ดนตรีไทยที่มีความไพเราะน่าฟัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเรียนการสอนดนตรีไทยในโรงเรียนอัสสัมชัญ (แผนกมัธยม)

ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย, จีน, มาเลเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า

เล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่าง ๆ ผู้ประพันธ์ท่าน

เครื่องดนตรีไทย[แก้]

ดูบทความหลักที่: เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า

เครื่องดีด[แก้]

  • จะเข้
  • กระจับปี่
  • พิณ ได้แก่ พิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า พิณอีสาน
  • ซึง

เครื่องสี[แก้]

  • ซอด้วง
  • ซอสามสาย
  • ซออู้
  • สะล้อ
  • ซอแฝด
  • รือบับ
  • ซอกันตรึม

เครื่องตี[แก้]

  • กรับ ได้แก่ กรับพวงและกรับเสภา
  • ระนาด ได้แก่ ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม, ระนาดเอกมโหรี, ระนาดทุ้มมโหรี, ระนาดเอกเหล็ก, ระนาดทุ้มเหล็ก, ระนาดแก้ว
  • ฆ้อง ได้แก่ ฆ้องมโหรี, ฆ้องมอญ, ฆ้องวงใหญ่, ฆ้องวงเล็ก, ฆ้องโหม่ง, ฆ้องกระแต, ฆ้องระเบ็ง
  • ขิม
  • ฉาบ
  • ฉิ่ง
  • กลอง ได้แก่ กลองแขก, กลองมลายู, ตะโพน, ตะโพนมอญ, กลองทัด, กลองตุ๊ก, กลองยาว, มโหระทึก, บัณเฑาะว์, โทน, รำมะนา, โทนชาตรี, กลองสองหน้า, เปิงมางคอก, กลองมังคละ

เครื่องเป่า[แก้]

  • ขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ, ขลุ่ยเพียงออ, ขลุ่ยอู้
  • ปี่ ได้แก่ ปี่ใน, ปี่นอก, ปี่ไฉน, ปี่ชวา, ปี่มอญ, ปี่จุม

เพลงดนตรีไทย[แก้]

แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

  • เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่เพลงที่บรรเลงประกอบเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
  • เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงขับเก่งร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยบังโฟมมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เพลงสิบสองภาษา เป็นต้น
  • เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
  • เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

อ้างอิง[แก้]

  • ประเภทของดนตรีไทย Archived 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย
  • ดนตรีไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 1
  • ดนตรีไทย Archived 2005-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

     
ความหมายและประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
        1.1  ความหมายของดนตรีไทย
         ดนตรีไทย  หมายถึง  เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนอง  มีลีลา  จังหวะ  มีความเสนาะไพเราะ  ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนาน  รัก   อ่อนหวาน  ให้ความสุข  เศร้าโศก   ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม  เป็นต้น
                 ดนตรีไทยมีความสำคัญต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  นิยมให้มีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงด้วย  เช่น  งานขึ้นบ้านใหม่  งานทำบุญ  งานบวชนาค  งานมงคลสมรส  งานเฉลิมฉลอง  งานในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนการบรรเลงประกอบการแสดง  เป็นต้น

             1.2 ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
        ดนตรีไทย  เป็นดนตรีที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นใช้บรรเลงในกิจกรรมต่างๆ  ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่  เช่น  บรรเลงเพื่อประกอบพิธีตามความเชื่อและเพื่อประกอบ การแสดง
       1.3 องค์ประกอบของดนตรีไทย
ดนตรีที่มีความไพเราะน่าฟังจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ  ดังนี้
                  1.3.1 เสียงดนตรี  เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา  โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์
                 1.3.2 ทำนอง  หมายถึง  เสียงต่ำ  เสียงสูง  เสียงสั้น  เสียงยาว  เสียงทุ้ม  เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง
                 1.3.3 จังหวะ  หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ  จังหวะจะเป็นตัวกำกับเพื่อให้การร้องเพลงหรือการเล่นดนตรีออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียงกัน
                 1.3.4 การประสานเสียง  เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกันเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน  เช่น   การร้องเพลงพร้อมกับการเล่นกีตาร์คอร์ดประสานเสียง ร้อง  เป็นต้น
         2. แนวทำนองเพลงไทย
    เพลงไทยมีแนวทำนองที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่สามารถสัมผัสอารมณ์เพลงได้อย่างหลากหลาย  ดังนี้
                  2.1 เพลงที่ให้ความรู้สึกขลัง  น่าเคารพ  เช่น  เพลงสาธุการ  เพลงมหาฤกษ์  เพลงมหาชัย  เป็นต้น
                  2.2 เพลงที่ให้ความรู้สึกรื่นเริงสนุกสนาน  เช่น  เพลงค้างคาวกินกล้วย  เพลงเขมรไล่ควาย  เป็นต้น
                  2.3 เพลงที่ให้ความรู้สึกรักอ่อนหวาน  เช่น  เพลงลาวดวงเดือน  เพลงชมโฉม  เป็นต้น
                  2.4 เพลงที่ให้ความรู้สึกสุขใจจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ  เช่น  เพลงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น  เพลงเขมรไทรโยค  เป็นต้น
                  2.5 เพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้าโศก  เช่น  เพลงธรณีกรรแสง  เพลงมอญร้องไห้  เป็นต้น
                  2.6 เพลงที่ให้ความรู้สึกฮึกเหิม  องอาจ  เร้าใจ  เช่น  เพลงกราวใน  เพลงกราวนอก  เป็นต้น
         3. ครูเทพเจ้าของดนตรีไทย
         ครูเทพเจ้าที่ศิลปินนักดนตรีไทยเคารพนับถือมีหลายองค์  ตามแนวของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ความเชื่อการแสดงความเคารพนับถือ  เป็นความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อเทพเจ้าแห่งดนตรี  สร้างงานศิลปะดนตรีเป็นเลิศในการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้อง
                  3.1  พระวิศณุกรรม               เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้งช่างเขียน  ช่างปั้น  ช่างก่อสร้าง  ในคัมภีร์นาฏศาสตร์ตอนที่พระภรตฤษีรับเทวโองการจากพระมหาพรหม  ให้เริ่มวิธีการแสดงละคร   พระภรตฤษีได้ขอให้พระวิศณุกรรมสร้างโรงละคร  พระวิศณุกรรมจึงออกแบบสร้างโรงละครไว้  และสอนให้ชาวเมืองมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง
                  3.2  พระปัญจสีขร   เทพเจ้าผู้มีความเป็นเลิศด้านการดีดพิณและการขับลำในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม 5 แหยม มีชื่อเรียกว่า  “ปัญจสิขะ” เป็นผู้มีความเลื่อมใส ศรัทธาในการสร้างกุศลได้สร้างการสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะแต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่มจึงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช มีร่างกายเป็นสีทองมีมง กุฎห้ายอด
                  3.3  พระปรคนธรรพ  เทพเจ้าผู้เป็นยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริง คือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น มีความชำนาญในการขับร้อง และบรรเลงดนตรี  ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและบรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้า  และเทพยนิกรพระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าของพวกคนธรรพ์
         4. การไหว้ครูดนตรีไทย
                  4.1  ความสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย  แนวคิดของคนในสังคมไทยต่อครูนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก  ครูคือผู้ประสิทธ์ประสาทวิทยาการต่างๆ ให้แก่ศิษย์ เช่น วิชาด้านหนังสือ วิชาช่างศิลป์ วิชาดนตรี วิชานาฏศิลป์ เป็นต้น ศิษย์จึงต้องนำดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องกำนลไปแสดงความคารวะมอบให้ครู และฝากตัวเป็นศิษย์ โดยเลือกไปในวันพฤหัสบดี  ซึ่งถือว่าเป็นวันครูวันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญ  และมีความหมายที่สุดของการเริ่มเรียนวิชาการดนตรีไทย
          การไหว้ครูดนตรีไทยนิยมจัดเป็นประจำทุกปี  เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณครูอาจารย์ การทำบุญอุทิศแด่ครู การพบปะสังสรรค์ระหว่างศิษย์ พิธีไหว้ ครูดนตรีไทยจึงเป็นพิธีใหญ่มีการตั้งหน้าโขนซึ่งเป็นศีรษะครูเทพเจ้า  เครื่องดนตรีมีเครื่องสังเวยบูชากระยาบวชมีครูผู้ใหญ่เป็นพิธีกรประกอบพิธีกรรมไหว้ครู  มีบทอ่านโองการคำไหว้ครูมีเพลงหน้าพาทย์บรรเลงตามขั้นตอนหลังพิธี  แล้วมีพิธีครอบสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพลงครูต่อไป

ที่มา : //vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/art/1/images/note3.jpg

     

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf