเสนอข่าวหรือภาพ
ใดๆ ต้องหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส
ตัวอย่างเช่นนายตำรวจคนหนึ่ง นำผู้ต้องหาคดียาเสพติดมาแถลงข่าว โดยมีการเขียนข้อความตั้งวางไว้หน้าผู้ต้องหาว่า “อมนุษย์” ซึ่งแปลว่า ผู้ที่ไม่ใช่คน หมายถึงภูตผีปีศาจ การกระทำของตำรวจนายนั้นถือว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องหา เช่นเดียวกับ หัวข่าวของหนังสือพิมพ์ เมื่อมีการจับกุมตัวผู้กระทำความผิดอาญา หนังสือพิมพ์ ก็ใช้หัวข่าวตัดสินความผิดของเขาทันที เช่น พาดหัว หรือบรรยายภาพว่า ไอ้โหด เดนนรก ทั้งที่ในทางกฎหมาย ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลว่า เขาเป็นผู้กระทำผิดจริง ฉะนั้น นักข่าวหรือบรรณาธิการ พึงหลีกเลี่ยงที่จะตกเป็นเครื่องมือในการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นนั้น
ในหนังสือคู่มือจริยธรรม หมวดเดียวกัน ข้อ ๒.๑๑ ต้องไม่เสนอภาพที่อุจาด ลามกอนาจาร น่าหวาดเสียว หรือที่อาจละเมิดศีลธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ในช่วงเริ่มต้นของ คม ชัด ลึก มีข้อตกลงร่วมกันประการหนึ่งว่า หนังสือพิมพ์หัวสีฉบับนี้ จะไม่มีภาพที่สยอง และสยิว
คำว่าไม่สยอง หมายถึง หนังสือพิมพ์จะไม่ตีพิมพ์ภาพคนตาย ซึ่งเคยเป็นขนบของหนังสือพิมพ์หัวสียุคก่อนนั้น ที่นิยมนำภาพศพที่แสดงถึงสภาพน่าอเหน็ดอนาถ มาตีพิมพ์ไว้ที่หน้า ๑ เพื่อจูงใจให้คนอ่านตัดสินใจซื้อหนังสือพิมพ์ ส่วนคำว่า ไม่สยิว หมายถึงหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ จะไม่มีภาพโป๊ อนาจาร หรือภาพที่ส่อไปในทางเพศ นี่ก็เป็นหลักสำคัญอีกข้อหนึ่งในเรื่องจริยธรรม ในการนำเสนอข่าว
วิธีการหาข่าว
ในการทำข่าว นักข่าวควรต้องคำนึงถึงวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ข่าวสารนั้น เช่น การบุกรุกเข้าไปในบ้านของแหล่งข่าว การดักฟังหรือแอบบันทึกเสียงการติดต่อ สนทนาของผู้อื่น การสะกดรอยติดตาม และแอบถ่ายด้วยอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง การลอบถ่ายเอกสารข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เป็นวิธีการที่ไม่เป็นธรรม ที่เข้าไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น รวมทั้งการไม่แสดงตัวว่า เป็นนักข่าวขณะปฏิบัติหน้าที่
คู่มือจริยธรรมของสื่อในเครือเนชั่น หมวด ๑ ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ข้อ ๑.๖ เขียนว่า “ต้องใช้วิธีที่สุภาพและสุจริตในการหาข้อมูล ข่าวสาร และภาพต่างๆ” ข้อ ๑.๘ เขียนว่า “ละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ”
อคติส่วนตัวของนักข่าว
นักข่าวก็เป็นเช่นเดียวกับคนทั่วไป คือ อาจมีความเชื่อ หรือทัศนคติในเรื่องต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ศาสนา หรือมีความรู้สึกไม่พึงพอใจแหล่งข่าว ไม่ถูกชะตา หรืออารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ นอกเหนือเหตุผล ซึ่งในการทำข่าว นักข่าวจะต้องแยกแยะอคติส่วนตัวออกจากการรายงานข่าว
สิทธิส่วนบุคคล
สิทธิส่วนบุคคล (Right to Privacy) เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายและจริยธรรม บ่อยครั้งที่นักข่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำเสนอข่าวที่เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลต่างๆในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียง หรือบุคคลสาธารณะ (Public Figure) เช่น นักการเมือง ดารานักแสดง
นักร้อง นักข่าวมักจะเฝ้าติดตามเสนอข่าว ทั้งที่เรื่องราวส่วนตัวของเขาไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเลย
เรื่องของสิทธิส่วนบุคคล นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้น เนื่องจากปัญหาการตีความว่า แค่ไหน เพียงใดที่นักข่าวจะนำเสนอได้ในฐานะบุคคลสาธารณะ เพราะความเป็นบุคคลสาธารณะจะทำให้ความเป็นส่วนตัว (Privacy) น้อยลง แต่โดยหลักจริยธรรม บุคคลเหล่านี้ก็ยังได้รับความคุ้มครองในการใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่ดี ดังนั้นนักข่าวต้องแยกให้ออกระหว่างขอบเขตสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ของประชาชน โดยนักข่าวต้องยึดถือหลักการรายงานข่าวด้วยความรับผิดชอบทางจริยธรรม คือ มีความยุติธรรมต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าว ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่นำเสนอในข่าวต้องมีความถูกถ้วน
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือการเสนอข่าวบันเทิง ผู้บริโภคข่าวสารมักเข้าใจว่า ข่าวบันเทิง คือข่าว เรื่องราวชีวิตครอบครัวของดารา ข่าวรักๆใคร่ๆ ซึ่งในความเป็นจริง นั่นเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งสิ้น นิยามของความเป็นข่าวบันเทิง ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องบทบาทการแสดง หรือการที่ดาราบางคน เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต มีความใส่ใจในการศึกษา หรือมีจิตสาธารณะในการช่วยสังคม กลับปรากฏในพื้นที่ข่าวบันเทิงน้อยมาก

จริยธรรมในการสื่อข่าวและการเขียนข่าว
ในการสื่อข่าวและการเขียนข่าว ภาระหน้าที่ของนักข่าวในฐานะผู้แจ้งข่าวสาร คือการนำข้อเท็จจริงสู่สาธารณชน (The duty of journalists is to serve the truth) ดังนั้น นักข่าวควรต้องมีจริยธรรมในการสื่อข่าว และเขียนข่าว ดังนี้
1.ความเที่ยงธรรมและความเป็นภววิสัยในการรายงานข่าว
ตามหลักการสื่อข่าวได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติข่าวที่ดีไว้ว่า จะต้องมีความเป็นภววิสัย ปราศจากอคติและความรู้สึกส่วนตัวของนักข่าว ข่าวที่นำเสนอจะต้องเสนอเฉพาะข้อเท็จจริง มีความเที่ยงธรรม สมดุล ในกรณีที่เกิดการขัดแย้งเกิดขึ้น ต้องให้โอกาสในการชี้แจง และแสดงข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย ไม่ว่านักข่าวจะเห็นพ้องกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพสังคมที่ชัดเจน เที่ยงตรง ไม่บิดเบี้ยว

2.ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ของผู้บริโภคข่าวสาร
ปัญหาความเป็นส่วนตัวกับสิทธิในการรับรู้ของผู้รับสาร นักข่าวมักถูกท้วงติงจากสังคมว่า ปฏิบัติหน้าที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หรืออาจจะเป็นความรู้สึกที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในลักษณะมองต่างมุมระหว่างสังคม กับนักข่าว ซึ่งนักข่าวควรมีวิจารณญาณในการไตร่ตรอง ชั่งน้ำหนักในความเหมาะควรขณะปฏิบัติงานอยู่เสมอว่า การเสนอข่าวและภาพผู้ถูกคุกคามทางเพศ หรือการระบุชื่อบุคคลที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติมิตรทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า ผู้ถูกคุกคามทางเพศเป็นใคร การนำเสนอภาพเปลือยของผู้ตาย
หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งเสนอภาพเปลือยหญิงสาวที่ถูกข่มขืนในที่เกิดเหตุ ภาพเปลือยเดวิด คาราดีน ดาราฮอลลีวู๊ดที่ฆ่าตัวตายในตู้เก็บเสื้อผ้าโรงแรมปาร์คนายเลิศ อีกฉบับหนึ่งเสนอภาพเปลือยหญิงชาวต่างชาติถูกคลื่นสึนามิ พัดพาขึ้นไปค้างอยู่บนกิ่งต้นโกงกางในลักษณะที่อุจาดตา นี่ก็เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถึงแม้ว่าเธอทั้งสอง และเขาจะเสียชีวิตแล้ว
3.การใช้แหล่งข่าวปิด (Unidentified Sources)
บางครั้งนักข่าวอาจต้องใช้แหล่งข่าวปิด กรณีที่เป็นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยคุณลักษณะ (Identification) ของแหล่งข่าวได้ เนื่องเพราะอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของแหล่งข่าวและครอบครัว ซึ่งหากนักข่าวละเมิดสิทธิของเขาในการป้องกันตัวเองเท่ากับทำผิดหน้าที่ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้แหล่งข่าวปิดมากจนเกินไปอาจถูกตั้งข้อสังเกตหรือวิพากษ์วิจารณ์จากคนอ่านได้ ว่าอาจนำไปสู่การบิดเบือน หรือทำให้การนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ เพราะคนอ่านไม่แน่ใจว่า แหล่งข่าวนั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่
ในอีกแง่มุมหนึ่ง แหล่งข่าวอาจมีเจตนาให้ข้อมูลหรือความเห็นที่บิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือให้ร้ายแก่ผู้อื่น ในกรณีเช่นนี้ อาจมีผลถึงความน่าเชื่อถือได้
เพื่อไม่ให้สูญเสียความเชื่อถือ นักข่าวจึงไม่ควรเสนอข่าวที่เลื่อนลอย ปราศจากที่มา ข่าวลือหรือแผ่นปลิว ควรระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลอย่างชัดเจน เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิดเพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแหล่งข่าว โดยข่าวสารนั้นเป็นประโยชน์ และสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชนด้วย หรืออาจใช้วิธีอธิบายภูมิหลังของแหล่งข่าว เพื่อให้ผู้อ่าน ผู้ชมและผู้ฟังทราบความสัมพันธ์ หรือบทบาท ทัศนคติ แนวความคิดของแหล่งข่าว ต่อเหตุการณ์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
คู่มือจริยธรรมของสื่อในเครือเนชั่น หมวด ๒ ข้อ ๒.๘ เขียนว่า “ต้องไม่เสนอข่าวอย่างเลื่อนลอยปราศจากแหล่งที่มาที่ชัดเจน ข่าวลือหรือข่าวจากแผ่นปลิว พึงระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ หรือบุคคลที่ให้ข้อมูลอย่างเปิดเผย เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิด เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็นประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน” ส่วนข้อ ๒.๙ เขียนว่า “ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่งข่าวนั้นไว้ เช่นเดียวกับต้องปกปิดชื่อจริงของ ผู้ใช้ “นามปากกา” หรือ “นามแฝง” ในการเขียนหรือรายงานด้วย”
การเปิดเผยชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าว ในบางกรณี อาจมีผลถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเขาได้ เช่น เขาเป็นพยานสำคัญในคดี การเปิดเผยชื่อ อาจทำให้จำเลยหรือฝ่ายตรงข้ามถูกปองร้ายได้ หรือในบางกรณี การปกปิดชื่อจะทำให้เขาไม่ต้องเดือดร้อน กรณีที่ข้อมูล คำให้สัมภาษณ์จะเป็นผลต่ออาชีพการงานของเขา
4.การรับของขวัญจากแหล่งข่าว
แม้ว่าการรับของขวัญจากแหล่งข่าว จะเป็นสิ่งที่นักข่าวส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรม แต่ก็มีข้อถกเถียงกันว่า ของขวัญมีมูลค่าเท่าใดควรปฏิเสธ องค์กรข่าวบางแห่ง เช่น กลุ่มเนชั่น เขียนชัดเจนในประมวลจริยธรรมว่า ปฏิทิน ดินสอ พวงกุญแจ เป็นของขวัญที่มีค่าทางเงินเล็กน้อย สามารถรับได้ เพราะการปฏิเสธอาจทำให้ผู้ให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ แต่ถ้าเป็นของขวัญที่มีราคาสูง ควรส่งคืนทันที พร้อมอธิบายถึงหลักปฏิบัติและนโยบายของบริษัทอย่างสุภาพ อย่างไรก็ตาม นักข่าวต้องใช้วิจารณญาณ และสามัญสำนึกของการเป็นสื่อมวลชนที่ต้องทำหน้าที่เพื่อสังคมมากกว่าหวังประโยชน์ส่วนตัว
คู่มือจริยธรรม ของสื่อในเครือเนชั่น หมวดที่ ๖ ว่าด้วยสิทธิพิเศษและผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ข้อ ๖.๓ การรับของขวัญที่มีมูลค่า เขียนไว้ว่า ผู้สื่อข่าวไม่ควรรับของขวัญที่มีมูลค่าสูง หรือเรียกร้องการยกเว้นค่าที่พัก หรือขอราคาพิเศษในการซื้อสินค้า หรือการใช้บริการ หรือร้องขอสิทธิพิเศษอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปไม่ได้รับ
อย่างไรก็ดีหากเป็นของชำร่วยที่แจกตามงานแถลงข่าวที่มูลค่าไม่สูง เช่น พวงกุญแจ ที่ใส่ดินสอ ปฏิทิน และอื่นๆ อาจจะรับไว้ได้ แต่ต้องใช้วิจารณญาณและสามัญสำนึกของการเป็นสื่อมวลชน ที่ต้องทำหน้าที่เพื่อสังคมมากกว่าหวังประโยชน์ส่วนตน
5.การไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือแสดงตัวเป็นนักข่าวเพื่อใช้อภิสิทธิ์ หลีกเลี่ยงความผิด

แม้ว่าการไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าว ขณะกำลังทำข่าวจะเป็นข้อยกเว้น ในกรณีที่จะต้องมีการรวบรวมข้อมูล ข่าวสารในการทำข่าวเชิงสืบสอบ สอบสวน เนื่องจากการเปิดเผยตัวต่อแหล่งข่าวอาจทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ หรืออาจเกิดอันตรายได้ แต่ตามหลักจริยธรรมในการทำข่าวแล้วไม่ว่านักข่าวจะกำลังทำข่าวลักษณะใดก็ตาม นักข่าวต้องแนะนำตัวเองและแจ้งถึงวัตถุประสงค์ ของการสัมภาษณ์ให้แหล่งข่าวทราบ ไม่ควรทำให้แหล่งข่าวประหลาดใจว่า ทำไมคำพูดของเขาจึงไปปรากฏเป็นข่าวได้
ในอีกกรณีหนึ่ง การแสดงตัวเป็นนักข่าว เพื่อใช้อภิสิทธิ์ในการได้รับบริการสาธารณะก่อนบุคคลอื่นๆ หรือการใช้ความเป็นนักข่าวอวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่ชอบธรรม ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักจริยธรรมด้วย
6.การขัดกันในด้านผลประโยชน์ สิทธิพิเศษและผลประโยชน์ทับซ้อน
ปัญหาการทำข่าวโดยมีการแอบแฝงในเรื่องผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) มักจะถูกท้วงติงจากสังคมเรื่องความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของนักข่าวอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการรับเชิญไปทำข่าวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ตามคำเชิญของแหล่งข่าว การได้ข้อเสนอเป็นหุ้นราคาพาร์หรือหุ้นราคาถูกเป็นค่าตอบแทน การเขียนคำชมสินค้าหรือบริการ หรือกรณีที่นักข่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในแวดวงต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ โดยการเป็นสมาชิก กรรมการ หรือผู้ถือหุ้น
แนวทางในการปฏิบัติของนักข่าวในเรื่องนี้ คือ ในการรายงานข่าวหรือบทความอันสืบเนื่องจากการที่ได้รับเชิญจากแหล่งข่าว ในการรายงานข่าวควรมีการระบุให้ชัดเจนไว้ท้ายบทความ หรือรายงานชิ้นนั้นว่า ข้อมูลมาจากที่ใด และใครเป็นผู้จัดการในการเดินทางครั้งนั้น หรือกรณีที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำข่าวที่นักข่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย บรรณาธิการอาจเปลี่ยนให้นักข่าวคนอื่นไปทำข่าวแทน
7. ความสงสาร หรือเห็นใจในการนำเสนอข่าว
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่กระทบต่อจริยธรรมในการสื่อข่าวและเขียนข่าว คือ ความอึดอัดใจของนักข่าวกับแหล่งข่าวที่สนิทสนมหรือใกล้ชิด และนักข่าวถูกขอร้องให้ปกปิดหรือไม่ให้ระบุชื่อแหล่งข่าว ญาติมิตร หรือเพื่อนพ้องที่ตกเป็นข่าวเนื่องจากตายโดยผิดธรรมชาติ หรือมีการกระทำที่น่าละอายในการเสนอข่าว หรือขอให้ปิดข่าว เพราะกลัวว่าจะทำให้ตนเองเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออับอาย โดยนักข่าวเองก็รู้สึกอึดอัด และเกิดความขัดแย้งต่อภาระหน้าที่ของตน ขณะเดียวกันก็กลัวว่าหากไม่กระทำตามที่แหล่งข่าวขอร้อง ต่อไปอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือในครั้งต่อไปอีก แนวทางแก้ไขคือ นักข่าวควรปรึกษากับบรรณาธิการ เพื่อให้นักข่าวคนอื่นทำข่าวนั้นแทน
8. การนำเสนอข้อมูลที่กระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐ เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าตรวจสอบเอกสารราชการได้ แต่ข้อมูลความลับของราชการ หากเปิดเผยอาจมีผลต่อความมั่นคงของชาติได้ หรือการรู้ข้อมูลการลดค่าเงินบาท และนำไปเผยแพร่ก่อนประกาศกระทรวงการคลัง ทำให้มีการใช้ข้อมูลภายในไปเป็นประโยชน์ในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน
9. การเสนอข่าวที่พาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์
สถาบันกษัตริย์สำหรับประเทศไทยเป็นสถาบันสูงสุดที่ผู้คนให้การเคารพเทิดทูน การเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหวอย่างยิ่ง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนในวงกว้าง การเสนอข่าวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ไม่ระมัดระวัง ไม่เพียงมีผลให้ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งความแตกแยกของคนในชาติด้วย
ในสถานการณ์ความขัดแย้งของคนในสังคมปัจจุบัน มักมีการนำเรื่องสถาบัน มาเป็นเครื่องมือโจมตีกันเสมอ สื่อจึงพึงไม่ประมาท และใคร่ครวญก่อนเขียนว่าจะกลายเป็นสื่อในการขยายความขัดแย้ง หรือต้องรับผิดในข้อหาหมิ่นสถาบันหรือไม่
จริยธรรมในการสื่อข่าวและเขียนข่าวเป็นเรื่องที่นักข่าวต้องใช้วิจารณญาณและสำนึกของตนเอง ชั่งน้ำหนักระหว่างความเหมาะควร กับสิทธิเสรีภาพที่ได้รับ ด้วยเหตุว่า การกระทำผิดทางจริยธรรมจะไม่มีการกำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน แต่นักข่าวที่ไม่มีจริยธรรมมักจะถูกตำหนิจากสาธารณชน และผู้ร่วมวิชาชีพ

จรรยาบรรณนักแสดง
คืออาชีพของบุคคลที่แสดงหรือเล่นตามบทบาทในการแสดงสด นาฏกรรม ละคร ภาพยนตร์ โทรทัศน์ นักแสดงมักเล่นบทของตัวละครสมมติ แม้แต่เป็นเรื่องที่มีเค้าโครงจากความเป็นจริง นักแสดงสามารถแสดงเลียนแบบบุคลิกลักษณะของคนจริง บางครั้งนักแสดงอาจรับบทเป็นตัวเอง เช่น John Malkovich ในเรื่อง Being John Malkovich
นักแสดงนั้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นบุคคลเพศใด มาจากอาชีพอะไร หรือ อายุเท่าไหร่ แต่ขอให้เพียงมีความสามารถทางด้านการการแสดงออกทางหน้าตา อารมณ์และองค์ประกอบอื่นๆร่วม จึงได้เป็น นักแสดง โดยมาก คำว่า นักแสดง มักจะใช้ร่วมกับคำว่า ดารา เสมอไป
“ ถึงอย่างไรนักแสดงก็เป็นมนุษย์ หรือคนเหมือนกันกับเรา คำว่าจรรยาบรรณและจริยธรรมนั้นหากว่าตั้งมั่นในความดี ใฝ่ดี ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนอย่างตั้งใจ มันก็เหมือนกับว่าเรามีจรรยาบรรณในตัวอีกแบบหนึ่งเช่นกัน”

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf