ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1

สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน เมนู 4

เล่มที่ ๔

เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต

เรื่องที่ ๒ การหายใจ

เรื่องที่ ๓ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย

เรื่องที่ ๔ ไวรัส

เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ

เรื่องที่ ๖ ภูมิอากาศ

เรื่องที่ ๗ รถไฟ

เรื่องที่ ๘ การศาสนา

เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์

เรื่องที่ ๑๐ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ / ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๑

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. ๒๔๕๗ นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด การสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่า ฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสา สำหรับกองบิน และกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วยสงครามในยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้นับว่า เป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้ไปเรียนรู้วิชาการทางเทคนิคการรบ และการช่าง ในสมรภูมิจริงๆ เมื่อเสร็จสงครามสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซายส์ด้วย ผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ก็คือ สัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศนั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟรานซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกัน ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี ในที่สุดประเทศต่างๆ ๑๓ ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๘ และฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๗ ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอากร ยกเว้นบางอย่างที่อังกฤษขอลดหย่อนต่อไปอีก ๑๐ ปี เช่น ภาษีสินค้าฝ้าย และเหล็ก


ดร. ฟรานซิส บี แซยร์
ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ไทยได้อิสรภาพทางอำนาจศาล ละภาษีอากรคืนมาโดยสมบูรณ์

22 กรกฎาคม, ได้ยินคำนี้ คนส่วนใหญ่น่าจะนึกถึงชื่อวงเวียน มากกว่าจดจำว่ามันเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์

22 กรกฎาคม 2460 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในประเทศไทย

22 กรกฎาคม 2560 เป็นวันครบ 100 ปี ที่สยามเข้าร่วมสงครามโลก ในวาระนี้มีนักวิชาการหลายกลุ่ม หยิบยกประวัติศาสตร์ครั้งนั้นมานำเสนอในหลายประเด็น

ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน เป็นปีครบรอบ 100 ปี การเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดงานที่พูดถึงเหตุการณ์นี้ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ครั้งนั้นมีการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ที่เราบันทึกไว้ มาเล่าถึงเหตุการณ์นี้ไปแล้ว เวลาผ่านไป 3 ปี เมื่อต้องจัดงานนี้อีกครั้ง นักวิชาการแต่ละกลุ่มก็เลยพยายามค้นคว้าหาประเด็นใหม่ๆ มาเล่า

เราสนใจมุมมองของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.6 ที่พยายามนำเสนอข้อมูลชุดใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยพูด นั่นก็คือ เล่าเรื่องการเข้าร่วมสงครามโลกของสยาม (ชื่อประเทศไทยในขณะนั้น) ในสายตาชาวโลกว่าประเทศต่างๆ มองเราอย่างไร ให้ความสำคัญกับเราแค่ไหน โดยศึกษาผ่านสิ่งที่หนังสือพิมพ์และนิตยสารของแต่ละประเทศบันทึกไว้ รวมถึงดูจากตำแหน่งที่นั่งของทูตไทยในการประชุม และตำแหน่งของกองทัพไทยในขบวนฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ 1

เนื้อหาทั้งหมดนี้กลายมาเป็นนิทรรศการชื่อ ‘100 ปี สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1’ จัดระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 30 สิงหาคม 2560 ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ

วันก่อนเปิดงาน ทีมงานหลายฝ่ายกำลังวุ่นวายกับหน้าที่ของตัวเอง บางส่วนกำลังจัดหนังสือพิมพ์อายุ 1 ศตวรรษลงในตู้โชว์ บางส่วนกำลังสวมถุงมือเพื่อหยิบเหรียญตราที่อายุพอๆ กับหนังสือพิมพ์ออกจากกล่องมาตรวจสอบข้อมูล บางส่วนกำลังง่วนกับการทดสอบระบบฉายหนังซึ่งเป็นเรื่องของทหารในฝรั่งเศส

โจ-จิตติ เกษมกิจวัฒนา คิวเรเตอร์รุ่นใหญ่ ผู้รับหน้าที่ดูแลภาพรวมของนิทรรศการนี้ โบกมือทักทายเมื่อเห็นผมเดินมาถึง เขาถอดถุงมือออก วางมือจากงานอันรีบเร่งชั่วคราว แล้วพาเดินชมนิทรรศการแบบสุดพิเศษ เขายินดีเล่าวิธีคิดและวิธีทำงานในทุกขั้นตอน

แต่นั่นยังไม่พิเศษเท่าหลายเรื่องที่เขาเล่า ไม่ได้อธิบายอยู่ในนิทรรศการ

มาทำความเข้าใจสถานการณ์ในบ้านเมืองเรากันก่อน

คนไทยจำนวนไม่น้อยมองว่าเราไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมสงครามโลก เพราะเราอยู่ไกลจากที่เกิดเหตุ ไม่ควรสิ้นเปลืองงบประมาณส่งคนไปร่วมรบ การประกาศตัวเป็นกลางเหมือนในตอนแรกน่าจะเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว บริบทของประเทศเราในขณะนั้นคือ เราอยู่ตรงกลางระหว่างประเทศที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และเรามีสัมพันธ์อันดีกับชาวเยอรมันซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง เราก็มีข้าราชการชาวเยอรมันทั้งในฝั่งทหารและรัฐบาล

เมื่อเราประกาศตัวเป็นกลางในขณะที่ประเทศรอบข้างเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ชาวเยอรมันเดินทางเข้ามาอยู่ในไทยมากขึ้น จนฝ่ายสัมพันธมิตรมองว่า สยามเป็นแหล่งพักพิงและกระจายข่าวของชาวเยอรมันในภูมิภาคนี้ ในขณะที่ฝั่งเยอรมันเองก็ไม่ได้เชื่อในความเป็นกลางของเราเท่าไหร่นัก

สยามวางตัวเป็นกลางมาได้ 3 ปี ก็เกิดเหตุการณ์กองทัพเยอรมันยิงเรือโดยสารของพลเรือน ซึ่งผิดข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมไปถึงมีการฆ่าผู้บริสุทธิ์มากมาย ประเทศที่เป็นกลางทั้งหลายจึงเริ่มเคลื่อนไหว ประเทศกลุ่มหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกเป็นกลุ่มที่ 3 หรือ Third Wave นำโดยอเมริกา

รัชกาลที่ 6 สื่อสารกับทูตสยามในประเทศต่างๆ ตลอดว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ท่านจึงส่งจดหมายไปประท้วงเยอรมนี และติดต่อกับสถานทูตอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในที่สุดรัชกาลที่ 6 ก็ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามในวันที่ 22 กรกฎาคม 2460

เครื่องทรงมหาพิชัยยุทธ

นิทรรศการนี้มีเครื่องทรงมหาพิชัยยุทธจำลอง ซึ่งเป็นเครื่องทรงของกษัตริย์ในยามออกสงครามให้ชมด้วย

เครื่องทรงมหาพิชัยยุทธประกอบด้วยพระภูษาไหม โจงกระเบนสีแดงเลือดนก ด้านในเป็นฉลองพระองค์ชั้นในแบบนักรบไทยโบราณไม่มีแขน สีแดง มีอักขระเลขยันต์ทั่วทั้งองค์ เป็นฉลองพระองค์ที่รัชกาลที่ 1 เคยทรงออกศึกสงครามมาแล้ว ชั้นนอกทรงสวมฉลองพระองค์แพร (Spun Silk) สีแดง ลงอักขระเลขยันต์ทั้งองค์ ทรงคาดพระภูษาสมรดพื้นแดงตาดไหมทองแล่ง ถุงพระบาทและฉลองพระบาทสีแดง พระหัตถ์ซ้ายถือพระแสงดาบคาบค่ายซึ่งเป็นพระแสงดาบองค์จริงที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ปราบศึกพม่า พระหัตถ์ขวาถือยอดชัยพฤกษ์ ทรงทัดใบมะตูมที่พระกรรณซ้าย

ถ้าสงสัยว่าทำไมต้องเป็นชุดนี้ เหตุผลก็คือ วันที่ 22 กรฎาคม 2460 เป็นวันอาทิตย์ จึงสวมเครื่องทรงที่ถูกต้องตามตำรามหาพิชัยยุทธนาการโบราณราชประเพณี และตามหลักสวัสดิรักษา ซึ่งสีแดงเป็นสีมงคลประจำวันอาทิตย์

ฉลองพระองค์ที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้ทำขึ้นมาใหม่โดย คุณเถ่า-มีชัย แต้สุจริยา แห่งบ้านคำปุน ใช้วิธีทอผ้าทั้งหมดด้วยขั้นตอนแบบโบราณ และย้อมสีด้วยครั่งแบบโบราณ เนื่องจากภาพเก่าที่มีเป็นภาพขาวดำ จึงใช้วิธีหาค่าสีแดงที่ถูกต้องจากการอ่านบันทึก ลองทำผ้าสีแดงเฉดต่างๆ แล้วเอาถ่ายภาพให้เป็นขาวดำเพื่อเทียบกับภาพถ่ายต้นฉบับ ส่วนผ้าคาดเอว เรียกว่า ผ้าหนามขนุน เป็นการทอแบบญี่ปุ่นซึ่งเป็นวิธีการแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกัน

การสื่อสารกับประชาชนผ่านงานเขียน

คนไทยในยามนั้นมองว่าชาวเยอรมันคือเพื่อนที่ดี ส่วนชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเหมือนเป็นศัตรู เพราะมีเรื่องพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ชายแดนกันอยู่ การเข้าร่วมสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อรบกับชาวเยอรมันจำเป็นต้องสื่อสารเหตุผลสู่ประชาชน รัชกาลที่ 6 จึงทรงแปลข่าวจากหนังสือพิมพ์ต่างชาติทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อเผยแพร่เป็นภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง ช่วงนั้นท่านมีพระราชนิพนธ์ที่เป็นแนวหนังสือพิมพ์ค่อนข้างมาก ทางมูลนิธิฯ จึงจัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมาเป็นชุดพิเศษ (6 เล่ม) สำหรับงานนี้ด้วย

ทหารอาสา

สยามส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยพันกว่านาย คนที่สมัครไปร่วมรบมีทั้งทหารและพลเรือน ทหารอาสาที่เราส่งไปมีทั้ง ทหารบกรถยนต์ช่วยขนส่งกำลังพลและเสบียง และทหารอากาศ ทหารของเรานั่งเรือไปขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส พอไปถึงทหารอาสาทั้งหมดต้องเข้ารับการฝึก ทหารรถยนต์ใช้เวลาฝึกสั้นกว่า จึงได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อน

นิทรรศการนี้มีการฉายภาพยนตร์ที่มีเรื่องทหารอาสาของสยาม ขอลิขสิทธิ์มาจากกระทรวงกลาโหม ประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าในหนังไม่มีข้อมูลว่าฉากต่างๆ คืออะไร แต่เราก็เอามาเทียบกับข้อมูลที่มี ทำให้รู้ว่าสถานที่ต่างๆ ในภาพคืออะไร เป็นการหาบริบทให้ภาพเหล่านั้น

มีบันทึกของฝรั่งเศสบอกว่า ทหารบกรถยนต์ของเราทำงานดีมาก จนกองทัพฝรั่งเศสมอบเหรียญตราครัวซ์ เดอ แกร์ (Croix de Guerre) ให้ และมีการพูดถึงทหารอาสาว่า มีระเบียบ ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเยี่ยม ส่วนทหารอากาศ พอฝึกเสร็จ กำลังเดินทางไปรบ สงครามก็สิ้นสุดพอดี

ทางฝั่งไทยมีการมอบเหรียญพระราชทาน ‘เหรียญชัย’ ให้ทหารอาสา ในที่ประชุมสัมพันธมิตรเห็นพ้องต้องกันว่าให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น โดยใช้สีแพรแถบห้อยเหรียญเหมือนกันทุกประเทศ ส่วนตัวเหรียญนั้นแล้วจะเลือกทำ เหรียญชัยของไทยออกแบบโดย มจ.อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ด้านหน้าเป็นรูปนารายณ์บันฦาชัย ด้านหลังมีอักษรว่า ‘มหาสงครามเพื่ออารยธรรม’ แล้วก็ยังมีเหรียญตราอีกหลายประเภทมอบให้ด้วย รวมไปถึงการสร้าง ‘อนุสาวรีย์ทหารอาสา’ หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ก่อนออกเดินทาง

ก่อนทหารอาสาออกเดินทางไปร่วมสงคราม รัชกาลที่ 6 พระราชทานเลี้ยงที่พระบรมมหาราชวัง หลังจากมื้ออาหารมีการฉายภาพยนตร์เรื่อง Britain Prepared เป็นหนังที่กองทัพอังกฤษทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ศักยภาพทางทหารของอังกฤษ ท้ายภาพยนตร์ชุดนั้นมีโคลงภาษาอังกฤษของ Rudyard Kipling อยู่ 2 บรรทัดว่า

Who dies if England lives?

Who lives if England dies?

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เสนาธิการทหารบก โปรดมาก จึงขอให้รัชกาลที่ 6 พระราชทานคำเตือนใจแด่ทหารและพลเรือนเช่นนั้นบ้าง ในวันรุ่งขึ้นพระองค์ก็พระราชทานโคลง 4 บท ที่มีชื่อว่า ‘สยามานุสสติ’

โดยท่อนที่เราคุ้นกันดีที่สุดก็คือ ท่อนที่แปลจากโคลงท้ายภาพยนตร์นั่นเอง

หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง

เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย

หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ

เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ

ต่างชาติมองทหารไทยยังไง

จากการค้นข่าวในหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส สื่อมวลชนเขียนถึงทหารไทยในแง่ดี และให้เกียรติ มีการเขียนสกู๊ปเรื่องว่า ถึงแม้ทหารอาสาของไทยบางส่วนจะไม่ใช่ทหารอาชีพ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่เก่ง เพราะผ่านการฝึกเสือป่ามาแล้ว

พระราชทานเลี้ยงหลังกลับจากสงคราม

เมื่อทหารอาสากลับมา รัชกาลที่ 6 พระราชทานเลี้ยงที่พระบรมมหาราชวัง เนื่องจากมีการกลับมาหลายรอบ จึงมีหลายมื้อ เสือป่าก็ได้มอบกลักบุหรี่พร้อมลงชื่อให้ทหารอาสาแต่ละคนเป็นที่ระลึก ความพิเศษอย่างของงานเลี้ยงนี้คือ มีบันทึกว่า ก่อนเข้าสู่พระราชวัง ทหารทุกคนถือโคมรูปดอกบัวสีเขียว ขาว แดง และน้ำเงิน สลับสีกันเป็นสีธงชาติ เดินขบวนมาตั้งแถวที่ถนนสนามไชย (หน้ากระทรวงกลาโหม) เมื่อตั้งแถวพร้อม ทหารในกองทหารบกรถยนต์ซึ่งกลับมาจากราชการสงครามได้ร้องเพลงตำนานย่อของกองทหารนั้น และเพลงถวายพระพรชัยมงคล ร้องทั้งหมด 5 เพลง นี่คือตัวอย่างเพลง ฝรั่งรำเท้า เป็นเพลงที่ 3

นำธงชาติ, ออกประกาศ, สมความคิด

ในท่ามกลาง, สัมพันธมิตร์, อยู่ครบถ้วน

ทหารไทย, ได้ไป, เข้าขบวน

นการสวน, สนาม, สามนคร

คือที่กรุง, ปารีส, แรกเริ่มต้น

ทวยราษฎร์, หลากล้น, สลับสลอน

ถัดมา, ข้ามทเล, ไปลอนดอน

พระนคร, หลวงอังกฤษ, มิตร์สำคัญ

ต่อจากนี้, ไปบรัสเซล, กรุงเบ็ลเยี่ยม

แล้วก็เตรียม, ตัวกลับ, ยังเขตร์ขัณฑ์

นับว่าหมด, ราชกิจ, ที่สำคัญ

ต่างปรีเปรม, เกษมสันต์, ด้วยพอใจ

พระเดชา, นุภาพ, ปกเกล้าฯ

คุ้มครอง, ข้าเจ้า, ไม่ตักษัย

นำเกียรติ, กลับมา, สู่ชาติไทย

น้อมเกล้าฯ, ถวายไชย, ในวันนี้.

ที่นั่งของทูตไทยในเวทีโลก

หนึ่งในพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่พิธีบรมราชาภิเษกคือ พระองค์ทรงอยากมีชีวิตอยู่นานพอที่จะเห็นประเทศไทยมีสิทธิและเท่าเทียมกับนานาประเทศ หลังการเข้าร่วมสงครามโลกกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ประเทศเรามีสิทธิและเสียงเท่ากับประเทศใหญ่ หลังจากสิ้นสุดสงครามมีการประชุม Peace Conference ที่แวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นจุดเร่ิมต้นของการก่อตั้ง League of Nation องค์กรกลางให้นานาประเทศมาแก้ปัญหาด้วยการเจรจาแทนการทำสงคราม สยามของเรามีสถานะเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกก่อตั้ง

จากหนังสือเก่าที่ทีมงานหามาได้จากร้านขายหนังสือเก่าในฝรั่งเศส ระบุตำแหน่งที่นั่งของทูตไทยว่าอยู่ในตำแหน่งใกล้กับฝรั่งเศส และอยู่ใกล้ประธานในที่ประชุม ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ดี ในการประชุมครั้งที่สอง ตำแหน่งของสยามก็ยังดีเช่นเดิม

ตำแหน่งของกองทัพในขบวนฉลองชัยชนะ

หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม ฝรั่งเศสได้เชิญประเทศสัมพันธมิตรมาเดินขบวนฉลองชัยชนะในวันชาติฝรั่งเศสร่วมกัน วันที่ 14 กรกฎาคม 2462 จากภาพเคลื่อนไหวที่เคยเห็น มีเพียงภาพทหารสยามเดินผ่านไป ไม่มีใครรู้ว่าทหารของเราอยู่ตรงไหนในขบวน แต่จากหนังสือเก่าที่ได้มาจากฝรั่งเศส ทำให้เห็นว่าตำแหน่งของเราอยู่ในประเทศกลุ่มแรกๆ ของขบวน

ได้แก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

พอจบสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง อเมริกาได้เร่ิมแก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมกับเรา ส่วนอังกฤษใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะมีความซับซ้อน ทางฝั่งฝรั่งเศสใช้เวลานานที่สุด เพราะช่วงนั้นเรายังมีคดีความเรื่องดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง

กำเนิดธงไตรรงค์

ก่อนหน้านี้ธงชาติไทยเป็นธงรูปช้างเผือกบนพื้นแดง ธงในการค้าขายเป็นแถบขาวสลับแดง แต่รัชกาลที่ 6 ทรงเพิ่มแถบสีน้ำเงินขาบลงไป เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะธงชาติของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ล้วนมีสีแดง ขาว และน้ำเงิน โดยใช้ครั้งแรกเป็นธงไชยเฉลิมพลประจำกองทหารหน่วยที่ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งด้านหนึ่งมีรูปช้างเผือกอยู่ตรงกลาง และอีกด้านเป็นตราพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ 6 จากนั้นก็ได้ปรับมาเป็นธงแบบปัจจุบัน ซึ่งรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์ มีข้อมูลจากบันทึกระบุว่า รัชกาลที่ 6 ตรัสว่า ธงไตรรงค์คือสัญลักษณ์ของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย

เครื่องแบบทหาร

ก่อนหน้านี้เครื่องแบบของทหารไทยไม่ได้มีสีเขียวอย่างในปัจจุบัน เราเร่ิมใช้สีนี้เมื่อตอนส่งทหารอาสาเข้าร่วมรบ ซึ่งเป็นสีเดียวกับเครื่องแบบหน้าร้อนของทหารยุโรป

วงเวียน 22 กรกฎาคม

เพื่อระลึกถึงการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้ตัดถนน 3 สาย และสร้างวงเวียนแห่งแรกของประเทศ เร่ิมต้นสร้างเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2461 พระราชทานนามว่า ’22 กรกฎาคม’ และพระราชทานชื่อถนนทั้ง 3 สายว่า ไมตรีจิตต์ มิตรพันธ์ สันติภาพ แสดงว่าไมตรีจิตที่มีต่อฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้เกิดสันติภาพ แต่พอเวลาผ่านไป เรื่องราวเหล่านี้อาจไม่ถูกพูดถึง จนคนส่วนใหญ่ไม่รู้ที่ไปที่มาของวงเวียน 22 กรกฎาคม นิทรรศการชิ้นนี้พยายามทำเชื่อมโยงให้เห็นว่าเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 กับคนไทยนั้นใกล้ตัวกว่าที่คิด

นิทรรศการ 100 ปี สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1 จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2560 เวลา 09.00 – 16.30 น. (จันทร์-เสาร์) ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ในเขตหอสมุดแห่งชาติ

แต่ถ้าใครอยากร่วมเดินชมแบบพิเศษกับ The Cloud โดยมีคิวเรเตอร์ โจ-จิตติ เกษมกิจวัฒนา เป็นผู้นำชมและเล่าเรื่องเบื้องหลังให้ฟังอย่างละเอียด ในวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2560 เวลา 13.30 – 16.00 น. โดยไม่ค่าใช้จ่ายใดๆ งานนี้รับจำนวนจำกัดเพียง 30 คนเท่านั้น ปัจจุบันมีคนสมัครเต็มจำนวนแล้วเรียบร้อย

นิทรรศการ 100 ปี สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1

22 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2560  เวลา 09.00 – 16.30 น. (จันทร์-เสาร์)
หอวชิราวุธานุสรณ์ หอสมุดแห่งชาติ

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1อย่างไร

สยามเริ่มมีบทบาทในสงครามหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สยามประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สยามส่งกองกำลังทหารไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่แนวหน้าตะวันตกโดยทั้งหมดประจำการอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส กองทัพสยามที่ถูกส่งไปมีจำนวนทหารประจำการอยู่ทั้งหมด 1,248 นาย สยาม ...

การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลดีต่อไทยอย่างไร

ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงคราม นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศแล้ว ยังมีการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกริเริ่มในองค์การสันนิบาตชาติ ตลอดจนได้นำประสบการณ์จากสงครามในครั้งนี้มาปรับปรุงวิชาการทหารให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ผลที่ประเทศไทยได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6 คือข้อใด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ ที่สำคัญที่สุดคือ การเจรจาเพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ การดำเนินงานแก้ไขสนธิสัญญา

บุคคลในประวัติศาสตร์ของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทยมีใครบ้าง

เบื้องหลัง ร.6 นำสยามร่วมสงคราม สู่วีรกรรมทหารไทยบนสมรภูมิยุโรปในสงครามโลกครั้งที่ 1.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไป.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ.
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf