วัดในวังของกรุงธนบุรีคือวัด

เกร็ดประวัติวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ชั้นและตำบลที่ตั้งวัด

วัดอรุณราชวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และฟากตะวันออกของถนนอรุณอมรินทร์ ระหว่างคลองนครบาลหรือคลองวัดแจ้งกับพระราชวังเดิม ตำบลวัดอรุร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เป้นวัดโบราณสร้างมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอก ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดมะกอกนอก แล้วเปลี่ยนเป็น วัดแจ้ง วัดอรุรราชธาราม และวัดอรุณราชวราราม โดยลำดับ ปัจจุบันเรียกชื่อว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ชื่อวัด

มูลเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้แต่เดิมว่า วัดมะกอก นั้น ตามทางสันนาฐานเข้าใจว่าคงจะเรียกคล้อยตามตำบลที่ตั้งวัด ซึ่งสมัยนั้นมีชื่อว่า บางมะกอก (เมื่อนำมาเรียกรวมกับคำว่า วัดในตอนแรกๆคงเรียกว่า วัดบางมะกอก ภายหลังเสียงหดลงคงเรียกสั้นๆว่า วัดมะกอก ) ตามคติเรียกชื่อวัดของไทยสมัยโบราณ เพราะชื่อวัดที่แท้จริงมักจะไม่มี จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อตำบลที่ตั้ง เช่น วัดบางลำพู วัดปากน้ำ เป็นต้น ต่อมาเมื่อได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกันนี้ แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดที่ตั้งใหม่ว่า วัดมะกอกในแล้วเลยเรียกวัดมะกอกเดิมซึ่งอยู่ตอนปากคลองมะกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก เพื่อให้ทราบว่า เป้นคนละวัด

ส่วนที่เปลี่ยนเป้นเรียกว่า วัดแจ้ง นั้น เล่ากันเป้นทำนองว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา สำเร็จเรียบร้อย ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาพลล่องลงมาทางชลมารค พอถึงหน้าวัดนี้ ก็ได้อรุณหรือรุ่งแจ้งพอดี ทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปทรงสักการบูชาพระมหาธาตุ ขณะนั้นสูงประมาณ ๘ วา ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหน้าวัด แล้วเลยเสด็จประทับแรมที่ศาลาการเปรียญใกล้ร่มโพธิ์ ต่อมาได้โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดแจ้ง เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์

ชื่อ วัดแจ้ง นี้มีเรื่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ว่า “หม่อมฉันเคยเห็นแผนที่เมืองธนบุรีที่ฝรั่งเศสทำเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในแผนที่นั้นมีแต่วัดเลียบ กับวัดแจ้ง แต่วัดโพธิ์หามีไม่ ตรงที่วัดพระเชตุพนเวลานั้นยังเป็นชานป้อมใหญ่ ซึ่งอยู่ราวโรงเรียนราชินี เพราะฉะนั้นวัดโพธิ์เป้นวัดสร้างเมื่อล่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ มาแล้ว




คลิ๊กเพื่อเที่ยวชมความสวยงามของวัดอรุณราชวรารามแบบเสมือนจริงทั้งพระอาราม

                  จากหลักฐานนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า วัดแจ้งนั้นมีมาก่อนที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรีตามเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้ว และชาวฝรั่งเศสผู้ทำแผนที่เมืองธนบุรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ก็คือ เรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Claude  de  Forbin) กับนายช่าง เดอ ลามาร์ (de  Lamare)  ซึ่งต่อมาเดอ ฟอร์บังนั้น ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  ‘ออกพระศักดิสงคราม’  มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับป้อมและเป็นเจ้าเมืองที่บางกอกด้วย  อันเป็นบำเหน็จความชอบสำคัญ   เพราะว่ายศบรรดาศักดิ์นี้ก็เทียบเท่ากันกับชั้นจอมพลของประเทศฝรั่งเศส   ราชทินนามนี้แปลว่า  ‘เทพเจ้าซึ่งมีแสงสว่างและชำนาญในการสงคราม’

                  เรือเอก เดอ  ฟอร์บัง (Claude  de  Forbin) และนายช่าง เดอ ลามาร์ (de  Lamare) นั้น  ได้เดินทางเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา  เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๒๒๘  พร้อมกับคณะราชทูตและคณะบุคคลอีกหลายท่าน    เชอวาลิเอร์  เดอ  โชมองต์  เป็นราชทูตและผู้บัญชาการกระบวนเรือรบหลวง   ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔  กษัตริย์กรุงฝรั่งเศส   ทรงแต่งตั้งมาเจริญทางพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 

                  การปฏิสังขรณ์วัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒  ได้ทรงกระทำมาตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ   เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และยังประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม(๓)  นั้น  ได้สำเร็จลงในต้นปีมะโรง พ.ศ.๒๓๖๓    พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ   ให้มีการฉลองแล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”(๔)  

                  ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก    แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น  “วัดอรุณราชวราราม”  ดังที่เรียกในปัจจุบันนี้

เขตวัดและที่ธรณีสงฆ์

เขตวัด เฉพาะตอนที่เป็นพุทธาวาสและสังฆาวาส มีดังนี้

  • ทิศเหนือจดกำแพงวัดด้านเหนือ หลังโรงเรียนประถมทวีธาภิเศก
  • ทิศใต้จดกำแพงพระราชวังเดิม
  • ทิศตะวันออกจดฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และ
  • ทิศตะวันตกมีกำแพงวัดติดถนนอรุณอมรินทร์

เป็นเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๖๓ วา

ที่ธรณีสงฆ์  ซึ่งทางวัดให้เอกชนเช่า มีอยู่ทางด้านเหนือตอนที่ติดกับกำแพงวัดหลังโรงเรียนประถมทวีธาภิเศก ริมคลองนครบาลหรือคลองวัดแจ้ง เป้นเนื้อที่ประมาณ ๓ งาน ๗๗ วาเศษ กับที่ทางด้านตะวันตกของถนนอรุณอมรินทร์ออกไปมีเนื้อที่ ๓๓ ไร่ ๒ งาน ๒๕ วา



ผู้สร้างและปฏิสังขรณ์วัด

สมัยกรุงศรีอยุธยา

                  ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ  ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑) เพราะมีแผนที่ซึ่งชาวฝรั่งเศสทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานดังกล่าวมา  ในวัดนี้เอง  ยังมีพระอุโบสถและพระวิหารของเก่าอยู่ ณ  บริเวณหน้าพระปรางค์  ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งสันนิษฐานว่า  เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา(๑) 


สมัยกรุงธนบุรี

                  เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามา  ณ  กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๑ โดยทรงพระราชดำริว่ากรุงศรีอยุธยา  “เป็นเมืองใหญ่กว้าง ทั้งพระราชวังก็มีปราสาทสูงใหญ่ถึง ๕ องค์  และวัดวาอารามก็ล้วนแต่ใหญ่โต  เมื่อบ้านเมืองถูกพม่าข้าศึกและพวกทุจริต   เอาไฟจุดเผาเป็นอันตราย

(๑) ดู – สาส์นสมเด็จ ภาค ๑  องค์การค้าของคุรุสภา   พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๕๐๕    หน้า ๔๒


                  และมูลเหตุที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  ทรงตั้งสถานที่ที่เรียกว่า “พระราชวังเดิม” เป็นพระราชวังขึ้นนั้น  ก็คงจะเป็นเพราะสถานที่ตรงนี้เป็นตัวเมืองธนบุรีอยู่แล้ว  ความจริง  ตัวเมืองธนบุรีเดิมทีเดียวนั้น อยู่ตรงปากคลองบางหลวง ซึ่งเป็นทางแยกไปปากน้ำท่าจีน   ตรงวัดคูหาสวรรค์ หรือที่เรียกว่า วัดศาลาสี่หน้า(๒)   แต่ครั้นคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาที่สมเด็จพระเจ้าไชยราชาธิราช (พ.ศ.๒๐๕๗ – ๒๐๗๐) โปรดให้ขุดตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยเดี๋ยวนี้    มาถึงปากคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวง   น้ำในคลองลัดกัดตลิ่งพังกว้างออกไปทุกที  จนกลายเป็นแม่น้ำ (ตอนหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ผ่านหน้าวัดระฆังโฆสิตาราม  พระบรมมหาราชวังและวัดอรุณราชวราราม)  จึงได้ย้ายตัวเมืองมาอยู่ตรงที่ซึ่งเป็นพระราชวังเดิมปัจจุบันนี้

(๑) ดู – ตำนานกรุงเก่า   ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร  เดชะคุปต์)   พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๕๐๓   หน้า ๑๔-๑๕

(๒) ดู – เรื่องภูมิศาสตร์สยาม   ของกรมตำรา   กระทรวงศึกษาธิการ   พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๔๖๘   หน้า ๘๖

                  เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสร้างพระราชวังใหม่นั้น ได้ทรงเอากำแพงป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง   แล้วโปรด “ให้ขยายเขตกั้นเป็นพระราชวังถึงคลองนครบาล (คลองวัดแจ้ง) เพราะฉะนั้น วัดแจ้งจึงตกเข้ามาอยู่กลางพระราชวัง   เป็นการยกเว้นเลิกไม่ให้พระสงฆ์อยู่อาศัย  เขตพระราชวังตะวันตกจดวัดโมลีโลกย์   ซึ่งเป็นตลาดท้ายสนม  เรียกว่า วัดท้ายตลาด ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  ระยะ ๑๕ ปีนั้น  ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และพระวิหารเดิมของวัดแจ้ง ให้บริบูรณ์ดีขึ้นตามที่จะทำได้” (๑)  

                  การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี   ทรงสร้างพระราชวังและขยายเขตพระราชฐานจนถึงกับเอาวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวังนั้น  คงจะทรงถือแบบอย่างพระราชวังในกรุงศรีอยุธยา ที่มีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในพระราชวัง  การปฏิสังขรณ์วัดเท่าที่ปรากฏตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร ก็คือ  ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระวิหารของเก่าที่อยู่หน้าพระปรางค์  กับโปรดให้สร้างกำแพงพระราชวังโอบล้อมวัดดังกล่าว  และในระยะต่อมาก็คงจะได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่น ๆ อีก   เพื่อให้สมกับที่เป็นวัดภายในพระราชวัง   แต่ไม่ปรากฏรายการว่าได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างสิ่งใดขึ้นบ้าง

พระแก้วมรกต

                  ในปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ (พ.ศ.๒๓๒๒) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ตีได้เมืองเวียงจันทน์ แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์  คือ พระแก้วมรกตกับพระบางลงมาด้วย    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี   จึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ   เจ้าฟ้ากรมขุน-อินทรพิทักษ์   ขึ้นไปรับล่วงหน้าในวันพฤหัสบดี  เดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ เวลา ๑๑ ทุ่ม ครั้นถึงวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๒ ค่ำ   เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับ  ณ  พระตำหนักบางธรณี  เวลาบ่าย ๓ โมง โปรดให้แห่ลงมา ณ กรุงธนบุรี  มีมหรสพสมโภชมาในขบวนเรือตลอดระยะทาง  เมื่อถึงวัดแจ้งได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นที่สะพานป้อมต้นโพธิ์ ปากคลองนครบาลหรือคลองวัดแจ้ง ซึ่งอยู่เยื้องกับหน้าพระอุโบสถปัจจุบัน (ขณะนั้นยังไม่ได้สร้าง) แล้วพักไว้  ณ โรงชั่วคราว โปรดให้มีมหรสพสมโภชโดยสังเขป จากนั้นโปรดให้ปี่พาทย์ไทย  ปี่พาทย์รามัญ และมโหรีไทย  แขก  ฝรั่ง  จีน  ญวน  เขมร  ผลัดเปลี่ยนกันสมโภชต่อไปเป็นเวลาอีก ๒ เดือน ๑๒ วัน



คลิ๊กเพื่อเที่ยวชมความสวยงามของวัดอรุณราชวรารามแบบเสมือนจริงทั้งพระอาราม

                  ครั้นถึงวันวิสาขปุรณมี  เพ็ญกลางเดือน ๖   ปีชวด โทศก จุลศักราช ๑๑๔๒ (พ.ศ.๒๓๒๓) โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานไว้ในมณฑป  ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถเก่าและพระวิหารเก่าหน้าพระปรางค์   อยู่ในระยะกึ่งกลางพอดี   มีการสมโภชใหญ่  ๗ คืน  ๗ วัน (๑) 

(๑) ดู- จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี และพระราชวิจารณ์ฯ สำนักพิมพ์ศรีปัญญา  พิมพ์เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๕๒  หน้า  ๑๐๘-๑๑๑

                  เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง หรืออย่างที่ในพระราชพงศาวดารเรียกว่า “โรงพระแก้ว” นั้น  มีหลักฐานไม่สู้จะตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ก็คือ  โรงพระแก้วที่สมโภชในวันวิสาขปุรณมีกับสถานที่ประดิษฐานครั้งสุดท้าย  ก่อนจะอัญเชิญมาประดิษฐาน  ณ  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในพระบรมมหาราชวัง   ฝั่งกรุงเทพมหานคร   จึงขอประมวลหลักฐานต่าง ๆ มาลงไว้ดังต่อไปนี้

                  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔  ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เมืองเวียงจันทน์แล้ว  ก็เชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรองค์นี้ แลพระบางมาด้วย แล้วเลิกทัพกลับลงมาพระนครธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินใหญ่ในครั้งนั้น   ก็ให้สร้างโรงพระแก้วที่หลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามในพระราชวัง  เสร็จแล้วให้เชิญพระมหามณีรัตนปฏิมากรนี้  แลพระบางขึ้นประดิษฐานในโรง   เสร็จแล้วให้มีการสมโภชต่าง ๆ” (๑)   

                  ในประวัติวัดอรุณราชวราราม กล่าวไว้ว่า “พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  ได้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒  และได้ประดิษฐานอยู่ตลอดรัชสมัยกรุงธนบุรี   ที่ที่ประดิษฐานนั้น  เป็นมณฑปตั้งอยู่ระหว่างโบสถ์และวิหารน้อย   ด้านหลังในบริเวณพระปรางค์   บัดนี้   มณฑปนั้นไม่มีแล้ว” (๒)  

(๑) ดู – ตำนานพระแก้วมรกต  พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่ ๔   พิมพ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระธนรัตน-

      พิมล  (โต๊ะ  สุขะวรรณ)  พ.ศ.๒๔๙๗  หน้า ๑๐ – ๑๑

(๒) ดู – ที่ระลึกงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ  วัดอรุณราชวราราม  พ.ศ. ๒๕๐๑   หน้า ๒๑

                  ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต  ตามหลักฐานทั้งสองนี้ ใกล้เคียงกันตรงที่ว่าอยู่หลังพระอุโบสถและพระวิหารเก่าในบริเวณพระปรางค์   ต่างกันแต่ที่หลักฐานของทางวัดเรียกที่ประดิษฐานว่า  “มณฑป”  และว่าอยู่กึ่งกลางระหว่างพระอุโบสถและพระวิหารเก่าด้านหลัง (ปัจจุบันปลูกต้นตะโก) ซึ่งทางวัดยังชี้แจงเพิ่มเติมอีกว่า ได้รับคำยืนยันจากพระเถระผู้สูงอายุรูปหนึ่ง  คือท่านพระครูวิสุทธิสรภาณ (แผ้ว) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม   ว่าได้ขุดพบรากฐานมณฑปเมื่อเอาต้นตะโกมาปลูก

                  สมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   ทรงวินิจฉัยที่ประดิษฐานหรือโรงพระแก้วไว้   ตามลายพระหัตถ์หลายฉบับ   ขอนำสาระสำคัญในลายพระหัตถ์ที่เกี่ยวกับโรงพระแก้วมาลงไว้  ดังต่อไปนี้ 

                  ลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   วันที่  ๓๐  พฤศจิกายน  ๒๔๕๘  ทรงตั้งเป็นปัญหาขึ้นก่อนว่า

                  “เรื่องโรงพระแก้ว   เป็นที่เข้าใจกันว่า  คือ วิหารหลังข้างใต้ที่คู่เป็นโบสถ์เก่า  มีเหตุที่เห็นสม  ที่ข้างในบนฐานปูน  มีรูปพระเจดีย์สร้างไว้ใหม่แทนพระแก้ว   แต่มีเหตุที่สงสัยเหมือนกัน  ด้วยโบสถ์แลวิหารของเก่านี้   ทั้งรูปร่างแลขนาดเท่ากัน  พระปรางค์อยู่ข้างหลังก็ได้ศูนย์กลาง   จดหมายเหตุกล่าวว่าพระปรางค์เดิมมีก่อนพระปรางค์ใหญ่นี้สวม  แต่ข้อที่ทำให้ฉงนนักนั้น  เหตุใดจึงเรียกว่าโรงพระแก้ว  ไม่เรียกว่าวิหารพระแก้ว  ข้อปัญหาที่จะทูลหารือนั้น  คือวิหารนั้นเป็นโรงพระแก้วแน่แล้วหรือ   หรือว่าโรงพระแก้วเป็นของปลูกชั่วคราวขึ้นในที่อื่น”


                  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ได้กราบทูลตอบโดยลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๖ ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๔๕๘ ว่า

 
                 “ปัญหาข้อสอง ซึ่งว่าโรงพระแก้วนั้น คือวิหารเก่าวัดอรุณ  ตามที่เข้าใจกันนั้นฤามิใช่   ในข้อนี้พิจารณาเห็นดังนี้

                  ๑. วิหารเก่าวัดอรุณนั้น  เป็นฝีมือที่ทำครั้งกรุงเก่าพร้อมกับโบสถ์เก่า  ไม่ใช่ฝีมือทำในแผ่นดินพระเจ้าตาก

                  ๒. ในพระราชพงศาวดาร หน้า ๖๓๕  มีว่า “ครั้นมาถึงตำบลบางธรณี  จึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปโดยทางชลมารค พร้อมด้วยขบวนพยุหแห่ลงมาตราบเท่าถึงพระนคร  แล้วให้ปลูกโรงรับเสด็จพระพุทธปฏิมากรพระแก้วพระบาง  อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้  ณ โรงริมพระอุโบสถวัดแจ้ง  ภายในพระราชวัง”

                  คำว่า “ปลูก”  จำเป็นต้องเป็นโรงที่ทำขึ้นใหม่แลต้องเป็นไม้  พระวิหารเป็นของเก่าแลเป็นของก่อ  จะเข้าในคำ “ปลูก” ไม่ได้เป็นอันขาด ถ้าตำแหน่งปลูกซึ่งระบุไว้ในที่นี้ถูก โรงนั้นจะต้องอยู่ข้างซ้ายโบสถ์เก่า

                  ๓. ในพระราชวิจารณ์  ตอนต้นจดหมายเหตุ หน้า ๑๒ ว่า “พยุหกระบวนเรือประทับท่าวัดแจ้ง เชิญพระแก้วขึ้นทรงพระยานุมาศ   แห่มา  ณ  โรงพระแก้ว   อยู่ที่ท้องสนาม”  ทรงพระราชวิจารณ์ประกอบร่างหมายเก่า หน้า ๑๑๕ ว่า  “พระแก้วมรกตมาขึ้นที่ตะพานป้อมต้นโพธิ์   ปากคลองนครบาล   คงจะอยู่เยื้องเหนือหน้าพระอุโบสถเดี๋ยวนี้   สัสดีเกณฑ์ให้ตั้งราชวัตรฉัตรเบญจรงค์รายทางแลล้อมรอบโรงพระแก้ว  ตั้งกระบวนแห่มีเครื่องสูง  กลองชนะคู่แห่ ๔๐  แห่เข้าประตูรามสุนทรมาไว้ในโรง” 

                  ข้อความในพระราชวิจารณ์เช่นนี้ ไม่ใช่แต่ส่องให้เห็นว่าไม่ใช่พระวิหารเก่า วัดแจ้งเท่านั้น ยังส่องให้เห็นไกลไปจากวัดแจ้งเสียอีกด้วย   ถ้าจะเดาให้ใกล้   ที่ตั้งโรงพระแก้วเห็นจะปลูกที่สนามในวัง  หลังวัดแจ้งอย่างสมโภชช้างขึ้นโรงใน  ในพระบรมมหาราชวังเรานี้

                  ๔. พระเจดีย์ในวิหารเก่าวัดอรุณนั้น  เห็นเป็นพระเจดีย์เก่า  ไม่ใช่ทำใหม่  เพราะสังเกตเห็นได้สองอย่าง คือเหนือบัลลังก์ขึ้นไป  มีบัวที่เรียกว่าฝาละมี  ซึ่งเดิมหมายเป็นใบฉัตรมีลูกมะหวดรับเหมือนพระเจดีย์ในกรุงเก่า  เช่น วัดสบสวรรค์นั้นอย่างหนึ่ง  ซึ่งผิดกับพระเจดีย์ชั้นหลัง  เลิกบัวฝาละมีพ้นบัลลังก์ขึ้นไปก็ถึงบัวกลุ่มทีเดียว  กับฐานชั้นสองชั้นสามไม่มีหน้ากระดานรองสิงห์อีกอย่างหนึ่ง นี่ก็เป็นแบบเก่าเหมือนกันพระเทพสุธี ว่าพระเจดีย์องค์นี้หล่อด้วยดีบุก ได้ยินว่าเดิมอยู่วัดราชคฤห์  ฤาวัดอะไรไม่แน่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  ตรัสสั่งให้เชิญมาไว้  ดูทีก็จะสมจริง เพราะมีรูปจตุโลกบาลอยู่สี่ทิศ เป็นฝีมือในรัชกาลที่ ๔  เมื่อเช่นนั้น  การที่วิหารนี้เคยว่างไม่มีอะไรตั้งอยู่คราวหนึ่งก็เป็นการแน่   ทำไมจึงว่าง  เหตุนี้แลจูงให้ไปเข้าใจกันว่าตั้งพระแก้วในนั้น  ฤาจะเป็นได้ดังนี้  คือสมโภชแล้วเชิญย้ายจากโรงมาไว้ในวิหาร

                  ๕. แต่ในพระราชพงศาวดาร  หน้า ๖๗๕  กล่าวว่า  “ครั้นถึงวันจันทร์  เดือนสี่  ขึ้นสิบสี่ค่ำ ทรงพระกรุณาให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต  จากโรงในวังเก่าฟากตะวันตก  ลงทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง  มีเรือแห่เป็นขบวน  ข้ามฟากมาเข้าพระราชวัง  อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถในพระอารามใหม่”


                  คงใช้คำว่า “โรง”  อยู่กระนั้นเอง   ส่องให้เห็นว่า  พระแก้วทรงอยู่ในโรงเดิม  ไม่ได้ย้ายไปไหน  โดยหลักฐานทั้งปวงนี้  พอลงสันนิษฐานได้ว่าวิหารเก่าไม่ใช่โรงพระแก้ว  แลไม่ได้ไว้พระแก้ว เพราะไม่พบปรากฏในที่แห่งใดว่าได้ย้ายพระแก้วไปจากโรงเดิม   แลก็ไม่น่าจะได้ย้ายจริงด้วย   เพราะต่อแต่นั้นไป  ก็ดูมีแต่เรื่องวุ่นวายไปด้วยอาการเสียพระสติแก่กล้า   ไม่มีเวลาที่จะประกอบการอันเป็นสารประโยชน์  ถ้าหากว่าได้ย้ายแล้ว  ควรจะมีที่ไว้ให้ดีกว่าขอยืมเอาวิหารเก่า  เพราะว่าพระแก้วมิใช่ของเลว  อีกประการหนึ่งทำลายพระเก่าให้วิหารเอาที่ตั้งพระแก้ว  กลัวจะไม่มีใครทำ   ถ้ามีใครทำ  ก็คงถูกติเตียนก้องมาจนถึงทุกวันนี้”

 
                 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงแย้งมาโดยลายพระหัตถ์  ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๕๘ ว่า

                  “อรรถาธิบายเรื่องวัดอรุณฯ ที่ประทานมา แจ่มแจ้งดีมาก ขอขอบพระเดชพระคุณที่ทรงพระอุสาหะถึงเสด็จข้ามไปทอดพระเนตร  แลอุตส่าห์ทรงเรียงอธิบายประทาน

 
                 อยากจะขอทูลย้อนสัตย์สักหน่อย คือ ที่ทรงวินิจฉัยว่า โรงพระแก้วที่พระเจ้ากรุงธนบุรีสร้าง ว่ามิใช่พระวิหารเก่านั้น  ตรงตามความคิดหม่อมฉัน  เห็นว่าโรงพระแก้วเป็นของสร้างชั่วคราวสำหรับการสมโภชอย่างสมโภชช้างเผือกโรงนอก จึงเรียกว่าโรง  แลเหตุใดจึงสร้างสมโภชชั่วคราว   ก็พอเข้าใจได้  เพราะโบสถ์และวิหารวัดแจ้งเล็ก ไม่เป็นที่เปิดเผยให้มหาชนไปมานมัสการได้สะดวก   จึงปลูกโรงสมโภช   แต่มาคิดเห็นว่า เมื่อสมโภชแล้ว   เห็นจะเชิญเข้าไปประดิษฐานไว้ในพระวิหาร   เพราะ :-

                  ๑. โรงสมโภชไม่เป็นที่จะพิทักษ์รักษาในเวลาปกติได้ดีเท่าในพระวิหาร   แลเป็นโรงทำชั่วคราว   คงจะกีดที่หรือรักษาไว้ให้ดีอยู่เสมอไม่ได้

                  ๒. ถ้าหากจะเชิญพระแก้วไปเก็บรักษาไว้ที่ใดให้ดี   ในเวลานั้นมีแต่พระวิหารแห่งเดียว   ไม่มีที่อื่น

                  ๓. โดยปกติ โบสถ์หรือวิหารต้องมีพระพุทธรูป ที่วิหารว่างพระพุทธรูป แลปรากฏว่าพระเจดีย์มาแต่อื่นเมื่อภายหลัง  ข้อนี้เป็นพยานว่าได้เคยเชิญพระพุทธรูป  ซึ่งเคยมีในพระวิหารนั้นออกจากวิหารคราว ๑ ไม่มีคราวใดที่จะควรเชิญพระเก่าออก  นอกจากคราวจัดพระวิหารเป็นที่ตั้งพระแก้วมรกต  ย้ายพระพุทธรูปเผื่อเอาที่ตั้งพระพุทธรูป  เห็นจะถือว่าไม่เป็นการบาป  พระพุทธรูปอะไรบ้างที่เชิญไปจากวิหาร แลเชิญเอาไปไว้ที่ไหน ข้อนี้พิจารณาเห็นได้   คือย้ายเอาไปไว้ในโบสถ์เก่านั้นเอง ด้วยมีพระพุทธรูปเก่า ๆ ตั้งโดยทำนองที่เห็นว่าเป็นของจัดใหม่หลายองค์ แลซ้ำทำลับแลลูกฟักบังหน้าพระด้วย น่าจะทำในคราวเดียวกันนั้น

                  ๔. ความปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ว่าเมื่อพระยาสรรค์เอาพระเจ้ากรุงธนบุรีควบคุมขังไว้นั้น ว่าขังไว้ในพระอุโบสถวัดแจ้ง  ถ้าพระวิหารว่างอยู่หรือแม้มีพระพุทธรูปสำคัญ น่าจะเอาไว้ในพระวิหาร  จะเป็นด้วยพระวิหารเป็นที่ไว้พระแก้วมรกต   จึงเอาพระเจ้ากรุงธนบุรีไปคุมไว้ในพระอุโบสถ


                  ด้วยข้อสันนิษฐานเหล่านี้ เห็นว่าความจริงจะยุติกันหมด คือ แรกพระแก้วมาถึงตั้งสมโภชที่โรงพระแก้ว  เสร็จการสมโภชแล้วเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดแจ้ง   เหตุเป็นด้วยผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดาร  เขียนหนังสือผิดไปคำเดียว  ที่ว่าเชิญพระแก้วจากโรงพระแก้วข้ามมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม   ถ้าว่าเชิญจากพระวิหารวัดแจ้งแล้ว  ก็จะยุติกันทุกฝ่าย

 
                 ถ้าจะวินิจฉัยต่อไปอีกข้อ ๑  ว่าโรงพระแก้วปลูกที่ไหน ในหนังสือเก่ามีแต่ว่า ปลูกในสนามในกำแพงพระราชวัง  คงจะเป็นพระราชวังชั้นนอก  สันนิษฐานตามรูปแผนที่วัดอรุณฯ โรงพระแก้วน่าจะอยู่ตรงพระอุโบสถที่สร้างใหม่นั้นเอง   ต่อไปตอนพระวิหารไว้สนามสำหรับเครื่องมหรสพหน้าพลับพลาหน่อย ๑  ตั้งพลับพลาราวตรงที่กุฎีพระเทพสุธี  ดูเหมาะอย่างนี้  ถ้าลงมาริมน้ำติดโบสถ์เก่าแลพระปรางค์  แลจะใกล้กำแพงวังข้างแม่น้ำนัก  บางทีเมื่อกะที่สร้างพระอุโบสถใหม่  จะกะลงตรงนั้น ด้วยเป็นที่โรงพระแก้วมาแต่ก่อน  ก็จะเป็นได้ดอกกระมัง  วินิจฉัยตอนนี้โดยอัตโนมัติแท้”

                  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ได้ทรงเห็นด้วยตามลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ดังลายพระหัตถ์  ลงวันที่  ๗  ธันวาคม  ๒๔๕๘  ว่า

 
                 “พระดำริเรื่องวิหารพระแก้ว  ซึ่งรับสั่งย้อนสัจมา  เป็นญัตติตกลง  เกล้ากระหม่อมเห็นด้วยตามพระดำริแล้ว  ข้อที่พระวิหารว่างอยู่เพราะเหตุใดนั้น   เป็นข้อที่ขัดข้องใจ  คิดไม่ออกจนเวลาที่ส่งหนังสือไปถวาย  เกล้ากระหม่อมได้คิดเหมือนกันว่า ฉลองแล้วจะย้ายเข้าไปไว้ในพระวิหาร จึงได้เขียนลงแล้ว แต่กลับหวลไปยึดเอาพระราชพงศาวดารซึ่งกล่าวว่าเชิญพระแก้วจากโรงข้ามมานั้นอีก   จึงคะเนหาเหตุประกอบที่ว่าอาจค้างในโรงนั้นได้  ด้วยเหตุสัญญาวิปลาสหมกมุ่นไปในทางอื่น  แลคิดว่าถ้าได้ย้ายจากโรง  ควรจะได้สร้างวิหารใหม่ให้ดีกว่านั้น  พระที่ยัดเข้าใหม่ในโบสถ์เก่าตามรับสั่งนั้นก็เห็น   แต่ไม่จับเอาเป็นพยาน  ไปนึกเสียว่าคงมีพระประธานองค์ใหญ่เหมือนในโบสถ์  ซึ่งจะยกไม่ได้ต้องรื้อทำลาย  อันเป็นการยากที่จะทำได้  แต่อันที่จริงจะไม่มีพระประธานองค์ใหญ่อยู่ก็ได้เหมือนกัน  อย่างไรก็ดี  ข้อที่วิหารว่างอยู่นั้นเป็นองค์พยานอันสำคัญยิ่งกว่าในหนังสือซึ่งแต่งภายหลัง    ควรฤาไปเชื่อคำในหนังสือมากไปกว่าพยานที่ตาเห็น   อยู่ข้างจะเสียใจ  แต่ก่อนแต่ไรก็ไม่เคยเป็น  พระดำริซึ่งทรงทักท้วงมานั้นเป็นถูกแท้แล้ว  กั้นลับแลก็เป็นคราวนั้นเอง คงใช้โบสถ์เป็นหอพระ ประทับอยู่ที่นั้นโดยมาก ห้องในเป็นที่นมัสการ ห้องนอกเป็นที่ประทับเจริญพระกรรมฐาน   การที่พระยาสรรค์เชิญเสด็จไปคุมไว้ที่นั้น  ดูก็เป็นความสะดวกกอบด้วยความเคารพ  คือคุมไว้  ณ  ที่ประทับนั้นเอง” (๑)  

(๑) พระวินิจฉัย  ‘โรงพระแก้ว’ นี้   อยู่ในสาส์นสมเด็จ  ภาค ๑   องค์การค้าของคุรุสภา  พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๕๐๕   หน้า ๒๖ – ๕๐

                  พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้  เป็นเวลาราว  ๕ ปี (พ.ศ.๒๓๒๒ – ๒๓๒๗) จึงได้ย้ายมาประดิษฐาน  ณ  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในพระบรมมหาราชวัง    ฝั่งกรุงเทพมหานครดังกล่าวมา   ส่วนพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์ ๑  คือพระบางนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดพระราชทานให้เจ้านันทเสน  นำกลับคืนไปนครเวียงจันทน์เมื่อคราวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านันทเสน  ซึ่งลงมาอยู่กรุงธนบุรีตอนปลายรัชกาล   กลับขึ้นไปครองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.๒๓๒๕(๑)  ความจริง  เจ้านันทเสนได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับขึ้นไปก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว   ดังสำเนาสุวรรณบัตรตอนหนึ่งว่า

                  “ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ให้เจ้านันทเสนคืนเมืองเป็นพระเจ้าขัณฑเสมา นามขัตติยราชเป็นเจ้านันทเสนพงษ์มลาน   เจ้าพระนครพระเวียงจันทบุรี  เสกไป  ณ  วันพฤหัสบดี  เดือน ๑  ขึ้น ๑๔ ค่ำ  จุลศักราช ๑๑๔๓  (พ.ศ.๒๓๒๔)  ปีฉลู  ตรีศก” 

                  แต่เจ้านันทเสน  ยังรั้งรออยู่จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงขึ้นไป  เป็นเวลาห่างจากวันในสุวรรณบัตร  ๓  เดือน (๒)  

(๑) รัชกาลที่ ๓   มีพระบรมราชโองการให้สมเด็จพระบวรราชเจ้า  กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ  ไปปราบกบฏที่เวียงจันทน์   ได้อัญเชิญ

      พระบางองค์นี้กลับลงมาอีก    แล้วโปรดให้ประดิษฐานไว้  ณ  หอพระนาค  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม    ต่อมาภายหลังจึงได้พระราชทานให้

       เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์  ต้นสกุล  สิงหเสนี)  นำไปประดิษฐานไว้  ณ  วัดจักรวรรดิราชาวาส      ต่อมาในรัชกาลที่ ๔  โปรดให้อัญเชิญ

       กลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง   เมื่อเดือน ๕  ขึ้น ๑๕ ค่ำ  พ.ศ.๒๔๐๘   

       ดู – พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๑-๔   ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์   (ขำ  บุนนาค)  เล่ม ๒   สำนักพิมพ์ศรีปัญญา  พิมพ์

       เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๕๕  หน้า ๑๙๖๒

(๒) ดู – จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี และพระราชวิจารณ์ฯ สำนักพิมพ์ศรีปัญญา  พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๕๕๒  หน้า ๑๕๘

               อยากจะขอทูลย้อนสัตย์สักหน่อย คือ ที่ทรงวินิจฉัยว่า โรงพระแก้วที่พระเจ้ากรุงธนบุรีสร้าง ว่ามิใช่พระแก้วเก่านั้น ตรงตามความคิดหม่อมฉัน เห็นว่าโรงพระแก้วเป็นของสร้างชั่วคราวสำหรับการสมโภชอย่างสมโภชช้างเผือกโรงนอก จึงเรียกว่าโรง แลเหตุใดจึงสร้างสมโภชชั่วคราว ก็พอเข้าใจได้ เพราะโบสถ์และวิหารวัดแจ้งเล็ก ไม่เป็นที่เปิดเผยให้มหาชนไปมานมัสการได้สะดวก จึงปลูกโรงสมโภช แต่มาคิดเห็นว่า เมื่อสมโภชแล้วเห็นจะเชิญเช้าไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารเก่า เพราะ-

  • โรงสมโภชเป็นที่จะพิทักษ์รักษาในเวลาปกติได้ดีเท่าในพระวิหารแลเป็นโรงทำชั่วคราวคงจะกีดที่หรือรักษาไว้ให้ดีอยู่เสมอไม่ได้
  • ถ้าหากเชิญพระไปเก็บรักษาไว้ที่ใดให้ดีในเวลานั้น มีแต่พระวิหารแห่งเดียว ไม่มีที่อื่น
  • โดยปกติโบสถ์หรือวิหารต้องมีพระพุทธรูป ที่วิหารว่างพระพุทธรูป และปรากฏว่าพระเจดีย์มาแต่อื่น เมื่อภายหลัง ข้อนี้เป็นพยานว่าได้เคยเชิญพระพุทธรูป ซึ่งเคยมีในพระวิหารนั้นออกจากวิหารคราวหนึ่ง ไม่มีคราวใดที่จะควรเชิญพระเก่าออก นอกจากคราวจัดพระวิหารเป็นที่ตั้งพระแก้วมรกต ย้ายพระพุทธรูปเพื่อเอาที่ตั้งพระพุทธรูปเห็นจะไม่ถือว่าเป็นการบาป พระพุทธรูปอะไรบ้างที่เชิญไปจากวิหาร และเชิญเอาไปไว้ที่ไหน ข้อนี้พิจารณาเห็นได้ คือ ย้ายเอาไปไว้ในโบสถ์เก่านั่นเอง ด้วยมีพระพุทธรูปเก่า ๆ ตั้งโดยทำนองที่เห็นว่าเป็นของจัดใหม่หลายองค์ และซ้ำทำลับแลลูกฟักบังหน้าพระด้วย น่าจะทำในคราวเดียวกันนั้น
  • ความปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อพระยาสรรค์เอาพระเจ้ากรุงธนบุรีควบคุมขังไว้นั้น ว่าขังไว้ในพระอุโบสถวัดแจ้ง ถ้าพระวิหารว่างอยู่หรือแม้มีพระพุทธรูปสำคัญ น่าจะเอาไว้ในพระวิหาร จะเป็นด้วยพระวิหารเป็นที่ไว้พระแก้วมรกต จึงเอาพระเจ้ากรุงธนบุรีไปคุมไว้ในพระอุโบสถ

               

ด้วยข้อสันนิษฐานเหล่านี้ เห็นว่าความจริงจะยุติกันหมด คือ แรกพระแก้วมาถึงตั้งสมโภชที่โรงพระแก้ว เสร็จการสมโภชแล้วเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดแจ้ง เหตุเป็นด้วยผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารเขียนหนังสือผิดไปคำเดียว ที่ว่า เชิญพระแก้วจากโรงพระแก้วข้ามมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถ้าว่าเชิญจากพระวิหารวัดแจ้งแล้วก็จะยุติกันทุกฝ่าย

                  ถ้าจะวินิจฉัยต่อไปอีกข้อ ๑  ว่าโรงพระแก้วปลูกที่ไหน ในหนังสือเก่ามีแต่ว่า ปลูกในสนามในกำแพงพระราชวัง  คงจะเป็นพระราชวังชั้นนอก  สันนิษฐานตามรูปแผนที่วัดอรุณฯ โรงพระแก้วน่าจะอยู่ตรงพระอุโบสถที่สร้างใหม่นั้นเอง   ต่อไปตอนพระวิหารไว้สนามสำหรับเครื่องมหรสพหน้าพลับพลาหน่อย ๑  ตั้งพลับพลาราวตรงที่กุฎีพระเทพสุธี  ดูเหมาะอย่างนี้  ถ้าลงมาริมน้ำติดโบสถ์เก่าแลพระปรางค์  แลจะใกล้กำแพงวังข้างแม่น้ำนัก  บางทีเมื่อกะที่สร้างพระอุโบสถใหม่  จะกะลงตรงนั้น ด้วยเป็นที่โรงพระแก้วมาแต่ก่อน  ก็จะเป็นได้ดอกกระมัง  วินิจฉัยตอนนี้โดยอัตโนมัติแท้”

                  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ได้ทรงเห็นด้วยตามลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ดังลายพระหัตถ์  ลงวันที่  ๗  ธันวาคม  ๒๔๕๘  ว่า

                  “พระดำริเรื่องวิหารพระแก้ว  ซึ่งรับสั่งย้อนสัจมา  เป็นญัตติตกลง  เกล้ากระหม่อมเห็นด้วยตามพระดำริแล้ว  ข้อที่พระวิหารว่างอยู่เพราะเหตุใดนั้น   เป็นข้อที่ขัดข้องใจ  คิดไม่ออกจนเวลาที่ส่งหนังสือไปถวาย  เกล้ากระหม่อมได้คิดเหมือนกันว่า ฉลองแล้วจะย้ายเข้าไปไว้ในพระวิหาร จึงได้เขียนลงแล้ว แต่กลับหวลไปยึดเอาพระราชพงศาวดารซึ่งกล่าวว่าเชิญพระแก้วจากโรงข้ามมานั้นอีก   จึงคะเนหาเหตุประกอบที่ว่าอาจค้างในโรงนั้นได้  ด้วยเหตุสัญญาวิปลาสหมกมุ่นไปในทางอื่น  แลคิดว่าถ้าได้ย้ายจากโรง  ควรจะได้สร้างวิหารใหม่ให้ดีกว่านั้น  พระที่ยัดเข้าใหม่ในโบสถ์เก่าตามรับสั่งนั้นก็เห็น   แต่ไม่จับเอาเป็นพยาน  ไปนึกเสียว่าคงมีพระประธานองค์ใหญ่เหมือนในโบสถ์  ซึ่งจะยกไม่ได้ต้องรื้อทำลาย  อันเป็นการยากที่จะทำได้  แต่อันที่จริงจะไม่มีพระประธานองค์ใหญ่อยู่ก็ได้เหมือนกัน  อย่างไรก็ดี  ข้อที่วิหารว่างอยู่นั้นเป็นองค์พยานอันสำคัญยิ่งกว่าในหนังสือซึ่งแต่งภายหลัง    ควรฤาไปเชื่อคำในหนังสือมากไปกว่าพยานที่ตาเห็น   อยู่ข้างจะเสียใจ  แต่ก่อนแต่ไรก็ไม่เคยเป็น  พระดำริซึ่งทรงทักท้วงมานั้นเป็นถูกแท้แล้ว  กั้นลับแลก็เป็นคราวนั้นเอง คงใช้โบสถ์เป็นหอพระ ประทับอยู่ที่นั้นโดยมาก ห้องในเป็นที่นมัสการ ห้องนอกเป็นที่ประทับเจริญพระกรรมฐาน   การที่พระยาสรรค์เชิญเสด็จไปคุมไว้ที่นั้น  ดูก็เป็นความสะดวกกอบด้วยความเคารพ  คือคุมไว้  ณ  ที่ประทับนั้นเอง” (๑)  

(๑) พระวินิจฉัย  ‘โรงพระแก้ว’ นี้   อยู่ในสาส์นสมเด็จ  ภาค ๑   องค์การค้าของคุรุสภา  พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๕๐๕   หน้า ๒๖ – ๕๐

                  พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้  เป็นเวลาราว  ๕ ปี (พ.ศ.๒๓๒๒ – ๒๓๒๗) จึงได้ย้ายมาประดิษฐาน  ณ  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในพระบรมมหาราชวัง    ฝั่งกรุงเทพมหานครดังกล่าวมา   ส่วนพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์ ๑  คือพระบางนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดพระราชทานให้เจ้านันทเสน  นำกลับคืนไปนครเวียงจันทน์เมื่อคราวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านันทเสน  ซึ่งลงมาอยู่กรุงธนบุรีตอนปลายรัชกาล   กลับขึ้นไปครองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.๒๓๒๕(๑)  ความจริง  เจ้านันทเสนได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับขึ้นไปก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว   ดังสำเนาสุวรรณบัตรตอนหนึ่งว่า

                  “ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ให้เจ้านันทเสนคืนเมืองเป็นพระเจ้าขัณฑเสมา นามขัตติยราชเป็นเจ้านันทเสนพงษ์มลาน   เจ้าพระนครพระเวียงจันทบุรี  เสกไป  ณ  วันพฤหัสบดี  เดือน ๑  ขึ้น ๑๔ ค่ำ  จุลศักราช ๑๑๔๓  (พ.ศ.๒๓๒๔)  ปีฉลู  ตรีศก” 

                  แต่เจ้านันทเสน  ยังรั้งรออยู่จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงขึ้นไป  เป็นเวลาห่างจากวันในสุวรรณบัตร  ๓  เดือน (๒)  

(๑) รัชกาลที่ ๓   มีพระบรมราชโองการให้สมเด็จพระบวรราชเจ้า  กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ  ไปปราบกบฏที่เวียงจันทน์   ได้อัญเชิญ

      พระบางองค์นี้กลับลงมาอีก    แล้วโปรดให้ประดิษฐานไว้  ณ  หอพระนาค  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม    ต่อมาภายหลังจึงได้พระราชทานให้

       เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์  ต้นสกุล  สิงหเสนี)  นำไปประดิษฐานไว้  ณ  วัดจักรวรรดิราชาวาส      ต่อมาในรัชกาลที่ ๔  โปรดให้อัญเชิญ

       กลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง   เมื่อเดือน ๕  ขึ้น ๑๕ ค่ำ  พ.ศ.๒๔๐๘   

       ดู – พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๑-๔   ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์   (ขำ  บุนนาค)  เล่ม ๒   สำนักพิมพ์ศรีปัญญา  พิมพ์

       เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๕๕  หน้า ๑๙๖๒

(๒) ดู – จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี และพระราชวิจารณ์ฯ สำนักพิมพ์ศรีปัญญา  พิมพ์เมื่อ  พ.ศ.๒๕๕๒  หน้า ๑๕๘

วัดในวังกรุงธนบุรีคือวัดอะไร

วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดมะกอก หรื วัดมะกอกนอก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดแจ้ง และ วัดอรุณในปัจจุบัน เดิมทีวัดแห่งนี้มีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จมาถึงท่าน้ำหน้าวัดในเวลารุ่งเช้า จึงดำริให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งและทรงบูรณปฏิสังขรณ์ เป็นพระ ...

วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

ประวัติ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อวัดโพธาราม ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดโพธิ์" เป็นวัดโบราณราษฎรสร้างระหว่าง ปี พ.ศ. 2231-2246 ในรัชกาลพระเพทราชา สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารมหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา

มีวัดสำคัญใดบ้าง ในสมัยกรุงธนบุรี

พระอารามที่ได้โปรดให้สถาปนาขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ก็คือ วัดบางยี่เรือเหนือ ( วัดราชคฤห์ ) พระอารามที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์นั้น ก็ได้แก่ วัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม ) วัดแจ้ง ( วัดอรุณราชวราราม ) วัดบางยี่เรือใต้ ( วัดอินทาราม ) และวัดหงส์อาวาสวิหาร ( วัดหงส์รัตนาราม ) ฯลฯ

วัดในวังในสมัยอยุธยา คือวัดใด

วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ หนึ่งในมรดกโลก เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณอยุธยา... อ่านเพิ่มเติม รีวิวเมื่อ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020. ive239.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf