เซ็นสัญญาจ้าง แล้ว โดน ยกเลิก

การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอบังคับให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 95,000 บาท ค่าจ้าง 474,000 บาท โบนัส 168,000 บาท ค่าเสียโอกาสในการทำงาน 190,000 บาท รวมทั้งหมด 927,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

สำหรับคนไอทีบางท่าน อาจจะเคยได้ยินหรือเจอกับตัวเอง เรื่องรู้สึกเปลี่ยนใจไม่อยากทำงานกับที่ทำงานนั้น ทั้งที่เซ็นสัญญาจ้างไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุหรือปัจจัยใดก็ตาม เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแล้วก็บอกได้เลยว่า มีปัญหาอย่างแน่นอน และส่งผลกระทบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับ HR และหัวหน้างานของที่ทำงานนั้น วันนี้ทีมงาน ISM มีข้อแนะนำดีๆ รวมทั้งข้อเตือนใจมาบอกกันครับ เผื่อจะช่วยให้ปัญหามันทุเลาเบาบางลง

1. วิเคราะห์สาเหตุในการปฏิเสธให้ชัดเจนและแน่ใจ

แน่นอนว่า การที่ผู้สมัครเกิดลังเลใจหลังจากเซ็นสัญญาจ้างไปแล้ว มันต้องมีปัจจัยที่ทำให้รู้สึกว่าไม่อยากทำงานที่นั่นแล้ว อย่างคนไอทีเองก็อาจจะมีสาเหตุ เช่น ไปทำในธุรกิจที่ไม่คุ้นเคย, ต้องไปทำในบทบาทที่หนักขึ้น เป็นหัวหน้าคุมลูกน้องเยอะๆ หรือต้อง Code ภาษาที่ไม่เคยใช้มาก่อน เลยทำให้เกิดความไม่มั่นใจขึ้นมา, ได้รับ Offer จากที่ทำงานเก่า รวมทั้ง อาจได้งานใหม่ที่ดีกว่า (ผลตอบแทน การเดินทาง โอกาสก้าวหน้า) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ผู้สมัครงานต้องคิดให้รอบคอบ คิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจทำอะไรลงไป เพราะมันเกิดผลกระทบกับหลายฝ่ายด้วยแน่ๆ

2. ตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญาจ้างงาน

ในสัญญาจ้างงานที่คุณไปเซ็นมา จะมีข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งคุณเองในฐานะผู้เซ็นต้องอ่านให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจและดูว่า มีเงื่อนไขใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับในกรณีที่ เซ็นสัญญาจ้างงาน แล้วไม่มาทำงาน เพราะในบางบริษัทมีการระบุว่า กรณีแบบนี้ถือว่า ทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย ทั้งเรื่อง เวลา งบประมาณ และโอกาสที่จะได้ผู้สมัครที่คุณสมบัติดีหรือใกล้เคียงกันมาทำงาน ทำให้ HR ต้องกลับไปเริ่ม Process ใหม่ทั้งหมด ซึ่งสัญญากำหนดให้ผู้สมัครต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่าไร ก็ว่ากันไปแล้วแต่นโยบายแต่ละที่ ถ้าเจอแบบนี้คุณอาจจะต้องระมัดระวังในการที่จะทำอะไรลงไป เพราะคุณได้เซ็นรับทราบเองทั้งหมดแล้ว แต่โดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีบริษัทไหนฟ้องร้องผู้สมัครเพราะเหตุผลนี้หรอก เพียงแต่อยากให้บอกกันตรงๆ และอยากให้บอกกันเนิ่นๆ หน่อยเท่านั้นเอง

3. รีบแจ้ง HR/ว่าที่หัวหน้างาน ของที่ทำงานใหม่ให้ทราบโดยด่วน

นี่คือสิ่งที่คุณควร “ต้องทำ” และ “ควรทำให้รวดเร็วที่สุด” เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่า จะไม่ไปร่วมงานกับที่ทำงานใหม่ อย่างแน่นอน เพราะ HR หรือว่าที่หัวหน้าคุณ เขาจะได้รีบจัดการแก้ไขปัญหาจากการที่คุณไม่มาทำงาน ถ้าโชคดีบริษัทเขาก็ได้คนอื่นมาทดแทนคุณได้รวดเร็ว แต่ถ้าโชคร้าย HR เขาก็ต้องไปเริ่ม Process ใหม่ ต้องไปลงประกาศใหม่ ต้องสัมภาษณ์ใหม่ อาจจะ 1-2 รอบ ต้องรอเวลาผู้สมัครคนนั้นลาออกจากที่เก่าก่อน นั้นหมายถึง อาจจะกินระยะเวลาไปไม่ต่ำกว่า 1 เดือนแน่นอน และอีกอย่างหนึ่งตัวคุณเองก็จะได้ไม่ค้างคาใจ รวมทั้งเป็นการแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ ที่ยังโทร.มาแจ้ง ไม่ใช่หายไปเฉยๆ  

ข้อเตือนใจว่า “อย่าทำแบบนี้”

1. หายไปเฉยๆ / ติดต่อไม่ได้

ผู้สมัครบางคนหลังจากเซ็นสัญญาจ้างแล้ว หายไปเฉยๆ ไม่แจ้งบริษัท ไม่บอกใคร โทร.ติดต่อกลับไปก็ไม่ได้ แบบนี้ แสดงให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบของคุณ ซึ่งสิ่งนี้มันจะติดตัวคุณไปตลอด

2. มาแจ้งเอาตอนวินาทีสุดท้าย/กระชั้นชิด

การที่มาแจ้ง HR เอาในวินาทีสุดท้าย เช่น แจ้งปฏิเสธงานก่อนเริ่มงาน 1-2 วันหรือแจ้งเอาตอนเช้าวันที่จะเริ่มงานจริง แบบนี้ก็ไม่เหมาะสมเช่นกัน ลองคิดดูว่า HR เขาจะหาใครมาแทนคุณได้ทันล่ะ จริงไหมครับ

บทความนี้ไม่ได้ต้องการนำเสนอว่า ใครผิดหรือถูก เพียงแต่ในเรื่องการทำงานนั้น อยากให้ผู้สมัครทั้งหลายมองว่า ทุกเรื่อง ทุก Process มันเกี่ยวเนื่องกันไปหมดกับหลายๆ ฝ่าย การที่ผู้สมัครไม่สะดวกใจที่จะทำงานที่นั่นแล้ว ก็คงไม่มีนายจ้างที่ไหนอยากจะรั้งไว้หรอกครับ เพราะรั้งไปก็ไม่มีประโยชน์ แต่สิ่งที่ผู้สมัครควรทำคือ ช่วยให้ HR เขาได้มีเวลาหาคนมาทดแทนคุณได้ทัน หรือหากไม่ทัน ก็จะได้ไม่เกินกำหนดไปมากจนเกินไป


ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) บริษัทเราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการย่างเข้าสู่ปีที่ 27 มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานที่ท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ ฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ามากมายกำลังรอคุณอยู่

พี่ครับพี่ ผมยื่นลาออกไป 2 อาทิตย์ทีแล้ว เพราะจะไปทำงานที่ใหม่เดินหน้า แต่เมื่อวานบริษัทใหม่โทรมาแจ้งว่ายกเลิกอ่ะครับ...

Posted by HR - The Next Gen on Friday, September 1, 2017

สวัสดีวันพุธสีเขียว ช่วงนี้มีแต่ข่าวไม่ค่อยจะดีสักเท่าไรนัก ทั้งฝนก็ตกได้ตกดี ทำเอาซะจนน้ำท่วมหลายพื้นที่ อุบัติเหตุสะพานถล่ม ทำให้ลุงขวัญผวา ออกไปท้องถนน นอกจากจะต้องระวังกับดักน้ำดีดจากทางเท้าแล้ว ยังจะต้องคอยระวังสถานที่ก่อสร้างต่างๆ กันอีก หลานๆ อย่าเล่นโทรศัพท์เพลินจนลืมดูเหตุการณ์รอบตัวนะจ้ะ

โอกาสในการได้งานอีกที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แล้วจะทำอย่างไรดี?

อารัมภบทกันซะยืดยาวเลย ลุงขอเข้าเรื่องเบาๆ ในวันนี้กันดีกว่านะจ้ะ คำถามที่ลุงมักจะเจออยู่บ่อยครั้งก็คือ “เซ็นสัญญาจ้างไปแล้ว แต่อีกบริษัทฯ ยื่นข้อเสนอที่ดีกว่ามา จะทำอย่างไรดี?” ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับหลานๆ ที่มีการสัมภาษณ์งานพร้อมกันหลายที่ แต่บางทีบริษัทฯ ที่อื่นๆ ก็เงียบหายไป อยู่ดีๆ ก็กริ๊งกร๊างมาบอกว่าบริษัทฯ รับคุณแล้วนะจ้ะ แต่ก็ดันไปเซ็นสัญญาจ้างกับที่แรกแล้วสิ

แล้วเราสามารถยกเลิกสัญญาจ้างกับที่แรกได้มั้ยนะ? จริงๆ สามารถทำได้นะจ้ะ ลุงจะมาแถลงไขให้ฟัง

สิ่งที่ทุกคนจะต้องพิจารณาเพิ่มให้ดี 

1.สัญญาจ้างมีระบุในส่วนของรายละเอียด ที่หากผิดสัญญาแล้วจะมีค่าปรับใดๆหรือไม่ ส่วนใหญ่ถ้ามีอาจจะเกิดขึ้นเพราะ ในวันที่เซ็นสัญญา บริษัทฯ อาจจะให้เป็นของจากบริษัทฯ มา เช่น เสื้อบริษัทฯ บัตรพนักงาน หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งหากนำไปคืนในส่วนนี้ก็มักจะไม่มีปัญหาอะไรในส่วนนี้

2.หากในสัญญาจ้างไม่มีระบุใดๆ ในเรื่องค่าปรับหากผิดสัญญา ก็สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ แต่สิ่งที่ควรจะทำ การรีบโทรไปแจ้งกับบริษัทฯ ที่เราได้มีการเซ็นสัญญาไว้แล้ว เนื่องจากบริษัทฯ เพื่อที่จะให้บริษัทฯ รับทราบ และจะได้รีบหาคนเข้ามาทดแทนหลานๆ นั่นเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น บริษัทฯ ที่เรายกเลิกเริ่มงานนั้น อาจจะไม่เปิดโอกาสในการรับหลานๆ กลับเข้าไปทำงานอีกก็เป็นได้ จึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจที่จะโทรไปแจ้งยกเลิกการเริ่มงานนะจ้ะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจกำลังเปลี่ยนงาน หรือแม้แต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาร่วมงานกับบริษัทฯ ถัดไป หากสนใจบทความทางด้าน HR เรื่องอื่นๆ แวะเข้าไปชมได้ที่ Website ลุง HR วันนี้ขอตัวลาไปก่อนนะจ้ะ สวัสดี

เซ็นสัญญาจ้าง แล้ว โดน ยกเลิก

Written by

Jessada Y. | ลุง HR

ลุง HR ที่แท้จริงแล้วเป็นชายหนุ่มยิ้มเก่งลูกเสี้ยวฮ่องกง ที่เรียนจบสาขาจิตวิทยา แต่เลือกมาทำงานสาย HR เพราะสนใจในเรื่องราวของผู้คน เริ่มทำเพจ “ลุง HR” เพราะอยากช่วยให้พนักงานเข้าใจในสวัสดิการ, สิทธิประโยชน์ รวมถึงกฏหมายแรงงานที่ลูกจ้างทุกคนควรต้องรู้ ยามว่างหลังเรียนปริญญาโท ลุงก็ทุ่มเทให้บรรดาต้นไม้ดอกไม้ลูกรักที่เลียงไว้ที่ระเบียงคอนโด

ถ้าเซ็นสัญญาแล้วยกเลิกได้ไหม

2.หากในสัญญาจ้างไม่มีระบุใดๆ ในเรื่องค่าปรับหากผิดสัญญา ก็สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ แต่สิ่งที่ควรจะทำ การรีบโทรไปแจ้งกับบริษัทฯ ที่เราได้มีการเซ็นสัญญาไว้แล้ว เนื่องจากบริษัทฯ เพื่อที่จะให้บริษัทฯ รับทราบ และจะได้รีบหาคนเข้ามาทดแทนหลานๆ นั่นเอง

ถูกเลิกจ้างได้กี่เปอร์เซ็น

🔺 กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินว่างงาน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน 📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

เงินชดเชยเลิกจ้าง ได้กี่เดือน

ลูกจ้างที่ทำงาน 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน ลูกจ้างที่ทำงาน 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน ลูกจ้างที่ทำงาน 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน

เลิกจ้างประกันสังคมจ่ายยังไง

กรณี ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท