ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถมีโทษตามกฎหมายอย่างไร

สำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรีกรมการขนส่งทางบก

ข้อกฎหมายที่ผู้ประกอบการขนส่ง/เจ้าของรถและผู้ขับรถพึงทราบ

  1. นับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2550 เป็นต้นมา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2550 บัญญัติให้รถที่จดทะเบียนและชำระภาษีประจำปีสำหรับรถครบถ้วนถูกต้องแล้วไม่ต้องติดเครื่องหมายแสดงการจัดให้มีประกันภัยความเสียหาย แต่เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการขนส่ง หรือเจ้าของรถ สมควรเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายไว้ประจำรถ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือเป็นหลักฐานสำหรับใช้แจ้งเหตุกรณีรถเกิดอุบัติเหตุ
  2. ในการขับรถผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถติดตัว และใบอนุญาตขับรถนั้นจะต้องเป็นชนิดหรือประเภทตรงตามชนิดรถที่ขับ มิฉะนั้น อาจมีความผิดถึงติดคุก คือต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. การขับรถขณะใช้ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ (ใบสั่งที่ออกโดยเจ้าพนักงานจราจร) หรือหนังสือให้ไปรายงานตัว (ใบสั่งออกโดยผู้ตรวจการ กรมการขนส่งทางบก) ที่ออกเพื่อให้ใช้แทนใบอนุญาตสามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
    • ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ (ใบสั่งออกโดยเจ้าพนักงานจราจร)ให้ใช้แทนใบอนุญาตได้ 7 วัน
    • หนังสือให้ไปรายงานตัว (ใบสั่งออกโดยผู้ตรวจการ กรมการขนส่งทางบก) ให้ใช้แทนใบอนุญาตได้ 72 ชั่วโมง
  4. การขับรถภายหลังจากใบสั่งที่ออกเพื่อให้ใช้แทนใบอนุญาตสิ้นสุดระยะเวลาลง ไม่ถือเป็นความผิดฐานขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต แต่เป็นความผิดฐานไม่มีใบอนุญาตขับรถขณะขับรถตาม มาตรา 101 และมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  5. แม้กฎหมายจะมิได้กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่ง ต้องจัดให้มีสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนไว้สำหรับให้เจ้าพนักงานตรวจสอบก็ตาม แต่เพื่อประโยชน์ในการแสดงเป็นหลักฐานเมื่อมีการขอตรวจสอบหรือจำเป็นต้องใช้ในเหตุอื่นๆ เช่น แสดงต่อผู้รับประกันภัย จึงควรจัดให้มีหนังสือแสดงการจดทะเบียนติดรถตลอดเวลาใช้รถด้วย
  6. การเสพสุราในขณะขับรถอาจได้รับการตรวจสอบ ดังนี้
    • เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจทดสอบ
      • เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวนและพนักงานเจ้าหน้าที่
      • ผู้ตรวจการ
    • วิธีการตรวจทดสอบ
      • ตรวจวัดลมหายใจ
      • ตรวจวัดจากปัสสาวะ
      • ตรวจวัดจากเลือด
    • กรณีตาม (1) และ (2) เจ้าพนักงานตามข้อ 6.1 สามารถดำเนินการได้เอง แต่กรณีตาม (3) ให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อดำเนินการ

    • เกณฑ์การวินิจฉัยผล ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเมาสุรา
      • กรณีตรวจวัดจากเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
      • กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะ ให้เทียบปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้แอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐานดังนี้
        • กรณีตรวจวัดจากลมหายใจให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 2,000
        • กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 1/1.3
    • กรณีผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวนพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ตรวจการที่สั่งให้รับการตรวจทดสอบแต่ปฏิเสธ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  7. การเสพยาเสพติดให้โทษในขณะขับรถอาจได้รับการตรวจทดสอบดังนี้
    • เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจทดสอบ
      • เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน และพนักงานเจ้าหน้าที่
      • ผู้ตรวจการ
    • วิธีการตรวจทดสอบเบื้องต้น
      • ให้ใช้วิธีการทดสอบปฏิกิริยาการเกิดสี (Color Test)
      • การทดสอบปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunoassays)
    • เกณฑ์การวินิจฉัยผล
      • การทดสอบโดยปฏิกิริยาการเกิดสี (Color Test) น้ำยาเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีม่วงหรือสีม่วงแดง
      • การทดสอบปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunoassays) ปรากฏปริมาณ สารเสพติดตั้งแต่ 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรขึ้นไป

      กรณีผลการตรวจทดสอบเบื้องต้นตามข้อ 7.2 (1) และ (2) แสดงว่าอาจมีสารเสพติดให้เจ้าพนักงานจัดให้มีการตรวจยืนยันผลจากสถาบันนิติเวชวิทยา กองพิสูจน์หลักฐาน หรือโรงพยาบาลของรัฐอีกครั้งโดยเร็ว และให้ใช้วิธีการตรวจสารเสพติดโดยแยกสารผสมออกจากกัน (Chromatography)

    • กรณีผู้ขับรถฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวนพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ตรวจการที่สั่งให้ตรวจทดสอบ เจ้าพนักงานมีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้เพื่อดำเนินการสอบตรวจได้ และเมื่อผู้นั้นยอมรับการตรวจสอบแล้วให้ปล่อยตัวไปทันที ซึ่งกรณีการฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  8. ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถ เว้นแต่จะได้ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องจับหรือถือโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ก็ให้สามารถกระทำได้ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5กรมการขนส่งทางบก

  • หน้าหลัก
  • จำนวนเข้าชม 44033 ครั้ง

วันที่ 8 มิถุนายน 2559

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมและจัดระเบียบการ ขนส่งทางถนนด้วยรถ เพื่อให้ระบบการขนส่งทางกบมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัยซึ่งกำหนดให้ผู้ที่จะใช้รถเพื่อการขนส่งจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเสียก่อน และสำหรับตัวรถตลอดจนการใช้งาน และการขับขี่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมีข้อสำคัญหลักๆ ดังนี้

ข้อกำหนดด้านผู้ประกอบการขนส่ง

  1. ผู้ประกอบการขนส่ง ที่ประสงค์จะทำการประกอบการขนส่ง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. ผู้ประกอบการขนส่งต้องไม่ใช้รถผิดประเภทตามที่ขออนุญาตไว้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเป็นครั้งคราวตามหลักและวิธีการที่กำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง อาทิ จำนวนรถที่ใช้ในการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  4. ผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  5. ผู้ประกอบการขนส่งต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ขับรถ หากปรากฏว่าขณะใช้หรือขณะยินยอมให้ปฏิบัติหน้าที่ขับรถ ผู้นั้นกระทำการหรือมีอาการเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นเสพยาเสพติดให้โทษ เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  6. ผู้ประกอบการขนส่งต้องดูแลป้องกันมิให้ผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถขณะที่มีอาการเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เสพยาเสพติดให้โทษ เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หากปรากฏว่าผู้ขับรถได้มีการกระทำดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็น และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้ผู้ขับรถกระทำการดังกล่าว
  7. ผู้ประกอบการขนส่ง/เจ้าของรถ ต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับรถ หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ข้อกำหนดด้านตัวรถ

  1. รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งจะต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งานมีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้อง และมีขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมหาก ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

    รถคันใดมีสภาพไม่มั่งคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องตามที่กำหนด เช่น ควันดำ พนักงานเจ้าหน้าที่ (ผู้ตรวจการหรือเจ้าพนักงานจราจร) มีอำนาจสั่งระงับใช้ไว้เป็นการชั่วคราวได้

  2. การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนก่อนดำเนินการ โดยสามารถยื่นขอดำเนินการได้ ณ สำนักงานที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • โครงคัสซี
    • ระบบบังคับเลี้ยว
    • จำนวนกงล้อและยาง
    • จำนวนเพลาล้อ
    • เครื่องกำเนิดพลังงาน
    • ตัวถัง
    • สีภายนอกตัวรถ
    • จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
    • จำนวนดวงโคมไฟแสงพุ่งไกล แสงพุ่งต่ำ
    • ช่วงล้อ

ข้อกำหนดด้านผู้ขับรถ

  1. ผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถถูกต้องตามชนิดและประเภทของรถที่ตนเองขับ และต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถอยู่กับตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ ไว้แสดงต่อนายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเมื่อขอตรวจหากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  2. ผู้ขับรถต้องแต่งกายสะอาดเรียบร้อยในขณะปฏิบัติหน้าที่ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  3. ผู้ขับรถต้องไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ หากฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
  4. ผู้ขับรถต้องไม่เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถ หาก ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  5. ผู้ขับรถต้องไม่เสพยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถหากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีกหนึ่งในสาม
  6. ผู้ขับรถต้องไม่ขับรถเกินกว่าจำนวนชั่วโมงที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ในรอบ 24 ชั่วโมงห้ามิให้ผู้ขับรถปฏิบัติหน้าที่ขับรถติดต่อกันเกิน 4 ชั่วโมง นับแต่ขณะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ขับรถ แต่ถ้าในระหว่างนั้น ผู้ขับรถได้พักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกไม่เกิน 4 ชั่วโมงติดต่อกัน หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf