สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

แผนพัฒนาการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
– แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนดำเนินงานประจำปี 2565

– แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ2565

– รายงานผลดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564

รายงานผลการจัดการศึกษา

– รายงานการจัดการศึกษา ปีงบประมาณ 2564

เขตพื้นที่การศึกษา (Educational Service Area) เป็นระบบการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาการปกครองที่จัดแบ่งโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดระบบและกระจายอำนาจการจัดการศึกษาในประเทศไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น[1] เดิมมีสำนักงานประจำแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ใช้ชื่อว่า "สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ..." (สพท.) และต่อมาได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา[2] โดยจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้[3]

ศึกษาธิการเขต (พ.ศ. 2516–2520) และเขตการศึกษา (พ.ศ. 2520–2546)

รัฐบาลได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2516 ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อแบ่งเขตพื้นที่ในการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็น 12 เขต[4] เรียกว่า "ศึกษาธิการเขต" ตั้งแต่เขต 1 ถึงเขต 12 ในอีกสี่ปีถัดมา รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียรได้แยกกรุงเทพมหานครออกจากศึกษาธิการเขต 1 เนื่องจากมีโรงเรียนเป็นจำนวนมาก และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก "ศึกษาธิการเขต" เป็น "เขตการศึกษา"[5] ทำให้มีเขตการศึกษาเพิ่มเป็น 13 เขต โดยแต่ละเขตมีพื้นที่บริหารราชการดังนี้ (ชื่อจังหวัดที่แสดงเป็นตัวเอนหมายถึงจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นภายหลังจากพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้)

  • เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร – กรุงเทพมหานคร
  • เขตการศึกษา 1 – จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร
  • เขตการศึกษา 2 – จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล
  • เขตการศึกษา 3 – จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • เขตการศึกษา 4 – จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง
  • เขตการศึกษา 5 – จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสุพรรณบุรี
  • เขตการศึกษา 6 – จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดอุทัยธานี
  • เขตการศึกษา 7 – จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
  • เขตการศึกษา 8 – จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
  • เขตการศึกษา 9 – จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
  • เขตการศึกษา 10 – จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี
  • เขตการศึกษา 11 – จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์
  • เขตการศึกษา 12 – จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว

หลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน)

ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อลดความซ้ำซ้อน โดยออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อรับผิดชอบอำนาจหน้าที่เดิมของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษา กรมวิชาการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ[6] และกระทรวงศึกษาธิการได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 175 เขต[7] และมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บริหารงานในแต่ละเขต ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการอีก 2 ฉบับกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมใน 10 จังหวัด จังหวัดละ 1 เขตได้แก่นราธิวาส ปัตตานี ยะลา[8] กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พัทลุง เลย มหาสารคาม และอุทัยธานี[9] จำนวนเขตพื้นที่การศึกษาจึงเพิ่มขึ้นเป็น 185 เขต

ต่อมาใน พ.ศ. 2553 รัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวโดยให้แยกการบริหารงานสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกจากกัน[10] กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยุบรวมเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตรวมกันเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร[11] และจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขึ้น 42 เขต[12] โดยแยกโรงเรียนที่สอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนอื่นที่เหลือให้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งใน พ.ศ. 2564 ในสมัยที่ณัฏฐพล ทีปสุวรรณดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากเดิม 42 เขตเป็น 62 เขต[13]

การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร

ท้องที่บริหารการศึกษาในกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 แบ่งออกเป็น 3 เขต โดยเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ครอบคลุมเขต 17 เขตในฝั่งพระนครได้แก่คลองเตย ดินแดง ดุสิต บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร ยานนาวา ราชเทวี วัฒนา สัมพันธวงศ์ และสาทร เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ครอบคลุมอีก 18 เขตที่เหลือในฝั่งพระนคร ในขณะที่ 15 เขตในฝั่งธนบุรีอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใน พ.ศ. 2553 เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 3 เขตถูกยุบรวมกันเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กรุงเทพมหานคร มีอำนาจครอบคลุมทั้ง 50 เขต[11] ในขณะที่โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครถูกโอนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) โดยพื้นที่กรุงเทพมหานครถูกแบ่งออกเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ สพม.1 และ สพม.2 พื้นที่ของ สพม.1 ประกอบด้วยเขตทุกเขตในฝั่งธนบุรีรวมกับอีก 8 เขตในฝั่งพระนครได้แก่ดุสิต บางซื่อ ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ราชเทวี และสัมพันธวงศ์ ส่วนอีก 27 เขตในฝั่งพระนครอยู่ในพื้นที่ของ สพม.2[12] ก่อนที่ใน พ.ศ. 2564 เมื่อมีการจัดแบ่งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใหม่จาก 42 เป็น 62 เขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครทั้งสองแห่งได้ใช้ชื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2[13]

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้

สพท.กรุงเทพมหานคร เขต 1-3
(พ.ศ. 2546–2553) 

สพป.กรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) 

สพม.1 และสพม.2
(พ.ศ. 2553–2564)
สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน) 

การเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2554 แยกตัวออกจากจังหวัดหนองคาย ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้น จังหวัดหนองคายมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองคาย เขต 2 และ สพป.หนองคาย เขต 3 ซึ่งพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอของ สพป.หนองคาย เขต 3 เดิมและอีก 2 อำเภอในพื้นที่ของ สพป.หนองคาย เขต 2 ได้แก่อำเภอโซ่พิสัยและอำเภอปากคาด หลังจากจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงมีประกาศให้ทุกอำเภอในจังหวัดบึงกาฬอยู่ในพื้นที่ของ สพป.บึงกาฬ ยกเลิก สพป.หนองคาย เขต 3 และให้ สพป.หนองคาย เขต 2 มีพื้นที่ครอบคลุมสามอำเภอเดิมที่เหลือได้แก่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี[14] ส่วนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานั้น ให้ สพม.21 ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดหนองคายเดิมมีอำนาจครอบคลุมจังหวัดบึงกาฬด้วย[15] จนกระทั่ง พ.ศ. 2564 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ พื้นที่ สพม.21 เดิมได้แยกออกเป็นสองเขตพื้นที่ตามเขตจังหวัด ได้แก่ สพม.หนองคายและ สพม.บึงกาฬ[13]

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
ก่อนและหลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ

ก่อนตั้งจังหวัดบึงกาฬ 

หลังตั้งจังหวัดบึงกาฬ (แสดงเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา) 

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

อำเภอที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะแสดงด้วยตัวหนา ในขณะที่จังหวัดที่มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตเดียวครอบคลุมทั้งจังหวัด ได้แก่จังหวัดกระบี่ ชัยนาท ตราด นครนายก บึงกาฬ พังงา ภูเก็ต มุกดาหาร ยโสธร ระนอง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี อ่างทอง และอำนาจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่เขตราชเทวี

ภาคเหนือ

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคเหนือ

จังหวัดเชียงราย (4 เขต) 

จังหวัดเชียงใหม่ (6 เขต) 

จังหวัดน่าน (2 เขต) 

จังหวัดพะเยา (2 เขต) 

จังหวัดแพร่ (2 เขต) 

จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2 เขต) 

จังหวัดลำปาง (3 เขต) 

จังหวัดลำพูน (2 เขต) 

จังหวัดอุตรดิตถ์ (2 เขต) 

จังหวัดเชียงราย (4 เขต)
  • สพป.เชียงราย เขต 1 - อำเภอเมืองเชียงราย เวียงชัย และเวียงเชียงรุ้ง
  • สพป.เชียงราย เขต 2 - อำเภอป่าแดด พาน แม่ลาว แม่สรวย และเวียงป่าเป้า
  • สพป.เชียงราย เขต 3 - อำเภอเชียงแสน ดอยหลวง แม่จัน แม่ฟ้าหลวง และแม่สาย
  • สพป.เชียงราย เขต 4 - อำเภอขุนตาล เชียงของ เทิง พญาเม็งราย และเวียงแก่น
จังหวัดเชียงใหม่ (6 เขต)
  • สพป.เชียงใหม่ เขต 1 - อำเภอเมืองเชียงใหม่ ดอยสะเก็ด แม่ออน และสันกำแพง
  • สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - อำเภอพร้าว แม่แตง แม่ริม สะเมิง และสันทราย
  • สพป.เชียงใหม่ เขต 3 - อำเภอเชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย และเวียงแหง
  • สพป.เชียงใหม่ เขต 4 - อำเภอดอยหล่อ แม่วาง สันป่าตอง สารภี และหางดง
  • สพป.เชียงใหม่ เขต 5 - อำเภอดอยเต่า อมก๋อย และฮอด
  • สพป.เชียงใหม่ เขต 6 - อำเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และแม่แจ่ม
จังหวัดน่าน (2 เขต)
  • สพป.น่าน เขต 1 - อำเภอเมืองน่าน นาน้อย นาหมื่น บ้านหลวง ภูเพียง แม่จริม เวียงสา และสันติสุข
  • สพป.น่าน เขต 2 - อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เชียงกลาง ท่าวังผา ทุ่งช้าง บ่อเกลือ ปัว และสองแคว
จังหวัดพะเยา (2 เขต)
  • สพป.พะเยา เขต 1 - อำเภอเมืองพะเยา ดอกคำใต้ ภูกามยาว และแม่ใจ
  • สพป.พะเยา เขต 2 - อำเภอจุน เชียงคำ เชียงม่วน ปง และภูซาง
จังหวัดแพร่ (2 เขต)
  • สพป.แพร่ เขต 1 - อำเภอเมืองแพร่ ร้องกวาง สอง และหนองม่วงไข่
  • สพป.แพร่ เขต 2 - อำเภอเด่นชัย ลอง วังชิ้น และสูงเม่น
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (2 เขต)
  • สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 - อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม ปางมะผ้า และปาย
  • สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 - อำเภอแม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย
จังหวัดลำปาง (3 เขต)
  • สพป.ลำปาง เขต 1 - อำเภอเมืองลำปาง งาว แม่เมาะ และห้างฉัตร
  • สพป.ลำปาง เขต 2 - อำเภอเกาะคา เถิน แม่ทะ แม่พริก สบปราบ และเสริมงาม
  • สพป.ลำปาง เขต 3 - อำเภอแจ้ห่ม เมืองปาน และวังเหนือ
จังหวัดลำพูน (2 เขต)
  • สพป.ลำพูน เขต 1 - อำเภอเมืองลำพูน บ้านธิ ป่าซาง และแม่ทา
  • สพป.ลำพูน เขต 2 - อำเภอทุ่งหัวช้าง บ้านโฮ่ง ลี้ และเวียงหนองล่อง
จังหวัดอุตรดิตถ์ (2 เขต)
  • สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 - อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตรอน ทองแสนขัน พิชัย และลับแล
  • สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 - อำเภอท่าปลา น้ำปาด บ้านโคก และฟากท่า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดกาฬสินธุ์ (3 เขต) 

จังหวัดขอนแก่น (5 เขต) 

จังหวัดชัยภูมิ (3 เขต) 

จังหวัดนครพนม (2 เขต) 

จังหวัดนครราชสีมา (7 เขต) 

จังหวัดบึงกาฬ (1 เขต) 

จังหวัดบุรีรัมย์ (4 เขต) 

จังหวัดมหาสารคาม (3 เขต) 

จังหวัดมุกดาหาร (1 เขต) 

จังหวัดยโสธร (2 เขต) 

จังหวัดร้อยเอ็ด (3 เขต) 

จังหวัดเลย (2 เขต) 

จังหวัดศรีสะเกษ (4 เขต) 

จังหวัดสกลนคร (3 เขต) 

จังหวัดสุรินทร์ (3 เขต) 

จังหวัดหนองคาย (2 เขต) 

จังหวัดหนองบัวลำภู (2 เขต) 

จังหวัดอำนาจเจริญ (1 เขต) 

จังหวัดอุดรธานี (4 เขต) 

จังหวัดอุบลราชธานี (5 เขต) 

จังหวัดกาฬสินธุ์ (3 เขต)
  • สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 - อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กมลาไสย ดอนจาน ร่องคำ สหัสขันธ์ และสามชัย
  • สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 - อำเภอฆ้องชัย ท่าคันโท ยางตลาด หนองกุงศรี และห้วยเม็ก
  • สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 - อำเภอกุฉินารายณ์ เขาวง คำม่วง นาคู นามน สมเด็จ และห้วยผึ้ง
จังหวัดขอนแก่น (5 เขต)
  • สพป.ขอนแก่น เขต 1 - อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านฝาง และพระยืน
  • สพป.ขอนแก่น เขต 2 - อำเภอโคกโพธิ์ไชย ชนบท บ้านไผ่ บ้านแฮด เปือยน้อย และมัญจาคีรี
  • สพป.ขอนแก่น เขต 3 - อำเภอโนนศิลา พล แวงน้อย แวงใหญ่ และหนองสองห้อง
  • สพป.ขอนแก่น เขต 4 - อำเภอกระนวน เขาสวนกวาง ซำสูง น้ำพอง และอุบลรัตน์
  • สพป.ขอนแก่น เขต 5 - อำเภอชุมแพ ภูผาม่าน ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคำ และหนองเรือ
จังหวัดชัยภูมิ (3 เขต)
  • สพป.ชัยภูมิ เขต 1 - อำเภอเมืองชัยภูมิ คอนสวรรค์ บ้านเขว้า ภักดีชุมพล และหนองบัวแดง
  • สพป.ชัยภูมิ เขต 2 - อำเภอเกษตรสมบูรณ์ แก้งคร้อ คอนสาร บ้านแท่น ภูเขียว
  • สพป.ชัยภูมิ เขต 3 - อำเภอจัตุรัส ซับใหญ่ เทพสถิต เนินสง่า บำเหน็จณรงค์ และหนองบัวระเหว
จังหวัดนครพนม (2 เขต)
  • สพป.นครพนม เขต 1 - อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ปลาปาก เรณูนคร และวังยาง
  • สพป.นครพนม เขต 2 - อำเภอท่าอุเทน นาทม นาหว้า บ้านแพง โพนสวรรค์ และศรีสงคราม
จังหวัดนครราชสีมา (7 เขต)
  • สพป.นครราชสีมา เขต 1 - อำเภอเมืองนครราชสีมาและโนนสูง
  • สพป.นครราชสีมา เขต 2 - อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โชคชัย หนองบุญมาก และห้วยแถลง
  • สพป.นครราชสีมา เขต 3 - อำเภอครบุรี ปักธงชัย วังน้ำเขียว และเสิงสาง
  • สพป.นครราชสีมา เขต 4 - อำเภอปากช่อง สีคิ้ว และสูงเนิน
  • สพป.นครราชสีมา เขต 5 - อำเภอขามทะเลสอ ขามสะแกแสง ด่านขุนทด เทพารักษ์ โนนไทย และพระทองคำ
  • สพป.นครราชสีมา เขต 6 - อำเภอแก้งสนามนาง คง บัวลาย บัวใหญ่ บ้านเหลื่อม และสีดา
  • สพป.นครราชสีมา เขต 7 - อำเภอชุมพวง โนนแดง ประทาย พิมาย เมืองยาง และลำทะเมนชัย
จังหวัดบึงกาฬ (1 เขต)
  • สพป.บึงกาฬ - ทุกอำเภอในจังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบุรีรัมย์ (4 เขต)
  • สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 - อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ชำนิ บ้านด่าน และลำปลายมาศ
  • สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 - อำเภอกระสัง บ้านกรวด ประโคนชัย พลับพลาชัย และห้วยราช
  • สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 - อำเภออำเภอเฉลิมพระเกียรติ นางรอง โนนดินแดง โนนสุวรรณ ปะคำ ละหานทราย หนองกี่ และหนองหงส์
  • สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 - อำเภอคูเมือง แคนดง นาโพธิ์ บ้านใหม่ไชยพจน์ พุทไธสง และสตึก
จังหวัดมหาสารคาม (3 เขต)
  • สพป.มหาสารคาม เขต 1 - อำเภอเมืองมหาสารคาม กันทรวิชัย แกดำ และบรบือ
  • สพป.มหาสารคาม เขต 2 - อำเภอนาเชือก นาดูน พยัคฆภูมิพิสัย ยางสีสุราช และวาปีปทุม
  • สพป.มหาสารคาม เขต 3 - อำเภอกุดรัง โกสุมพิสัย ชื่นชม และเชียงยืน
จังหวัดมุกดาหาร (1 เขต)
  • สพป.มุกดาหาร - ทุกอำเภอในจังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดยโสธร (2 เขต)
  • สพป.ยโสธร เขต 1 - อำเภอเมืองยโสธร ค้อวัง คำเขื่อนแก้ว และมหาชนะชัย
  • สพป.ยโสธร เขต 2 - อำเภอกุดชุม ทรายมูล ไทยเจริญ ป่าติ้ว และเลิงนกทา
จังหวัดร้อยเอ็ด (3 เขต)
  • สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 - อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จตุรพักตรพิมาน จังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี และศรีสมเด็จ
  • สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 - อำเภอเกษตรวิสัย ปทุมรัตต์ พนมไพร โพนทราย เมืองสรวง สุวรรณภูมิ หนองฮี อาจสามารถ
  • สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 - อำเภอโพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เสลภูมิ และหนองพอก
จังหวัดเลย (2 เขต)
  • สพป.เลย เขต 1 - อำเภอเมืองเลย ด่านซ้าย ท่าลี่ นาด้วง นาแห้ว ปากชม และภูเรือ
  • สพป.เลย เขต 2 - อำเภอผาขาว ภูกระดึง ภูหลวง วังสะพุง หนองหิน และเอราวัณ
จังหวัดศรีสะเกษ (4 เขต)
  • สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 - อำเภอเมืองศรีสะเกษ กันทรารมย์ น้ำเกลี้ยง โนนคูณ พยุห์ ยางชุมน้อย และวังหิน
  • สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 - อำเภอบึงบูรพ์ โพธิ์ศรีสุวรรณ เมืองจันทร์ ราษีไศล ศิลาลาด ห้วยทับทัน และอุทุมพรพิสัย
  • สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 - อำเภอขุขันธ์ ปรางค์กู่ ไพรบึง และภูสิงห์
  • สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 - อำเภอกันทรลักษ์ ขุนหาญ เบญจลักษ์ และศรีรัตนะ
จังหวัดสกลนคร (3 เขต)
  • สพป.สกลนคร เขต 1 - อำเภอเมืองสกลนคร กุสุมาลย์ กุดบากโคกศรีสุพรรณ เต่างอย โพนนาแก้ว และภูพาน
  • สพป.สกลนคร เขต 2 - อำเภอ เจริญศิลป์นิคมน้ำอูน พรรณานิคม พังโคน วาริชภูมิ สว่างแดนดิน และส่องดาว
  • สพป.สกลนคร เขต 3 - อำเภอคำตากล้า บ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอำนวย
จังหวัดสุรินทร์ (3 เขต)
  • สพป.สุรินทร์ เขต 1 - อำเภอเมืองสุรินทร์ เขวาสินรินทร์ จอมพระ ลำดวน ศีขรภูมิ และสำโรงทาบ
  • สพป.สุรินทร์ เขต 2 - อำเภอชุมพลบุรี ท่าตูม โนนนารายณ์ รัตนบุรี และสนม
  • สพป.สุรินทร์ เขต 3 - อำเภอกาบเชิง บัวเชด ปราสาท พนมดงรัก ศรีณรงค์ และสังขะ
จังหวัดหนองคาย (2 เขต)
  • สพป.หนองคาย เขต 1 - อำเภอเมืองหนองคาย ท่าบ่อ โพธิ์ตาก ศรีเชียงใหม่ สระใคร และสังคม
  • สพป.หนองคาย เขต 2 - อำเภอเฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี
จังหวัดหนองบัวลำภู (2 เขต)
  • สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 - อำเภอเมืองหนองบัวลำภู โนนสัง และศรีบุญเรือง
  • สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 - อำเภอนากลาง นาวัง และสุวรรณคูหา
จังหวัดอำนาจเจริญ (1 เขต)
  • สพป.อำนาจเจริญ - ทุกอำเภอในจังหวัดในอำนาจเจริญ
จังหวัดอุดรธานี (4 เขต)
  • สพป.อุดรธานี เขต 1 - อำเภอเมืองอุดรธานี เพ็ญ สร้างคอม และหนองวัวซอ
  • สพป.อุดรธานี เขต 2 - อำเภอกุมภวาปี โนนสะอาด ประจักษ์ศิลปาคม วังสามหมอ ศรีธาตุ และหนองแสง
  • สพป.อุดรธานี เขต 3 - อำเภอกู่แก้ว ไชยวาน ทุ่งฝน บ้านดุง พิบูลย์รักษ์ และหนองหาน
  • สพป.อุดรธานี เขต 4 - อำเภอกุดจับ นายูง น้ำโสม และบ้านผือ
จังหวัดอุบลราชธานี (5 เขต)
  • สพป.อุบลราชธานี เขต 1 - อำเภอเมืองอุบลราชธานี เขื่องใน ดอนมดแดง ม่วงสามสิบ และเหล่าเสือโก้ก
  • สพป.อุบลราชธานี เขต 2 - อำเภอกุดข้าวปุ้น เขมราฐ ตระการพืชผล นาตาล และโพธิ์ไทร
  • สพป.อุบลราชธานี เขต 3 - อำเภอโขงเจียม ตาลสุม พิบูลมังสาหาร ศรีเมืองใหม่ และสิรินธร
  • สพป.อุบลราชธานี เขต 4 - อำเภอนาเยีย วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และสำโรง
  • สพป.อุบลราชธานี เขต 5 - อำเภอเดชอุดม ทุ่งศรีอุดม นาจะหลวย น้ำขุ่น น้ำยืน และบุณฑริก

ภาคตะวันตก

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันตก

จังหวัดกาญจนบุรี (4 เขต) 

จังหวัดตาก (2 เขต) 

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2 เขต) 

จังหวัดเพชรบุรี (2 เขต) 

จังหวัดราชบุรี (2 เขต) 

จังหวัดกาญจนบุรี (4 เขต)
  • สพป.กาญจนบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองกาญจนบุรี ด่านมะขามเตี้ย ท่าม่วง และศรีสวัสดิ์
  • สพป.กาญจนบุรี เขต 2 - อำเภอท่ามะกา พนมทวน และห้วยกระเจา
  • สพป.กาญจนบุรี เขต 3 - อำเภอทองผาภูมิ ไทรโยค และสังขละบุรี
  • สพป.กาญจนบุรี เขต 4 - อำเภอบ่อพลอย เลาขวัญ และหนองปรือ
จังหวัดตาก (2 เขต)
  • สพป.ตาก เขต 1 - อำเภอเมืองตาก บ้านตาก วังเจ้า และสามเงา
  • สพป.ตาก เขต 2 - อำเภอท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด และอุ้มผาง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2 เขต)
  • สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 - อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย
  • สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 - อำเภอกุยบุรี ปราณบุรี สามร้อยยอด และหัวหิน
จังหวัดเพชรบุรี (2 เขต)
  • สพป.เพชรบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองเพชรบุรี เขาย้อย บ้านแหลม และหนองหญ้าปล้อง
  • สพป.เพชรบุรี เขต 2 - อำเภอแก่งกระจาน ชะอำ ท่ายาง และบ้านลาด
จังหวัดราชบุรี (2 เขต)
  • สพป.ราชบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองราชบุรี จอมบึง บ้านคา ปากท่อ วัดเพลง และสวนผึ้ง
  • สพป.ราชบุรี เขต 2 - อำเภอดำเนินสะดวก บางแพ บ้านโป่ง และโพธาราม

ภาคตะวันออก

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก

จังหวัดจันทบุรี (2 เขต) 

จังหวัดฉะเชิงเทรา (2 เขต) 

จังหวัดชลบุรี (3 เขต) 

จังหวัดตราด (1 เขต) 

จังหวัดปราจีนบุรี (2 เขต) 

จังหวัดระยอง (2 เขต) 

จังหวัดสระแก้ว (2 เขต) 

จังหวัดจันทบุรี (2 เขต)
  • สพป.จันทบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว ท่าใหม่ และนายายอาม
  • สพป.จันทบุรี เขต 2 - อำเภอขลุง เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน มะขาม สอยดาว และแหลมสิงห์
จังหวัดฉะเชิงเทรา (2 เขต)
  • สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 - อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา บางน้ำเปรี้ยว บางปะกง และบ้านโพธิ์
  • สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 - อำเภอคลองเขื่อน ท่าตะเกียบ บางคล้า แปลงยาว พนมสารคาม ราชสาส์น และสนามชัยเขต
จังหวัดชลบุรี (3 เขต)
  • สพป.ชลบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองชลบุรี บ้านบึง และหนองใหญ่
  • สพป.ชลบุรี เขต 2 - อำเภอเกาะจันทร์ บ่อทอง พนัสนิคม และพานทอง
  • สพป.ชลบุรี เขต 3 - อำเภอเกาะสีชัง บางละมุง ศรีราชา และสัตหีบ
จังหวัดตราด (1 เขต)
  • สพป.ตราด - ทุกอำเภอในจังหวัดตราด
จังหวัดปราจีนบุรี (2 เขต)
  • สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ และศรีมโหสถ
  • สพป.ปราจีนบุรี เขต 2 - อำเภอกบินทร์บุรีและนาดี
จังหวัดระยอง (2 เขต)
  • สพป.ระยอง เขต 1 - อำเภอเมืองระยอง นิคมพัฒนา บ้านค่าย บ้านฉาง และปลวกแดง
  • สพป.ระยอง เขต 2 - อำเภอแกลง เขาชะเมา และวังจันทร์
จังหวัดสระแก้ว (2 เขต)
  • สพป.สระแก้ว เขต 1 - อำเภอเมืองสระแก้ว เขาฉกรรจ์ คลองหาด วังน้ำเย็น และวังสมบูรณ์
  • สพป.สระแก้ว เขต 2 - อำเภอโคกสูง ตาพระยา วัฒนานคร และอรัญประเทศ

ภาคกลาง

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคกลาง

กรุงเทพมหานคร (1 เขต) 

จังหวัดกำแพงเพชร (2 เขต) 

จังหวัดชัยนาท (1 เขต) 

จังหวัดนครนายก (1 เขต) 

จังหวัดนครปฐม (2 เขต) 

จังหวัดนครสวรรค์ (3 เขต) 

จังหวัดนนทบุรี (2 เขต) 

จังหวัดปทุมธานี (2 เขต) 

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2 เขต) 

จังหวัดพิจิตร (2 เขต) 

จังหวัดพิษณุโลก (3 เขต) 

จังหวัดเพชรบูรณ์ (3 เขต) 

จังหวัดลพบุรี (2 เขต) 

จังหวัดสมุทรปราการ (2 เขต) 

จังหวัดสมุทรสงคราม (1 เขต) 

จังหวัดสมุทรสาคร (1 เขต) 

จังหวัดสระบุรี (2 เขต) 

จังหวัดสิงห์บุรี (1 เขต) 

จังหวัดสุโขทัย (2 เขต) 

จังหวัดสุพรรณบุรี (3 เขต) 

จังหวัดอ่างทอง (1 เขต) 

จังหวัดอุทัยธานี (2 เขต) 

กรุงเทพมหานคร (1 เขต)
  • สพป.กรุงเทพมหานคร - ทุกเขตในกรุงเทพมหานคร
จังหวัดกำแพงเพชร (2 เขต)
  • สพป.กำแพงเพชร เขต 1 - อำเภอเมืองกำแพงเพชร โกสัมพีนคร ไทรงาม พรานกระต่าย และลานกระบือ
  • สพป.กำแพงเพชร เขต 2 - อำเภอขาณุวรลักษบุรี คลองขลุง คลองลาน ทรายทองวัฒนา บึงสามัคคี และปางศิลาทอง
จังหวัดชัยนาท (1 เขต)
  • สพป.ชัยนาท - ทุกอำเภอในจังหวัดชัยนาท
จังหวัดนครนายก (1 เขต)
  • สพป.นครนายก - ทุกอำเภอในจังหวัดนครนายก
จังหวัดนครปฐม (2 เขต)
  • สพป.นครปฐม เขต 1 - อำเภอเมืองนครปฐม กำแพงแสน และดอนตูม
  • สพป.นครปฐม เขต 2 - อำเภอนครชัยศรี บางเลน พุทธมณฑล และสามพราน
จังหวัดนครสวรรค์ (3 เขต)
  • สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - อำเภอเมืองนครสวรรค์ เก้าเลี้ยว โกรกพระ ชุมแสง และพยุหะคีรี
  • สพป.นครสวรรค์ เขต 2 - อำเภอชุมตาบง บรรพตพิสัย แม่เปิน แม่วงก์ และลาดยาว
  • สพป.นครสวรรค์ เขต 3 - อำเภอตากฟ้า ตาคลี ท่าตะโก ไพศาลี และหนองบัว
จังหวัดนนทบุรี (2 เขต)
  • สพป.นนทบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองนนทบุรีและบางกรวย
  • สพป.นนทบุรี เขต 2 - อำเภอไทรน้อย บางบัวทอง บางใหญ่ ปากเกร็ด
จังหวัดปทุมธานี (2 เขต)
  • สพป.ปทุมธานี เขต 1 - อำเภอเมืองปทุมธานี คลองหลวง ลาดหลุมแก้ว และสามโคก
  • สพป.ปทุมธานี เขต 2 - อำเภอธัญบุรี ลำลูกกา และหนองเสือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2 เขต)
  • สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 - อำเภอพระนครศรีอยุธยา ท่าเรือ นครหลวง บางปะหัน บ้านแพรก ภาชี มหาราช วังน้อย และอุทัย
  • สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 - อำเภอบางซ้าย บางไทร บางบาล บางปะอิน ผักไห่ ลาดบัวหลวง และเสนา
จังหวัดพิจิตร (2 เขต)
  • สพป.พิจิตร เขต 1 - อำเภอเมืองพิจิตร โพธิ์ประทับช้าง วชิรบารมี วังทรายพูน สากเหล็ก และสามง่าม
  • สพป.พิจิตร เขต 2 - อำเภอดงเจริญ ตะพานหิน ทับคล้อ บางมูลนาก บึงนาราง และโพทะเล
จังหวัดพิษณุโลก (3 เขต)
  • สพป.พิษณุโลก เขต 1 - อำเภอเมืองพิษณุโลกและบางระกำ
  • สพป.พิษณุโลก เขต 2 - อำเภอเนินมะปราง บางกระทุ่ม และวังทอง
  • สพป.พิษณุโลก เขต 3 - อำเภอชาติตระการ นครไทย พรหมพิราม และวัดโบสถ์
จังหวัดเพชรบูรณ์ (3 เขต)
  • สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 - อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ชนแดน และวังโป่ง
  • สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 - อำเภอเขาค้อ น้ำหนาว หล่มเก่า และหล่มสัก
  • สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 - อำเภอบึงสามพัน วิเชียรบุรี ศรีเทพ และหนองไผ่
จังหวัดลพบุรี (2 เขต)
  • สพป.ลพบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ท่าวุ้ง และบ้านหมี่
  • สพป.ลพบุรี เขต 2 - อำเภอโคกเจริญ ชัยบาดาล ท่าหลวง พัฒนานิคม ลำสนธิ สระโบสถ์ และหนองม่วง
จังหวัดสมุทรปราการ (2 เขต)
  • สพป.สมุทรปราการ เขต 1 - อำเภอเมืองสมุทรปราการ พระประแดง และพระสมุทรเจดีย์
  • สพป.สมุทรปราการ เขต 2 - อำเภอบางบ่อ บางพลี และบางเสาธง
จังหวัดสมุทรสงคราม (1 เขต)
  • สพป.สมุทรสงคราม - ทุกอำเภอในจังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร (1 เขต)
  • สพป.สมุทรสาคร - ทุกอำเภอในจังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสระบุรี (2 เขต)
  • สพป.สระบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองสระบุรี เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด บ้านหมอ พระพุทธบาท เสาไห้ หนองโดน และหนองแซง
  • สพป.สระบุรี เขต 2 - อำเภอแก่งคอย มวกเหล็ก วังม่วง วิหารแดง และหนองแค
จังหวัดสิงห์บุรี (1 เขต)
  • สพป.สิงห์บุรี - ทุกอำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย (2 เขต)
  • สพป.สุโขทัย เขต 1 - อำเภอเมืองสุโขทัย กงไกรลาศ คีรีมาศ และบ้านด่านลานหอย
  • สพป.สุโขทัย เขต 2 - อำเภอทุ่งเสลี่ยม สวรรคโลก ศรีนคร ศรีสัชนาลัย และศรีสำโรง
จังหวัดสุพรรณบุรี (3 เขต)
  • สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 - อำเภอเมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า และศรีประจันต์
  • สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 - อำเภอดอนเจดีย์ สองพี่น้อง และอู่ทอง
  • สพป.สุพรรณบุรี เขต 3 - อำเภอด่านช้าง เดิมบางนางบวช สามชุก และหนองหญ้าไซ
จังหวัดอ่างทอง (1 เขต)
  • สพป.อ่างทอง - ทุกอำเภอในจังหวัดอ่างทอง
จังหวัดอุทัยธานี (2 เขต)
  • สพป.อุทัยธานี เขต 1 - อำเภอเมืองอุทัยธานี ทัพทัน สว่างอารมณ์ และหนองขาหย่าง
  • สพป.อุทัยธานี เขต 2 - อำเภอบ้านไร่ ลานสัก หนองฉาง และห้วยคต

ภาคใต้

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้

จังหวัดกระบี่ (1 เขต) 

จังหวัดชุมพร (2 เขต) 

จังหวัดตรัง (2 เขต) 

จังหวัดนครศรีธรรมราช (4 เขต) 

จังหวัดนราธิวาส (3 เขต) 

จังหวัดปัตตานี (3 เขต) 

จังหวัดพังงา (1 เขต) 

จังหวัดพัทลุง (2 เขต) 

จังหวัดภูเก็ต (1 เขต) 

จังหวัดยะลา (3 เขต) 

จังหวัดระนอง (1 เขต) 

จังหวัดสงขลา (3 เขต) 

จังหวัดสตูล (1 เขต) 

จังหวัดสุราษฎร์ธานี (3 เขต) 

จังหวัดกระบี่ (1 เขต)
  • สพป.กระบี่ - ทุกอำเภอในจังหวัดกระบี่
จังหวัดชุมพร (2 เขต)
  • สพป.ชุมพร เขต 1 - อำเภอเมืองชุมพร ท่าแซะ และปะทิว
  • สพป.ชุมพร เขต 2 - อำเภอทุ่งตะโก พะโต๊ะ ละแม สวี และหลังสวน
จังหวัดตรัง (2 เขต)
  • สพป.ตรัง เขต 1 - อำเภอเมืองตรัง นาโยง ปะเหลียน ย่านตาขาว และหาดสำราญ
  • สพป.ตรัง เขต 2 - อำเภอกันตัง รัษฎา วังวิเศษ สิเกา และห้วยยอด
จังหวัดนครศรีธรรมราช (4 เขต)
  • สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 - อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พระพรหม และลานสกา
  • สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 - อำเภอฉวาง ช้างกลาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง ทุ่งใหญ่ นาบอน บางขัน และพิปูน
  • สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - อำเภอจุฬาภรณ์ ชะอวด เชียรใหญ่ ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ และหัวไทร
  • สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 - อำเภอขนอม ท่าศาลา นบพิตำ พรหมคีรี และสิชล
จังหวัดนราธิวาส (3 เขต)
  • สพป.นราธิวาส เขต 1 - อำเภอเมืองนราธิวาส บาเจาะ ยี่งอ รือเสาะ และศรีสาคร
  • สพป.นราธิวาส เขต 2 - อำเภอตากใบ แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี
  • สพป.นราธิวาส เขต 3 - อำเภอจะแนะ เจาะไอร้อง และระแงะ
จังหวัดปัตตานี (3 เขต)
  • สพป.ปัตตานี เขต 1 - อำเภอเมืองปัตตานี ปะนาเระ ยะหริ่ง และหนองจิก
  • สพป.ปัตตานี เขต 2 - อำเภอโคกโพธิ์ มายอ แม่ลาน และยะรัง
  • สพป.ปัตตานี เขต 3 - อำเภอกะพ้อ ทุ่งยางแดง ไม้แก่น และสายบุรี
จังหวัดพังงา (1 เขต)
  • สพป.พังงา - ทุกอำเภอในจังหวัดพังงา
จังหวัดพัทลุง (2 เขต)
  • สพป.พัทลุง เขต 1 - อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ป่าพะยอม ศรีนครินทร์ และศรีบรรพต
  • สพป.พัทลุง เขต 2 - อำเภอกงหรา เขาชัยสน ตะโหมด บางแก้ว ปากพะยูน และป่าบอน
จังหวัดภูเก็ต (1 เขต)
  • สพป.ภูเก็ต - ทุกอำเภอในจังหวัดภูเก็ต
จังหวัดยะลา (3 เขต)
  • สพป.ยะลา เขต 1 - อำเภอเมืองยะลา กรงปินัง และรามัน
  • สพป.ยะลา เขต 2 - อำเภอกาบัง บันนังสตา และยะหา
  • สพป.ยะลา เขต 3 - อำเภอธารโตและเบตง
จังหวัดระนอง (1 เขต)
  • สพป.ระนอง - ทุกอำเภอในจังหวัดระนอง
จังหวัดสงขลา (3 เขต)
  • สพป.สงขลา เขต 1 - อำเภอเมืองสงขลา กระแสสินธุ์ นาหม่อม ระโนด สทิงพระ และสิงหนคร
  • สพป.สงขลา เขต 2 - อำเภอคลองหอยโข่ง ควนเนียง บางกล่ำ รัตภูมิ และหาดใหญ่
  • สพป.สงขลา เขต 3 - อำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะเดา และสะบ้าย้อย
จังหวัดสตูล (1 เขต)
  • สพป.สตูล - ทุกอำเภอในจังหวัดสตูล
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (3 เขต)
  • สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 - อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ เกาะพะงัน เกาะสมุย และดอนสัก
  • สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2 - อำเภอคีรีรัฐนิคม ไชยา ท่าฉาง ท่าชนะ บ้านตาขุน พนม พุนพิน และวิภาวดี
  • สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 - อำเภอเคียนซา ชัยบุรี บ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสง และเวียงสระ

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 โดยในระยะแรกมีจำนวน 42 เขต[12] ต่อมาได้มีการปรับปรุงโดยเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจาก 42 เป็น 62 เขต[13]

42 เขต (พ.ศ. 2553–2564)

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ถึงเขต 42 (พ.ศ. 2553–2564)

หมายเลขเขตในส่วนนี้ถือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553[12] โดยจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด และเขตที่เป็นที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จะแสดงเป็นตัวหนา

  • สพม.1 - กรุงเทพมหานคร (เขตคลองสาน จอมทอง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางขุนเทียน บางแค บางซื่อ บางบอน บางพลัด ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สัมพันธวงศ์ และหนองแขม)
  • สพม.2 - กรุงเทพมหานคร (เขตคลองเตย คลองสามวา คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางนา บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนองจอก หลักสี่ และห้วยขวาง)
  • สพม.3 - จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • สพม.4 - จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระบุรี
  • สพม.5 - จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
  • สพม.6 - จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสมุทรปราการ
  • สพม.7 - จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
  • สพม.8 - จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดราชบุรี
  • สพม.9 - จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี
  • สพม.10 - จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร
  • สพม.11 - จังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • สพม.12 - จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
  • สพม.13 - จังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง
  • สพม.14 - จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง
  • สพม.15 - จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
  • สพม.16 - จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล
  • สพม.17 - จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
  • สพม.18 - จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
  • สพม.19 - จังหวัดเลยและจังหวัดหนองบัวลำภู
  • สพม.20 - จังหวัดอุดรธานี
  • สพม.21 - จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
  • สพม.22 - จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร
  • สพม.23 - จังหวัดสกลนคร
  • สพม.24 - จังหวัดกาฬสินธุ์
  • สพม.25 - จังหวัดขอนแก่น
  • สพม.26 - จังหวัดมหาสารคาม
  • สพม.27 - จังหวัดร้อยเอ็ด
  • สพม.28 - จังหวัดยโสธรและจังหวัดศรีสะเกษ
  • สพม.29 - จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี
  • สพม.30 - จังหวัดชัยภูมิ
  • สพม.31 - จังหวัดนครราชสีมา
  • สพม.32 - จังหวัดบุรีรัมย์
  • สพม.33 - จังหวัดสุรินทร์
  • สพม.34 - จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • สพม.35 - จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน
  • สพม.36 - จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา
  • สพม.37 - จังหวัดน่านและจังหวัดแพร่
  • สพม.38 - จังหวัดตากและจังหวัดสุโขทัย
  • สพม.39 - จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์
  • สพม.40 - จังหวัดเพชรบูรณ์
  • สพม.41 - จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดพิจิตร
  • สพม.42 - จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี

62 เขต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2564)

แผนที่แสดงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 60 เขตในส่วนภูมิภาคตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2564

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 28 มกราคม 2564[13] เขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มจำนวนจาก 42 เป็น 62 เขต และชื่อของเขตพื้นที่เปลี่ยนจากเดิมที่ใช้หมายเลข 1 ถึง 42 เป็นชื่อจังหวัดที่พื้นที่ของเขตนั้น ๆ ครอบคลุม ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาครอบคลุมมากกว่า 1 จังหวัด ชื่อเขตจะขึ้นต้นด้วยชื่อจังหวัดที่ตั้งสำนักงานเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดที่ตั้งสำนักงาน (รวมทั้ง สพม.พระนครศรีอยุธยาซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา) ยกเว้น สพม.นครปฐม (อำเภอนครชัยศรี) สพม.น่าน (อำเภอภูเพียง) และ สพม.พัทลุง (อำเภอควนขนุน) โดยในประกาศฉบับ พ.ศ. 2564 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจากเดิมดังนี้

  • สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 สพม.1 เดิม
  • สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 สพม.2 เดิม
  • สพม.นนทบุรี แยกมาจาก สพม.3 เดิม
  • สพม.พระนครศรีอยุธยา แยกมาจาก สพม.3 เดิม
  • สพม.ปทุมธานี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
  • สพม.สระบุรี แยกมาจาก สพม.4 เดิม
  • สพม.ลพบุรี แยกมาจาก สพม.5 เดิม
  • สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง แยกมาจาก สพม.5 เดิม
  • สพม.อุทัยธานี ชัยนาท แยกจาก สพม.41 และสพม.5 เดิม
  • สพม.ฉะเชิงเทรา แยกมาจาก สพม.6 เดิม
  • สพม.สมุทรปราการ แยกมาจาก สพม.6 เดิม
  • สพม.ปราจีนบุรี นครนายก แยกมาจาก สพม.7 เดิม
  • สพม.สระแก้ว แยกมาจาก สพม.7 เดิม
  • สพม.กาญจนบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
  • สพม.ราชบุรี แยกมาจาก สพม.8 เดิม
  • สพม.นครปฐม แยกมาจาก สพม.9 เดิม
  • สพม.สุพรรณบุรี แยกมาจาก สพม.9 เดิม
  • สพม.ประจวบคีรีขันธ์ แยกมาจาก สพม.10 เดิม
  • สพม.เพชรบุรี แยกมาจาก สพม.10 เดิม
  • สพม.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม แยกมาจาก สพม.10 เดิม
  • สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร สพม.11 เดิม
  • สพม.นครศรีธรรมราช แยกมาจาก สพม.12 เดิม
  • สพม.พัทลุง แยกมาจาก สพม.12 เดิม
  • สพม.ตรัง กระบี่ สพม.13 เดิม
  • สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง สพม.14 เดิม
  • สพม.นราธิวาส แยกมาจาก สพม.15 เดิม
  • สพม.ปัตตานี แยกมาจาก สพม.15 เดิม
  • สพม. ยะลา แยกมาจาก สพม.15 เดิม
  • สพม.สงขลา สตูล สพม.16 เดิม
  • สพม.จันทบุรี ตราด สพม.17 เดิม
  • สพม.ชลบุรี ระยอง สพม.18 เดิม
  • สพม.เลย หนองบัวลำภู สพม.19 เดิม
  • สพม.อุดรธานี สพม.20 เดิม
  • สพม.บึงกาฬ แยกมาจาก สพม.21 เดิม
  • สพม.หนองคาย แยกมาจาก สพม.21 เดิม
  • สพม.นครพนม แยกมาจาก สพม.22 เดิม
  • สพม.มุกดาหาร แยกมาจาก สพม.22 เดิม
  • สพม.สกลนคร สพม.23 เดิม
  • สพม.กาฬสินธุ์ สพม.24 เดิม
  • สพม.ขอนแก่น สพม.25 เดิม
  • สพม.มหาสารคาม สพม.26 เดิม
  • สพม.ร้อยเอ็ด สพม.27 เดิม
  • สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร สพม.28 เดิม
  • สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สพม.29 เดิม
  • สพม.ชัยภูมิ สพม.30 เดิม
  • สพม.นครราชสีมา สพม.31 เดิม
  • สพม.บุรีรัมย์ สพม.32 เดิม
  • สพม.สุรินทร์ สพม.33 เดิม
  • สพม.เชียงใหม่ แยกมาจาก สพม.34 เดิม
  • สพม.แม่ฮ่องสอน แยกมาจาก สพม.34 เดิม
  • สพม.ลำปาง ลำพูน สพม.35 เดิม
  • สพม.เชียงราย แยกมาจาก สพม.36 เดิม
  • สพม.พะเยา แยกมาจาก สพม.36 เดิม
  • สพม.แพร่ แยกมาจาก สพม.37 เดิม
  • สพม.น่าน แยกมาจาก สพม.37 เดิม
  • สพม.ตาก แยกมาจาก สพม.38 เดิม
  • สพม.สุโขทัย แยกมาจาก สพม.38 เดิม
  • สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สพม.39 เดิม
  • สพม.เพชรบูรณ์ สพม.40 เดิม
  • สพม.นครสวรรค์ แยกมาจาก สพม.41 เดิม
  • สพม.กำแพงเพชร แยกมาจาก สพม.42 เดิม
  • สพม.พิจิตร แยกมาจาก สพม.42 เดิม

อ้างอิง

  1. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
  2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
  3. //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326194843&grpid=&catid=19&subcatid=1903
  4. "พระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2516" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 28 พฤษภาคม 2516. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  5. "พระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ของกระทรวงศึกษาธิการออกเป็นเขต พ.ศ. 2520" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 18 มกราคม 2520. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  6. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 6 กรกฎาคม 2546. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  7. ↑ 7.0 7.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 7 กรกฎาคม 2546. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  8. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2550" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 14 มีนาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  9. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2551" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 4 กุมภาพันธ์ 2551. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  10. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 22 กรกฎาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  11. ↑ 11.0 11.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 18 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  12. ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 18 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  13. ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 17 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  14. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 26 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  15. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2554)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 26 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)

การจัดแบ่งเขตพื้นที่ในประเทศไทย

เขตการปกครองเขตพื้นที่เขตการปกครองในอดีต

  • ส่วนภูมิภาค
    • จังหวัด
    • อำเภอ
    • กิ่งอำเภอ
    • ตำบล
    • หมู่บ้าน
  • ส่วนท้องถิ่น
    • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
    • เทศบาล
      • นคร
      • เมือง
      • ตำบล
    • องค์การบริหารส่วนตำบล
    • กรุงเทพมหานคร
      • เขต
      • แขวง
    • เมืองพัทยา

  • กลุ่มจังหวัด
  • เขตตรวจราชการ
  • สังฆมณฑล
  • ท้องที่ตำรวจ
  • เขตพื้นที่การศึกษา
  • เขตพื้นที่สรรพากร
  • มณฑลทหารบก
  • เขตศาลยุติธรรมไทย

  • มณฑลภาค
  • มณฑลเทศาภิบาล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf