พืชหลักของประเทศไทยมีอะไรบ้าง

สวัสดีพ่อค้าแม่ขายทุกท่าน ในช่วงนี้หลายท่านอาจเริ่มคิดเรื่องการลงทุนในด้านต่างๆ วันนี้ MyShop ก็ขอมาแนะนำพืชเศรษฐกิจในอนาคตกันว่าจะเป็นพืชชนิดไหนบ้าง ที่น่าจับตามองและสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคตเพื่อเป็นรายได้ให้กับคุณ โดยจะพาทุกท่านทราบว่าพืชเศรษฐกิจหมายถึงอะไร ประเภทของพืชเศรษฐกิจ และรวมถึงพืชเศรษฐกิจในอนาคต

พืชเศรษฐกิจ คืออะไร

พืชเศรษฐกิจ คือพืชที่ใช้ในการเลี้ยงปากท้องของคนในบ้าน และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบผลผลิตหรือนำมาแปรรูป จนกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรสามารถทำเป็นอาชีพได้ ซึ่งพืชเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ข้าวหอมมะลิของไทยที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในโลกและข้าวสายพันธุ์อื่นๆ ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพราะสามารถนำไปแปรรูปไปเป็นส่วนประกอบสำคัญต่างๆ เช่น ยางรถยนต์ ยางกันรั่วซึม ตลอดจนส่วนผสมหลักในการเทพื้นยางมะตอย ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้งานภายในประเทศเท่านั้นแต่ไทยยังถือเป็นผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลกอีกด้วย

ประเภทของพืชเศรษฐกิจ

โดยทั่วไปแล้วประเภทของพืชเศรษฐกิจจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท ตามรูปแบบการปลูก ได้แก่

พืชไร่: กลุ่มพืชที่มีความต้องการน้ำน้อยหรือมากแล้วแต่สายพันธุ์ สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้สูง ปลูกและดูแลได้ง่าย ไม่ต้องการดูแลเอาใจใส่มาก มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น อาทิเช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์ม ชา ใบยาสูบ ข้าวโพด ฝ้าย ฯลฯ

พืชสวน: หมายถึงพืชที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มาก มีขั้นตอนการดูแลอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงการเก็บเกี่ยวอย่างผลไม้ต่างๆ หรือพืชที่ออกดอกสวยงาม พืชสวนที่รู้จักกันดีได้แก่ มะม่วง เงาะ ลองกอง ส้มโอ ทุเรียน มังคุด ชวนชม ดาวกระจาย โป๊ยเซียน กุหลาบ ตลอดจนผักต่างๆ และสมุนไพร ฯลฯ

ไม้เศรษฐกิจ: ไม้ยืนต้นที่นำเนื้อมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปเพื่อการค้า เช่น ไม้สัก ไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ไผ่ ไม้กฤษณา ฯลฯ อย่างไรก็ตามการปลูกไม้เศรษฐกิจพวกนี้ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่บังคับเนื่องจากบางชนิดเป็นพืชเศรษฐกิจราคาสูง

พืชเศรษฐกิจในอนาคต ความหวังในยุคนี้

หลายคนที่กำลังมองหาลู่ทางในการปลูกพืชเศรษฐกิจราคาสูง ตอนนี้ MyShop ก็ขอแนะนำ 3 พืชเศรษฐกิจในอนาคต ดังนี้

1. ต้นโกโก้

ต้นโกโก้ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศไทยและนานาประเทศ เพราะสามารถนำไปแปรรูปเป็นช็อกโกแลต อีกทั้งสภาพพื้นที่และภูมิอากาศของประเทศไทยยังถือว่าเหมาะสมในการปลูกโกโก้อีกด้วย ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงเกษตรก็มีนโยบายที่ส่งเสริมให้ปลูกโกโก้เพื่อจัดจำหน่ายในประเทศและส่งออก ซึ่งในปัจจุบันนี้การปลูกต้นโกโก้ในไทยนั้นถือว่าเป็นฮับ (Hub) อันดับที่ 2 ในอาเซียน ซึ่งหากเราสามารถขยายฐานการปลูกต้นโกโก้ได้มากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศให้สูงขึ้นจากการของมาของบริษัทโกโก้และช็อกโกแลตทั่วโลก

2. กัญชา

กัญชาถือเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดเดาว่าในจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ที่เป็นทางเลือกการสร้างรายได้ และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกร รวมถึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการผลิตสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต โดยกัญชาและกัญชงนั้นจะต้องนำไปใช้ในการแพทย์ทางเลือกเท่านั้น เพื่อนำมาใช้ในตำรับยาแผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อุตสาหกรรมยา อาหาร เครื่องสำอาง ตลอดจนเป็นเส้นใยใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ อย่างไรก็ตามการปลูกต้นกัญชาจำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุญาตและจะต้องนำไปขึ้นทะเบียนก่อน

3. แมคคาเดเมีย

พืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งถั่ว เนื่องจากเป็นถั่วที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก สามารถนำมารับประทานเล่นระหว่างวัน หรือนำไปเป็นส่วนหนึ่งของขนมหวานเพิ่มมูลค่าก็สามารถทำได้ อีกทั้งแมคคาเดเมียนั้นยังเป็นถั่วที่มีมูลค่าสูงมาก เนื่องจากดีมานด์ความต้องการมีสูง และนอกจากจะนำไปแปรรูปเป็นของกินได้แล้วนั้น ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นน้ำมันและทำเป็นสบู่ได้อีกด้วย

จากทั้ง 3 พืชเศรษฐกิจในอนาคตที่ได้แนะนำไปแล้วนั้น หากพ่อค้าแม่ขายคนใดที่มีไอเดียอยากเริ่มทำธุรกิจ ลองตลาดใหม่ๆ อย่างช่องทางออนไลน์ ก็สามารถที่จะใช้บริการ MyShop เครื่องมือช่วยขายของออนไลน์บน LINE ที่เป็นระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่ใช้งานได้โดยง่าย เพราะเต็มไปด้วยฟีเจอร์และฟังก์ชันอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับพ่อค้าแม่ขายมือใหม่ ออกออเดอร์ได้ง่าย ระบบนับสต๊อกสินค้าอย่างแม่นยำ ติดตามสถานะออเดอร์ มีระบบรับชำระหลายช่องทาง และยังสามารถให้พ่อค้าแม่ขายสร้างหน้าเว็บขายของออนไลน์ให้ร้านค้าของตนเองอีก สมัครง่ายแค่เพียงมี LINE OA ก็สามารถเปิดบัญชีได้เลยทันที

อ้างอิง
//www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=40
//www.komchadluek.net/news/agricultural/447032
//www.thairath.co.th/news/politic/2036772

  • th
  • en

สำนักบริหารโครงการ

สำนักบริหารโครงการ

กระทรวงเกษตรฯ เตรียมสรุปพื้นที่โซนนิงพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด


นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการโครงการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ หรือโซนนิง ว่าอยู่ระหว่างการปรับปรุงครั้งสุดท้าย เพื่อให้ตัวเลขพื้นที่และผลผลิตต่อไร่ชัดเจนและตรงกัน หรือใกล้เคียงกันกับของหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเดียวก่อนที่จะเสนอนายกรัฐมนตรี พิจารณาและประกาศเขตส่งเสริมการเกษตรตามแผนเสริมสร้างประเทศของรัฐบาล

ทั้งนี้ จะนำร่องในพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย และข้าวโพด

สำหรับการโซนนิงจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.โซนนิงเพื่อการอนุรักษ์ป้องกันการทำลายทรัพยากร 2.โซนนิงเพื่อเพิ่มผลผลิตลดต้นทุนความเสี่ยงจากการส่งออกสินค้านำไปสู่การ ผลิตสินค้าปลอดภัย และ 3.โซนนิงเพื่อให้ตอบสนองความต้องการซื้อและขายเพื่อป้องกันปัญหาสินค้าเกษตร ขาดแคลน และปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยให้ยึดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้วย

ขณะที่การโซนนิงเพื่อการบริหารพืชเศรษฐกิจเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ ใช้ ทั้งเพื่อบริโภคในประเทศและการส่งออกในพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด จะใช้ความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกเป็นตัวกำหนด โดยพิจารณาจากคุณภาพดิน โครงสร้างพื้นฐาน ระบบน้ำและการขนส่ง ในระดับมากที่สุดจนถึงไม่เหมาะสม

“ในพื้นที่ที่เหมาะสมจะพิจารณาจูงใจโดยการประกาศเป็นเขตส่งเสริมการเพาะ ปลูกตาม พ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งจะมีผลให้เกษตรกรในพื้นที่ได้สิทธิพิเศษในการเพาะปลูกเหมือนโครงการที่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอซึ่งจะหมายถึงสิทธิพิเศษใน เรื่องดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อลงทุน หรือแรงจูงใจพิเศษตามนโยบายรัฐบาล” นายยุคล กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่ใดเหมาะสมแต่ขาดระบบโครสร้างพื้นฐานเช่น น้ำและระบบขนส่ง นายกรัฐมนตรีจะประสานให้กระทรวงคมนาคมจัดถนนและระบบโลจิสติกส์ลงไปให้สอดรับ กับแหล่งผลิตและแหล่งแปรรูปเพื่อลดต้นทุนการผลิต ในขณะที่พื้นที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืชนั้นๆ จะสนับสนุนให้เปลี่ยนอาชีพ หรือปลูกพืชที่เหมาะสม แต่ทั้งนี้เป็นไปโดยสมัครใจ

แหล่งข่าวจากในกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า แนวทางทั้งหมด นายกฯ ต้องการที่จะให้ทำข้อมูลในระดับที่สามารถมองเห็นได้ว่าพื้นที่แต่ละแปลงปลูก อะไร และระบุได้ว่าหากพื้นที่ดังกล่าวเป็นข้าว เป็นข้าวพันธุ์อะไร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ประสานกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีและอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสดา ถ่ายภาพดาวเทียมการ ใช้ประโยชน์ในที่ดิน จะสามารถอ่านได้ว่าที่ดินนั้นปลูกพืชอะไรและอายุประมาณเท่าไหร่ ทำให้การ วางแผนรับมือถูกต้องยิ่งขึ้น

สำหรับพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ส่งออกมากที่สุดในปี 2554ประกอบด้วย ยางพารา มูลค่า 4.4แสนล้านบาท ข้าวและ ผลิตภัณฑ์2.1 แสนล้านบาท อ้อยและผลิตภัณฑ์ 1.1 แสนล้านบาท

ที่มา:posttoday

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf