ที่อยู่ธนาคารไทยพาณิชย์ ภาษาอังกฤษ

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

  • SWIFTCODE: SICOTHBK
  • ชื่อภาษาอังกฤษ: Siam Commercial Bank Public Company Limited
  • ที่อยู่สำนักงานใหญ่: 9 Ratchadaphisek Road Ladyao, Jatujak, Bangkok 10900
  • อักษรย่อ: SCB
  • เบอร์ติดต่อ: +66-2544-1000

เกี่ยวกับ ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารขนาดใหญ่ และถือเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย
ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449, และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2519
ให้บริการทางด้านการเงินครบวงจร และรองรับลูกค้าทุกประเภททั้งบุคคลทั่วไป และภาคธุรกิจ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • Swift Code คืออะไร ?
  • การโอนเงินไปต่างประเทศ
  • เว็บไซต์ธนาคารไทยพาณิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ประเภท

การซื้อขาย

ISINอุตสาหกรรมก่อนหน้าก่อตั้งผู้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่

บุคลากรหลัก

ผลิตภัณฑ์รายได้สินทรัพย์ส่วนของผู้ถือหุ้น

พนักงาน

บริษัทแม่อันดับความน่าเชื่อถือเว็บไซต์

อาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์

บริษัทมหาชน
(SET:SCB)
TH0015010R16 
ธุรกิจการเงิน
ธนาคาร
บุคคลัภย์
แบงก์สยามกัมมาจล
4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 (118 ปี ในชื่อบุคคลัภย์)
30 มกราคม พ.ศ. 2449 (116 ปี ในชื่อแบงก์สยามกัมมาจล)
27 มกราคม พ.ศ. 2482 (83 ปี ในชื่อธนาคารไทยพาณิชย์)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย (นายกกรรมการ)
กฤษณ์ จันทโนทก (ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
การธนาคารลูกค้ารายย่อย การธนาคารพาณิชย์ การประกันภัย วาณิชธนกิจ เงินกู้จำนอง การธนาคารลูกค้าบุคคลรายใหญ่ การบริหารความมั่งคั่ง บัตรเครดิต
174,900.49 ล้านบาท (2562)[1]
2,963,746.32 ล้านบาท (2562)[1]
400,357.83 ล้านบาท (2562)[1]
20,000 (พ.ศ. 2552) 
เอสซีบี เอ็กซ์
Fitch: AA+(tha)[2]
www.scb.co.th

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: The Siam Commercial Bank Public Company Limited ชื่อย่อ: SCB)[3] เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกและเป็นหนึ่งในห้าธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2449 เดิมชื่อธนาคารสยามกัมจล ปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 1,070 สาขา

ประวัติ[แก้]

กิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม บุคคลัภย์ (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่แต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449[4]

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี 2560[5] ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • พ.ศ. 2449 - ธนาคารฯ เปิดทำการในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2453 - ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานไปยังอาคารตลาดน้อย ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
  • พ.ศ. 2455 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2463 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ในส่วนภูมิภาค คือ สาขาทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นอาคารคลังพัสดุ ในย่านสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม
  • พ.ศ. 2470 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สอง คือ สาขาเชียงใหม่ ข้างโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม
  • พ.ศ. 2473 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สาม คือ สาขาลำปาง จังหวัดลำปาง นับเป็นสาขาภูมิภาคที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงให้บริการในที่ทำการเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2476 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสาขาเชียงใหม่เข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2482 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาไทยจาก "แบงก์สยามกัมมาจล" เป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์" และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก "The Siam Commercial Bank, Limited" เป็น "The Thai Commercial Bank, Limited" ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2485 - ธนาคารฯ แต่งตั้งนายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
  • พ.ศ. 2486 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สี่ คือสาขานครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้บริการพ่อค้าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พ.ศ. 2489 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ กลับมาเป็น "The Siam Commercial Bank, Limited"
  • พ.ศ. 2505 - ธนาคารฯ เริ่มใช้เครื่องลงบัญชีเดินสะพัด โพสต์-โทรนิก ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นับว่าทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2514 - ธนาคารฯ ได้เปิดอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ถนนเพชรบุรี (ปัจจุบันปรับฐานะเป็นสาขาชิดลม และได้ยกอาคารดังกล่าวไปให้เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จากนั้นจึงได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารหลังใหม่ติดกับหลังเดิม ซึ่งเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2525)
  • พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มรับพนักงานสตรีเข้าปฏิบัติงานเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2525 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการฝากและถอนต่างสาขากับบัญชีเงินฝากครบทุกประเภท เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2526 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการเงินด่วนด้วยเครื่องเอทีเอ็มเป็นครั้งแรก และแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ของปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 2531 - ธนาคารฯ มีปริมาณสินทรัพย์รวม 103,298.1 ล้านบาท เมื่อถึงสิ้นปีดังกล่าว
  • พ.ศ. 2532–2535 - ธนาคารฯ ได้รับรางวัล "ธนาคารแห่งปี" (Bank of the Year) จากนิตยสารการเงินธนาคาร เป็นเวลา 4 ปีซ้อน ในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทย ที่มีผลงานโดดเด่นอย่างรอบด้าน รวมทั้งการขยายตัวของธนาคารฯ และการเตรียมพร้อมรองรับความเจริญในอนาคต
  • พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)" และชื่อภาษาอังกฤษว่า "Siam Commercial Bank Public Company Limited"
  • พ.ศ. 2539 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่จากถนนเพชรบุรีไปยังอาคารเอสซีบีพาร์กพลาซาบนถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม เป็นต้นไป
  • พ.ศ. 2541–2542 - สืบเนื่องจากวิกฤตทางการเงินในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ส่งผลต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่ซบเซาลงอย่างหนักและการดำเนินมาตรการที่เข้มงวดตามกรอบนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารฯ จึงต้องรับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับเป็นยุควิกฤตของธนาคารฯ เนื่องจากมีปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทางธนาคารฯ จึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ด้วยความพยายามรักษาระดับของเงินกองทุนให้เพียงพอ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารฯ ตลอดจนตัดทอนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ร่วมกับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วยการเพิ่มทุน ซึ่งล้วนแต่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ลงทุนในต่างประเทศ และการออกหุ้นกู้ซึ่งถือเป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยวารสารการเงินหลายฉบับกล่าวว่าเป็นข้อตกลงที่ควรพิจารณาแห่งปีของเอเชีย ซึ่งมาตรการทั้งหมดนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานของธนาคารฯ เป็นอย่างดียิ่ง
  • พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ มีปริมาณสินทรัพย์เป็นอันดับที่สาม มูลค่าเกินหนึ่งล้านล้านบาท โดยมีมูลค่าตลาดรวม เพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ตลอดจนมีจำนวนสาขา และเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศ มากที่สุดในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ปรับปรุงอัตลักษณ์และตราของธนาคาร ให้มีความเรียบง่ายและทันสมัยมากขึ้น และเปิดดำเนินกิจการจนครบหนึ่งพันสาขา โดยสาขาที่ 1,000 ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดที่ทำการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ของปีดังกล่าว[6]
  • พ.ศ. 2555 - บริษัท เงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ได้โอนบรรดากิจการทั้งหมด ไปเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีดังกล่าว[7]
  • พ.ศ. 2558 - ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ เขตจตุจักร เกิดเพลิงไหม้ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ นาย เดชา ด้วงชนะ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเขตหลักสี่[8]
  • พ.ศ. 2564 - ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศโอนกิจการธนาคาร และกิจการในเครือทั้งหมดให้ บริษัท เอสซีบี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งแปรสภาพมาจาก บริษัท ไทยพาณิชย์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2565 - ธนาคารเริ่มดำเนินการแลกหุ้นเข้าสู่ บมจ.เอสซีบี เอ็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจไทยพาณิชย์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน หลังจากนั้น เอสซีบี เอ็กซ์ จะเป็นผู้ถือหุ้นของธนาคารทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การถอนหุ้นธนาคารออกจากตลาดหลักทรัพย์ และให้ซื้อขายหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งแทน โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์เดิมของธนาคาร คือ SCB คาดว่าการดำเนินการจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม[9]

กิจการในเครือ[แก้]

  • สายหลักทรัพย์
    • บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสต์ เอ็กซ์ จำกัด
    • บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
  • สายประกันวินาศภัยและประกันชีวิต
    • บริษัท ไทยพาณิชย์โพรเทค จำกัด
  • สายสินเชื่อและบัตรเครดิต
    • บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท ไทยพาณิชย์พลัส จำกัด
    • บริษัท การ์ด เอ็กซ์ จำกัด (ฝ่ายผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตเพื่อลูกค้าทั่วไป)
    • ฝ่ายผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตเอสซีบี เอ็ม และบัตรเครดิตเพื่อกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารในต่างประเทศ
    • ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ จำกัด (ประเทศกัมพูชา)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ เมียนมา (ประเทศเมียนมาร์)
  • กิจการอื่น ๆ
    • บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด
    • มูลนิธิสยามกัมมาจล
    • พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
    • คณะกรรมการกิจการเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์
    • บริษัท ธทพ. ศูนย์ฝึกอบรม จำกัด
    • บริษัท สยามเยเนอรัลแฟคเตอริ่ง จำกัด (มหาชน)
    • อาคารสินธร
    • ศูนย์รวมอสังหาริมทรัพย์และรถมือสอง เอสซีบี
    • ดิจิทัล เวนเจอร์ส
  • กิจการในอดีต
    • บริษัท สยามพาณิชย์พัฒนา จำกัด
    • บริษัท เงินทุน บุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน) (ควบรวมกิจการกับบริษัท เครดิตฟรองซิเอร์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด ไปจัดตั้งเป็นธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ตั้งแต่ปี 2548)
    • บริษัท หลักทรัพย์ เอสซีบี บุคคลัภย์ จำกัด
    • บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนสยาม จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท เงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (โอนกิจการเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555)
    • บริษัท หลักทรัพย์ ซิทโก้ จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน))
    • บริษัท สยามซันวาไทรลีส จำกัด (ปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัท แคปปิตอล ลิงก์ ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน))
    • บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในปี 2559)
    • บริษัท สยามสินธร จำกัด (ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด)
    • บริษัท ไทยพาณิชย์นาวี จำกัด
    • บริษัท สยามอินโฟเทนเมนท์ จำกัด (ผู้ร่วมก่อตั้ง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ปัจจุบันใช้ชื่อว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน))
    • ธนาคารวีนาสยาม จำกัด (ประเทศเวียดนาม) (ปัจจุบันลดฐานะเป็นสาขาต่างประเทศของธนาคารเอง)
    • บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (โอนกิจการเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563)

กรรมการบริษัท[10][แก้]

  • วิชิต สุรพงษ์ชัย นายกกรรมการ
  • กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

  • ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[11]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 793,832,359 23.38%
2 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 392,649,100 11.56%
3 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 392,649,100 11.56%
4 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 346,262,309 10.20%
5 สำนักงานประกันสังคม 109,198,100 3.22%
6 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 93,227,355 2.75%
7 STATE STREET EUROPE LIMITED 71,172,784 2.10%
8 THE BANK OF NEW YORK MELLON 50,975,962 1.50%
9 NORTRUST NOMINEES LTD-CL AC 43,297,693 1.28%
10 GIC PRIVATE LIMITED 41,617,900 1.23%

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย Archived 2020-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • มูลนิธิสยามกัมมาจล
  • โครงการ กล้าใหม่...ใฝ่รู้ Archived 2016-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เฟซบุ๊ก

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. อันดับเครดิต ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. ประวัติธนาคารไทยพาณิชย์, จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ
  5. //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/235/38.PDF
  6. "สมเด็จพระเทพฯ"โปรดร้านหนังสือ
  7. การโอนและรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Archived 2015-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์ของธนาคารฯ
  8. //www.komchadluek.net/news/crime/200983
  9. aof (2022-03-01). "ไทยพาณิชย์ ประกาศแลกหุ้น SCBX-SCB เริ่ม 2 มีนาคม-18 เมษายน 2565". ประชาชาติธุรกิจ.
  10. //www.scb.co.th/th/about-scb/board-and-management/senior-executive-officers
  11. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf