คุณภาพและความ ปลอดภัย อาหาร

ตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) ของวัตถุดิบ ส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ ตามข้อกำหนด/กฎหมายอาหาร รองรับประกาศ สธ. มอก. มกษ. ฮาลาล และตามกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ให้บริการด้วยระบบการจัดการที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว

ขอบข่าย: ด้านกายภาพ เคมี ชีวโมเลกุล และจุลชีววิทยา  มีบริการรับตัวอย่าง (พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล) 

บริการหลัก 

ทดสอบ

สิ่งที่ส่งมอบ 

รายงานผลการตรวจวิเคราะห์

ขั้นตอนการให้บริการ 

1. กำหนดรายการตรวจวิเคราะห์และเตรียมผลิตภัณฑ์สำหรับส่งตรวจวิเคราะห์ อย่างน้อย 500 กรัม ในภาชนะบรรจุปิดสนิทและเก็บรักษาอยู่ในสภาพที่เหมาะสม  (ปริมาณตัวอย่างอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับจำนวนรายการตรวจวิเคราะห์จะแจ้งรายละเอียดในใบเสนอราคา)

2. ลงนามยืนยันรับทราบใบเสนอราคาและกรอกแบบฟอร์มคำขอรับบริการ

3. นำส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์พร้อมแนบ+ใบเสนอราคา+แบบฟอร์มคำขอรับบริการ

ติดต่อ/กรุณาส่ง 

แผนกขายและบริการลูกค้า สถาบันอาหาร

2008 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์

แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700  

โทร. 0-2422-8688 ต่อ 5301-5309         

4. ฟรี บริการรับตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน

5. ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์ 3-14 วัน (อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอย่างและรายการวิเคราะห์)

6. จัดส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทาง E-mail เบื้องต้น และจัดส่งฉบับจริงภายใน 3 วัน

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

แผนกขายและบริการลูกค้า

โทร: 0-2422-8688 ต่อ 5301-5309
e-mail: 

Line :  @nfithailand หรือ //lin.ee/vW07JSa

นโยบายความปลอดภัยอาหาร

“เรามุ่งมั่นผลิตสินค้าและบริการโดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และความไว้วางใจของผู้บริโภคเป็นอันดับแรก”

1. เรามุ่งมั่นผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตรงตามทุกข้อกำหนดกฎหมายด้านอาหารที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ
2. กำหนดวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยอาหารพร้อมทั้งมีการทบทวนวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ เพื่อให้นโยบายความปลอดภัยอาหารสัมฤทธิ์ผล
3. แสวงหาพร้อมทั้งปรับปรุงระบบและวิธีนำไปประยุกต์ใช้ที่ส่งผลให้กระบวนการในการวางแผน, การปฎิบัติจริง และการตรวจสอบมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้ารวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นให้ก้าวหน้าไปพร้อมกัน
4. ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วและจริงใจ
5. เมื่อเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหาร จะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อสืบหาสาเหตุและกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ
6. มุ่งมั่นเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ระบบความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทยเริ่มจากการจัดตั้งระบบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติในปี พ.ศ. 2542 และมีการประกาศบังคับใช้กฎหมาย GMP ในปี 2543  ต่อมาได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ในด้านผลิตภัณฑ์อาหาร หมดเวลาผ่อนผันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ซึ่งจะมีผลต่อผู้ผลิตอาหารทั้ง 54ประเภท ต้องปฏิบัติตามกฎหมายจีเอ็มพีทุกราย โดยการควบคุมของหน่วยงานหลัก คือ1. กระทรวงสาธารณสุข ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารนำเข้า และบริโภคภายในประเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยที่สำคัญคือ

  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรมอนามัย
  • กรมควบคุมโรค
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารส่งออก ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยที่สำคัญ คือ
  • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)
  • กรมประมง
  • กรมปศุสัตว์
  • กรมวิชาการเกษตร
  • กรมส่งเสริมการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหารของประเทศไทย ได้แก่ สำนักงาน อนามัย กทม., กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, สถาบันอาหาร , สถาบันวิจัยโภชนาการ และสถาบันการศึกษาต่างๆระบบความปลอดภัยด้านอาหารในต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน่วยงานจัดการหลัก 2 หน่วยงาน คือ U.S. FDA และ  FSISU.S. FDA สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานภายใต้ Department of Health and Human Service (DHHS)FSIS (Food Safety and Inspection Service) หน่วยบริการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร ภายใต้ U.S. Department of Agriculture (USDA)นอกจากนี้มีองค์กรอิสระร่วมมือกับรัฐบาล ในการดูแลความปลอดภัยของอาหาร เช่น สมาคมผลิตภัณฑ์อาหาร ( Food Products Association : FPA) , หน่วยงานที่ดูแลสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ( Environment Protection Agency : EPA) เนื่องจากปัญหาจากสารยาฆ่าแมลง เป็นต้นสหภาพยุโรป EUหน่วยงานที่มีบทบาทในการบังคับใช้และติดตามการประสานงานเพื่อให้มีการนำกฎหมายเกี่ยวกับอาหารไปใช้ในสหภาพยุโรป คือ กระทรวงสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค ( Directorate – General on Health and Consumer Protection), สำนักงานอาหารและอนามัยสัตว์ ( Food and Veterinary Office : FVO) และ องค์การความปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป ( European Food Safety Authority : EFSA) ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อชี้ให้เห็นปัญหาและอันตรายที่สำคัญตลอดห่วงโซ่อาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยหน่วยงาน EFSA ได้ก่อตั้งตามสมุดปกขาว ( Commission’s White Paper on Food Safety) เพื่อจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงเสนอคณะกรรมาธิการยุโรป ( The European Commission)EFSIS “European Food Safety Inspection Service” เป็นสถาบันที่ให้บริการการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารตามมาตรฐานสหภาพยุโรปประเทศญี่ปุ่นญี่ปุ่นมีกฎหมายด้านความปลอดภัยอาหารขั้นพื้นฐานที่กำหนดให้มีคณะกรรมาธิการด้านความปลอดภัยอาหาร ( Food Safety Council : FSC) เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยง สืบหาข้อมูล กำหนดมาตรการชั่วคราวหากอาหารมีอันตราย มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความเสี่ยงระหว่างหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ( Ministry of Health, Labour and Welfare) และกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง ( Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) ซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงในภาพรวมของประเทศ โดยมีหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยอาหารโดยตรงของญี่ปุ่น มีดังนี้
  • สำนักงานความปลอดภัยอาหารและคุ้มครองผู้บริโภค( Food Safety and Consumer Affairs Bureau)
  • สถาบันวิจัยอาหารแห่งชาติ ( National Food Research Institute : NFRI)
ประเทศแคนาดามีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบความปลอดภัยด้านอาหาร มี 2 หน่วยงานหลัก คือ
  • กระทรวงเกษตรและเกษตรอาหาร ( Ministry of Agriculture and Agri-Food)
  • กระทรวงสาธารณสุข ( Health Canada )
โดยมีหน่วยตรวจสอบอาหาร ( Canadian Food Inspection Agency : CFIA) เป็นหน่วยงานรวบรวม จัดการและส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบสินค้าอาหารอย่างเป็นระบบ ทั้งผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าอาหารที่ขึ้นตรงกับ Ministry of Agriculture and Agri-Foodประเทศออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานอาหาร ( Food Standard Australia New Zealand) ขึ้น เป็นหน่วยงานร่วม 2 ประเทศ มีหน้าที่คุ้มครองด้านสุขภาพความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหารประเทศสิงคโปร์ มีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารมี 2 หน่วย
  • Agri-Food and Veterinary Authority of Singapore มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่ การผลิต นำเข้า จำหน่าย ทั้งตรวจสอบอาหารก่อนจำหน่าย ตรวจสอบฟาร์ม โรงฆ่า โรงงานแปรรูปอาหารและมีหน่วยวิเคราะห์ทดสอบกลางในการตรวจวิเคราะห์อาหาร
  • National Environment Agency มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของอาหารในขณะจำหน่าย การเตรียมอาหารในภัตตาคาร ซุเปอร์มาร์เก็ต และผู้จำหน่ายรายย่อย มุ่งเน้นที่สุขอนามัยอาหาร และ มาตรฐานสาธารณสุข มีการเฝ้าระวังและมีมาตรการป้องกันเข้มงวด รวมทั้งจัดทำโครงการสนับสนุน รักษาสภาพแวดล้อม
ส่วนประเทศอื่นๆ โดยสรุปแล้ว ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น มีระบบดูแล รัดกุม เป็นเอกภาพ และมีการประสานงานในระดับสูง เพื่อให้เกิดการประสานนโยบายต่างๆองค์การและความตกลงระหว่างประเทศ 
  •  องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)
  •  โครงการมาตราฐานอาหารระหว่างประเทศ (The CODEX Alimentarius)
  •  ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัย (Agreement on The Application of SPS)
  •  องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Office International des Epizooties : OIE)
  •  สำนักงานอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ (The International Plant Protection Convention : IPPC)
  •  อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (IPPC) กับมาตรการอารักขาพืชของประเทศไทย
  •  ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร

ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร

  • ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร HACCP

มาตรฐาน HACCP เป็นระบบจัดการคุณภาพที่มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยในอาหาร โดยการวิเคราะห์อันตราย (Hazard) ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ที่จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม CCPs  

  • ระบบความปลอดภัยด้านอาหาร (FSMS) ISO 22000 : 2005

มาตรฐาน ISO 22000 มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัยในห่วงโซ่ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารสู่ผู้บริโภคซึ่งได้ระบุว่าในองค์กร จำเป็นต้องแสดงความสามารถในการควบคุมอันตรายในการะบวนการทั้งหมด ในห่วงโซ่อาหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งความปลอดภัยของอาหาร และความพึงพอใจตามข้อกำหนดของผู้บริโภคต้องมุ่งมั่นและมุ่งหมายในการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า โดยการควบคุมอันตรายทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตอาหาร สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกประเภทของกิจการในห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ผู้ผลิตอาหารสัตว์, โรงงานผลิตและแปรรูป, กิจการในการขนส่งและเก็บรักษาอาหาร, ผู้ค้าปลีกและผู้ให้บริการเกี่ยวกับอาหาร และแม้แต่กิจการที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตอาหาร, วัสดุบรรจุภัณฑ์ในการบรรจุอาหาร, สารทำความสะอาดในอุตสาหกรรมอาหาร และกิจการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสารเติมแต่งและส่วนผสมต่างๆในการผลิตอาหารทุกประเภท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf