สมเด็จ 100 ปี วัดระฆัง หลัง ตรายาง น้ำเงิน

พระเครื่อง : สมเด็จวัดระฆังหลังตรายาง เนื้อผงผสมมวลสารเก่า แตกลายงา ที่ระลึกในการทอดกฐิน พ.ศ.2551 สมเด็จ ความหมายทางวงการพระเครื่องหมายถึงพระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก จัดสร้างโดยสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม พระสมเด็จมี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร สีขาว ส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง คือปูนเปลือกหอย ข้าวก้นบาตร ผงวิเศษ 5 ชนิดและน้ำมันตังอิ๊ว พระสมเด็จ มีหลายพิมพ์ด้วยกัน เช่น พิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ปรกโ

ราคา : ฿ติดต่อร้านค้า เช็คราคา
เหรียญพระชัยหลังช้าง เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"

เหรียญพระชัยหลังช้าง เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9

โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532 และ เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์ แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม

ที่ สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง นี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป

พระเครื่องและเหรียญ ที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 เหรียญพระชัยหลังช้าง มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์ ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วย เหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน

พระชัยหลังช้าง “ภ.ป.ร.-ส.ก.” พิธีเข้มขลัง-คู่กันสิริมงคลยิ่ง

“พระ ชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. และ ส.ก.” ด้วยเป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นในปีแห่งมหามงคล แต่ต่างวาระกัน โดยพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. สร้างเมื่อปี 2530 ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. สร้างเมื่อปี 2535

แม้จะต่างวาระกัน แต่ทั้ง ภ.ป.ร. และ ส.ก. ต่างก็เป็นที่นิยมของปวงชนชาวไทยยิ่งนัก โดยจะเช่าเก็บคู่กันเป็นที่ระลึก เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว

กล่าวถึงประวัติการสร้างคร่าวๆ ย้อนไปเมื่อปี 2530 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 60 ปี 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปวงชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์โดยประกอบกิจกรรม ต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย

แม้ทางคณะสงฆ์ก็เตรียมถวายความจงรักภักดีแด่ พระองค์เช่นกัน โดยครานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้จัดสร้างเหรียญ “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร.” ขึ้นเพื่อให้ประชาชนนำไปบูชา โดยรายได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่!!! เมื่อ 5 ธ.ค. 2530 เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต...

ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. นั้น จัดสร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์ไทยเมื่อปี 2535 พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่เช่นกัน

“เหรียญ พระชัยหลังช้าง” ขนาดว่าครั้งหนึ่ง “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ท่านเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า... เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง

กล่าวสำหรับประวัติ “พระชัยหลังช้าง” แต่ก่อนเรียกดังนี้ พระนามเดิมคือ “พระชัย” หรือ “พระไชย” ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ออกพระนามเพิ่มว่า “พระไชยวัฒน์” ก่อนเปลี่ยนพระนามเป็น “พระชัยวัฒน์” ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำ รัชกาลทุกพระองค์ เพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่มี

ปัจจุบันพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะพิเศษคือเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะถือด้ามพัด

เป็น พระพุทธรูปขนาดย่อมหรือค่อนข้างเล็ก เพื่อสะดวกเคลื่อนย้ายไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า “พระชัยหลังช้าง” ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน

สันนิษฐาน ว่าการหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบ เนื่องยาวนาน คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก ที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย บ่งชี้ว่ามีพระชัยมาตั้งแต่รัชกาลนั้นแล้ว จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

พระชัยหลังช้าง นับเป็นเหรียญยอดนิยม-เหรียญดีที่น่าสะสม เป็นเนื้อกะไหล่ทอง ขนาด 2.2 X 3.7 c.m.พุทธคุณดีทางเมตตาคุ้มครอง โชคลาภก็เป็นเยี่ยม เพราะพระชัยเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะที่ในสมัยโบราณเวลาออกศึกจะอาราธนา ท่านขึ้นบนหลังช้างเป็นเคล็ด และได้ชัยชนะทุกครั้ง...

อาจารย์ที่พุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

1 สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
2 สมเด็จพระญาณ สังวร วัดบรวนิเวศวิหาร ( พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน)
3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพยา
4 สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวีหาร
5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปธุมคงคา
6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ (รักษาการองค์พระสังฆราช)
7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
8 พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
10 พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั้น กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
11 พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม เทพเจ้าแห่งสังขระบุรี
12 พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
13 พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
15 พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม


***เหรียญนี้สวยงดงาม ไม่ผ่านการใช้งานค่ะ เหลืองอร่ามทอง
เป็นเหรียญหนึ่งที่น่าบูชาอย่างยิ่งค่ะ มหาพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ 5 ธันวาคม 2530 อีกทั้งพระอริยสงฆ์เจ้าแห่งยุคมากมายร่วมอธิษฐานจิต
และที่สำคัญยิ่งจัดสร้างเพื่อในหลวง(ร.9)ของเราค่ะ จึงเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากที่สุดเหรียญหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ


รับประกันพระแท้ตลอดชีพ
บูชาราคา 499 บาท
(จัดส่งEMSฟรีค่ะ)
จองบูชาแล้วค่ะ โดยคุณsafe^^

 

punnapak said: ↑

รายการที่ 148 เหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร ปี2530
สุดยอดพิธีมหาพุทธาภิเษก


เหรียญพระชัยหลังช้าง เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"

เหรียญพระชัยหลังช้าง เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9

โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532 และ เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์ แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม

ที่ สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง นี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป

พระเครื่องและเหรียญ ที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 เหรียญพระชัยหลังช้าง มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์ ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วย เหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน

พระชัยหลังช้าง “ภ.ป.ร.-ส.ก.” พิธีเข้มขลัง-คู่กันสิริมงคลยิ่ง

“พระ ชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. และ ส.ก.” ด้วยเป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นในปีแห่งมหามงคล แต่ต่างวาระกัน โดยพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. สร้างเมื่อปี 2530 ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. สร้างเมื่อปี 2535

แม้จะต่างวาระกัน แต่ทั้ง ภ.ป.ร. และ ส.ก. ต่างก็เป็นที่นิยมของปวงชนชาวไทยยิ่งนัก โดยจะเช่าเก็บคู่กันเป็นที่ระลึก เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว

กล่าวถึงประวัติการสร้างคร่าวๆ ย้อนไปเมื่อปี 2530 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 60 ปี 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปวงชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์โดยประกอบกิจกรรม ต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย

แม้ทางคณะสงฆ์ก็เตรียมถวายความจงรักภักดีแด่ พระองค์เช่นกัน โดยครานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้จัดสร้างเหรียญ “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร.” ขึ้นเพื่อให้ประชาชนนำไปบูชา โดยรายได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่!!! เมื่อ 5 ธ.ค. 2530 เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต...

ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. นั้น จัดสร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์ไทยเมื่อปี 2535 พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่เช่นกัน

“เหรียญ พระชัยหลังช้าง” ขนาดว่าครั้งหนึ่ง “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ท่านเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า... เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง

กล่าวสำหรับประวัติ “พระชัยหลังช้าง” แต่ก่อนเรียกดังนี้ พระนามเดิมคือ “พระชัย” หรือ “พระไชย” ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ออกพระนามเพิ่มว่า “พระไชยวัฒน์” ก่อนเปลี่ยนพระนามเป็น “พระชัยวัฒน์” ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำ รัชกาลทุกพระองค์ เพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่มี

ปัจจุบันพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะพิเศษคือเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะถือด้ามพัด

เป็น พระพุทธรูปขนาดย่อมหรือค่อนข้างเล็ก เพื่อสะดวกเคลื่อนย้ายไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า “พระชัยหลังช้าง” ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน

สันนิษฐาน ว่าการหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบ เนื่องยาวนาน คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก ที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย บ่งชี้ว่ามีพระชัยมาตั้งแต่รัชกาลนั้นแล้ว จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

พระชัยหลังช้าง นับเป็นเหรียญยอดนิยม-เหรียญดีที่น่าสะสม เป็นเนื้อกะไหล่ทอง ขนาด 2.2 X 3.7 c.m.พุทธคุณดีทางเมตตาคุ้มครอง โชคลาภก็เป็นเยี่ยม เพราะพระชัยเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะที่ในสมัยโบราณเวลาออกศึกจะอาราธนา ท่านขึ้นบนหลังช้างเป็นเคล็ด และได้ชัยชนะทุกครั้ง...

อาจารย์ที่พุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

1 สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
2 สมเด็จพระญาณ สังวร วัดบรวนิเวศวิหาร ( พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน)
3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพยา
4 สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวีหาร
5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปธุมคงคา
6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ (รักษาการองค์พระสังฆราช)
7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
8 พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
10 พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั้น กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
11 พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม เทพเจ้าแห่งสังขระบุรี
12 พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
13 พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
15 พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม


***เหรียญนี้สวยงดงาม ไม่ผ่านการใช้งานค่ะ เหลืองอร่ามทอง
เป็นเหรียญหนึ่งที่น่าบูชาอย่างยิ่งค่ะ มหาพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ 5 ธันวาคม 2530 อีกทั้งพระอริยสงฆ์เจ้าแห่งยุคมากมายร่วมอธิษฐานจิต
และที่สำคัญยิ่งจัดสร้างเพื่อในหลวง(ร.9)ของเราค่ะ จึงเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มากที่สุดเหรียญหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ


รับประกันพระแท้ตลอดชีพ
บูชาราคา 499 บาท
(จัดส่งEMSฟรีค่ะ)
จองบูชาแล้วค่ะ โดยคุณsafe^^

Click to expand...

ขอบคุณคุณsafeมากๆนะคะ^^​

 

รายการที่ 149 พระปิดตา เนื้อผงทวาราวดี โรยผงเมฆพัตร ฝังตะกรุดกสิณธารา รุ่น ขุมทรัพย์111ปี + พระเจ้าสัวเนื้อว่าน รุ่น ขุมทรัพย์เจ้าสัว


@@@พระปิดตา พิมพ์สะดือจุ่นใหญ่ เนื้อผงทวาราวดี(ผงด้านในองค์พระปฐมเจดีย์)
โรยผงแร่เมฆพัตร(สีดำ)

ฝังตะกรุดกสิณธารา รุ่น ขุมทรัพย์ 111 ปี ปี51@@@

สุดยอดพระปิดตาชื่่อดัง หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้

ซึ่งผสมสูตรโดย "พระอาจารย์พิทยา ปริญญาโณ" ทายาทพุทธาคมหลวงปู่แช่ม วัดดอนยายหอม และหลวงปู่เต้า วัดเกาะวังไทร

โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ(สมเด็จเกี่ยว) เป็นประธาน
พระคณาจารย์นั่งปรก 4 ทิศคือ เกจิดังอยุธยา หลวงพ่อรวย วัดตะโก, 2 คณาจารย์ดังเมืองนครปฐม หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม, หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว และยอดเกจิแห่งสระแก้ว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม

***พระปิดตาพิมพ์สะสือจุ่นใหญ่ เนื้อผงทวาราวดี โรยแร่เมฆพัตร ฝังตะกรุดกสิณธารา สร้างโดยวัดต้นตำรับขนานแท้ แค่ชื่อรุ่นก็เป็นมงคล ส่วนพิมพ์ทรงก็ไม่ต้องห่วง มีความงดงามตามแบบฉบับหลวงปู่นาค

กล่าวกันว่า หากสู้ราคาของเก่าไม่ไหว ก็ใช้รุ่นนี้แทนได้ เพราะทางวัดได้ทำพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณของหลวงปู่นาคมาเป็นประธานในการปรกปลุกเสกด้วย

พระมีกลิ่นหอมมากๆค่ะ สภาพสวยมากได้รับผงเมฆพัตรดำเต็มสูตรอย่างเข้มขลัง และฝังตะกรุดกสิณธารา

***พุทธคุณแรงกล้าทางด้านความเป็นมหาอุด ตามตำรับหลวงปู่นาค แห่งวัดห้วยจระเข้***
พระไม่เคยผ่านการใช้งาน เก็บอยู่ในกล่องเดิมตลอด


@@@พระเจ้าสัว เนื้อว่าน รุ่น ขุมทรัพย์เจ้าสัว@@@

วัดห้วยจระเข้ ปี2556

จัดสร้างพิธีใหญ่ เข้มขลังตามรูปแบบโบราณของวัดห้วยจระเข้อันโด่งดังไปทั่วประเทศ ประสบการณ์มากมายจากผู้ศรัทธา
ถอดแบบจากเหรียญ เจ้าสัวหลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว ด้านหลังยันต์นะคงคา เอกลักษณ์ของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้เจ้าตำรับ

***ยันต์นะคงคาของหลวงปู่นาคมีอิทธิฤทธิ์ 108 ทั้งเมตตามหานิยม ร่ำรวย รุ่งเรือง แคล้วคลาด เด่นด้วยลาภยศทรัพย์สินเงินทอง เพิ่มพูนทัดเทียมกับเหรียญเจ้าสัวรุ่นเก่า ด้วยเจตนาผู้สร้างบริสุทธิ์มวลสารดีพิธีกรรมขลังครบครันอยู่ใน เหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ทุกประการ
หลวงปู่นาคกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วมีความสนิทสนมไปมาหาสู่กันเสมอ หลวงปู่บุญเคารพหลวงปู่นาคเป็นสหธรรมิกรุ่นพี่ ท่านมีอายุแก่กว่าหลวงปู่บุญ 35 ปี หลวงปู่บุญยังยกย่องในอาคมความเข้มขลังของหลวงปู่นาคให้ศิษย์ฟังเสมอ
เหรียญเจ้าสัว รุ่นขุมทรัพย์เจ้าสัว เททอง นำฤกษ์โดย เจ้าสัววานิช ไชยวรรณ คนรวยอันดับ 7 ของประเทศไทยเป็นประธานเททองไปเมื่อ 22 กรกฎาคม 56 และกำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษก 18 สิงหาคม เวลา 18.18 น. ที่วัดห้วยจระเข้โดยมีพระเกจิดังทุกภาคนั่งปรก

ขุมทรัพย์เจ้าสัว ผนึกกฤตยาคมแฝดสองอมตพระมหาเถราจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษสุดแห่งสยามประเทศ ประจุพลังพุทธาอาคมโดย หลวงปู่เสงี่ยม อาริโย พระเถราจารย์ผู้สืบสายมหาวิชาอักขระยันต์นะคงคาแห่งวัดห้วยจระเข้ และ หลวงพ่อคง กมฺมสูทฺโธ พระเถารจารย์ผู้สืบสายพุทธาคมเจ้าตำรับมนต์จินคามณี ของหลวงปู่บุญ แห่งวัดกลางบางแก้ว พระเจ้าสัวอันดับ1แห่งสยาม

***พระปิดตา เนื้อผงทวาราวดี โรยผงเมฆพัตร ฝังตะกรุดกสิณธารา รุ่น ขุมทรัพย์111ปี + พระเจ้าสัวเนื้อว่าน รุ่น ขุมทรัพย์เจ้าสัว วัดห้วยจระเข้
ทั้ง2องค์ สภาพสวยมาก ไม่เคยผ่านการใช้งาน เก็บรักษาในกล่องเดิมตลอดค่ะ บูชามาโดยตรงจากวัดค่ะ

***พุทธคุณพระปิดตา: โดดเด่นมากเรื่องมหาอุต ตามตำรับเดิมของหลวงปู่นาค
***พุทธคุณ พระเจ้าสัว: โดดเด่นเรื่องมหาเศรษฐี และยังคงความเป็นมหาอุต ตามตำรับหลวงปู่นาค


รับประกันพระแท้ตลอดชีพนะคะ
ปิดรายการค่ะ

 

รายการที่ 150 เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่น สร้างโรงพยาบาล ปี2526 (เหรียญกลมเล็ก)

เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่น สร้างโรงพยาบาล ปี2526
(เหรียญเล็ก)
***รุ่นประสบการณ์ค่ะ***

***เหรียญสภาพสวยงามค่ะ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.9 ซม.(เหรียญเล็ก) เนื้อทองแดง เหรียญคมชัดทุกรายละเอียด ไม่เคยผ่านการใช้งาน

***หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ พระอริยสงฆ์เจ้าแห่งล้านนา ปลุกเสกเดี่ยว***

***เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเพื่อนำปัจจัยสร้างโรงพยาบาล เจตนาดีและชัดเจน จึงทำให้เหรียญรุ่นนี้เป็นมหามงคลสำหรับผู้ที่บูชา เป็นเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด และสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคมาเบียดเบียน


***อายุพระ 34 ปี***

กราบหลวงพ่อเกษม เขมโก....
สัพเพชนา สุขิตาโหนตุ
สวัสดียามเช้า ผู้นับถือหลวงพ่อเกษม เขมโกทุกท่านครับ


วันนี้ไม่มีพระใดมานำเสนอครับ แต่เอาเรื่องเล่าของผู้ที่มีประสบการณ์จากหลวงพ่อเกษม นำมาให้อ่านกันครับ
------------------------------------
ใครจะแขวนจะพกพระได้มากแค่ไหน ก็ยังดูเป็นปกติธรรมดา ไม่เห็นแปลก แต่ถ้าพูดถึง คุณทวีพร ทองคำใบ ทุกคนจะยอมรับนับถือว่าท่านผู้นี้เป็นยอดในการแขวนและพกพระ เฉพาะสร้อยคอก็อย่างน้อย ๆ 5 เส้น แหนบอีกนับสิบ กระเป๋าถืออีกร่วมร้อยองค์ ตะกรุดคาดเอวอีก 3 เส้น พระทุกองค์เลี่ยมตลับเงินอย่างดี คิดดูจะหนักแค่ไหน บางวันแบกไม้เท้าเสกของหลวงปู่พรหมาไว้ไล่หมา ขณะปั่นจักรยานก็ยังเคยเห็น คุณทวีพร ทองคำใบ เป็นนักวาดภาพแสตมป์มือฉมังของเมืองไทยและเป็นคนที่เรียกว่า “ตกน้ำไม่ไหล” คือตกน้ำตรงไหน ก็งมเอาตรงนั้นเลย เมื่อเปรียบกับคุณทวีพรแล้ว คนอื่น ๆ จะจ้องเจียมเนื้อเจียมตัว ถึงจะถือว่าคุณทวีพรเป็นแชมป์ในการแขวนและพกพระในหมู่พวกเราแล้วก็ตาม แต่คุณทวีพร จะเทียบกับ คุณวสุธร โง้วศิลปศาสตร์ (ตี๋) ไม่ได้เลย ต่อไปนี้ผมจะเรียกคุณวสุธรว่า คุณตี๋ ตามถนัดปาก คุณตี๋เอาพระทั้งแบบผงและโลหะสารพัดหลวงพ่อหลวงปู่ ทั้งประเทศมาเลี่ยมพลาสติก และร้อยพระสานประกอบกันจนกลายเป็นเสื้อสวมใส่ได้คะเนว่าจะมีพระทั้งหมดรวม แล้วประมาณ 300 องค์ มีอยู่คนหนึ่งเคยทำในลักษณะคล้าย ๆ กับคุณตี๋มาก่อน คือ เอาพระมาร้อยรวมกันหลายสิบองค์ จนกลายเป็นหมวก เสียแต่จำชื่อไม่ได้ จำได้แค่ว่าเป็นชาวจังหวัดลำปาง แต่คุณตี๋บอกว่าไม่ได้ลอกไอเดียนี้จากใคร คุณตี๋คิดขึ้นเอง ถ้าบังเอิญไปตรงกันก็ช่วยไม่ได้ เสื้อพระนี้คิดทำขึ้นเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว เหตุที่คิดทำก็เพราะว่าอยากแขวน อยากพกพระทั้งหมดที่มีอยู่พอคิดได้ก็ลงมือทำทันที พอทำเสร็จก็เลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นแชมป์พกพระอย่างสง่าผ่าเผยทันทีเหมือนกัน เหตุที่คุณตี๋หันมาสนใจพระ ชอบพระ และพกพระอย่างเป็นชีวิตจิตใจก็เพราะได้ประสบอภินิหารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก เรียกว่าเป็นประสบการณ์สำคัญ และยิ่งใหญ่ที่ทำให้ชีวิตจิตใจคุณตี๋มีแต่พระเต็มหมดทั้ง 4 ห้องหัวใจ ไม่มีสักห้องเดียวจะว่างไว้ให้ผู้หญิงอีกด้วย สาวไหนไม่เชื่อลอง ๆ ไปติดตอขอเช่าสักห้องดูสิครับว่าจะเต็มจริงหรือไม่ ตอนที่คุณตี๋มีอายุได้ 20 ปี (ปัจจุบัน 41) คุณตี๋มีแค่ เหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่น 6 รอบ (สมทบทุนสร้างโรงพยาบาลสงฆ์) อยู่เพียงเหรียญเดียว ลักษณะเป็นเหรียญกลมมีรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์อยู่ด้านหน้า ส่วนด้านหลังก็อีกแล้วครับ...ลืม
คืนหนึ่งราว ๆ ตี 2 ไม่รู้นึกยังไง ไปนั่งเล่นอยู่บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุบลราชธานี อยู่เพียงคนเดียว กำลังเพลิน ๆ ก็สะดุ้งโหยง เพราะเสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหว เห็นคนกำลังไล่ยิงกันอยู่ใกล้ ๆ คนถูกไล่ยิงไม่มีปืนก็วิ่งหนีอย่างเดียว คนไล่ยิงมีปืนก็ไล่ยิงอย่างเดียว ทั้งคนหนีและคนไล่วิ่งมาทางเดียวกัน คือตรงมาหาคุณตี๋ พอถึงตัวคุณตี๋คนหนีก็คว้าตัวคุณตี๋ไว้เป็นกำบัง โดยเอาตัวของตนเองไปซ่อนอยู่ข้างหลังคุณตี๋ซะเฉยๆ คุณตี๋นี่ก็ช่างกระไรเลย ดันตัวแข็งตกใจ ทำอะไรไม่ถูกไปเสียอีก
คนไล่ยิงพอตามมาถึงก็ไม่ฟังอีร้าค่าอีรม จ่อปืนยิงต่อ โดยเล็งปืนผ่านตัวคุณตี๋เหมือนว่าไม่มีคุณตี๋อยู่ตรงนั้น คือมีเจตนาจะยิงอีกคนให้ตายดับคาปืนอย่างเดียว ใครจะขวางก็ไม่สน ปรากฏว่าพอเหนี่ยวไก กระสุนก็ด้านถึง 3 นัด คนวิ่งหนีเห็นท่าไม่ดีหรือจะเห็นท่าดีก็ไม่ทราบ ผลักคุณตี๋กระเด็นไปแล้วตัวเองก็หันหลังวิ่งหนีต่อไปทางโรงหนังสินราชบุตร คนไล่ยิงก็วิ่งไล่ยิงเปรี้ยง ๆ ต่อไป จนหายลับไปทั้งคู่ หลังเหตุการณ์นั้นผ่านไป คุณตี๋จึงคิดออกว่ารอดมาเพราะอะไรทั้งเนื้อทั้งตัวมีเหรียญหลวงพ่อเกษมรุ่น ที่ว่านี้อยู่เพียงเหรียญเดียวหลังเหตุการณ์นั้นผ่านไป คุณตี๋จึงคิดออกว่ารอดมาเพราะอะไร ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเหรียญหลวงพ่อเกษมรุ่นที่ว่านี้อยู่เพียงเหรียญเดียว ตั้งแต่นั้นโลกก็อ้าแขนรับนักสะสมพระเครื่องคนใหม่อีกคนด้วยเหตุดังนี้แล ทุก วันนี้คุณตี๋ยังคงสะสมพระไม่พอ เห็นว่ากำลังอยากได้เหรียญทศบารมี รุ่นปืนแตกของหลวงปู่เปลี้ย วัดชอนสารเดช ผมก็นึกในใจว่าจะมอบให้เป็นที่ระลึกสักเหรียญ นี่ก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์อีกเรื่องที่น่าทึ่งมาก เมื่อมาเป็นแชมป์พกพระขนาดนี้แล้ว ผมเห็นว่าพระขนาด 300 องค์นี้ บางที ระเบิดนิวเคลียร์ก็คงจะทำอะไรคุณตี๋ไม่ได้และก็ช่วยเบาแรงหลวงพ่อเกษมไปได้ อีกเยอะ แทนที่จะรับศึกอยู่แต่เพียงองค์เดียว ใคร ๆ ก็อย่าคิดเลียนแบบคุณตี๋ ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัว แม้ไม่สงวนลิขสิทธิ์เสื้อพระก็คงจะหาคนเอาอย่างได้ยาก คุณตี๋ก็คงจะเป็นแชมป์ไปอีกนาน หรือจะตลอดกาลก็ยังบอกไม่ได้ ไว้ผมคิดหาวิธีล้มแชมป์พกพระได้เมื่อไร ค่อยขอท้าชิงเข็มขัดทีหลัง
ตอนนี้คิดไม่ออกเลย
งานเขียนของคุณอาอำพล เจน ... จากหนังสือแปลก ฉบับที่ 520
วันที่ 1 กันยายน 2547(ขออนุญาตคัดลอก งานเขียนของคุณอำพน เจน และเพื่อเป็นการเผยแพร่อิทธิปาฏิหาริย์ ของหลวงพ่อเกษม เขมโก ) (ใครจะคัดลอกต่อก็ได้นะครับ)
ขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บเพื่อนบ้านนะคะ



รับประกันพระแท้ตลอดอายุพระนะคะ
ปิดรายการค่ะ
(จัดส่งEMSฟรีค่ะ)

 

รายการที่ 152 สมเด็จวัดระฆัง อนุสรณ์ 118ปี พ.ศ.2533 พิมพ์ปรกโพธิ์ “พระสวยเดิมไม่ผ่านการใช้ หลังปั้มตรายาง พร้อมกล่องเดิมจากวัดระฆังฯ


รายละเอียดเพิ่มเติม
สมเด็จวัดระฆัง อนุสรณ์ 118ปี พ.ศ.2533 พิมพ์ปรกโพธิ์ “พระสวยเดิมไม่ผ่านการใช้.หลังปั้มตรายาง…พร้อมกล่องเดิมจากวัด.””

รับประกันแท้ตลอดชีพและแท้ตามมาตรฐานสากล.

**พระสมเด็จวัดระฆัง ปี 2533 รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ***

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย และประทานนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่เมตตา ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2533



วัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซ่อมบูรณะศาลาการเปรียญครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา (วัดบางหว้าใหญ่) สร้างศาลาอเนกประสงค์ เนื่องด้วยคณะกรรมการวัดระฆังโฆสิตาราม และคณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีความเห็นร่วมกันว่า สมควรที่จะหาปัจจัยเพื่อเพิ่มทุนมูลนิธิสมเด็จฯ ให้เพียงพอกับวัตถุประสงค์ที่ได้จัดตั้งมูลนิธิประการหนึ่ง ประการที่ 2 เพื่อซ่อมบูรณะศาลาการเปรียญของวัด ซึ่งจัดเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งในยุคนี้ให้คงสภาพเดิมไว้และประการ 3 ให้จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์ขึ้นหนึ่งหลัง เพื่อไว้สำหรับบำเพ็ญศาสนกิจในทางพระศาสนาในวาระต่างๆ ซึ่งทางวัดยังขาดแคลนอยู่

ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะกรรมการจึงได้ให้จัดสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ 118 ปี ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขึ้น เพื่อท่านทั้งหลายที่มีความเชื่อ ความเลื่อมใสศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้มีไว้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และครอบครัว

พระเกจิอาจารย์นั่งปรกปลุกเสกถึง 89 รูป ที่โดดเด่นคือ

พระภาวนาโกศลเถระ (วีระ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
พระครูปลัดธรรมจริยวัฒน์ (วิเชียร) วัดดวงแข กรุงเทพฯ
พระครูจันทคุณาภรณ์ (จำปา) วัดอินทราวาส กรุงเทพฯ
พระครูวิบูลศีลวัตร (ซ้วน) วัดหนัง กรุงเทพฯ
พระครูวิมลธรรมธาดา (ถวิล) วัดลาดบัวขาว กรุงเทพฯ
พระครูสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษมาลา กรุงเทพฯ
พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเฌอ ชลบุรี
พระครูสารทรพัฒนกิจ (ละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
พระครูสุนทรวุฒิคุณ (พุฒ) วัดกลางบางพระ นครปฐม
พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (ผูก) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (เชิญ) วัดโคกทอง พระนครศรีอยุธยา
พระครูพุทธสิริวัฒน์ (เมี้ยน) วัดโพธิ์ พระนครศรีอยุธยา
พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา
พระครูเกษมคณาบาล (มี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
พระครูวิบูลรัตนากร (วงศ์) วัดสามกอ พระนครศรีอยุธยา
พระครูสุนทรยติกิจ (ละเอียด) วัดไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา
พระครูโอภาสธรรมวัตร (ล้วน) วัดพิกุลโสภณ พระนครศรีอยุธยา
พระครูสุวัฒนาภรณ์ (บี้) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี
พระครูใบฎีกาคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร
พระครูสมุทรพัฒนโสภณ (ทองหล่อ) วัดคันลัด สมุทรปราการ
พระครูการาม (พลับ) วัดชายคลอง พัทลุง
พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา พัทลุง
พระครูกาเดิม (เพิ่ม) วัดเขียนแก้ว พัทลุง
พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พัทลุง
หลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน พัทลุง
พระอาจารย์แก้ว วัดโคกโดน พัทลุง
พระอาจารย์ปลอด วัดหัวป่า พัทลุง
พระราชสิงหคณาจารย์ (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
พระครูจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
พระครูเมตตานุศาสน์ (บุญช่วย) วัดกุฎีทอง สิงห์บุรี
พระครูอินทคณานุสิกขน์ (เจ๊ก) วัดระนาม สิงห์บุรี
พระครูพิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญารามพิจิตรา

***นับเป็นวัตถุมงคลยอดนิยมรุ่นหนึ่งของวัดระฆังฯ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิธียิ่งใหญ่ รวมสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งยุคค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf