อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราใดที่ใช้ในการส่งมอบทันที

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โปรดติดต่อหน่วยบริการด้านเงินตราต่างประเทศของธนาคารเพื่อตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก่อนทำธุรกรรม

การซื้อขายเงินสกุล MYR หรือ IDR ที่ไม่ใช่ธนบัตร จะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การชำระเงินสกุลท้องถิ่นระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางของเงินสกุลดังกล่าว

          การคํานวณรายได้ รายจ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ อันเนื่องมาจากรายการค้า ซึ่งมีข้อตกลงเป็นเงินตราต่างประเทศ อาทิ ธุรกิจนําเข้า ส่งออก กิจการขนส่งระหว่างประเทศ ธุรกิจค้าเงินตราต่างประเทศ สาขาหรือบริษัทในเครือของต่างประเทศ บริษัทข้ามชาติ เป็นต้น โดยประมวลรัษฎากรได้บัญญัติหลักเกณฑ์การแปลง “ค่าเงิน” ไว้ในมาตรา 65 ทวิ(5) และ (8) ดังต่อไปนี้

Forward rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ลูกค้ากับธนาคารตกลงกันในวันนี้เพื่อทำการส่งมอบการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต

Spot rate คือ อัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน ซึ่งลูกค้าสามารถสอบถามได้จากธนาคารที่ต้องการทำธุรกรรมด้วย

Forward points คือ ค่าที่สะท้อนส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงิน 2 สกุล ซึ่งมาจากหลักการที่ว่าการฝากเงิน 2 สกุลเป็นเวลาเท่ากัน ควรจะได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ดังนั้น หากเงิน 2 สกุลมีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตของเงิน 2 สกุลดังกล่าวจะเป็นตัวปรับเพื่อชดเชยความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเงินสกุลที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า จะแข็งค่าขึ้นเป็นการชดเชยกับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่น้อยกว่า หรือสามารถอธิบายเป็นสูตรคำนวณอย่างง่ายได้ดังนี้

Forward Points = อัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน x (อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาท – อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.) x (จำนวนวันของธุรกรรม/360)

ดังนั้น Forward Points จึงสามารถเป็นได้ทั้ง ค่าบวก ค่าลบ และศูนย์ ขึ้นกับว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลใดสูงหรือต่ำกว่ากัน (ตัวอย่างในตารางเป็นกรณีสกุลเงินบาทและเงินดอลลาร์ สรอ.)
อัตราดอกเบี้ยForward Pointsอัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาท > อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.+ (Premium)เงินบาทอ่อนค่าลงอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาท < อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.- (Discount)เงินบาทแข็งค่าขึ้นอัตราดอกเบี้ยสกุลเงินบาท = อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.0 (Par)ไม่เปลี่ยนแปลง

ในการทำธุรกรรมจริง ยังมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารใช้ประกอบในการกำหนด forward points ให้ลูกค้า ซึ่งทำให้ forward points ของลูกค้าแต่ละรายหรือแต่ละสัญญาแตกต่างกัน เช่น

1. ความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้า: ในการทำธุรกรรม forward ธนาคารมีความเสี่ยงที่ลูกค้าซึ่งเป็นคู่สัญญาอาจไม่ส่งมอบหรือไม่ชำระราคาเมื่อครบกำหนด ดังนั้น ธนาคารจึงกำหนดให้ลูกค้าต้องวางหลักประกันเพื่อมีวงเงินเครดิต (credit line) กับธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารอาจลด/เพิ่มค่า forward points ให้กับลูกค้าเพื่อรองรับความเสี่ยงดังกล่าวไว้ด้วย (ลด forward points ให้กับผู้ส่งออกซึ่งทำให้ได้รับเงินบาทน้อยลง ขณะที่เพิ่ม forward points ให้กับผู้นำเข้าซึ่งทำให้จ่ายเงินบาทเพิ่มขึ้น)

2. จำนวนวันของธุรกรรม: ค่า forward points จะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับจำนวนวันในการทำธุรกรรม เช่นค่า forward points ของธุรกรรมระยะ 1 เดือนจะน้อยกว่าค่า forward points ของธุรกรรมระยะ 6 เดือน นอกจากนี้ ค่า forward points ของธุรกรรมระยะ 1 เดือน ยังขึ้นกับจำนวนวันที่นับได้จริงด้วย เช่น 29 วัน 30 วัน หรือ 31 วัน

3. อำนาจการต่อรองของลูกค้า: ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับความถี่ในการทำธุรกรรม ขนาดของธุรกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและธนาคารรวมไปถึงการแข่งขันในการให้ราคา forward points ของแต่ละธนาคาร

4. ลักษณะเพิ่มเติมของธุรกรรม forward: เช่น ในกรณีที่ลูกค้าต้องการความยืดหยุ่นเรื่องวันที่ส่งมอบ ลูกค้าสามารถเลือกทำธุรกรรม forward แบบที่จองเป็นช่วงระยะเวลาที่คาดว่าจะมาใช้สัญญา (pro-rate หรือ pro-rata forward) ซึ่งทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงมากกว่า เมื่อเทียบกับธุรกรรม forward ที่กำหนดวันส่งมอบไว้ชัดเจน (fixed date หรือ outright forward) ดังนั้น ค่า forward points ของ pro-rate forward จะต้องสะท้อนความไม่แน่นอนของวันที่ส่งมอบรวมอยู่ด้วย กล่าวคือ สำหรับลูกค้าผู้ส่งออก เมื่อขายเงินตราต่างประเทศ จะได้รับเงินบาทได้น้อยกว่าการทำ fixed date forward (forward points ของ pro-rate forward มีค่าน้อยกว่า forward points ของ fixed date forward) ในทางกลับกัน สำหรับลูกค้าผู้นำเข้า เมื่อซื้อเงินตราต่างประเทศ จะต้องจ่ายเงินบาทในจำนวนที่มากกว่าการทำ fixed date forward (forward points ของ pro-rate forward มีค่ามากกว่า forward points ของ fixed date forward)

5. ต้นทุนของธนาคาร: ธนาคารแต่ละแห่งมีต้นทุนในการทำธุรกรรมและบริหารความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศที่แตกต่างกัน การกำหนดราคา forward points ที่เสนอให้กับลูกค้าจึงแตกต่างกันด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf