สินค้า (Goods) หมายถึงอะไร

Goods หรือ สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร? สินค้าในทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง

สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ คือ สินค้าที่แบ่งประเภทตามลักษณะตามเงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์บางอย่าง เช่น ปริมาณความต้องการซื้อ ปริมาณความต้องการขาย ราคา และทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้าดังกล่าวขึ้นมา

สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ จะมีอยู่หลายประเภทมากๆ มากกว่า 10 ประเภทและอาจจะมีบางชนิดที่ไม่ได้ถูกพูดถึงอยู่ในบทความนี้อีกด้วย

โดยเราได้อธิบาย สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ ไว้บ้างแล้วบางส่วน แต่ก็มีอีกส่วนที่ไม่ได้อธิบายแยกในบทความเดียว เนื่องจากเป็นสินค้าประเภทที่ไม่ค่อยซับซ้อนและไม่ได้เจอบ่อยๆ ซึ่งเราจะอธิบายทั้งหมดในบทความนี้

Merit Goods หรือ สินค้าบุญ

Merit Goods คือ สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นสินค้าหรือบริการที่เมื่อเกิดการบริโภค (โดยใครก็ตาม) จะทำให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค (หรือผู้ที่เกี่ยวข้องคนอื่นๆ) อย่างเช่น การศึกษา สาธารณูปโภค สาธารณสุข การดับเพลิง

และเพื่อทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสินค้าประเภท Merit Goods ได้ รัฐบาลก็จะมีส่วนในการควบคุมสินค้าเหล่านี้

Demerit Goods หรือ สินค้าบาป

Demerit Goods คือ สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ ที่ไม่ได้มีความหมายตรงข้ามกับสินค้าบุญโดยตรง (ตัดคำว่าบุญและบาปตามศาสนาออกไปก่อนจะเข้าใจได้ง่ายกว่า) โดยสินค้าบาป (Demerit Goods) คือ สินค้าที่มีผลด้านลบกับตัวผู้บริโภคเองและสังคม ตัวอย่างเช่น บุหรี่ สุรา ยาสูบ 

ทำให้ในทุกประเทศมีการควบคุมสินค้าเหล่านี้ด้วยภาษี ที่เรียกว่า ภาษีบาป (Sin Tax) เพื่อลดปริมาณการบริโภคสินค้าเหล่านี้ลง ด้วยการทำราคาให้สูงขึ้นด้วยภาษี

สำหรับหน่วยงานที่ควบคุมเกี่ยวกับ ภาษีบาป (Sin Tax) คือ กรมสรรพสามิต (ไม่ใช่กรมสรรพากร)

Free Goods

Free Goods คือ สินค้าไร้ราคา เป็นสินค้าฟรีในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงสินค้าที่ไม่มีค่าเสียโอกาสในการผลิตเกิดขึ้น หรือมีอยู่มากเกินความต้องการ

ตัวอย่างของ Free Goods ได้แก่ แสงแดด อากาศ และน้ำทะเล เป็นต้น

Public Goods

Public Goods คือ สินค้าที่ถ้าหากว่าเราบริโภคสินค้านั้นก็จะไม่ได้ทำให้เหลือน้อยลง (เรียกว่า non-rivalry) และถ้าหากว่าคนอื่นบริโภคก็ไม่ได้ทำให้สินค้าดังกล่าวลดลงเช่นกัน

นอกจากนี้ Public Goods จะเป็นสินค้าที่ไม่สามารถกีดกันให้ผู้บริโภคเข้ามบริโภคสินค้าชนิดนี้ (เรียกว่า non-excludability)

ตัวอย่างของ Public Goods คือ การเผยแพร่ภาพบนฟรีทีวี

Private Goods

Private Goods คือ สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นด้านตรงข้ามของ Public Goods ซึ่ง Private Goods ก็คือสินค้าที่หากเราบริโภคจะทำให้เหลือให้คนอื่นน้อยลง (Rivalry) และในทางกลับกันถ้าหากคนอื่นบริโภคมากขึ้น ก็จะเหลือมาถึงเราน้อยลงเช่นกัน

แต่ Private Goods จะเป็นสินค้าที่สามารถกีดกันไม่ให้ผู้บริโภครายใหม่เข้ามบริโภคสินค้าชนิดนี้ (เรียกว่า non-excludability)

Common Goods

Common Goods คือ สินค้าที่มีถ้าหากว่าเราบริโภคมากขึ้นจะทำให้เหลือไว้สำหรับคนอื่นน้อยลง (Rivalry) โดยที่ไม่สามารถกีดกันไม่ให้คนอื่นเข้าถึงการบริโภคสินค้านั้นได้ (non-excludability)

โดย Common Goods จะคล้ายกับ Public Goods แต่จะต่างกันตรงที่ Common Goods เป็นสินค้าที่มีอยู่เป็นจำนวนจำกัด

ตัวอย่างเช่น อาหารทะเล และบริการของ Website ต่างๆ ที่ถ้าหากคนเข้ามากขึ้นเว็บไซต์จะต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น (และจะล่มไปในที่สุดถ้าเจ้าของเว็บไซต์ไม่เพิ่มทรัพยากรของเว็บ)

สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ ที่เขียนบทความแยกไว้แล้ว

สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ ยังไม่ได้หมดแค่ที่เราได้อธิบายด้านบน แต่สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ยังมีอีกหลายประเภทที่ต้องอธิบายอย่างละเอียด (เนื่องจากเป็นประเภทที่ถูกพูดถึงบ่อย) เราจึงได้เขียนบทความแยกเกี่ยวกับสินค้าเหล่านี้เอาไว้แล้ว

ดังนั้นในบทความนี้เราจะอธิบายแบบพอสังเขปเท่านั้น มาดูกันว่ามี สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ อะไรบ้าง:

Normal Goods คือ สินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อมากขึ้นถ้าหากว่าผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้น

Inferior Goods หรือ สินค้าด้อยคุณภาพ คือ สินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อมากขึ้นเมื่อรายได้ลดลง และจะซื้อน้อยลงเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น อย่างเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และปลากระป๋อง

Substitute Goods หรือ Substitute Product คือ สินค้าทดแทน เป็นสินค้าสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนสินค้าชนิดอื่นได้ เช่น น้ำตาลกับน้ำผึ้งที่ให้ความหวานได้เหมือนกัน

Giffen Goods คือ สินค้าที่ระดับความต้องการของสินค้าจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาของสินค้า (เราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลง คนก็ยังต้องการเท่าเดิมตลอด)

Veblen Goods คือสินค้าที่ระดับความต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้นตามราคา แต่ถ้าหากราคาลดลงความต้องการซื้อก็จะลดลงตาม (บางครั้งอาจเรียกว่า Snob Goods)

Complementary Goods คือ สินค้าที่ต้องใช้ร่วมกัน เป็นสินค้าที่ต้องใช้ร่วมกับสินค้าอื่น เช่น กาแฟกับน้ำตาล และเครื่องพิมพ์กับหมึก เป็นต้น

Luxurious Goods คือ สินค้าที่ผู้บริโภคจะจ่ายมากขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น แต่ผู้บริโภคจะจ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์หรู และโทรศัพท์ที่มีราคาแพง

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf