พระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 2563

ความเป็นมา

การที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสัดส่วนของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่สัดส่วนของประชากรวัยแรงงานต่อประชากรวัยสูงอายุลดลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องพึ่งพิงตัวเองมากขึ้นและอาจเป็นภาระของรัฐบาลในการดูแลผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมการออมแบบผูกพันในระยะยาว (contractual savings) ให้มากขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมอย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพตลอดชีวิตหลังจากเข้าสู่วัยสูงอายุ

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อให้ลูกจ้างที่มีความสามารถทางการเงิน สามารถออมเงินในกองทุนได้เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่กระทบต่อนายจ้าง ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องลดอัตราเงินสะสมหากนายจ้างปรับลดอัตราเงินสมทบ
2. เพื่อให้ลูกจ้างออมเงินในกองทุนได้ระยะยาว + ต่อเนื่องจนถึงวัยเกษียณ โดยไม่ต้องนำเงินออกไปใช้จนหมด
3. เพื่อให้การดำเนินการของกองทุนมีความคล่องตัวและยืดหยุ่น โดยนายจ้าง + ลูกจ้าง สามารถตกลงกันเองได้ ภายใต้กรอบกฎหมาย เนื่องจากเป็นกองทุนภาคสมัครใจ

สาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

1. เปิดให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมในอัตราสูงกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบได้ แต่ต้องเป็นไปตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน โดยต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง หากกองทุนใดประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมได้มากกว่าเงินสมทบ คณะกรรมการต้องแก้ไขข้อบังคับกองทุนเพื่อให้รองรับในเรื่องดังกล่าว (แก้ไขเพิ่มเติมวรรค 1 ของมาตรา 10)

2. ให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพชั่วคราวได้ในกรณีท้องที่ใดท้องที่หนึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยกำหนดการหยุดหรือเลื่อนส่งเงินได้คราวละไม่เกิน 1 ปี ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีคลังประกาศกำหนด (เพิ่มเติมมาตรา 10/1)

3. การนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนหรือหาผลประโยชน์สำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16)
    - สำหรับกองทุนที่ลูกจ้างมีสิทธิเลือกนโยบายการลงทุนด้วยตนเอง (employee’s choice) หากลูกจ้างไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน ให้บริษัทจัดการนำเงินไปลงทุนดังนี้
       (1) นโยบายการลงทุนเดิมที่ลูกจ้างเคยลงทุน
       (2) หากไม่มีนโยบายการลงทุนเดิม เพิ่มทางเลือกให้ลูกจ้างลงทุนในนโยบายที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน 
       (3) หากไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ให้ลงทุนในนโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดที่กองทุนมีให้เลือก 
    - หากกองทุนใดไม่มีนโยบายการลงทุนเดิมที่ลูกจ้างเคยลงทุนและประสงค์ที่จะกำหนด default policy ไว้ในข้อบังคับกองทุน คณะกรรมการต้องแก้ไขข้อบังคับกองทุนเพื่อให้รองรับในเรื่องดังกล่าว หากคณะกรรมการไม่ได้ทำการแก้ไข ให้ถือว่า default policy ได้แก่ นโยบายที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดเช่นเดิม

4. การบันทึกรายได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีเป็นกองทุนหลายนายจ้าง (เพิ่มมาตรา 17(1) วรรคสอง)
    - ใช้กับกองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund และ group fund) ที่ต้องการกำหนดวิธีการบันทึกและการกระจายรายได้ โดยคณะกรรมการกองทุนสามารถเลือกกำหนดวิธีบันทึกและกระจายรายได้ตาม (ก) (ข) (ง) และ (จ) ของมาตรา 17 (1) ดังนี้
       (1) ให้แก่นายจ้างรายเดียวหรือหลายราย และ/หรือ
       (2) กระจายให้ลูกจ้างตามส่วนได้เสียหรือหารเฉลี่ยเท่ากันตามจำนวนลูกจ้าง
    - หากกองทุนใดประสงค์จะกำหนดวิธีบันทึกรายได้ให้แก่นายจ้างหลายราย และ/หรือให้ลูกจ้างโดยหารเท่ากันตามจำนวนลูกจ้าง คณะกรรมการต้องแก้ไขข้อบังคับกองทุนเพื่อให้รองรับเรื่องดังกล่าว หากไม่แก้ไขถือว่ายังคงกำหนดวิธีบันทึกรายได้ให้แก่นายจ้างรายเดียว และให้ลูกจ้างของนายจ้างรายนั้นตามส่วนได้เสียเช่นเดิม

5. เพิ่มทางเลือกให้ลูกจ้างที่ออกจากงานเมื่อมีอายุตั้งแต่ 55 ปีบริบูรณ์ ขอรับเงินเป็นงวดได้เช่นเดียวกับลูกจ้างที่เกษียณอายุ ซึ่งสมาชิกควรเลือกรับเงินเป็นงวดเมื่อเข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว (อายุ 55 ปี + 5 ปี) (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 23/2)

6. เพิ่มทางเลือกให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพในกรณีที่ไม่ใช่เป็นการลาออกจากกองทุน ได้แก่ การออกจากงาน การที่นายจ้างถอนตัวจาก pooled fund และไม่ได้จัดตั้งกองทุน การที่กองทุนเลิก และครอบคลุมถึงสมาชิกที่อยู่ระหว่างขอคงเงินและรับเงินเป็นงวด ให้สามารถขอโอนเงินทั้งจำนวนที่ตนเองมีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันกรณีออกจากงานหรือชราภาพ โดยบริษัทจัดการต้องโอนเงินตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียน (สำนักงาน ก.ล.ต.) กำหนด (เพิ่มเติมมาตรา 23/4)

7. กำหนดโทษบริษัทจัดการในกรณีไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 23/4 แก้ไขเพิ่มเติมวรรค 1 ของมาตรา 23 และแก้ไขมาตรา 35

Download พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558
Download ไฟล์ Powerpoint อธิบายสาระสำคัญการแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Q&A การจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุนตาม พ.ร.บ. ฉบับที่ 4

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf