ข้าราชการเบิกค่าทำฟันอะไรได้บ้าง

กรมบัญชีกลางปรับเพิ่มค่ารักษาทางทันตกรรม ระบุเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน หวังช่วยให้ผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการและบุคคลในครอบครัวเข้าถึงการรับบริการมากขึ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป คาดจะใช้งบเพิ่มขึ้นปีละ 410 ล้านบาท ขณะที่ปี 58 ใช้งบด้านทันตกรรม 1,170 ล้านบาท รวมเป็นเงินเฉพาะทันตกรรมประมาณปีละ 1,580 ล้านบาท

นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ได้ปรับอัตราค่าบริการสาธารณสุข ในส่วนค่าบริการทางทันตกรรม ฟันเทียมถอดได้และอุปกรณ์เพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว รวมถึงจะช่วยให้เข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรมได้มากขึ้น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป

"กรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงอัตราค่าบริการสาธารณสุขใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ปรับปรุงค่าบริการและเพิ่มรายการเกี่ยวกับทันตกรรม ฟันเทียมถอดได้และอุปกรณ์ ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นรายการที่มีการใช้บริการจำนวนมาก และมีความจำเป็นในการรักษา ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 410 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2558 ใช้งบประมาณในด้านทันตกรรมเป็นเงิน 1,170 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.76 ของค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด" นายมนัส กล่าว

ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้ประกาศกำหนด รายการ อัตรา และเงื่อนไขการเบิกจ่ายอัตราค่าบริการทางทันตกรรมฟันเทียมถอดได้และอุปกรณ์ สำหรับสถานพยาบาลของทางราชการ ประกอบด้วย

1.เพิ่มรายการค่าบริการ 11 รายการ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการรักษา

และ 2.ปรับเพิ่มอัตราค่าบริการ จำนวน 46 รายการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างต้นทุนของสถานพยาบาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว

รายการและอัตราค่าบริการทางทันตกรรมใหม่ ที่ให้เบิก อาทิเช่น

รายการ

หน่วย

อัตราเดิม (บ.)

อัตราใหม่ (บ.)

1.ถอนฟันน้ำนม/ฟันแท้          

ซี่

170

200

2.ผ่าตัดฟันคุดหรือฟันฝังโดยกรอกระดูกและฟัน                 

ซี่

600

1,000

3.ผ่าตัดและอุดปลายราก (retrograde) ฟันหลัง    

ซี่

860

1,480

4.อุดฟันชั่วคราว    

ซี่

200

240

5.ขูดหินน้ำลายทั้งขากรรไกร (บนหรือล่าง)     

ครึ่งปาก

-

140

6.เพดานเทียมพร้อมฟันปลอมบางส่วนถอดได้สำหรับผู้ใหญ่Adult definitive obturator with upper Temporary Plate

ชิ้น

-

6,210

7.เพดานเทียมพร้อมฟันปลอมถอดได้ทั้งปากสำหรับผู้ใหญ่Adult definitive obturator with upper Temporary Plate

ชิ้น

-

4,850

8.Dental upper & lower casts (เพื่อการจัดฟันในเด็กปากแหว่งเพดานโห่ว)

ครั้ง

-

590

  • ข่าว

  • มนัส แจ่มเวหา
  • กรมบัญชีกลาง
  • ทันตกรรม
  • สวัสดิการข้าราชการ
  • ทำฟัน
  • ข้าราชการ

  • 843 views

สิทธิการรับบริการ ของโรงพยาบาลทันตกรรม

สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลด้วยบัตรประชาชน (ประเภทผู้ป่วยนอก)

การใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาด้วยบัตรประชาชน สำหรับผู้มีสิทธิที่เบิกกับกรมบัญชีกลาง

สิทธิประกันสังคม

กรณีทันตกรรม (อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุดและใส่ฟันเทียม)

ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี อุดฟัน ถอนฟัน  ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราปีละไม่เกิน 900 บาท/ปี (เงื่อนไขการเบิกเงินเป็นไปตามประกาศประกันสังคม) และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก ครึ่งปากบน 2,400 บาท ครึ่งปากล่าง 2,400 บาท ทั้งปาก 4,400 บาท

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม

2. ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ

4. กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาทางทันตกรรม

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่ถูกเรียกว่า ” บัตรทอง หรือ บัตร 30 บาท “ อันเป็นหลักประกันด้านสุขภาพภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยรัฐบาลให้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้คนไทยได้เข้าถึงบริการ ด้านการเพทย์และสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิบัตรทอง
  1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย
  2. ผู้มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ผู้ที่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพอื่น เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนเข้ารับบริการ
  1. บัตรประจำตัวประชาชน กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้ใบเกิดหรือเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง (เพื่อรับรองการใช้สิทธิ)
  2. บัตรโรงพยาบาลทันตกรรม หรือ บัตรนัดหมายตรวจ
  3. ใบส่งตัวจากสถานพยาบาล/หน่วยงานต้นสังกัด (ถ้ามี)
สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม

สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง) ผู้รับบริการจะได้รับการคุ้มครองในรายการรักษา มีดังนี้: อุดฟัน / ถอนฟัน / ขูดหินปูน / ผ่าฟันคุด / การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ / การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม/การเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการใส่ฟันเทียม(ฐานพลาสติก)

เงื่อนไขการเข้ารับบริการ

ผู้รับบริการที่มีสิทธิบัตรทอง เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร – นำบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนก่อนเข้ารับบริการ (ทุกครั้งที่รับบริการ) สามารถรับการรักษาตามสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่สปสช.กำหนด

ผู้รับบริการที่มีสิทธิบัตรทอง นอกเขตพื้นที่กรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัด – นำบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบและยื่นหนังสือใบส่งตัวจากสถานพยาบาล/หน่วยงานต้นสังกัด(ก่อนเข้ารับบริการ) กรณีไม่มีหนังสือใบส่งตัว แต่มีความจำเป็นต้องรับการรักษาเร่งด่วน (ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถาม)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ศูนย์ประสานสิทธิการรักษาฯ ชั้น1อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 50 พรรษา  โทร.02-2007777 (เบอร์ภายใน1033)

ข้าราชการครูเบิกค่าทำฟันได้ไหม

ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ประกอบด้วย บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลทางทันตกรรม สามารถเบิกได้ตามอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ เช่น - การอุดฟัน การถอนฟัน การผ่าฟันคุด

ครอบฟัน โรงพยาบาลรัฐ เบิกได้ไหม

สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากทางราชการได้ตามอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนดไว้ ดังนี้ - การอุดฟัน - การถอนฟัน - การผ่าฟันคุด, การผ่าตัดอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปากและขากรรไกร - การรักษาโรคปริทันต์ - การรักษารากฟัน - การแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติ - การเคลือบฟลูโอไรด์ทั้งปาก - การใส่เฝือกฟัน - การฟอกสีฟันที่ตายแล้ว ...

ค่าอุดฟัน เบิกได้ไหม

ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราปีละไม่เกิน 900 บาท/ปี (เงื่อนไขการเบิกเงินเป็นไปตามประกาศประกันสังคม) และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,300 ...

ทำฟันเบิกกรมบัญชีกลางได้ไหม

ทั้งนี้ ค่าบริการทางทันตกรรมที่เบิกได้ต้องเป็นไปเพื่อการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ เช่น การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย การจัดฟันกรณีปากแหว่งเพดานโหว่หรือประสบอุบัติเหตุ (โดยให้มี หนังสือรับรองแสดงเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf