เศรษฐกิจ พอ เพียง กับ การ ออม

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยสามารถใช้ได้กับประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ


“…พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2541

หลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสรุปออกมาได้ 3 หลักการคือ การมีความพอประมาณ การมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งทั้ง 3 หลักการนี้ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรอบรู้ และต้องมีคุณธรรม


อันที่จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่ใครๆ ก็นำไปประยุกต์ใช้ นำไปปฏิบัติได้ เพราะเป้าหมายสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงก็เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน การวางแผนการเงินก็เช่นกัน เราสามารถวางแผนการเงินตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงได้ เพราะ “เงินก็คือทรัพยากรอย่างหนึ่ง” ที่เราต้องจัดสรรให้เพียงพอสำหรับปัจจุบันและอนาคต การวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องของการสร้างสมดุลทางการเงิน เพื่อให้มีเงินสำหรับใช้จ่ายได้ทั้งในวันนี้และในวันหน้า เพื่อการสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมายในระยะยาว และเพื่อการเกษียณอย่างมั่นคง ซึ่งเราสามารถประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับการวางแผนการเงินได้ดังนี้

เศรษฐกิจพอเพียงกับการวางแผนการเงิน

  1. ความพอประมาณทางการเงิน ความหมายของคำว่าพอประมาณของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าความพอประมาณอยู่ที่ระดับใด ทั้งนี้ให้ดูที่ความรู้ความสามารถของตนเองประกอบด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทุกคนควรพิจารณาในหลักการของความพอประมาณ คือ ความไม่ฟุ้งเฟ้อ ความประหยัด ไม่ใช้จ่ายจนเกินตัว หรือการที่ไม่ทำอะไรที่สุดโต่งจนเกินไป เช่น กู้เงินมาลงทุนจำนวนมากเพื่อต้องการให้ประสบความสำเร็จเร็วๆ เป็นต้น
  2. ความมีเหตุผลทางการเงิน หมายถึง การวางแผนและศึกษาหาความรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตอย่างมีเหตุผล ไม่หลงเชื่อใคร หรือเชื่ออะไรง่ายๆ จะต้องดูเหตุผล มีที่มาที่ไป และหาข้อมูลจากหลายๆ ทางก่อนที่จะเชื่อหรือตัดสินใจทางการเงินลงไป นอกจากนี้ต้องมีความเข้าใจในการวางแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนค่าใช้จ่าย การออมและการลงทุน เพราะการวางแผนการเงินเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถจัดสรรทรัพยากรทางการเงินอย่างรอบคอบ เกิดสมดุลในชีวิตและเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขในอนาคต
  3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง มีการเตรียมความพร้อม เมื่อเข้าใจว่าอาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น และจะส่งผลกับสถานภาพทางการเงินของตัวเอง จึงมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเข้ามาอย่างไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย และการเสียชีวิต เข้าใจความสำคัญของการออมเงินและหาความรู้เกี่ยวกับการออม การลงทุนอย่างรอบคอบ รู้จักสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างระมัดระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินที่แข็งแกร่งให้ตัวเอง ซึ่งการวางแผนการเงินจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี เพราะเราได้มีการจัดสรรเงินให้สอดคล้องกับทั้งเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว มีการกันเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน มีการวางแผนประกันภัย มีการเตรียมการสำหรับการเกษียณอายุ ตลอดจนวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง


โดยการวางแผนการเงินที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ต้องอยู่บนความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญในการตัดสินใจ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ และไม่ตระหนี่จนเกินไป


กล่าวโดยสรุป หากเราดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสำคัญ ย่อมทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มีความรอบคอบ อยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันเพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตได้


นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

ออมเงิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 31 ก.ค. 2561 เวลา 12:12 น.

เรื่อง  กันย์ ภาพ  pixabay

แนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับประชาชนคนไทยนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกระดับชั้น ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศชาติ โดยเฉพาะเรื่องทางสายกลาง ไม่ตึง หรือหย่อนจนเกินไป ปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งเรื่องการออมก็เช่นกัน  ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การออมเงินที่ดี  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 นั้น นอกจากจะสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต หรือการจัดสรรที่ดินในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ยังสามารถนำมาปรับใช้ในการออมเงินสู่การออมเงินอย่างยั่งยืนได้อีก ด้วยการออมเงินมีดังนี้

1.การจัดทำบัญชีครัวเรือน

การจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นวิธีที่ในหลวง รัชกาล 9  ทรงริเริ่มเพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อครั้งที่ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ โดยเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพื่อให้ประชาชนสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน การจัดทำบัญชีครัวเรือนในที่นี้ คือ การจัดทำบัญชีหรือรายรับรายจ่าย รวมถึงการบันทึกข้อมูลด้านอื่นๆ ในชีวิตและครอบครัวที่สามารถจดบันทึกได้ เพื่อนำมาปรับใช้และวางแผนในการดำรงชีวิตในอนาคต เช่น บัญชีทรัพย์สิน บัญชีพันธุ์พืช บัญชีความรู้ ความคิด บัญชีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้รู้ในชุมชน บัญชีเด็กและเยาวชน บัญชีภูมิปัญญาด้านต่างๆ การจัดทำบัญชีหรือรายรับรายจ่าย ทั้งประจำวัน และประจำเดือน เป็นวิธีการบริหารเงินอย่างหนึ่งที่จะช่วยประเมินการใช้จ่ายของเราว่ามีประโยชน์และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อของที่ไม่จำเป็นและฟุ่มเฟือยได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถนำเงินส่วนดังกล่าวไปเก็บไว้เป็นเงินออม เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินได้

2.การออมเงินด้วยความพอเพียง

การออมเงินเป็นวิธีที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มใช้ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทำให้พระองค์ท่านมีเงินสะสมส่วนพระองค์จนสามารถซื้อรถจักรยานและกล้องถ่ายรูปได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งการออมเงินให้เกิดผลสำเร็จนั้น นักออมเงินต้องมีวินัยและความตั้งใจอย่างแท้จริงในการออมเงิน  นอกจากนี้นักออมเงินควรยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในขณะออมเงินด้วย คือ การออมเงินแบบพอดีโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น หากคุณมีรายรับน้อยก็ควรเริ่มการอดออมด้วยจำนวนเงินที่ไม่มาก และไม่กระทบต่อการใช้จ่ายของคุณ รวมถึงการนำเงินที่ได้จากการอดออมไปใช้จ่ายอย่างมีประโยชน์ ใช้จ่ายในสิ่งของที่จำเป็น และใช้จ่ายให้คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปให้มากที่สุด

3.ใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด

หลายคนมีความเข้าใจผิดเรื่องการใช้จ่ายโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไม่ถูกต้องและไม่ถูกวิธี โดยถือคติเพียงว่าต้องใช้จ่ายให้ประหยัดมากที่สุด ซึ่งความเป็นจริงแล้วการใช้จ่ายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้จ่ายบนทางสายกลาง การใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า โดยเลือกจากความจำเป็นและคุณภาพของสิ่งของ เช่น การเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แม้สินค้าจะมีราคาสูงกว่าสินค้าราคาประหยัด นับเป็นการใช้จ่ายบนเส้นทางสายกลางอย่างชาญฉลาด เพราะคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับการซื้อสินค้าราคาประหยัดที่ไม่มีคุณภาพ และไม่ทนทานต่อการใช้งาน ซึ่งอาจจะทำให้คุณต้องเสียทั้งเงิน และเวลาในการกลับไปซื้อสินค้าเดิมอยู่เป็นประจำ

4.การเลือกใช้งานอย่างคุ้มค่า

พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของการเลือกใช้งาน สิ่งของ ด้วยความพอเพียงให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด ตัวอย่างเช่น การไม่โปรดการใช้ปากการาคาแพง หรือการใช้ดินสอของพระองค์ ที่ทรงใช้จนกว่าดินสอจะสั้นกุดและทรงเบิกดินสอใช้เพียงปีละ 12 แท่งเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงการไม่ยึดติดกับค่านิยมและวัตถุของพระองค์อีกด้วย ซึ่งเราสามารถนำหลักการและแนวคิดของพระองค์ท่านไปปรับใช้ให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของได้

5.พอเพียงอย่างพอดี

การยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ในการดำรงชีวิตนั้นไม่มีหลักการและกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เพราะการยึดหลักความพอเพียงที่ต้องเลือกปรับใช้ให้เหมาะสมแก่การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งมักมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเรา เช่น การลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ทำให้ต้องไปทำงานสาย การกระทำนี้แม้จะถือเป็นความพอเพียง แต่ก็ไม่ใช่ความพอเพียงที่พอดีและไม่ถูกต้องตามจุดประสงค์ของพระองค์ท่าน การออมเงินโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 นั้น เป็นสิ่งที่นักออมเงินมือใหม่ รวมถึงประชาชนชาวไทยควรนำไปปรับใช้ในการออมเงินเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้การออมเงินของเราประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยให้การใช้จ่ายด้วยเงินออมเกิดความคุ้มค่าและประโยชน์มากที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf