องค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร

Source: pikisuperstar Freepik.com

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ หลายๆ ประเทศจะพูดถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ มานี้ โดยเฉพาะในมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกวัฒนธรรม หรือการส่งออก Soft Power (บ้างก็มองเป็นเครื่องมือเชิงการเมืองของประเทศ บ้างก็มองเป็น New Engine ของการสร้างมูลค่าให้กับประเทศ ในรูปแบบใหม่ๆ) เลยเป็นที่มาในการเขียนบทความชุด “Creative Economy 101” จากความรู้ความเข้าใจของผู้เขียน ที่สั่งสมมาจากการเป็นที่ปรึกษา และนักวิจัย สำหรับการออกแบบยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยในสาขาต่างๆ ตลอดหลายปีมานี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจ และสร้างให้ผู้อ่าน เห็นความสำคัญของการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้เป็นแนวทางสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้มีความสำเร็จ เทียบกับเท่ากับนานาประเทศ (เสียที)

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) คือ ?

อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy Agency (CEA) หน่วยงานองค์การมหาชน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นความหวังใหม่ของการเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย (ที่มาเพิ่มเติม //www.cea.or.th/th/background) ได้ให้ความหมายเบื้องต้น ของคำพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้ดังนี้

• ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) คือ ความสามารถในการจัดการความรู้สหวิทยาการและประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อการคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีคุณค่าหรือดีขึ้น

• เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม

จากตรงนี้เอง สรุปเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็คือ ระบบการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ถูกสร้างขึ้นผ่าน “ผู้สร้างสรรค์ (Creator)” ที่อาศัยการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าหรือบริการ ผ่านทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ของมนุษย์ เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ได้ระบุในมุมมองเชิงอุตสาหกรรมว่า อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) ที่เป็นองค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ประกอบด้วย 12 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลัก + 3 อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ประกอบด้วย

Creative Economy Agency (CEA)
  1. กลุ่มรากฐานทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Originals) คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับการสร้างและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย สาขางานฝีมือและหัตถกรรม (Crafts) สาขาดนตรี (Music) สาขาศิลปะการแสดง (Performing Arts) และสาขาทัศนศิลป์ (Visual Arts)
  2. กลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ (Creative Content and Media) คือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง “เนื้อหา (Content)” ผ่านการนำเอาความคิด หรือไอเดีย ความรู้สึก มาถ่ายทอดลงบนตัวกลาง (Medium) เพื่อบันทึกและส่งผ่านไอเดียเหล่านั้น ไปยังผู้รับ ประกอบด้วย สาขาภาพยนตร์ (Movies) สาขาการแพร่ภาพและกระจายเสียง (Broadcasting) สาขาการพิมพ์ (Publishing) และสาขาซอฟต์แวร์ (Software)
  3. กลุ่มบริการสร้างสรรค์ (Creative Services) คือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้การออกแบบ (Design) ซึ่งเป็นผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะของการให้บริการเป็นสำคัญ ประกอบด้วย สาขาออกแบบ (Design) สาขาการโฆษณา (Advertising) และสาขาสถาปัตยกรรม (Architecture)
  4. กลุ่มสินค้าสร้างสรรค์ (Creative Products) คือ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการรังสรรค์สินค้าใหม่ๆ ซึ่งได้แก่ สาขาแฟชั่น (Fashion)

นอกจาก 4 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลักแล้วนั้น ก็ยังมีอุตสาหกรรมใกล้เคียง ที่เปรียบเสมือนกับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ข้างต้น อันได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารไทย อุตสาหกรรมการแพทย์แผนไทย และอุตสากรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนประกอบสำคัญคือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการในอุตสาหกรรมนั้นๆ อีกด้วย

อีกมุมมองที่สำคัญคือ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ที่ถูกมองเป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญของมนุษย์นั้น จริงๆ แล้ว กระบวนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่เพียงแต่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12+3 สาขาข้างต้นเท่านั้น หากพิจารณาในกิจกรรมในอีกหลากหลายอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งในมุมมองอื่นๆ จะพบว่าหลากหลายกิจกรรม มีการสอดแทรกการใช้ความคิดสร้างสรรค์อยู่แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการใช้มุมมอง หรือองค์ความรู้ที่ออกนอกกรอบ การต่อยอดความคิดใหม่ๆ เข้ากับกระบวนการแบบเดิมจนเกิดเป็นกระบวนการใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการบริการใหม่ ต่างก็มีกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญแทบทั้งสิ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ กลับซ่อนอยู่ในหลากหลายกิจกรรม การดำเนินการ ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมแทบทั้งสิ้น

Source: pikisuperstar Freepik.com

จากข้างต้น เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมุมมองของประเทศไทย ว่าอะไรคือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แล้วในบริบทของประเทศไทยนั้น หากมองในมุมมองเชิงอุตสาหกรรม จะประกอบไปด้วยสาขาอุตสาหกรรมอะไรบ้าง ซึ่งหากใช้มุมมองนี้ ไปทำความเข้าใจเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศอื่นๆ ก็อาจมององค์ประกอบของสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันออกไป ตามทรัพยากร และลักษณะของอุตสาหกรรมหลักในประเทศนั้นๆ แต่ในภาพรวมนั้น ก็จะเข้าใจความสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในฐานะที่เป็น Growth Engine ของการใช้ทรัพยากรวัฒนธรรม และทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ ในการปรุงเอาทรัพยากรตั้งต้น นำมาผ่านกระบวนการปรุงแต่ง ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับประเทศผ่านอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ต่อไป

ในขณะที่นานาประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน ระดับความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแต่ละประเทศ ก็จะแตกต่างกันออกไปตามความเข้าใจ การให้ความสำคัญ และศักยภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ ต่อการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย ที่จะช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศ ได้เข้าใจทิศทางเป้าหมายของการพัฒนา ตลอดจนการมีแนวทางการสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้อย่างไร

ในบทความต่อๆ ไปนั้น จะเป็นการหยิบยกบางประเด็นสำคัญ ที่ผู้เขียนมองเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างให้เห็นความสำคัญของการร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย อันเป็นการใช้จุดแข็งสำคัญของประเทศ นั่นคือ “ความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย” ให้สามารถใช้ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้างมูลค่า และคุณค่าให้กับตนเอง ให้กับธุรกิจ กับเศรษฐกิจและภาพรวมของประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ หากผู้อ่านมีความสนใจในประเด็นใดที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถเสนอความเห็นได้ทางช่องทางต่างๆ ของผู้เขียน และหากบางประเด็น ที่เป็นประเด็นที่นิยมของผู้อ่าน ผู้เขียนอาจนำประเด็นนั้นๆ มาขยายความในบทความชิ้นต่อๆ ไปเช่นกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตัวผู้เขียน และบทความอันเป็นผลงานของผู้เขียนนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเช่นกัน

Regards,

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf