ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ไทย กับ ลาว

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับลาว ยกระดับความสัมพันธ์และเน้นย้ำเรื่องการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับลาวที่มีมาอย่างยาวนานสมดั่งคำว่าเมืองพี่เมืองน้องและนับวันความสัมพันธ์จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อผู้นำไทยกับลาวมีความชัดเจนว่าจะยกระดับความสัมพันธ์และเน้นย้ำเรื่องการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ

นโยบายการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการพัฒนาการเชื่อมโยงภายในประเทศไทยเพียงเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญถึงการเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เห็นได้จากผลการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ 3 หรือ JCR ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หยิบยกประเด็นการการยกระดับความสัมพันธ์การเป็นหุ้นส่วนเพื่อความเจริญและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ตามแผนแม่บทอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ ACMEC พร้อมสนับสนุนให้ สปป.ลาว หลุดพ้นจากการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดด้วยการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวข้ามแดนไทย-ลาว ซึ่งที่ประชุมก็ได้เห็นพ้องร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคทั้งด้านความมั่นคง เห็นชอบร่วมกันบริหารจัดการชายแดน ทั้งการปราบปราบยาเสพติดและการค้ามนุษย์ ด้านเศรษฐกิจ เน้นการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อตามแผนแม่บทอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ ACMECS โดยเฉพาะการเชื่อมโยงทางกายภาพทั้งทางบกและทางน้ำ รวมถึงส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวไทย-ลาว เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่ออาเซียนและภูมิภาค

และหนึ่งในตัวอย่างของการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ ที่ประเทศไทยได้ดำเนินโครงการต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ซึ่งเป็นจังหวัดชั้นนำของประเทศและเป็นเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจการคมนาคมและการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมีโครงข่ายระบบการคมนาคมขนส่งทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางเครื่องบิน และสามารถเชื่อมโยงไปยัง สปป.ลาว ได้สะดวก แต่ยังพบปัญหาด้านการขนส่งและจราจรติดขัดเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ๆ โดย สนข. ได้มีการออกแบบเบื้องต้นโครงการนำร่อง รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีและจุดจอดแล้วจร หรือ TOD และจัดทำแผนการจัดการจราจร เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เกิดการเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งการออกแบบโครงการนำร่องระบบขนส่งสาธารณะหลักในเขตเมือง โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถตอบโจทย์ความต้องการเดินทางของประชาชนให้เกิดการเดินทางเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว บุคคลทุกช่วงวัย รวมทั้งผู้พิการและผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการรายงานความคืบหน้าโครงการ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน กลุ่มผู้นำทางความคิด ผู้นำชุมชน ผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการ ตลอดจนตัวแทนภาคประชาชน เพื่อจะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาประกอบการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อจังหวัดอุดรธานี มีความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนในในพื้นที่ ที่สำคัญต้องได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน


ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นภสร แก้วคำ(2) / สวท.

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชนาใจ หมื่นไธสง สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุกัญญา เอมอิ่มธรรม สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประภัสสร์ เทพชาตรี สาขาวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความร่วมมือทางวิชาการด้านทุนการศึกษา, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้านทุนการศึกษา ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงปี ค.ศ.1992 บทความนี้ต้องการศึกษาเงื่อนไขความร่วมมือทางวิชาการด้านทุนการศึกษาระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ในบริบทประชาคมอาเซียน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนทั้งสิ้น 20 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้กำหนดนโยบายไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนผู้นำนโยบายไปปฏิบัติไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นักศึกษาลาวที่จบการศึกษาจากไทยและกำลังศึกษาอยู่ในไทยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการด้านทุนการศึกษาระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในบริบทประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยเงื่อนไขภายในของไทย คือเงื่อนไขด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ เงื่อนไขด้านระบบการศึกษาของไทย เงื่อนไขด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ เงื่อนไขภายในของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เงื่อนไขด้านนโยบายการรับความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ เงื่อนไขด้านทัศนคติของคนลาว เงื่อนไขด้านการไม่แทรกแซงกิจการภายใน เงื่อนไขภายนอก คือเงื่อนไขด้านบูรณาการในภูมิภาค เงื่อนไขด้านประเทศผู้บริจาค เงื่อนไของค์กรระหว่างประเทศ และเงื่อนไขร่วมของทั้งสองประเทศ คือด้านภาษา ประเพณี และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2557). นโยบายการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. จาก //www.mfa.go.th/main/th/policy/9868-นโยบาย การต่างประเทศ.html

กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). ความสัมพันธ์ไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี 2549 – มิถุนายน 2550, สืบค้นจาก //www.mfa.go.th/web/2386.php?id=148

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560, จาก //www.mfa.go.th/ asean /th/asean-media-center/2395

เชษฐา พวงหัตถ์. (2559). ยุทธศาสตร์ใหม่ของจีนในการเมืองระหว่างประเทศ: ข้อพิจารณาเกี่ยวกับอำนาจแบบอ่อน และการใช้อำนาจอย่างนุ่มนวล. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2560, จาก //puanghutchetta592. blogspot.com/2016/10/ir-charm-offensive-how-chinas-soft.html

นภดล ชาติประเสริฐ. (2540). การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการของไทยต่อลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีนิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นรุตม์ เจริญศรี. (2552). ทุนญี่ปุ่น : ภูมิภาคนิยมและภูมิภาคนุวัติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้น จาก www.oknation.net/ bloy/print.php?id = 396402

ไพศาล หรูพาณิชย์กิจ. (2553). เอเชียตะวันออก บนเส้นทางสู่การเป็นประชาคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2555). ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

อรณิช รุ่งธิปานนท์. (2557). ภูมิภาคนิยมกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุรชาติ บารุงสุข. (2557). Soft Power. จุลสารความมั่นคงศึกษา. (136-137). สืบค้นจาก //www.geozigzag.com/pdf/136_137.pdf

สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ. (2551). ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว 2009-2011. กรุงเทพฯ: แมควิซาร์จ.

เจ้าหน้าที่ระดับสูง กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของสปป.ลาว. (5 พฤศจิกายน 2012). [บทสัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาว. (6 พฤศจิกายน 2012). [บทสัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน. (26 มิถุนายน 2013). [บทสัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีนักศึกษาลาวมาศึกษาต่อสูงสุด. (15 มีนาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักการทูตระดับสูง กรมเอเชียแปซิฟิคและอัฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว. (25 เมษายน 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักการทูตระดับสูงจากสานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ปัจจุบัน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศไทย. (สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ). (15 กุมภาพันธ์ 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากไทย. (2 กรกฎาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่กำลังศึกษาอยู่ในไทย. (26 มิถุนายน 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่จบการศึกษาจากไทย. (2 กรกฎาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

สัมภาษณ์นักศึกษาลาวที่กำลังศึกษาอยู่ในไทย. (16 กรกฎาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่จบการศึกษาจากไทย. (12 พฤศจิกายน 2012). [บทสัมภาษณ์].

ผู้เชี่ยวชาญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). (14 กุมภาพันธ์ 2013). [บทสัมภาษณ์].

ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน). (13 กุมภาพันธ์ 2013 ). [บทสัมภาษณ์].

เอกอัครราชทูตไทย ประจากรุงเวียงจันทน์. (28 สิงหาคม 2012). [บทสัมภาษณ์].

อดีตเอกอัครราชทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย.(2555, 27 สิงหาคม). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแห่งหนึ่งในคณะรัฐบาล สปป.ลาว. [บทสัมภาษณ์].

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย. (1 พฤษภาคม 2014). [บทสัมภาษณ์].

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (14 กุมภาพันธ์ 2013). [บทสัมภาษณ์].

Carol, L. (2007). Foreign aid: diplomacy, development, domestic politics. Chicago: The University Press.

Gore C., (2013). Introduction the new development cooperation landscape : actors, approaches, architecture. Journal of International Development. 25, 769–786. Retrieved from //onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/jid.2940/pdf

Green, Carl J. (1994). Japan's Growing Leadership in Global Development. SAIS Review, 14(1), 101-118.

Hettne, B. and Söderbaum, F. (2010). The new regionalism approach. Retrieved from //www.unisa.ac.za/Default.asp?Cmd=View Content&ContentID =11583&P_XSLFile=unisa/accessibility.xsl

Hettne, B. and Langenhove, L.V. (2005). Global politics of regionalism: theory and practice. London: Pluto Press.

Kawai and Takagi (2004). Japan’s official development assistance : recent issues and future directions. Journal of International Development. 16, 255–280.

Mansfield, Edward and Solingen, Etel, Regionalism (2010). Annual Review of Political Science, 13, 145-163, Retrieved from //ssrn.com /abstract=1691311 or //dx.doi.org/10.1146/annurev.polisci.13.050807.161356

Niu, C. (2014). China’s educational cooperation with Africa: toward new strategic partnerships. Asian Education and Development Studies, 3 (1), 31-45. Retrieved from //onlinelibrary.wiley. com/doi/10.1002/jid.2940/pdf

Nye, J.S. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics: Wielding Soft Power. Retrieved from //belfercenter. ksg.harvard.edu/files/joe_nye_ wielding_soft_power.pdf

Phuangkasem, K. (1984). Thailand’s foreign relations 1964-80. Singapore: Institute of Southeast Asian studies.

Rigg, J. (2009). A particular place? Laos and its incorporation into the development mainstream. Environment and Planning A, 41(3), 703 -721.

Roberts, C. B., (2012). Laos a more mature and robust state?. Southeast Asian Affairs, 153-168. Retrieved from //muse.jhu.edu/ journals/southeast_asian_affairs/v2012/2012.roberts.pdf

Sachs, J., McArthur, J.W. and Traub, G.S. (2005). Ending Africa's Poverty Trap. Retrieved from //www.unmillenniumproject.org /documents/ BPEAEndingAfricasPovertyTrapFINAL.pdf

How to Cite

License

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวด้านการเมืองเป็นอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่นใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและแก้ไขปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธีด้านการเมืองและความมั่นคง กองทัพไทยและลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่นมีความ ...

ไทยกับสาธารณรัฐประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ในพิธีเปิด ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า ไทยกับ สปป. ลาว เป็นสองประเทศที่มีความใกล้ชิดกันอย่างแนบแน่นทั้งทางภูมิศาสตร์ และทางสังคมวัฒนธรรมที่ชาวไทยและชาวลาวมีร่วมกัน ทั้งสองประเทศจึงเปรียบเสมือน “เพื่อนใกล้ชิด มิตรใกล้บ้าน” โดยแท้ ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีที่ผ่านมา ไทยและ สปป. ลาว ได้ผ่านบทพิสูจน์ของกาลเวลา ...

ประเทศลาวมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยในอดีตอย่างไร

ลาวและไทยมีความสัมพันธ์ทวิภาคีมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณาจักรล้านช้างและอาณาจักรอยุธยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มาก่อน ทั้งสองประเทศมีพรมแดนติดกันและแสดงออกถึงความคล้ายคลึงกันทางภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งอาณาจักรล้านช้างของลาวได้รวมอยู่กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยทั้งหมดเมื่อไม่นานมานี้ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภาคอีสาน ...

ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศใดบ้าง

เนื้อหา.
4.1 บังกลาเทศ.
4.2 จีน 4.2.1 ช่วงสงครามเย็น 4.2.2 ช่วงหลังสงครามเย็น 4.2.3 ความตกลงด้านเศรษฐกิจ 4.2.4 ข้อตกลงภาคเอกชน.
4.3 อินเดีย.
4.4 อิสราเอล.
4.5 ญี่ปุ่น 4.5.1 ช่วงสงครามภาคพื้นแปซิฟิก 4.5.2 ช่วงหลังสงครามภาคพื้นแปซิฟิก 4.5.3 การติดต่อระหว่างพระราชวงศ์ของญี่ปุ่นและไทย 4.5.4 การค้า ... .
4.6 ไต้หวัน.
4.7 เกาหลีใต้.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf