คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ถึงที่สุด

คำถาม เมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว กรณี เจ้ามรดก ไม่ได้ทำพินัยกรรม ไว้ หากเราต้องการรับมรดก หรือ เป็น ผู้จัดการมรดก ต้องทำอย่างไร ทีมทนายได้รวบรวม 5 ขั้นตอน ในการรับมรดก หรือ เป็น ผู้จัดการมรดก มาดังต่อไปนี้

  1. รวบรวม ทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดก หรือ ผู้ตาย เพื่อเตรียม จัดการมรดก

ทรัพย์มรดก คือ ทรัพย์สิน ทุกชนิดของผู้ตาย ที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมทั้ง สิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิดต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ ในที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เงินฝากธนาคาร หุ้น ทอง สิทธิการเช่าซื้อ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น

2. ยื่นคำร้อง ขอตั้ง ผู้จัดการมรดก

เมื่อ รวบรวมทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดก ขั้นตอนถัดไป ในการ จัดการมรดก ให้ทายาทเจ้ามรดก หรือผู้มีส่วนได้เสีย ในกองมรดก ยื่นคำร้อง ขอตั้งผู้จัดการมรดก โดย ผู้ที่จะยื่นคำร้อง ขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กฎหมายกำหนด และ ไม่เป็นบุคคล ที่ศาลห้าม

คุณสมบัติของผู้จัดการทรัพย์มรดก

(ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1718) กำหนด คุณสมบัติ ของ ผู้จัดการทรัพย์มรดก ไว้ดังนี้)

  • ต้อง บรรลุนิติภาวะ (หรือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์)
  • ต้อง ไม่เป็น บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ
  • ต้อง ไม่เป็น บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็น คนล้มละลาย

3. รวบรวม เอกสาร ที่จะใช้ประกอบ การยื่นคำร้อง ขอตั้งผู้จัดการมรดก

เอกสาร ที่ใช้ประกอบ ในการยื่น คำร้องได้แก่

  1. สำเนา ใบมรณบัตร ของ ผู้ตาย
  2. สำเนา ทะเบียนบ้าน ของ ผู้ตาย(ประทับตรา “ตาย”)
  3. สำเนา ทะเบียนบ้าน, สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน ของ ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
  4. สำเนา ใบมรณบัตร ของ บิดามารดา กรณี บิดามารดา ของ ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย แล้ว
  5. สำเนา ทะเบียนสมรส/หรือ ทะเบียนการหย่า ของ สามี หรือ ภรรยา ของ ผู้ตาย
  6. เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง กรณี ทายาทรับมรดกแทนที่ / เจ้ามรดกมีการรับรองบุตร / เจ้ามรดกมีบุตรบุญธรรม
  7. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลของผู้ตาย / ผู้ร้อง / ทายาท และ ผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย
  8. สูติบัตร ของ บุตรของผู้ตาย กรณี บุตร ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ไม่สามารถ ให้ความยินยอมได้
  9. พินัยกรรม ของ ผู้ตาย (ถ้ามี)
  10. หนังสือ ให้ความยินยอม ในการร้องขอจัดการมรดก 
  11. สำเนา บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนา ทะเบียนบ้าน ของ ผู้ให้ความยินยอม ทุกคน
  12. บัญชีเครือญาติ
  13. เอกสาร เกี่ยวกับ ทรัพย์มรดก ของ ผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาจำนอง ทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ทะเบียน หรือ ใบอนุญาตให้มี และ ใช้อาวุธปืน และอื่น ๆ เป็นต้น

ดูค่าธรรมเนียม ในการยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ผู้จัดการมรดก เพิ่มเติม

//www.lp.ago.go.th/lp-lawaid/index.php/2018-05-09-01-07-17

4. ไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

เมื่อเอกสารพร้อมแล้ว ก็ยื่นคำร้องvขอตั้งผู้จัดการมรดก และ ไต่สวนคำร้องดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่ง ตั้งผู้ร้อง หรือ บุคคล ที่ผู้ร้อง ร้องขอ ให้เป็นผู้จัดการมรดก ของ เจ้ามรดก

5.คัดคำสั่งศาล และ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

เมื่อไต่สวน คำร้องเสร็จแล้ว หาก ไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ร้อง หรือ บุคคล ที่ผู้ร้อง ร้องขอ เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้อง สามารถ ขอคัดคำสั่งศาล และ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อนำมาใช้ในการ จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดก จะมีสิทธิ และ หน้าที่ที่จะแบ่งปันทรัพย์มรดก ให้แก่ทายาท ของเจ้ามรดกต่อไป (ประมวลกฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1719)

แต่มีขั้นตอนทางลัด ที่ง่ายกว่านั้น จ่ายเพียง 5,999 บาท คลิ้กเลย

//www.tanaidee.com/2021/08/05/%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5/

ประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1718  บุคคลต่อไปนี้ จะเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่ บรรลุนิติภาวะ

(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคล ซึ่งศาลสั่ง ให้เป็น ผู้เสมือนไร้ความสามารถ

(3) บุคคล ซึ่ง ศาลสั่ง ให้เป็น คนล้มละลาย

มาตรา 1719 

ผู้จัดการมรดก มีสิทธิ และ หน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่ง แจ้งชัด หรือ โดยปริยาย แห่งพินัยกรรม และ เพื่อจัดการมรดก โดยทั่วไป หรือ เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก

จะมีการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกก็ต่อเมื่อทายาทมีปัญหาหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก จึงจำเป็นต้องมีคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน เพื่อที่จะสามารถดำเนินการจัดการทรัพย์มรดกต่างๆได้

เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาททันที แต่ก็อาจมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก เช่น การจดทะเบียนโอนที่ดินไม่ได้ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ลูกหนี้ของเจ้ามรดกไม่ยอมชำระหนี้ โดยอ้างว่าต้องมีคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาแสดงก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินการให้ได้

จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เมื่อใด ?

เมื่อเจ้ามรดกตายและมีทรัพย์มรดก แต่ทายาทมีปัญหาไม่สามารถจัดการได้ หรือมีเหตุขัดข้องไม่สามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ จึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องตั้งทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก

ใครบ้างที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ?

1. ทายาทโดยธรรม ที่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก
2. ผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้จัดการมรดกจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ?

ผู้จัดการมรดกนั้นจะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นทายาทเสมอไป แต่บุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้นจะต้อง

1. บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปี ขึ้นไป)
2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือคนที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
3. ไม่เป็นคนล้มละลาย

ยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลไหน ?

ต้องยื่นต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย หรือโดยปกติก็คือที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้ตายนั่นเอง แต่ถ้าเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาล

ใช้ระยะเวลาดำเนินการนานไหม ?

เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อประกาศหนังสือพิมพ์หรือทางอิเล็กทรอนิค ก็จะถึงวันนัดไต่สวน ศาลก็จะทำการไต่สวนคำร้อง หากเอกสารครบถ้วนไม่มีเหตุขัดข้องและไม่มีใครคัดค้าน ศาลก็จะมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกในวันนั้นเลย

เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้วทำอย่างไร ?

ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และใบสำคัญว่าคดีถึงที่สุดได้เมื่อเกิน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อได้รับคำสั่งศาลมาแล้วก็สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อธนาคาร เจ้าพนักงานที่ดิน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้

การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลนั้น มีขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมาย อาจเป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยากของคนทั่วไป หรือมีผู้ร้องคัดค้านเข้ามา จึงมีความจำเป็นต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินการแทน เพื่อความสะดวกและความถูกต้อง เป็นการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

สนใจติดต่อทนายเพื่อยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ โดยท่านไปศาลเพื่อไต่สวนเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น ซึ่งนอกนั้นทนายเราจะดำเนินการให้ทั้งหมด จนได้รับคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf