หาหมอประกันสังคมได้ถึงกี่โมง

การหักเงินประกันสังคม สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ  อาจจะคิดว่า “ไม่จำเป็น” หรืออยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นเองคงจะดีกว่า  แต่จริง ๆ  แล้วสิทธิประกันสังคมมี “ข้อดี” อีกมากที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึง หรือยังไม่รู้ว่าการ จ่ายเงินประกันสังคมในทุก ๆ เดือนนั้น  จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

ในวันนี้ . . เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน “ประกันสังคม” จะได้รับบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยมาฝากกันค่ะ


ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้

  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด
  • กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม (ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลได้จาก สำนักงานประกันสังคม) สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี

14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ดังนี้

1. โรคหรือประสบอันตรายเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตนให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
9. การผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้น
- การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ

11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันขุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. แว่นตา

โดยเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ : ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3

ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือเป็นผู้ประกันตนเอง รู้หรือไม่ว่าเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่จ่ายไปในแต่ละเดือนนั้น ให้สิทธิประโยชน์ทดแทนในด้านไหนบ้าง โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ทั้งในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และยังมีโรคอะไรที่เข้าข่ายได้รับการรักษาอีกบ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลที่นำมาฝากกันนี้ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดใช้สิทธิของตัวเอง

สารบัญ สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล

  1. สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้าง
  2. สิทธิการรักษาตามมาตรา
  3. ขั้นตอนการเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง
  4. เปลี่ยนสิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่
  5. เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร ที่ไหนดี

สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ครอบคลุมการเจ็บป่วยปกติ เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ทันตกรรม บําบัดทดแทนไต ปลูกถ่ายไขกระดูก เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ คลอดบุตร รักษาโรคจากการทำงานหรือออฟฟิศซินโดรม และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เจ็บป่วยปกติ

เจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น 14 โรคตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เช่น เสริมสวย รักษาการมีบุตรยาก ผสมเทียม แว่นตา ใช้สารเสพติด เปลี่ยนเพศ หรือฆ่าตัวตาย จะไม่สามารถใช้สิทธิได้

เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ

กรณีที่เข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะมี 6 อาการด้วยกัน ได้แก่
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  • หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
  • ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  • มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

     แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม
  • โรงพยาบาลรัฐบาล เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 72 ชั่วโมง ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท/วัน
  • โรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง กรณีผู้ป่วยใน ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกิน 700 บาท/วัน 

โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้ 

     กรณีอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • ค่าห้อง (ICU) เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,500 บาท/วัน
  • ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง 8,000-16,00 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่ได้รับการผ่าตัดกรณีฉุกเฉิน เบิกได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง) กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • ค่าทำ CT Scan เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าทำ MRI เบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง

ทันตกรรม

  • ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด 900 บาท/ครั้ง/ปี
  • ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
  • ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้

บําบัดทดแทนไต (โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย)

  • ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1,500 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 4,500 บาท/สัปดาห์
  • เตรียมเส้นเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
  • ตรวจรักษาและน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน
  • วางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
  • ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก่อน-ระหว่าง-หลัง การปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

ปลูกถ่ายไขกระดูก

  • ค่าบริการทางการแพทย์ นับแต่วันที่เริ่มต้นเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อทำการปลูกถ่ายไขกระดูก จนถึงวันที่ได้รับการไขกระดูก (stem cell) เหมาจ่าย 500,000 บาท
  • ค่าบริการทางการแพทย์นับตั้งแต่วันที่ได้รับไขกระดูก (stem cell) จนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล เหมาจ่าย 250,000 บาท

เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา

  • ค่าบริการทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล เหมาจ่าย 35,000 บาท
  • ค่าจัดเก็บและรักษาคุณภาพดวงตาแก่สภากาชาดไทย 15,000 บาท/ดวงตา

อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค

เบิกได้ตามรายการประกาศที่สำนักงานประกันสังคมกําหนด เช่น กะโหลกศีรษะเทียม กระดูกหูเทียม เท้าเทียม แขนเทียม ไม้ค้ำยัน รถนั่งคนพิการ ฯลฯ

ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์

  • ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี
  • ค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4 สูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คลอดบุตร

  • เหมาจ่าย 13,000 บาท/การคลอดบุตร 1 ครั้ง
  • ใช้สิทธิได้ 2 คน
  • รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตรา 50% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 90 วัน

ค่าคลอดเหมาจ่าย 13,000 บาท จะรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอดและการบริบาลทารกปกติ สามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

รักษาโรคจากการทำงาน/ออฟฟิศซินโดรม

มีอาการป่วย เช่น อาการปวดหลัง บ่า ไหล่ ข้อมือ ปวดต้นคอ ปวดหัว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา


ในกรณีที่รับการรักษาที่นอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์ เช่น การฝังเข็ม หรือครอบแก้ว หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่จำเป็น ผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ตามอัตราค่ารักษาจริง

ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือจังหวัดที่มีการควบคุมในระดับสูงสุด สามารถขอตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ฟรี โดยประกันสังคมจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าบริการทางการแพทย์ซึ่งเป็นค่าตรวจคัดกรองเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคนิค Real Time PCR ประกันสังคมจะจ่ายให้ 1,600 บาท ตามระเบียบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
  • ค่ารักษาพยาบาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการจนกระทั่งรักษาหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องแล็บในอัตราที่จ่ายจริงในราคาแบบเหมาจ่ายในอัตราครั้งละไม่เกิน 600 บาท

สิทธิการรักษาตามมาตรา

สิทธิการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้ประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ประกันตนใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งนอกจากสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ยังได้รับสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต

มาตรา 33

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร 
  • สงเคราะห์บุตร 
  • ทุพพลภาพ 
  • ชราภาพ 
  • เสียชีวิต 
  • ว่างงาน

มาตรา 39

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน

การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ชราภาพ
  • เสียชีวิต

มาตรา 40

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 
โดยผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิประโยชน์ให้เลือก 3 ทางเลือก ได้แก่  


ทางเลือก 1 จ่าย 100 บาท ต่อเดือน  
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
  • เจ็บป่วย 
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิต
ทางเลือก 2 จ่าย 150 บาท ต่อเดือน  
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ  
  • เจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิต 
  • ชราภาพ
ทางเลือก 3 จ่าย 300 บาท ต่อเดือน  
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ 
  • เจ็บป่วย 
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิต
  • ชราภาพ
  • สงเคราะห์บุตร

ขั้นตอนการเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง

การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง สามารถทำได้ 3 ช่องทาง ตามขั้นตอน ดังนี้
สำนักงานประกันสังคม
  • ดาวน์โหลดแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส.9-02) คลิกดาวน์โหลด
  • จากนั้นกรอกข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ
  • ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม จะใช้แบบฟอร์ม สปส.9-02 และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

  • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อย
  • เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว ทำการ Login เข้าเว็บไซต์ แล้วคลิกที่ “ผู้ประกันตน”
  • ทำการคลิกที่ “ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล”
  • เลือกเหตุผลการเปลี่ยนสิทธิ “เปลี่ยนประจำปี” หลังจากนั้นคลิกที่ “เลือกสถานพยาบาลใหม่”
  • จากนั้นทำการเลือกสถานพยาบาลใหม่
  • เมื่อเลือกโรงพยาบาลได้แล้ว ติ๊กยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง แล้วกด “บันทึก” เป็นอันเรียบร้อย

แอปพลิเคชัน SSO Connect

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect ของสำนักงานประกันสังคม
  • iOS : คลิกดาวน์โหลด Android : คลิกดาวน์โหลด
  • จากนั้นลงชื่อเข้าสู่ระบบ (ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนให้ลงทะเบียนก่อน)
  • เลือก “เปลี่ยนโรงพยาบาล”
  • กรอกข้อมูล และเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการเปลี่ยน
  • อ่านหลักเกณฑ์และรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นกด “ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง” และ “ยืนยัน”

เปลี่ยนสิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่

การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาล สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี แต่สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม เป็นต้นไป
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ทำงานประจำ หรือพิสูจน์ทราบว่าผู้ประกันตนไม่ได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง สามารถยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่เกิดเหตุ

เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร ที่ไหนดี

  • คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทาง เลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน หรือใกล้ที่พักอาศัย เพื่อจะได้เดินทางสะดวก ไม่เสียเวลา
  • หากมีโรคประจำตัว ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางตามโรคที่เป็น หรือโรงพยาบาลที่สามารถส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้น
  • เลือกโรงพยาบาลที่มีสถานพยาบาลเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเดินทางไปรักษาได้สะดวก และยิ่งถ้าโรงพยาบาลนั้นมีเครือข่ายจำนวนมาก ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นมีทางเลือกมากขึ้น
โรงพยาบาลพีเอ็มจี ให้บริการผู้ใช้สิทธิประกันสังคม อย่างมีมาตรฐาน ให้การบริการอย่างรวดเร็ว มีบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ พร้อมให้บริการ

สิทธิพิเศษสำหรับ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลพีเอ็มจีนั้น สามารถใช้บริการโรงพยาบาลหรือคลินิกในเครือข่ายได้ถึง 11 แห่งดังนี้
  • โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ 02-0891111
  • โรงพยาบาลพีเอ็มจี บางขุนเทียน 02-4772290-3
  • พีเอ็มจีบางขุนเทียน 2 คลินิกเวชกรรม 02-8943713-4
  • สหคลินิก พีเอ็มจีบางขุนเทียน 5 02-4503650-1
  • พีเอ็มจีเทียนทะเล คลินิกเวชกรรม 02-8920145
  • พีเอ็มจีเพชรทองคำ คลินิกเวชกรรม 02-4521407
  • ภัทรคลินิกเวชกรรม 02-7185556
  • คลินิกเวชกรรมมหาชนพระประแดง 02-4631579
  • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (โพธิ์แจ้) 034-115377
  • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (วัดพันท้าย) 034-115071
  • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (เศรษฐกิจ 1) 034-115395

โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 24:00 น.

สรุป

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านสุขภาพ รักษาอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร และยังครอบคลุมด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต
สำหรับผู้ที่เป็นผู้ประกันตนและอยากเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาลปัจจุบัน สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และแอปพลิเคชัน SSO Connect ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคมของทุกปี โดยควรเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน ใกล้บ้าน และมีศักยภาพสูงในการให้บริการทางการแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ

สัญญาณเตือน มะเร็งเต้านม ไม่อยากเสี่ยงควรรู้วิธีป้องกัน พร้อมวิธีการรักษา

‘มะเร็งเต้านม’ คือโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีความสำคัญ เพื่อให้พบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และทำการรักษาได้ทันท่วงที

  • 8 มิถุนายน 2022

  • 324

บทความ

ฝังยาคุมกำเนิด ดีอย่างไร? ช่วยอะไรได้บ้าง? ท้องไม่พร้อม ป้องกันได้

การฝังยาคุมกำเนิดดีอย่างไร? เหมาะกับใคร? ตัวยาสำคัญและการออกฤทธิ์รวมถึงประสิทธิภาพในป้องกันการตั้งครรภ์ ผลไม่พึงประสงค์ต่าง ข้อดี-ข้อเสียต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีฝังยาคุมกำเนิด ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

  • 8 มิถุนายน 2022

  • 525

บทความ

โควิดวัคซีนในเด็ก ก่อนฉีดพ่อแม่ต้องรู้อะไร เพื่อความปลอดภัยของลูก

ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ผู้ปกครองจึงควรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เพื่อคลายความกังวลใจ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยของลูก ตอบทุกคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ที่นี่

สิทธิประกันสังคม โรงพยาบาล ใช้ได้กี่โมง

โรงพยาบาลเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง -แผนกผู้ป่วยนอกประกันสังคมเปิดให้บริการเวลา 8.00-19.00 น.

มีประกันสังคมไปหาหมอเสียเงินไหม

ให้สิทธิคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เช่นอาการป่วยต่างๆ หรือเมื่อประสบอุบัติเหตุ โดยผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาฟรีๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ได้เลือกไว้ตั้งแต่ตอนสมัครประกันสังคม นอกจากนี้หากต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งของแพทย์ ก็จะได้รับการทดแทนการขายรายได้เป็นจำนวนครึ่ง ...

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน

2.1 หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น สำหรับผู้ป่วยในเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 72 ชั่วโมง ในส่วนค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาทต่อวัน

ไปหาหมอที่คลินิกเบิกประกันสังคมได้ไหม

หากคุณโชคร้ายเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือป่วยหนักจนต้องได้รับการรักษาแบบทันท่วงที สามารถเข้ารับการรักษาในคลินิกและโรงพยาบาลใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารักการรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่เรามีสิทธิอยู่ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะในกรณีนี้สำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาที่เกิดขึ้นภายในไม่เกิน ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf