ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

กัมมสัทธา คือการเชื่อกรรม, เชื่อกฎแห่งกรรม, เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั่วหรือดีเมื่อกระทำไปแล้วโดยมีเจตนา จงใจทำ การกระทำนั้นย่อมเป็นกรรม และกรรมนั้นย่อมเป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีและผลร้ายสืบเนื่องต่อไป และเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนขอ

สาระธรรม


     

ศรัทธา ที่ถูกต้องในทางคำสอนของพระพุทธเจ้ามี 2 ระดับเท่านั้นเอง และไม่ยากด้วย สั้นนิดเดียว ในเมืองไทยเรา เวลาเราพูดถึงศรัทธาวัดโน้น วัดนี้  ศรัทธาหลวงพ่อรูปโน้น รูปนี้ ศรัทธาอาจารย์โน้น อาจารย์นี้ อย่างนี้ก็เป็นคำพูด อาจจะเป็นศรัทธาจริงๆ หรือไม่เป็นก็ได้ ถ้าเป็นศรัทธาจริง ๆ ก็ต้องเป็นธรรมะที่เป็นฝ่ายดี เป็น โสภณะ  ศรัทธาในอาจารย์ ศรัทธาในความดีที่เกิดขึ้นในตัวอาจารย์อันนี้ถือว่าเป็นศรัทธาอยู่ แต่ยังไม่ถูกต้องนักเพราะว่าไม่ได้เป็นไปเพื่อปัญญา  ไม่ได้เป็นไปเพื่อจะเป็นพระโสดาบัน  แต่ทางพุทธเราเป็นไปเพื่อพ้นทุกข์จึงเรียกว่าถูก ถึงแม้จะดี แต่ไม่เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ ก็ยังถือว่าผิดอยู่

     ศรัทธา ที่พูดกันในภาษาไทยโดยทั่วไปนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ศรัทธาจริงๆ ถ้าเป็นแบบลุ่มหลงอย่างนี้เป็นโมหะเป็นอวิชชา อาการเหมือนศรัทธาเลยที่จริงคือโง่นั่นเอง ไม่รู้เรื่อง  ศรัทธาที่เป็นตัวสภาวะจริงๆ เช่น ศรัทธาในคุณงามความดี อันนี้ถูกต้อง เห็นคนอื่นเขาทำดีก็มีศรัทธา ไม่ใช่ศรัทธาในคนนะ ศรัทธาในคุณงามความดี  ถ้าเชื่อ มั่นใจในคำสอนพระพุทธเจ้าก็เป็นไปได้ที่จะงดเว้นสิ่งที่ไม่ดี กระทำสิ่งที่ดีคุณธรรมอื่นๆ ทรัพย์อื่นๆ ก็จะได้ทำมาตามกำลังความเพียรของตัวเอง

      สรุป แล้วศรัทธาที่ถูกต้องเป็นศรัทธาเชื่อมโยงไปสู่ปัญญา ศรัทธาในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนธรรมะ สอนให้เข้าใจว่ามีแต่ธรรมะ ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีของตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีของเรา ไม่มีของเขา ไม่มีใคร ไม่มีของใคร มันเป็นของมันอย่างนั้น สิ่งต่างๆ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยมั่นใจในสิ่งที่พระองค์สอนเหล่านี้ ไม่เชื่อถือของขลัง ไม่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่หลงมงคล ตื่นข่าว มั่นใจเรื่องกรรม หวังผลที่มาจากเหตุมั่นใจในปัญญาของพระพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น จนกว่าจะมีปัญญาเห็นด้วยตัวเอง ทีนี้ก็จะมีความเลื่อมใสอันหยั่งลงอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ต่อไป ถ้าศรัทธาถูกต้องก็เป็นไปได้ที่จะเกิดความเพียร เกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาต่อไป
       ศรัทธาที่ถูกต้องในพุทธศาสนา คือศรัทธาที่เชื่อมโยงมาสู่ปัญญา โดยทำหน้าที่ถึงที่สุดตอนเป็นพระโสดาบัน เพื่อให้มีความมั่นใจได้ ปลอดภัย ไว้วางใจได้ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ที่แน่นอน ไม่มีทางตกต่ำ จะได้เป็นพระอรหันต์ในภายหน้าแน่นอน
                                  
                                       ขออนุโมทนา และขอขอบคุณญาติธรรมทั้งหลาย
                                                อาจารย์สุภีร์  ทุมทอง (ผู้บรรยาย )

                                 ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

-->

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนหลายตระกูล คนหลายประเภท คนละพันธุ์ ศาสนาพุทธถือระบบการศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดที่เคยปรากฏอยู่ในโลก ในศาสนาที่อยู่ในตระกูลนี้คุณธรรมหลักคุณธรรมใหญ่ไม่ใช่ศรัทธา คุณธรรมใหญ่ของเราคือปัญญา ถ้าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เน้นทางปัญญาไม่ได้เน้นทางศรัทธา แปลว่าศรัทธาไม่สำคัญอย่างนั้นหรือ? ไม่ใช่ แต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีไว้เพื่อเชื่อ แต่มีไว้เพื่อใช้ คำสอนพระพุทธองค์ เปรียบเทียบเหมือนเครื่องมือที่เราควรจะหรือต้องใช้ในการศึกษา ในการพัฒนาตน

ศรัทธาก็มีบทบาทสำคัญเหมือนกันแต่เราถือว่าศรัทธาต้องมีปัญญาคอยกำกับอยู่เสมอ ศรัทธาขาดปัญญาก็่ล่อแหลมต่ออันตรายสองอย่าง หนึ่งคือความงมงาย สองคือความบ้าคลั่ง ทุกวันนี้ในโลกปัจจุบันคนทำความชั่วไปฆ่า ศาสนา หรือว่าทำด้วยศรัทธาคงไม่บาป แต่พุทธศาสนาเราถือว่าถ้ามีเจตนาจะเบียดเบียนไม่ได้ด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม เจตนาจะเบียบเบียนเป็นตัวบาป บาปอยู่ที่เจตนา ผลก็เป็นแค่ตัวตัดสินว่าบาปมากหรือบาปน้อย ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาของเรามีเครื่องวัด คือตัดสินว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง อยู่ที่การกระทำ เราถือว่าการกระทำเป็นใหญ่ พระพุทธองค์จึงตรัสเรียกพระธรรมวินัยของพระองค์ว่าเป็นศาสนาประเภท “วิริยวาท” วิริยวาทแปลว่าเป็นศาสนาที่ถือวิริยะ ความเพียรหรือการกระทำเป็นใหญ่

งั้นศรัทธาของชาวพุทธคือศรัทธาความเชื่อในการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าศรัทธา โพธิสัทธา แต่ความเชื่อเช่นนี้ไม่ใช่เชื่อแล้วจบ เพราะความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าคือความเชื่อในการตรัสรู้ของมนุษย์คนหนึ่ง พระองค์ตรัสรู้พระโพธิสัตว์ยังเป็นคนอยู่ เป็นคนมีบุญบารมีอย่างยิ่งก็จริงแต่ก็ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า งั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่งและได้พิสูจน์ถึงศักยภาพของมนุษย์ที่จะบรรลุธรรมด้วยความพากเพียรพยายามของตน เจ้าชายสิทธัตถะจึงบรรลุ คล้ายๆเป็นผู้แทนของมนุษย์ เราถือว่าความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะตรัสรู้ธรรม

เราเห็นผลต่อไปข้อที่สำคัญที่สุด ก็ในเมื่อพวกเราทั้งหลายเป็นมนุษย์ ด้วยการถือว่าเราทุกกคนมีส่วน ทุกคนมีศักยภาพในการบรรลุธรรม ไม่ว่าเราเป็นชาวตะวันตก ชาวตะวันออก ผู้ชาย ผู้หญิง เกิดเป็นมนุษยแล้วถือว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่จะบรรลุธรรม งั้นจากความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สติปัญญาจะนำไปสู่ความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะตรัสรู้ ขั้นสุดท้ายนำไปสู่ความเชื่อในศักยภาพของตัวเองที่จะตรัสรู้ธรรม

หรือพูดอีกนัยนึงก็คือเราเชื่อว่าข้าพเจ้าสามารถล้างบาปทั้งปวงได้ ข้าพเจ้าสามารถทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมได้ ข้าพเจ้าสามารถชำระจิตใจของตนให้ขาวสะอาดได้ ทำได้ ควรทำ ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ งั้นศรัทธาของเราไม่ใช่ศรัทธาในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสองพันปีที่แล้วหรือศรัทธาในสิ่งที่มองไม่เห็น แต่เป็นศรัทธาว่าข้าพเจ้าละบาปได้และควรจะละ ถ้าเชื่ออย่างนั้นแล้วไม่พยามละบาปเรียกว่าศรัทธาปลอม ศรัทธาไม่แท้ แต่เราถือว่าเราเป็นชาวพุทธด้วยการละบาป เป็นชาวพุทธด้วยการบำเพ็ญกุศล เป็นชาวพุทธด้วยการชำระจิตใจของตน แล้วไม่มีความพยามเลยในการละบาปบำเพ็ญกุศลชำระจิตใจของตน สมควรหรือที่จะพูดว่าเป็นพุทธมามกะ เป็นพุทธศาสนิกชน

งั้นพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ไหน พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ทีวัดวาอาราม พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ในตู้พระไตรปิฏก พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ศรัทธาของสงฆ์อย่างเดียว พุทธศาสนาอยู่กาย อยู่ที่วาจา อยู่ที่ใจ ของชาวพุทธทุกคน เราทุกคนมีส่วนมีสิทธิ์ในการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา…”

แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างไร

สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้

ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาหมายถึงสิ่งใด

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วย เหตุผล ผ่านการกลั่นกรองแล้วจากปัญญา (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2551) ศรัทธาและการสร้างศรัทธาถือเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา นอกจากนี้ศรัทธามีลักษณะ 2 ประการ คือ 1) มีลักษณะทำใจให้ผ่องใส 2) มีลักษณะทำให้ แล่นไปด้วยดี ...

ศรัทธา หมายถึงอะไร มีกี่อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง *

[สัด-ทา] (สก. ศฺรทฺธา มค. สทฺธา) น. ความเชื่อถือ, ความเลื่อมใส, ความเห็นดี, ความไว้วางใจ, (ศน.) ทางธรรมจัดไว้เป็น ๔ อย่าง คือ ๑. กมฺมสทฺธา (เชื่อกรรม) ๒. วิปากสทฺธา (เชื่อผลของกรรม) ๓. กมฺมสฺสกตาส... (อ่านต่อ...)

พระพุทธศาสนาสอนให้ศรัทธาในเรื่องใด

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงศรัทธา คือ หลักศรัทธา 4 ซึ่งหมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ประกอบด้วย 1. กัมมสัทธา คือ เชื่อในกฏแห่งกรรม 2. วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม 3. กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf