Adobe illustrator แบ่งการใช้งานกี่ประเภทอะไรบ้าง

ทำความรู้จักโปรแกรม  Illustrator
Illustrator   เป็นโปรแกรมที่ทำงานด้านกราฟิกตัวหนึ่ง ซึ่งเน้นการสร้างชิ้นงานจากการวาดเป็นหลัก ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับนักออกแบบทั้งหลายที่นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสิ่งพิมพ์ , เสื้อผ้า ,
เว็บเพจ , ออกแบบฉลากและผลิตภัณฑ์ หรือ งานโฆษณาต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่าความสามารถของโปรแกรม Illustrator นั้น  เปรียบเหมือนกับผ้าใบผืนใหญ่ที่ใช้วาดภาพ โดยที่โปรแกรมจะเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็นดินสอสี , แปรงพู่กัน , ไม้บรรทัด , ยางลบ และ อุปกรณ์อื่น ๆ ไว้ให้เรียบร้อย จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการในการออกแบบ และการวาดภาพของเราเองที่จะขีดเขียน หรือระบายภาพต่างๆออกมา

จุดเด่นของโปรแกรม  Illustrator CS5  
ภาพที่ได้จากโปรแกรมจะเป็นกราฟิกประเภทเวคเตอร์ที่มีลักษณะเป็นลายเส้น ภาพที่ได้จึงมีความคมชัด ไฟล์ที่ได้จากการทำงานโปรแกรม Illustrator สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมกราฟิกอื่น ๆ ได้เช่น  InDesign , Photoshop , Flash เป็นต้น  สำหรับเวอร์ชั่น CS5 นี้ได้มีการพัฒนาความสามารถในหลายๆส่วน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาร์ตบอร์ดหลายๆแผ่นในไฟล์เดียวกัน , การไล่โทนสีเกรเดียนท์แบบโปร่งใส , เครื่องมือ Blob Brush ที่ช่วยให้วาดรูปทรงอิสระได้อย่างง่ายๆ , การปรับแต่งสี , เส้นและเอฟเฟ็คต์ต่างๆที่ทำได้บนพาเนล Appearance ที่สะดวกขึ้น และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจะได้ศึกษาต่อในบทต่อๆไป

รู้จักกับประเภทไฟล์กราฟิก
งานกราฟิกที่ใช้ในคอมพิวเตอร์จะถูกแบ่งประเภทไฟล์ภาพตามการสร้างเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือภาพแบบที่เรียกว่า Vector Graphics และภาพ Bitmap Images ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างไฟล์ภาพทั้งสองประเภทจะมีผลตั้งแต่การสร้าง , การแก้ไข , การนำเข้าไฟล์ภาพ (Import) และการนำภาพที่สร้างจากโปรแกรมไปใช้กับโปรแกรมอื่น ๆ (Export)  ความสามารถในการปรับแต่งเอฟเฟ็คต์ หรือลูกเล่นของไฟล์กราฟิกแต่ละประเภทก็ต่างกันออกไป บางคำสั่งสามารถใช้ได้กับไฟล์ประเภทเวคเตอร์หรือบางคำสั่งสามารถใช้ได้เฉพาะไฟล์ประเภทบิทแมพ ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกับไฟล์กราฟิกทั้ง 2 ประเภท ดังนี้

Vector Graphics
ภาพแบบเวคเตอร์ เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นในลักษณะต่าง ๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้น ๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพดอกไม้ ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นโค้ง และเส้นตรงหลาย ๆ จุด
Bitmap Images
ภาพแบบบิทแมพ  หรืออาจจะเรียกว่าภาพแบบราสเตอร์ (Raster) ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากจุดสีที่เรียกว่าพิกเซล (pixels) ซึ่งเรียกต่อกันเป็นรูปร่างบนพื้นที่ ที่มีลักษณะเป็นตาราง (กริด) แต่ละพิกเซลจะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ภาพหนึ่งภาพจะประกอบด้วยพิกเซลหลาย ๆ พิกเซลรวมกัน

การเรียกใช้งานโปรแกรม Adobe Illustrator CS5   

เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วจะปรากฏหน้าต่างต้อนรับ (Welcome Screen) ของโปรแกรมขึ้นมา   ดังนี้

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Adobe Illustrator CS5

โดยส่วนประกอบหลักๆในการทำงานมีดังนี้

เมนูบาร์ (Menu Bar)
เมนูบาร์ จะประกอบด้วยเมนูคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์, ทำงานกับภาพและปรับออปชั่นต่างๆ โดยเมนูเหล่านี้มีเมนูย่อยๆให้เลือกใช้งานได้อีก

 คอนโทรลพาเนล  (Control Panel)
เป็นส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องมือต่างๆ ซึ่งรายละเอียดในคอนโทรลพาเนลจะเปลี่ยนไปตามการเลือกเครื่องมือ หรือ เลือกออบเจ็คในขณะนั้น เช่น หากเลือกออบเจ็คทั่วไปคอนโทรลพาเนลจะแสดงออปชั่นการกำหนดสี , ขนาดของพื้นที่และเส้น   แต่ถ้าหากเลือกออบเจ็คที่เป็นตัวอักษรก็จะแสดงออปชั่นที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบตัวอักษร เป็นต้น
กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
กล่องเครื่องมือ ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานและมีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือบางอย่างไว้ในปุ่มเดียวกันเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะมีรูป      อยู่ที่มุมขวาล่างของปุ่มเครื่องมือ เพื่อแสดงว่ายังมีเครื่องมืออื่นซ่อนอยู่ด้วย  ซึ่งถ้าหากต้องการเลือกเครื่องมือที่ซ่อนอยู่ในกลุ่มนั้น  ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่มเครื่องมือนั้นค้างไว้แล้วลากเมาส์ไปชี้ที่เครื่องมืออื่นๆที่ต้องการ  ดังนี้

นอกจากนี้ยังสามารถดึงเครื่องมือที่ซ่อนอยู่ออกมาเป็นแถบกลุ่มเครื่องมือใหม่ก็ได้  ดังนี้

โดยเครื่องมือต่างๆใน Toolbox มีดังนี้

พาเนลต่าง ๆ        
พาเนล (Panel) คือ กรอบหน้าต่างย่อยๆ ที่มีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ , ตรวจสอบค่า และปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆของออบเจ็ค ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่  เช่น พาเนล Color ใช้กำหนดสี , พาเนล Stroke ใช้ปรับขนาดและรูปแบบเส้น , พาเนล Align จัดตำแหน่งวัตถุ เป็นต้น บางพาเนลที่มักใช้งานร่วมกันจะถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น พาเนล Color และ พาเนล Color Guid แต่พาเนลนั้นจะไม่ถูกเปิดขึ้นมาให้ทุกๆพาเนล  ดังนั้นหากต้องการเรียกใช้งานพาเนลที่ไม่ได้ถูกเปิดอยู่
จะต้องทำการเปิดพาเนลขึ้นมาใช้งานเอง  ซึ่งวิธีการใช้งานพาเนลมีรายละเอียดดังนี้

วิธีการเรียกเปิดพาเนลต่างๆ

วิธีการเรียกใช้คำสั่งของพาเนล       
ในแต่ละพาเนลจะมีคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งการทำงานที่ต่างกันไป  ซึ่งสามารถคลิกปุ่ม    ที่มุมบนขวามือเพื่อเลือกใช้งานแต่ละคำสั่งได้  ดังนี้

วิธีการย่อ/ขยายพาเนล   
โดยปกติพาเนลจะถูกย่อเอาไว้  และหากต้องการเขยายพาเนลออกมาเพื่อความสะดวกในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆก็จะต้องขยายพาเนลออกมา  หรือถ้าหากต้องการเพิ่มพื้นที่ในการทำงานก็สามารถย่อพาเนลลงให้กลับไปแสดงเป็นรูปไอคอนได้ และเมื่อต้องการใช้งานพาเนลใดก็ให้เปิดขึ้นมาทำงานเฉพาะพาเนลนั้นๆ    ดังนี้   

การจัดการเกี่ยวกับไฟล์
การสร้างไฟล์ใหม่ 
 วิธีที่ 1   คลิกที่รูปแบบ Print Document  ในหน้า Welcome Screen เพื่อสร้างไฟล์สำหรับงานพิมพ์
 วิธีที่ 2   เลือกที่เมนู  File  แล้วเลือกคำสั่ง  New
จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกซ์บล็อกสำหรับกำหนดรายละเอียดของอาร์ตบอร์ดขึ้นมาให้  โดยรูปแบบการสร้างอาร์ตบอร์ดมีอยู่  2 รูป แบบด้วยกัน  คือ

1. การสร้างอาร์ตบอร์ดแบบหน้าเดียว  มีวิธีดังนี้ 

2. การสร้างอาร์ตบอร์ดแบบหลายอาร์ตบอร์ด   มีวิธีดังนี้         

การจัดการอาร์ตบอร์ดด้วยพาเนล Artboards
พาเนล Artboards นี้เป็นคุณสมบัติใหม่ในเวอร์ชั่น  CS5 ที่จะช่วยให้สร้างและจัดการอาร์ตบอร์ดได้สะดวกมากขึ้น   ดังนี้

การเพิ่มอาร์ตบอร์ด
ในกรณีที่ต้องการเพิ่มอาร์ตบอร์ดใหม่ขึ้นมาในไฟล์เดิมสามารถทำได้ดังนี้

การเปลี่ยนโหมดสี
หลังจากที่ได้สร้างไฟล์ไปแล้วแต่ต้องการเปลี่ยนโหมดสีก็สามารถทำได้ แต่การเปลี่ยนโหมดสีอาจทำให้สีต่างๆที่ใช้ในอาร์ตเวิร์คผิดเพี้ยนไป ดังนั้นจึงควรกำหนดโหมดสีให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มสร้างงาน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนโหมดสีสามารถทำได้ดังนี้

การบันทึกไฟล์
            ขณะที่กำลังทำงาน หรือ หลังจากที่ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จะต้องบันทึกอาร์ตเวิร์คเก็บไว้เป็นไฟล์ เพื่อให้สามารถนำกลับมาแก้ไข หรือ ใช้งานต่อไปในภายหลังได้   โดยมีขั้นตอนการบันทึกดังนี้

จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างการกำหนดออปชั่นของไฟล์ที่จะบันทึก  ดังนี้

การเปิดไฟล์
หากต้องการเปิดไฟล์เก่าที่ได้บันทึกไว้แล้วขึ้นมาปรับปรุงหรือแก้ไขสามารถทำได้ดังนี้

การปิดไฟล์
เมื่อจบการทำงานแล้ว และต้องการปิดไฟล์ที่กำลังถูกเปิดอยู่สามารถทำได้โดย

การนำไฟล์ภาพบิทแมพมาใช้งาน
Illustrator เป็นโปรแกรมที่ทำงานกับภาพแบบเวคเตอร์เป็นหลัก  แต่ก็สามารถนำภาพแบบบิทแมพเข้ามาใช้งานร่วมกับภาพเวคเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน  ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

การพิมพ์ภาพ
ในการพิมพ์ภาพนั้นสามารถทำได้โดยเลือกรูปแบบของการพิมพ์อาร์ตเวิร์คอาร์ตเวิร์คจะต้องวางอยู่ในพื้นที่ของการพิมพ์ (Page Tiling) ซึ่งขอบเขตนี้จะแสดงเป็นเส้นประสีดำโดยทำตามขั้นตอนดังนี้

มุมมองวินโดว์โปรแกรม
เราสามารถกำหนดมุมมองของวินโดว์โปรแกรมเพื่อให้เหมาะสม และสะดวกต่อการทำงาน โดยคลิกกลุ่มเครื่องมือ Screen Mode จากทูลบ็อกซ์ เพื่อสลับไปยังมุมมองต่างๆ  ซึ่งมีให้เลือกดังนี้
Normal Screen Mode  จะแสดงส่วนประกอบทุกอย่างได้ทั้งหมดเหมือนกับขณะที่เปิดโปรแกรมครั้งแรก โดยทูลบ็อกซ์, พาเนลและหน้าต่างไฟล์ยังยึดติดกับหน้าต่างโปรแกรม
Full Screen Mode with Menu Bar  จะแสดงวินโดว์เต็มหน้าจอ โดยตัดส่วนที่เป็น
ไตเติลบาร์ของโปรแกรมและทาสก์บาร์ของ Windows ออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำงานมากขึ้น
Full Screen Mode   จะแสดงส่วนประกอบเหมือน Full Screen Mode with Menu Bar  และจะไม่แสดงส่วนของเมนูบาร์ด้วย เพื่อให้มีพื้นที่ทำงานมากที่สุด

ย่อ / ขยายการมอง
ในการวาดส่วนประกอบของภาพที่มีขนาดเล็ก  เช่น ขนตาหรือขนคิ้วนั้นจำเป็นต้องขยาย
การมองภาพ (Zoom in)เพื่อให้วาดรายละเอียดและปรับแต่งส่วนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น การย่อ/ขยายหรือการซูม สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้                 
ย่อ / ขยายด้วยเครื่องมือ  Zoom

ย่อ/ขยายด้วยพาเนล Navigator
การซูมด้วยพาเนล Navigator จะช่วยให้ได้อัตราการซูมที่แน่นอน และสามารถเลื่อนดูส่วนที่ต้องการได้โดยจะแสดงภาพตัวอย่างและมีกรอบสีแดงบอกให้รู้ว่าขณะนั้นส่วนใดของภาพที่กำลังถูกซูมอยู่ ซึ่งหากพาเนล Navigator ไม่ถูกเปิดอยู่ก็ให้ไปเปิดพาเนลนี้ขึ้นมาก่อน  และเมื่อเปิดขึ้นมาแล้ววิธีการซูมจากพาเนล Navigator สามารถทำได้หลายวิธี โดยมีรายละเอียดดังนี้

เลื่อนดูภาพด้วยเครื่องมือ  Hand
ในกรณีที่ซูมขยายจนภาพมีขนาดใหญ่เกินกว่าขนาดหน้าต่าง ก็จะทำให้บางส่วนของภาพถูกซ่อนไว้ ซึ่งเราสามารถใช้เครื่องมือ  Hand ในการจับภาพแล้วเลื่อนดูภาพในส่วนอื่นได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

แถบไม้บรรทัด  (Ruler)

ประโยชน์ของไม้บรรทัด คือ ทำให้สามารถวัดและกำหนดตำแหน่งของวัตถุต่างๆ ได้แม่นยำขึ้น เราสามารถแสดงแถบไม้บรรทัดได้โดย

ซึ่งเลื่อนเมาส์ไปในตำแหน่งต่างๆจะเห็นว่ามีเส้นประปรากฏบนไม้บรรทัดทั้งแนวตั้งและแนวนอนเคลื่อนที่ไปตามตำแหน่งของเมาส์ ดังนั้นจึงสามารถดูตำแหน่งที่เมาส์ชี้อยู่ได้จากแถบไม้บรรทัด

นอกจากนี้ยังสามารถดูตำแหน่งวัตถุและตำแหน่งของเมาส์ได้จากพาเนล Info โดยสามารถเรียกพาเนล Info ได้โดยเลือกเมนูคำสั่ง Window > Info  จะเป็นการเปิดพาเนลขึ้นมา ดังนี้

การเปลี่ยนหน่วยวัดของไม้บรรทัด
เมื่อโปรแกรมแสดงแถบไม้บรรทัดแล้ว ก็สามารถเปลี่ยนหน่วยวัดบนไม้บรรทัดได้   ดังนี้

เส้น Grid, Guide
การใช้เส้น Grid
เส้นกริด (Grid) คือ ตารางสมมติที่แสดงขึ้นเพื่อช่วยในการวาดและการจัดวางวัตถุได้อย่างแม่นยำ โดยมีลักษณะเป็นตารางสีเทาที่มีระยะห่างแต่ละช่วงเท่าๆ  กันตามหน่วยวัดของไม้บรรทัด  โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การแสดงเส้นกริดทำได้โดยคลิกเลือกเมนูคำสั่ง View  เลือกคำสั่ง  Show Grid
  2. หากต้องการยกเลิกการแสดงเส้นกริดเลือกเมนูคำสั่ง  View  เลือกคำสั่ง  Hide Grid
  3. การกำหนดให้วัตถุอยู่ติดกับเส้นกริดโดยอัตโนมัติเมื่อทำการย้ายตำแหน่งของวัตถุนั้นคลิกเลือก เมนูคำสั่ง View เลือกคำสั่ง Snap to Grid  และเมื่อต้องการยกเลิกการให้วัตถุอยู่ติดกับเส้นกริดให้เลือกคำสั่งเดิมอีกครั้ง

การใช้เส้น Guide
เส้นไกด์ (Guide) คือเส้นที่ช่วยในการกะระยะและตำแหน่งเพื่อจัดวางวัตถุเช่นเดียวกับเส้นกริด แต่เส้นไกด์นี้สามารถสร้าง และจัดวางไปยังตำแหน่งต่างๆ ได้เอง ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน โดยปกติแล้วจะต้องมีการแสดงแถบไม้บรรทัดก่อนจึงจะสามารถสร้างเส้นไกด์ได้  โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. สร้างเส้นไกด์   คลิกลากเมาส์ออกจากแถบบรรทัดตามแนวตั้งหรือแนวนอนที่ต้องการ
  2. สร้างเส้นไกด์เป็นรูปทรงอิสระ   นอกจากเส้นไกด์ที่เป็นเส้นตรงแล้ว ยังสามารถสร้างเส้นไกด์เป็นรูปทรงใดๆก็ได้  โดยวาดและเลือกรูปทรงนั้น แล้วคลิกเมนู View  เลื่อนเมาส์มาที่ Guides  เลือกคำสั่ง  Make Guides
  3. ซ่อนเส้นไกด์  หากต้องการยกเลิกการแสดงเส้นไกด์ให้ใช้เมนูคำสั่ง View เลื่อนเมาส์มาที่ Guides  เลือกคำสั่ง Hide Guides
  4. ล็อคเส้นไกด์  เพื่อไม่ให้เส้นไกด์มรการเปลี่ยนตำแหน่ง ให้คลิกเมนู View เลื่อนเมาส์มาที่Guides  เลือกคำสั่ง Lock Guides
  5. ลบเส้นไกด์ หากต้องการลบเส้นไกด์บางเส้นออก ให้ใช้เครื่องมือ คลิกเลือกเส้นไกด์ที่ต้องการลบแล้วกดคีย์   Delete 
  6. ลบเส้นไกด์ทั้งหมด   หากต้องการลบเส้นไกด์ทั้งหมดให้คลิกเมนู View เลื่อนเมาส์มาที่ Guides เลือกคำสั่งClear Guides

การใช้ Smart Guide
สมาร์ทไกด์ (Smart Guide)    เป็นเส้นไกด์ที่ปรากฏขึ้นอัตโนมัติ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกใน
การเลือก , วาดภาพ และ วางวัตถุ  ซึ่งเมื่อเลื่อนเมาส์มาวางไว้เหนือวัตถุชิ้นใด ก็จะแสดงโครงร่างและส่วนประกอบของเส้น Path นอกจากนี้ยังบอกรายละเอียดต่างๆไม่ว่าจะเป็นองศา , จุดตัดเส้น หรือ แนวของวัตถุ (เมื่อเทียบกับวัตถุใกล้เคียง) ทำให้การวาดมีความแม่นยำมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การแสดงสมาร์ทไกด์ทำโดย คลิกเมนู View แล้วคลิกที่คำสั่ง Smart Guides
  2. การยกเลิกสมาร์ทไกด์ทำโดย คลิกเมนู View แล้วคลิกที่คำสั่ง Smart Guides ซ้ำอีกครั้ง

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf