คำที่เกี่ยวข้องควรทราบในการทำงานมีอะไรบ้าง

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

พนักงานขององค์กรเปรียบเสมือนทรัพย์สินของบริษัท การมีพนักงานที่สามารรถทำงานได้อย่างขยันขันแข็ง ด้วยร่างกายที่สมบูณ์พร้อม สุขภาพใจเต็มเปี่ยมย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตสำฤทธิ์ผลตามมาเช่นกัน ซึ่งการทำให้พนักงานปลอดภัยมาจากมาตรการด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ดีเยี่ยมขององค์กร ในบทความนี้ Jorportoday จะมาอธิบายถึงโปรแกรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยว่าคืออะไร องค์ประสบที่สำคัญ และ KPI บางส่งที่ช่วยวัดประสิทธิภาพครับ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดอยู่ในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง  ซึ่งเป็นกระบวนเรียนรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพอนามัย ในผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ รวมทั้งยังจัดการดูแลผลกระทบอันเกิดมาจากการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อทำให้การดำเนินงานของผู้ประกอบอาชีพ ได้รับความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องได้รับการคุ้มครองตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย โดยสามารถแยกความหมายของทั้ง 3 คำออกมาได้ดังนี้

  • อาชีวะ (Occupational) หมายถึง อาชีพ การเลี้ยงชีพ การทำมาหากิน
  • อนามัย (Health) หมายถึง ความไม่มีโรค สภาวะสมบูรณ์ดีทั้งร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ
  • ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาพวะที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับการจัดการอันตรายในสถานที่ทำงานหลายประเภท เช่น:

  • พิษวิทยา
  • ระบาดวิทยา
  • เคมีภัณฑ์
  • อันตรายทางกายภาพ
  • ผลกระทบทางจิตวิทยา
  • ปัญหาการยศาสตร์
  • อุบัติเหตุ

โครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีไว้เพื่อกำหนดให้มีการจำกัดความเสี่ยง เพื่อลดอันตรายจากการทำงานในไซต์งาน นายจ้างและฝ่ายบริหารของบริษัทจำเป็นต้องจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน และหัวข้อต่อไปคือโโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ใช้สำหรับองค์กร

ควรเริ่มโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่?

สำหรับองค์กรที่ไม่มีโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) อย่างเป็นทางการมักจะมีการดูแลความปลอดภัยของพนักงานในบางแง่มุมเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่คลอบคลุม ถ้า ณ ตอนนี้คุณมีความคิดที่จะเริ่มต้นจากจุดที่บริษัทมีอยู่ คุณอาจจะต่อยอดจากสิ่งที่มีด้วยการตั้งคำถาม นี้คือคำถามที่คุณอาจเริ่มหาคำตอบครับ

  • บริษัทของคุณมีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอยู่แล้วหรือไม่ ??
  • ผู้จัดการ หัวหน้างาน และพนักงานเข้าใจความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของตนเองหรือไม่ ?
  • ในบริษัทมีช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับปัญหาด้าน OHS หรือไม่?
  • มีการระบุอันตรายที่ชัดเจนหรือไม่?
  • มีการควบคุมอันตรายในสถานที่ทำงานหรือไม่?
  • บริษัทของคุณมีระบบตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์หรือไม่?
  • มีการเตรียมการ ซักซ้อมขั้นตอนในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือไม่?
  • มีขั้นตอนการรายงานและสอบสวนหรือไม่?
  • มีการฝึกอบรมพนักงานทุกระดับหรือไม่?
  • บริษัทใช้วิธีการใดในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล?
  • มี KPI สำหรับการประเมินอย่างครอบคลุมและเหมาะสมหรือไม่?

8 องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

1.การวางแผน

องค์ประกอบสำคัญอย่างแรกของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) คือระบบการจัดการและการวางแผน ไม่ว่าคุณจะวางแผนแบบดั่งเดิมผ่านการจัดใส่สมุดหรือกระดานไวท์บอร์ด หรือ ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับช่วยบริหารจัดการโดยเฉพาะ การวางแผนงานจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นศูนย์กลางของทุกกระบวนการที่คุณทำ การวางแผนเป็นสิ่งที่สำคัญคุณต้องแน่ใจว่าองค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎและระเบียบข้อบังคับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศไทยในปัจจุบันทั้งหมด

2.การรายงานเหตุการณ์

องค์ประกอบสำคัญที่สองของการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคือระบบการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สมาชิกทุกคนในองค์กรควรเข้าถึงระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย : OHS Program ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงานใหม่ เพื่อให้ติดตามข่าวสารและรายงานเหตุการณ์ได้ทันท่วงที

ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ OHS ที่รันในระบบคราวด์ ช่วยให้พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์มือถือที่เชื่อมอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการสร้าง บันทึก และเข้าถึงเอกสาร OHS ขององค์กีได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

การรายงานสถานการณ์พนักงานจะมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ :

  • การรายงานอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • รายงานอันตรายและความเสี่ยง
  • รับการแจ้งเตือนเพื่อทำงานบางอย่างให้เสร็จ
  • ทบทวน แก้ไขแบบฟอร์มความเสี่ยง อันตราย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครบถ้วน

เมื่อการรายงานเหตุการณ์เป็นไปอย่างทันถ้วงทีก็สามารถช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้มีส่วนได้เสียวางแผนสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะของการ Proactive และ Preventive ได้ดียิ่งขึ้น นี้คือเหตุผลว่าการรายการเหตุการณ์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญลำดับที่สองของการบริการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3.User-friendly interface

องค์ประกอบหลักที่สามของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การมีส่วนต่อประสาน (User friendly Interface) ที่ชัดเจนและใช้งานง่าย

Interface หรือ ส่วนต่อประสาน เป็นวิธีการที่ผู้ใช้งานเช่น พนักงานโต้ตอบกับระบบหรือซอฟต์แวร์ อาจจะเป็นการประสารงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเป็นฟอร์มกระดาษที่ต้องกรอก เช่น แบบฟอร์มรายงานความปลอดภัย

ไม่ว่าองค์กรของคุณจะมีแนวการในการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแบบใด คุณต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาถึงความง่ายของการใช้งานด้วย การพิจารณาความง่ายต่อการใช้งานอาจเริ่มจากชุดคำถามเช่น

  • พนักงานสามารถเข้าใจสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ง่ายได้อย่างง่ายดายหรือไม่
  • คำแนะนำในการใช้งานระบบมีความชัดเจนเพียงพอหรือไม่
  • พนักงานมีการฝึกอบรมให้สามารถใช้ระบบในการประสานงานหรือไม่

แต่ถ้าองค์กรใดใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เป็นซอฟต์แวร์ อินเทอร์เฟซจะต้องชัดเจน เรียบง่าย และใช้งานง่าย เพื่อให้พนักงานไม่มีปัญหาในการโต้ตอบกับอินเทอร์เฟซระหว่างการใช้งาน

4.การฝึกอบรม

องค์ประกอบที่สี่ของการจัดการด้านระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ การฝึกอบรม หากไม่มีการฝึกอบรม ระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

พนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพออาจทำให้องค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง พวกเขาอาจพลาดในการประเมินความเสี่ยงของอันตราย ไม่รายงานเหตุการณ์ทั้งที่ควรจะต้องรายงาน หรือแม้กระทั่งกระทำงานในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน หรือ บุคคลทั่วไป

พนักงานที่ผ่านการอบรม ทั้งการใช้ระบบ การใช้เครื่องมือ และการดูแลความปลอดภัยพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และที่สำคัญพวกเขาจะกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กรที่สามารถช่วยให้สถานที่ทำงานปลอดภัยยิ่งขึ้น

5.การประเมินความเสี่ยง

องค์ประกอบที่สำคัญถัดมาของระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยคือ การประเมินความเสี่ยง ในประเด็นนี้หมายถึงการที่ระบบซอฟต์แวร์มีส่วนช่วยผู้บริหารระดับสูงในการประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

การประเมินความเสี่ยงส่วนนี้จะเกิดขึ้นในองค์กรที่ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ในการช่วยในการประเมินความเสี่ยงและระดับความปลอดภัยได้อย่างอัตโนมัติ จากการสะสมค่าสถิติของการทำงาน ค่าความเสี่ยงที่ทางผู้บริหารหรือทีมที่ปรึกษาสามารถออกแบบค่าแนวโน้มที่อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงเพื่อที่สามารถวางแผนป้องกันได้อย่างทันถ้วงที

ตัวอย่างเช่น :

ฝ่ายบริหารสามารถดูรายงานอันตราย ความเสี่ยง อุบัติเหตุและการบาดเจ็บทั้งหมดได้ตามเวลาจริง จากนั้นซอฟต์แวร์จะประมวลผลข้อมูลนี้และสร้างรายงานที่สามารถใช้เพื่อสร้างแนวทางในการป้องกัน

6.การรับรอง

องค์ประกอบหลักที่หกของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคือ การรับรอง ระบบควรได้รับการรับรองโดยบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางปฏิบัติของอค์กรเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย

การมีระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่แข็งแกร่งช่วยให้องค์กรสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้า ตัวอย่างการรับรองได้แก่

  • AS / NZS 4801
  • OHSAS 18001

การมีใบรับรองจะแสดงให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าองค์กรของคุณมุ่งมั่นในเรื่องของความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น ความปลอดภัยของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลถึงกำลังใจในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น และความมั่นใจของผู้บริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มผลกำไรขององค์กรในที่สุด

7.การสื่อสาร

องค์ประกอบที่เจ็บของ OHS คือ การสื่อสาร ระบบที่ดีต้องช่วยให้พนักงานสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยการสื่อสารมีความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้พนักงานได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับงานที่ตนได้รับมอบหมาย
  • ช่วยให้พนักงานสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้า
  • การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพช่วยให้ระดับผู้จัดการและพนักงานปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ของบริษัท

8.การเข้าถึงข้อมูล

องค์ประกอบสุดท้ายของระบบการจัดการ OHS คือ การเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากการทำงานในองค์กรที่มีทั้งพนักงาน และ เอกสารของข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือการจัดการการเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเอกสารข้อมูลความปลอดภัย SDS (Safety Data Sheet)

องค์กร OSHA ระบุไว้ว่า

“นายจ้างต้องเก็บรักษาสำเนาเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิดไว้ในที่ทำงาน และต้องแน่ใจว่าสามารถเข้าถึงได้ง่ายระหว่างกะการทำงานแต่ละครั้งสำหรับพนักงานเมื่อ พวกเขาอยู่ในพื้นที่ทำงาน (การเข้าถึงทางอิเล็กทรอนิกส์และทางเลือกอื่นในการเก็บรักษาสำเนาเอกสารของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยจะได้รับอนุญาต ตราบใดที่ไม่มีการสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงพนักงานทันทีในสถานที่ทำงานแต่ละแห่งโดยตัวเลือกดังกล่าว)”

สำหรับบริษัทขนาดเล็กการเก็บเอกสารและข้อมูลต่างๆ เป็นสำเนากระดาษอาจง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะทุกคนรู้ว่าเอกสารชนิดนั้นๆ เก็บไว้ในตู้ใบไหนและสะดวกต่อการค้นหา

แต่สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเฉพาะองค์กรที่มีสถานประกอบการหลายแห่งการเข้าถึงข้อมูลอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น นี้จึงเป็นเหตุผลที่หลายองค์กรหันไปใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการ OHS บนระบบคลาวด์ ซึ่งง่ายต่อการจัดการ

KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัย

หลังจากที่คุณทราบถึงองค์ประกอบของโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ขั้นตอนถัดมาที่ผมอยากจะพูดถึงคือเรื่องการติดตามผล KPI ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งนี้เป็นค่าที่สามาารถวัดและประเมินได้ ซึ่งทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่เฉพาะเจาจง

อันที่จริง องค์กรจำนวนมากไม่มีการพิจารณาสร้าง KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้วยซ้ำ บางครั้งก็อาจจะคิดว่าองค์กรของคุณไม่ต้องการมันจริงๆ ซึ่งถ้าองค์กรของคุณอยู่ในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ธุรกิจไอทีหรือการตลาด ก็อาจะพออนุโลมได้ แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว KPI ด้านสุขภาพไม่ได้เกี่ยวกับอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังหมายถึง “ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ” ที่อาจจะมาจากการทำงานออฟฟิตที่ยาวนานจนส่งผลถึงสุขภาพ เช่นการเป็นโรคออฟฟิตซินโดรม ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ

นี้คือตัวอย่าง KPI ด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่องค์กรควรพิจารณา

  • จำนวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่รายงาน
  • อัตราความถี่การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน
  • ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาโดยเฉลี่ยต่อคน
  • ไม่พบโรคจากการทำงาน
  • % กิจกรรมด้าน OHS ที่พนักงานเข้าร่วม
  • ความพึงพอใจกับคะแนนสิ่งแวดล้อม
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือนในการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัย
  • % ของผู้บริหารที่ได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัย

ข้อมูลอ้างอิง : 1 / 2 / 3

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday ไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf