มารยาทในการพูดแสดงความคิดเห็นที่สำคัญที่สุดคืออะไร

มารยาทในการพูดมีดังนี้

๑.พูดจาไพเราะ

๒.ไม่แย่งกันพูด

๓.พูดด้วยคำสุภาพไม่ยาบคาย

๔.พูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวน

๕.ไม่พูดแทรกจังหวะผู้อื่น

๖.พูดด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส

๗.ใช้ความดังของเสียงให้พอเหมาะ ไม่เสียงเบาหรือดังเกินไป

๘.ไม่พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น

๙.เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น

มารยาทในการพูด
มนุษย์จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ ทักษะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร คือ การพูด ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยจรรยามารยาท และคุณธรรมในการพูด การพูดโดยมีจรรยามารยาทและคุณธรรมในการพูด จึงเป็นการจรรโลงสังคมได้อีกทางหนึ่ง

มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก

การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัติมีดังต่อไปนี้

๑ ) ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย

เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารที่เหมาะสม


๒ ) ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี

ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาที่ดี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณีพูดในที่ประชุมเมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบแล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง


๓ ) ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง

เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้งต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน

๔ ) ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง

เมื่อพูดต่อหน้าที่ประชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้งไม่ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด


๕ ) ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ

เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม

มารยาทในการพูด

การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหา สมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะน่าฟังและพูดถูกต้องด้วย

มารยาทในการพูด

การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึงมารยาทที่ดีในการพูดด้วย
มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล

2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ

มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้

1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน

มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ

การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในที่สาธารณะนั้นย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไปมารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด

“มารยาทเป็นเรื่องสำคัญ”

ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล : ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม
     การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ : ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน
การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์ : ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม

การพูดที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูดในโอกาสใด หรือประเภทใด ผู้พูดต้องคำนึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้พูดได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูด มารยาทที่สำคัญของการพูดสรุป ได้ดังนี้

  1. ท่าทางในการยืน นั่ง ควรสง่าผ่าเผย การใช้ท่าทางประกอบการพูดก็มีความสำคัญ เช่น การใช้มือ นิ้ว จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายยิ่งขึ้น
  2. ต้องรักษามารยาทการพูดให้เคร่งครัดในเรื่องเวลาในการพูด พูดตรงเวลาและจบทันเวลา
  3. พูดเรื่องใกล้ตัวให้ทุกคนรู้เรื่อง เป็นเรื่องสนุกสนานแต่มีสาระ และพูดด้วยท่าทางและกิริยานุ่มนวล เวลาพูดต้องสบตาผู้ฟังด้วย
  4. ไม่ควรพูดเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง โดยไม่จำเป็น และไม่ควรพูดแต่เรื่องของตัวเอง
  5. ไม่พูดคำหยาบ นินทาผู้อื่น ไม่พูดแซงขณะผู้อื่นพูดอยู่ และไม่ชี้หน้าคู่สนทนา
  6. พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
  7. ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเป็นสำคัญ
  8. ไม่กล่าววาจาเสียดแทง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอบุคคลอื่น ควรใช้วิธีที่สุภาพเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น
  9. รักษาอารมณ์ในขณะพูดให้เป็นปกติ
  10. ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด
  11. หากนำคำกล่าวของบุคคลอื่นมากล่าว ต้องระบุนามหรือแหล่งที่มาเป็นการให้เกียรติบุคคลที่กล่าวถึง
  12. หากพูดในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ ควรกล่าวคำขอโทษ
  13. ไม่พูดคุยกันข้ามศีรษะผู้อื่น
  14. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน ดังพอประมาณ อย่าตะโกนหรือพูดค่อยเกินไป
  15. สีหน้า ท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด

หลักการของการพูด

มีผู้ให้หลักเกณฑ์ไว้หลายแบบด้วยกัน แต่ก็มีแนวคล้าย ๆ กันแต่จะขอยกแนวทางอย่างย่อ ๆ มาให้พิจารณาเป็นหลักยึด ดังต่อไปนี้

หลักสิบประการของสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย

  1. จงเตรียมพร้อม
  2. จงเชื่อมั่นในตัวเอง
  3. จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย
  4. จงพูดโดยใช้เสียงอันเป็นธรรมชาติ
  5. จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ
  6. จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด
  7. จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ
  8. จงใช้อารมณ์ขัน
  9. จงจริงใจ
  10. จงหมั่นฝึกหัด

ของฝาก

จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก “สุภาษิตสอนหญิง”

เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ

กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก “พระอภัยมณี”

          การสนทนา คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่สนใจร่วมกันความ คิดเห็นนั้นอาจจะเห็นพ้องต้องกัน คล้อยตามกันหรืออาจขัดแย้งกันก็ได้ การ สนทนาอาจจะมีบุคคลเพียงสองคนหรืออาจจะมีจำนวนเป็นกลุ่ม ซึ่งหากมีจำนวน มากขึ้นตามไปด้วย  เพราะแต่ละคนย่อมแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของ กลุ่มเพื่อนฝูง

          มนุษยสัมพันธ์   หมายถึง  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การที่จะมี สัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้นั้น ต้องเกิดจากความพึงพอใจ ความรักใคร่ ความศรัทธา และความจริงใจ ซึ่งการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ควรตั้อยู่บน องค์ประกอบดังต่อไปนี้

  1. ต้องรู้จักเข้าใจตนเอง
2. ต้องรู้ความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
3. ต้องสร้างแรงจูงใจ
4. ต้องทราบถึงวิธีการเอาชนะและครองใจคน

ข้อควรปฏิบัติในการสนทนา
  การสนทนาอาจสร้างความพึงพอใจ หรือความไม่พอใจให้เกิด แก่คู่สนทนาดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการ ขัดแย้ง ผู้สนทนาจึงควร ยึดหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

   1.  อย่าทำตัวเป็นผู้รู้ไปทุกเรื่อง หรือถ่อมตนจนเหมือนคนโง่
2.  อย่าแย้งพูดเพียงคนเดียว หรือฟังแต่เพียงอน่างเดียว
3.  ละเว้นเรื่องส่วนตัว
4.  ไม่ใช้วาจาเท็จ
5.  ไม่ใช้วาจายุยงให้ผู้อื่นแตกร้าว
6.  พูดชมเชยอย่างจริงใจ
7.  ไม่ต้องบทการสนทนา
8.  หลีกเลี่ยงวาจาหยาบคาย
9.  ขอโทษเมื่อกล่าวผิดพลาด
10. หลีกเลี่ยงการใช้เสียงที่ดังจนเกินไป
11. อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรม
12. อย่านินทา
13. อย่าบ่นไม่ชอบคนโน้นคนนี้
14. อย่าตั้งใจโต้เถียงอย่างเอาชนะ
15. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นบุพการี

ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทยประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทยโดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น

มารยาท คือ พฤติกรรมที่แสดงออก เป็นระเบียบแบบแผน การประพฤติที่ดีงาม แสดงถึงความสุภาพเรียบร้อย
     มารยาทการฟัง
– การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด
– ฟังด้วยความตั้งใจ มีสมาธิในการฟัง
– ตาควรมองที่ผู้พูด
– ไม่พูดคุยกับคนข้างๆ หรือส่งเสียงดัง
– ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร
ฯลฯ
     มารยาทในการดู
– ตั้งใจดู มีสมาธิในการดู
– ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
– นั่งหรือยืนดูในท่าทางที่สุภาพเรียบร้อย
– ไม่ลุกเดินไปมา
ฯลฯ
     มารยาทในการพูด
– การพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก ควรมาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือมาก่อนเวลา
– พูดจาสุภาพไพเราะ
– พูดให้ชัดเจน ได้ยินอย่างทั่วถึง
– ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด
ฯลฯ

 

มารยาทการพูดแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างไร *

๑. ผู้พูดจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี ๒. การแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรมีหลักการแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งและเชิง วิจารณ์ ๓. ใช้ภาษาสุภาพเหมาะสมกับโอกาส โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้งและเชิงวิจารณ์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้พูดและผู้ฟัง ๔. การแสดงความคิดเห็นใด ๆ ...

มารยาทในการพูดที่สำคัญที่สุดคือข้อใด

พูดได้ชัดเจน แต่ต้องไม่ดังเกินไป หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะก่อให้เกิดการโต้แย้ง ใช้คำพูดและแสดงกิริยาให้ผู้ฟังรู้สึกยินดีที่จะพูดด้วย ไม่แย่งพูดแต่ผู้เดียว ให้โอกาสคู่สนทนาได้พูดตามสมควร

มารยาทการพูดแสดงความคิดเห็นมีอะไรบ้าง

๑. ผู้พูดจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี ๒. การแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรมีหลักการแสดงความคิดเห็นใน เชิงขัดแย้งและเชิงวิจารณ์ ๓. ใช้ภาษาสุภาพเหมาะสมกับโอกาส โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นในเชิง ขัดแย้งและเชิงวิจารณ์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้พูดและผู้ฟัง ๔. การแสดงความคิดเห็นใด ๆ ...

สิ่งสำคัญของมารยาทในการพูดมีอะไรบ้าง

๑. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง ๒ ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน ๒. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ ๓. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์ ๔. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf