กฎหมายเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ล่าสุด

ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
พ.ศ. 2535
----------------

                       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 กระทรวงมหาดไทยจึงออกข้อบังคับว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้ ดังต่อไปนี้

                       ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2535 ”

                       ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2535 เป็นต้นไป

                       ข้อ 3 ให้ยกเลิก
                                (1) ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2524
                                (2) ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528

                      ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้
                      “หน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้าน” หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดให้ทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
                      “ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
                      “คณะกรรมการเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามประกาศแต่งตั้งของนายอำเภอ
                      “อำเภอ” หมายความรวมถึง เขต และกิ่งอำเภอ
                      “นายอำเภอ” หมายความรวมถึง ผู้อำนวยการเขต และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
                      “ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

                      ข้อ 5 ไม่ว่าวิธีเลือกผู้ใหญ่บ้านจะกระทำโดยวิธีลับหรือเปิดเผย ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน ตามแบบ ผ.ญ. 2 ท้ายข้อบังคับนี้ จำนวนสี่ชุด ชุดที่หนึ่งให้ปิดประกาศ ไว้ที่ที่ว่าการอำเภอ ชุดที่สองให้ปิดไว้ที่ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ชุดที่สามและชุดที่สี่ มอบให้กรรมการเลือกนำไปใช้ในวันเลือกหนึ่งชุด และสำรองไว้ติดที่ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านหนึ่งชุด
                       การปิดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านตามชุดที่หนึ่ง และชุดที่สองต้องปิดประกาศ ก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้ตรวจสอบและขอแก้ไขให้ถูกต้องก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน
                       ผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านผู้ใดแม้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน .นหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนก็ตาม ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านและไม่ดำเนินการขอเพิ่มชื่อตามวรรคสอง ให้ถือว่าผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นสละสิทธิ

                       ข้อ 6 เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ หรือตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลง ให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายอำเภอได้รับทราบการว่างนั้น
                       การเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอประกาศกำหนดวันเลือก สถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน และระยะเวลาการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผ.ญ. 1 ท้ายข้อบังคับนี้ ให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก
                              (1) สำหรับระยะเวลาการประชุมราษฎรในวันเลือกให้เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น.นาฬิกา ถึงเวลา 10.00 นาฬิกา
                              (2) การเลือกโดยวิธีลับให้เริ่มลงคะแนนตั้งแต่เวลา 10.00 นาฬิกา ถึงเวลา 15.00 นาฬิกา
                              (3) การเลือกโดยวิธีเปิดเผยให้เริ่มออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่เวลา 10.00 นาฬิกา จนกว่าการออกเสียงลงคะแนนจะแล้วเสร็จ
                       แต่ถ้านายอำเภอเห็นว่าจะดำเนินการตามกำหนดเวลาใน (1) (2) (3) ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากมีเหตุจำเป็นก็ให้ใช้ดุลพินิจกำหนดระยะเวลาตามความจำเป็น

                       ข้อ 7 ให้นายอำเภอกำหนดที่เลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน หรือศาลาวัด ถ้าหาสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ จะกำหนดบ้านหรือสถานที่อื่นที่ประชาชนไม่รังเกียจหรือไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งคนใดในการเลือกนั้นเป็นที่เลือกผู้ใหญ่บ้านก็ได้ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นสถานที่ที่อยู่เขตท้องที่หมู่บ้านนั้น

                       ข้อ 8 ในการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรที่จะสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านยื่นใบสมัครตามแบบ ผ.ญ. 3 ท้ายข้อบังคับนี้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 6  
                       ก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผ.ญ. 4 ท้ายข้อบังคับนี้ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน
                       เมื่อพันกำหนดระยะเวลารับสมัครแล้ว ถ้ามีราษฎรสมัครเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านนับแต่วันเลือกผู้ใหญ่บ้านตามประกาศของอำเภอ และให้ประกาศผลการเลือกตามแบบ ผ.ญ. 8 ท้ายข้อบังคับนี้

                       ข้อ 9 ให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ประกอบด้วยเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล กรรมการตรวจคะแนนได้แก่ ผู้ซึ่งนายอำเภอเห็นสมควรจำนวนไม่เกินเจ็ดคน และเจ้าหน้าที่คะแนนซึ่งเป็นข้าราชการ โดยมีนายอำเภอ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นประธานเพื่อดำเนินการเลือกตามแบบ ผ.ญ. 5 ท้ายข้อบังคับนี้
                       การลงมติวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือก ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ให้นายอำเภอแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบไปประจำทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน จำนวนไม่น้อยกว่าสองคน

                      ข้อ 10 ก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกประชุมราษฎรในหมู่บ้าน เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทุกคนทราบ และประกาศให้ราษฎรตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นการถูกต้อง
                      ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้มีการประชุมราษฎรเพื่อชี้แจงรายละเอียด ขั้นตอน และวิธีการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามวรรคหนึ่ง วิธีเลือกโดยปกติให้กระทำโดยวิธีลับ เว้นแต่ผู้มีสิทธิเลือกที่มาประชุมฝ่ายข้างมากร้องขอให้กระทำโดยวิธีเปิดเผยก็ให้กระทำโดยวิธีเปิดเผย ให้คณะกรรมการเลือกโดยเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการเลือกไว้เป็นหลักฐานทุกระยะตามแบบ ผ.ญ. 11 ท้ายข้อบังคับนี้

                      ข้อ 11 ให้ผู้มีสิทธิเลือกแสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                                 (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ (บ.ป. 2)
                                 (2) บัตรประจำตัวข้าราชการ ข้าราชการบำเหน็จบำนาญ พนักงานเทศบาลหรือพนักงานสุขาภิบาล
                                 (3) บัตรสมาชิกสภานิติบัญญัติ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือกรรมการสุขาภิบาล
                                 (4) บัตรประจำตัวทหารกองประจำการ
                                 (5) บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
                                 (6) บัตรประจำตัวกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน หรือ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
                                 (7) บัตรประจำตัวกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือ
                                 (8) ผู้มีสิทธิเลือกซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย และไม่มีบัตรตาม (2) (3) (4) (5) (6) และ 7 ให้ใช้หลักฐานอื่นซึ่งทางราชการออกให้แทนได้
                       เมื่อผู้มีสิทธิเลือกได้แสดงหลักฐานดังกล่าวและกรรมการเห็นว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือก ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกอื่นทักท้วงให้หมายเหตุชนิดและหมายเลขหลักฐานไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก

                       ข้อ 12 วิธีเลือกผู้ใหญ่บ้านให้กระทำโดยวิธีลับ เว้นแต่ผู้มีสิทธิเลือกที่มาประชุมฝ่ายข้างมากร้องขอให้กระทำโดยวิธีเปิดเผย ให้กระทำได้

                       ข้อ 13 การออกเสียงเลือกโดยวิธีเปิดเผย ให้คณะกรรมการเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสม เช่น
                                 (1) จัดแบ่งสถานที่ประชุมออกเป็นส่วน ๆ ให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน แต่ละส่วนให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่ปะปนหรือยากแก่การตรวจนับ และให้กำหนดว่าส่วนใดเป็นของผู้สมัครคนใด กับจัดให้มีป้ายเขียนชื่อและหมายเลขผู้สมัครแต่ละคนไว้ประจำทุกส่วนที่เห็นได้ชัด แล้วให้ประธานประกาศให้ที่ประชุมทราบว่า ผู้มีสิทธิเลือกคนใดประสงค์จะเลือกผู้สมัครคนใดก็ให้ไปประจำอยู่ในส่วนที่มีชื่อของผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อผู้มีสิทธิเลือกได้แยกย้ายกันไปประจำอยู่ในส่วนของผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเรียบร้อยแล้ว ให้ประธานประกาศให้ที่ประชุมในแต่ละส่วนทราบอีกครั้งหนึ่งว่า ส่วนไหนเป็นของผู้สมัครคนใด เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตรวจสอบว่าได้เข้าไปอยู่ในส่วนของผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านถูกต้องหรือไม่ แล้วให้เริ่มนับคะแนน ประจำอยู่ในส่วนของผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเรียบร้อยแล้ว ให้ประธานประกาศให้ที่ประชุมในแต่ละส่วนทราบอีกครั้งหนึ่งว่า ส่วนไหนเป็นของผู้สมัครคนใด เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตรวจสอบว่าได้เข้าไปอยู่ในส่วนของผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านถูกต้องหรือไม่ แล้วให้เริ่มนับคะแนน
                                 (2) เรียกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามลำดับที่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน ผ.ญ. 2 ชุดที่มอบให้คณะกรรมการเลือกนำไปใช้ในวันเลือก เมื่อคณะกรรมการเลือกเรียกชื่อผู้ใดแล้วให้ผู้นั้นยืนขึ้นบอกคณะกรรมการเลือกว่า ประสงค์จะเลือกผู้สมัครหมายเลขใดเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วให้คณะกรรมการเลือกนับคะแนนและบันทึกไว้บนกระดานดำ
                                 (3) ยกมือขึ้นพ้นศรีษะหรือยืนขึ้น เมื่อประธานประกาศให้ที่ประชุมทราบว่าผู้มีสิทธิเลือกประสงค์จะเลือกผู้สมัครหมายเลขใดเป็นผู้ใหญ่บ้าน ให้ยกมือหรือยืนขึ้น โดยประกาศตามลำดับหมายเลขของผู้สมัครทุกคน ให้คณะกรรมการเลือกนับคะแนนจากจำนวนผู้ที่ยกมือขึ้นในแต่ละครั้งที่ประกาศ แล้วให้คัดหรือแยกผู้มีสิทธิเลือกที่ออกเสียงแล้ว มิให้ปะปนกับผู้มีสิทธิเลือกที่ยังไม่ออกเสียงทุกครั้งที่นับให้นับผู้มีสิทธิเลือกคนหนึ่งเป็นหนึ่งคะแนน

                       ข้อ 14 การเลือกโดยวิธีลับ ให้ประธานคณะกรรมการเลือกประกาศให้ผู้มีสิทธิเลือกซึ่งอยู่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเสนอบุคคลผู้มีสิทธิเลือกซึ่งอยู่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน และเป็นที่เคารพเชื่อถือของราษฎรในหมู่บ้านนั้นอย่างน้อยสองคน เป็นผู้แทนเพื่อดูแลการดำเนินการเลือกอย่างใกล้ชิด แต่ผู้นั้น จะต้องมิใช่ผู้สมัครเข้ารับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
                       ผู้แทนตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิทักท้วงการปฏิบัติของคณะกรรมการเลือกได้เมื่อเห็นว่าปฏิบัติมิชอบ แต่ห้ามกล่าวโต้เถียงกันเอง

                       ข้อ 15 เมื่อมีการทักท้วงการปฏิบัติของคณะกรรมการเลือกตามข้อ 14 ให้คณะกรรมการเลือกพิจารณาชี้ขาดแล้วบันทึกไว้ และให้ผู้ทักท้วงและคณะกรรมการเลือกทุกคนลงชื่อไว้ในบันทึกเหตุการณ์ตามข้อ 1 ถ้าผู้ทักท้วงไม่ยอมลงชื่อ ให้คณะกรรมการเลือกบันทึกไว้

                       ข้อ 16 บัตรเลือกให้ใช้กระดาษสีขาว ขนาดกว้าง ยาว ตามความจำเป็น เมื่อพับแล้วมีขนาดพอสมควร ด้านหน้ามีตราครุฑ กับมีข้อความว่า “ บัตรเลือกกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ” และมีตราประจำตำแหน่งนายอำเภอท้องที่ หรือเครื่องหมายอื่นของนายอำเภอท้องที่ประทับ พร้อมกับมีหมายเลขเรียงตามลำดับต่อท้ายข้อความ “ บัตรเลขที่….. ” 
                       ด้านในของบัตรตอนบนมีข้อความว่า “ ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น 7) เพียงหมายเลขเดียว “ ช่องทำเครื่องหมาย ” นี้
                       ต่อลงไปให้แบ่งออกเป็นสองช่อง ช่องที่หนึ่งมีข้อความว่า “ เครื่องหมายประจำตัว ” ช่องที่สองมีข้อความว่า “ ช่องทำเครื่องหมาย ”
                       ถัดลงไปให้แบ่งออกเป็นสามช่อง ช่องที่หนึ่งมีจุดเครื่องหมายบนพื้นที่สีขาวเรียงลำดับลงไป ช่องที่สองมีเลขเครื่องหมายบนพื้นสีขาว เรียงลำดับลงไปตรงกับจำนวนจุด ช่องที่สามปล่อยว่างไว้สำหรับทำเครื่องหมาย มีเส้นคั่นเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร
                       โดยปกติจำนวนเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครแถวแรกให้มีได้ไม่เกินยี่สิบเครื่องหมายในกรณี จำเป็นต้องมีเกินยี่สิบเครื่องหมาย ให้เพิ่มเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครชื่อแถวต่อ ๆ ไป ทางขวามือของบัตร แต่เครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครที่เพิ่มแถวหนึ่ง ๆ จะมีได้ไม่เกินสามสิบเครื่องหมาย 
                       ทั้งนี้ ตามตัวอย่างบัตรเลือกกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ท้ายข้อบังคับนี้ ยกเว้นในกรณีที่ทางราชการนำบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาเทศบาล หรือสมาชิกสภาจังหวัดมาใช้ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้กระทำได้โดยเพิ่มข้อความ “ บัตรเลือกกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ” ใต้ข้อความของบัตรเลือกนั้น ๆ

                      ข้อ 17 เมื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านได้รับบัตรเลือก ให้ไปยังคูหาลงคะแนนที่ว่างคราวละหนึ่งคนเพื่อลงคะแนน การลงคะแนนเลือก ให้ผู้มีสิทธิเลือกทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น 7) ด้วยปากกาหรือดินสอในช่องทำเครื่องหมายให้ตรงกับเครื่องหมายประจำตัวผู้ได้รับเสนอชื่อที่ตนต้องการเลือกลงในบัตรเลือกด้านใน และให้ทำเครื่องหมายเพียงหนึ่งเครื่องหมายแล้วพับบัตรเลือกนั้น ทั้งนี้ ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาอันสมควร แล้วนำบัตรนั้นไปมอบแก่กรรมการใส่หีบบัตรต่อหน้าตน แล้วออกไปจากที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

                      ข้อ 18 ถ้าผู้มีสิทธิเลือกไม่สามารถลงคะแนนเลือกได้เพราะบัตรเลือกบกพร่องหรือชำรุดให้ส่งบัตรเลือกนั้นคืนแก่กรรมการ แล้วให้กรรมการจัดบัตรเลือกให้แก่ผู้นั้นใหม่

                      ข้อ 19 หีบบัตรเลือกให้ทำด้วยไม้หรือโลหะมีฝาและกุญแจพร้อม ด้านหน้าใต้ที่ใส่กุญแจใช้วัสดุโปร่งแสงมองเห็นภายในหีบบัตรเลือกได้ และที่ฝามีช่องใส่บัตรเลือกตามแบบตัวอย่างท้ายข้อบังคับนี้ หรือให้ใช้หีบบัตรและคูหาลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาจังหวัดโดยอนุโลม

                      ข้อ 20 ถ้าการลงคะแนนหรือการนับคะแนนไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากการเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย หรือเหตุนอกอำนาจอย่างอื่น ให้คณะกรรมการเลือกประกาศงดลงคะแนนหรือนับคะแนนตามแบบ ผ.ญ. 9 ให้นายอำเภอกำหนดวันลงคะแนนใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบว่าเหตุนั้นได้สงบแล้ว และต้องประกาศให้ราษฎรได้ทราบล่วงหน้าก่อนวันลงคะแนนไม่น้อยกว่าสามวันตามแบบ ผ.ญ. 6 ท้ายข้อบังคับนี้ 
                      การตรวจนับคะแนนให้กรรมการกรอกคะแนนตามแบบ ผ.ญ. 6 ท้ายข้อบังคับนี้ ถ้าปรากฏว่ามีบัตรเลือกเกินจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือก คณะกรรมการเลือกต้องจัดให้มีการลงคะแนนใหม่หรือ ดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม แต่ถ้าจำนวนบัตรออกเสียงเท่ากันหรือน้อยกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือก ให้ถือว่าการเลือกนั้นสมบูรณ์
                      ให้กรรมการประกาศชี้แจงให้ผู้มีสิทธิเลือกซึ่งอยู่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นทราบเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งก่อนการตรวจนับคะแนน

                      ข้อ 21 บัตรเลือกต่อไปนี้ถือว่าเป็นบัตรเสีย คือ
                                 (1) บัตรปลอม
                                 (2) บัตรที่ทำเครื่องหมายเกินกว่าหนึ่งเครื่องหมาย
                                 (3) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมาย
                                 (4) บัตรที่ปรากฏว่าได้พับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งบัตร
                                 (5) บัตรที่มีเครื่องสังเกต หรือข้อความอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
                                 (6) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใด
                      บัตรดังกล่าวให้ประธานคณะกรรมการเลือกสลักว่า “ เสีย ” และให้กรรมการคนหนึ่งลงชื่อกำกับไว้ การสลักบัตรเสียให้สลักด้านหน้าตรงใต้ครุฑ

                      ข้อ 22 ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีคะแนนเท่ากันให้จับสลาก ก่อนจะให้จับสลาก ประธานกรรมการเลือกผุ้ใหญ่บ้านต้องจัดให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเท่ากันตกลงกันเสียก่อนว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จับสลากก่อนหลัง แล้วให้จัดทำบัตรสลากขนาดกว้างยาวเท่ากันมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้ได้รับคะแนนเท่ากันโดยเขียนข้อความว่า “ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ” เพียงบัตรเดียว นอกนั้นเขียนข้อความว่า “ ไม่ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ” และให้คณะกรรมการลงชื่อกำกับทุกบัตรสลาก

                      ข้อ 23 เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว ให้คณะกรรมการเลือกเก็บบัตรเลือกที่ใช้นับคะแนนแล้ว บันทึกการเลือกตามแบบ ผ.ญ. 11 ประกาศผลการเลือกหนึ่งฉบับ ตามแบบ ผ.ญ. 7 และแบบกรอกคะแนนตามแบบ ผ.ญ. 6 ท้ายข้อบังคับนี้ที่ใช้กรอกคะแนนแล้วบรรจุในหีบบัตรเลือก    ส่วนบัตรเสียนั้น ให้บรรจุซองหรือห่อไว้เป็นส่วนต่างหาก โดยมิให้ปะปนกับบัตรเลือกอื่น และให้เก็บไว้ด้วยกันในหีบบัตรเลือก แล้วปิดหีบบัตรเลือกใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้และให้เอากระดาษปิดทับช่องใส่บัตรเลือกโดยลงชื่อคณะกรรมการเลือกกำกับไว้บนกระดาษนั้นด้วยทั้งนี้ให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าประชาชนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และนำหีบบัตรเก็บรักษาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ

                      ข้อ 24 เมื่อเสร็จการเลือกและปรากฏว่าผู้ใดได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วให้ประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผ.ญ. 7 หรือแบบ ผ.ญ. 8 ท้ายข้อบังคับนี้ โดยให้คณะกรรมการเลือก และผู้แทนที่ประชุมผู้มีสิทธิเลือกตามข้อ 14 ในกรณีออกเสียงโดยวิธีลับ หรือพยานอีกอย่างน้อยสามคน ในกรณีออกเสียงโดยวิธีเปิดเผยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน แล้วให้ประธานกรรมการเลือกนำประกาศผลการเลือกปิดไว้ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านและที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้ราษฎรทั่วไปทราบ

                      ข้อ 25 ให้นายอำเภอรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานการเลือกผู้ใหญ่บ้าน เพื่อพิจารณาออกหนังสือสำคัญให้ต่อไป
                      นายอำเภอจะทำลายบัตรเลือกและเอกสารที่เก็บอยู่ในหีบบัตรเลือกนั้นได้ เมื่อพ้นระยะเวลาคัดค้านการเลือกตามข้อ 26 แล้ว ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และในกรณีที่มีการคัดค้านการเลือก ให้นายอำเภอเก็บรักษาหีบบัตรเลือกไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

                      ข้อ 26 เมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่
                      ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคัดค้านและมีอำนาจสั่งยกเลิกการเลือกได้ แล้วมีคำสั่งให้อำเภอดำเนินการเลือกใหม่ภายในสิบห้าวัน
                      ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้มีการเลือกใหม่ ให้ถือว่าผู้ใหญ่บ้านซึ่งถูกคัดค้านนั้น ขาดจากการเป็นผู้ใหญ่บ้านนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่ง กิจการต่าง ๆ ที่ได้กระทำไปในหน้าที่ถือว่าสมบูรณ์

                                                                  ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2535

                       พลตำรวจเอก         เภา สารสิน                                                 
  (เภา สารสิน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf