การเขียนโปรแกรม ควร คำนึงถึง สิ่ง ใด เป็น อันดับ แรก


            ในการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการวางแผนและออกแบบโปรแกรม
ไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดขั้นตอนวิธีการทำงานให้ชัดเจน กระบวนการวิเคราะห์และออกแบบ
โปรแกรมเรียกว่า วัฏจักรการพัฒนาระบบงาน System Development Lift Cycle ( SDLC) ซึ่งมีกระบวนการทำงานเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาไปจนถึงการนำโปรแกรมไปใช้งานและปรับปรุงพัฒนา
ระบบให้ดีขึ้น มีขั้นตอนของวัฏจักรการพัฒนาระบบงาน ดังต่อไปนี้

                    ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
                    ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
                    ขั้นตอนที่ 3 การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
                    ขั้นตอนที่ 4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification)
                    ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)
                    ขั้นตอนที่ 6 การใช้งานจริง (Program Implement)
                    ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance)

ขั้นตอนที่ 1 : การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

            เป็นขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลของระบบงานที่จะพัฒนา และเป็นข้อมูลที่จะนำไปใช้
ในการออกแบบโปรแกรมโดยใช้เครื่องมือออกแบบในขั้นตอนที่ 2 การออกแบบโปรแกรม (Design
Program) ในการวิเคราะห์งานนั้น มีขั้นตอนย่อยอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน ดังนี้

            1. กำหนดสิ่งที่ต้องการหรือวัตถุประสงค์  เพื่อให้ทราบขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ดังนี้
                    •  กำหนดจุดประสงค์การทำงาน เพื่อให้ทราบว่าเขียนโปรแกรมเพื่อต้องการแก้ปัญหา
อะไร เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม เป็นต้น
                    •  กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น โปรแกรมคำนวณพื้นที
่ของสามเหลี่ยม ต้องการคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยมได้หลายขนาดและแสดงผลเป็นตัวเลข
                    •  ศึกษาวิธีการแก้ปัญหา เพื่อออกแบบขั้นตอนการทำงานได้อย่างเหมาะสม เช่น
การใช้สูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ต่างๆ
                    •  กำหนดข้อจำกัดและศึกษาความเป็นไปได้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์
เช่น โปรแกรมคำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยม ต้องการคำนวณพื้นที่ได้เฉพาะรูปสามเหลี่ยม

            2. กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการแสดง (Output)
                    •  กำหนดรูปแบบการแสดงผล เช่น แสดงผลลัพธ์เป็นภาพกราฟฟิกส์ทางจอภาพ
หรือพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
                    •  ตรวจสอบข้อผิดพลาดและความถูกต้องของผลลัพธ์ เช่น ตรวจสอบข้อผิดพลาด
จากการคำนวณ ตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม 

            3. การกำหนดข้อมูลนำเข้า (input)  ซึ่งประกอบหัวข้อพิจารณาดังนี้
                    •  กำหนดลักษณะการรับข้อมูล เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ หรือ อ่านข้อมูลจากไฟล์
                    •  รูปแบบข้อมูลที่รับเข้ามาเป็นอย่างไร เช่น ข้อมูลชื่อนักเรียนเก็บเป็นตัวอักษรหรือ
สตริง ข้อมูลเงินเดือนพนักงานเก็บเป็นจำนวนทศนิยม เป็นต้น
                    •  ขอบเขตของข้อมูลมีช่วงค่าของข้อมูลได้เท่าไหร่ เช่น รับข้อมูลเงินเดือนมีค่า
อยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 100,000.00 บาท เก็บข้อมูลเป็นจำนวนทศนิยม เป็นต้น
                    •  ข้อจำกัดในการรับข้อมูลอย่างไรบ้าง เช่น รับข้อมูลได้เฉพาะค่าตัวเลขที่มากกว่า 0
เป็นต้น

            4. กำหนดโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ ประกอบด้วย
                    •  ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัด ประเภทของงานและ
คุณสมบัติเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์
                    •  วิธีการเก็บข้อมูลและเรียกใช้ตัวแปร เช่นการประกาศตัวแปรอาเรย์ให้สามารถเก็บ
ข้อมูลได้หลายตัว หรือเก็บข้อมูลเป็นคลาส หรือตามโครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ เป็นต้น             

            5. วิธีการประมวลผล เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการแก้ปัญหา ประกอบด้วยข้อกำหนดดังนี้
                    •  กำหนดวิธีการ หรือเทคนิคที่ใช้แก้ปัญหา ปัญหาต่าง ๆ จะมีวิธีการปัญหาแตกต่างกัน
ไปขึ้นอยู่กับสภาพของปัญหา และผู้แก้ปัญหา และปัญหาหนึ่ง ๆ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยหลาย ๆ
วิธีการ ดังนั้นให้เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับปัญหานั้น ๆ
                    •  กำหนดขั้นตอนทำงานให้ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาตามลำดับการทำงานของวิธีการที่
ได้เลือกใช้ และประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 2 : การออกแบบโปรแกรม (Program Design)

          ประกอบด้วยวิธีการดังนี้ คือ

          1. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ อัลกอริธึม (Algorithm) เป็น การอธิบายถึงลำดับขั้นตอน
การทำงานของการแก้ปัญหาโดยใช้ประโยคข้อความที่ ชัดเจนไม่คลุมเครือ สามารถบอกลำดับ
การทำงานได้ ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
                    •  ทำให้เห็นลำดับของการทำงานและวิธีการทำงานแต่ละขั้นตอนได้อย่างละเอียด
                    •  ทำให้เห็นภาพรวมของการทำงานของขั้นตอนทั้งหมด
                    •  เป็นการวางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้า ทำให้สามารถนำไปเขียนเป็นโปรแกรมได้
อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

          2. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้รหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็น การออกแบบขั้นตอนการ
ทำงานของโปรแกรมโดยการใช้ข้อความภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียง กับภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี
หลักการทำงานและประโยชน์เหมือนกับการใช้อัลกอริธึ่ม แต่มีข้อดี ดังนี้คือ
                    •  สามารถนำรหัสจำลองไปใช้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าการใช้อัลกอริธึ่ม เพราะ
มีความใกล้เคียงกับคำสั่งคอมพิวเตอร์
                    •  ผู้ออกแบบโปรแกรมต้องมีความรู้ทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์บ้าง เพื่อให้สามารถ
นำไปประยุกต์ใช้และเขียนโปรแกรมเป็นภาษาอื่นๆได้หลายภาษา

          3. การออกแบบโปรแกรมโดยใช้ผังงาน (Flowchart) คือ การใช้สัญลักษณ์รูปภาพ หรือกล่อง
ข้อความบรรยายรายละเอียดการทำงาน และใช้ลูกศรบอกทิศทางลำดับ ของการทำงาน ซึ่งมีข้อดี
ดังนี้ คือ
                    •  สามารถอ่านและเข้าใจการทำงานได้ง่าย เพราะมองเห็นภาพรวมขั้นตอนการ
ทำงานทั้งหมดได้ชัดเจน
                    •  สามารถออกแบบโครงสร้างการทำงานได้หลากหลายโดยใช้ลูกศรแสดงทิศทาง
การทำงาน ทำให้แก้ปัญหาที่มีหลายเลือกและซับซ้อนได้
                    •  คำสั่งหรือคำบรรยายรายละเอียดในกล่องข้อความสามารถนำไปเขียนเป็นคำสั่ง
ของโปรแกรมได้

ขั้นตอนที่ 3 : การเขียนโปรแกรม (Program Coding)

          เป็นขั้นตอนสำคัญ หลังจากได้ผ่านการออกแบบโปรแกรมแล้ว โดยการนำแนวคิดจาก
อัลกอริธึ่ม หรือผังงานมาแปลงให้อยู่ในรูปคำสั่งคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยความรู้และทักษะการเขียน
โปรแกรมและใช้ภาษาคอมพิวเตอร์รวมทั้ง เครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิด
ผลลัพธ์ถุกต้อง และทำงานตามที่เราต้องการ สรุปการเขียนโปรแกรม ต้องพิจารณาองค์ประกอบ
ดังนี้
                    •  เลือกภาษาที่เหมาะสม
                    •  ลงมือเขียนโปรแกรม โดยการแปลงขั้นตอนการทำงาน (ประมวลผล) ที่ได้จากการ
ออกแบบ ให้อยู่ในรูปของคำสั่งที่ถูกต้อง ตรงตามรูปแบบของภาษาที่เลือกนั้น

ขั้นตอนที่ 4 : การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification)

          การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เป็นขั้นตอนการตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนได้ ว่าทำงาน
ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หรือตรงตามลักษณะงานของโปรแกรมนั้นหรอไม่
          ความผิดพลาด ( Errors) ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเขียนโปรแกรม มีดังนี้
                    •  Syntax Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้คำสั่งผิดรูปแบบที่ภาษานั้นกำหนด เช่น
การลืมประกาศตัวแปร การเขียนคำสั่งผิด เช่น คำสั่ง while( ) เป็น WHILE( )
                    •  Logic Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการที่โปรแกรมทำงานผิดไปจากขั้นตอนที่ควร
จะเป็น เช่น การตรวจสอบเงื่อนไขผิดไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ คำนวณค่าได้คำตอบไม่ถูกต้อง หรือ
ทำงานผิดลำดับขั้นตอน เป็นต้น
                    •  System Design Error ความผิดพลาดที่เกิดจากการที่โปรแกรมทำงานได้ไม่ตรงตาม
ความต้องการของลูกค้า

            ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

                    •  Desk-Checking ผู้เขียนโปรแกรมตรวจสอบโปรแกรมด้วยตนเอง ถ้าให้ผู้อื่นช่วยดู
จะเรียกว่า Structured-Walkthrough
                    •  Translating ตรวจสอบรูปแบบคำสั่งต่างๆที่ใช้ในโปรแกรมโดยตัวแปลภาษา
( Translator) เป็นผู้ตรวจ
                    •  Debugging เป็นการทดลองใช้โปรแกรมจริง เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง เช่น ผลลัพธ์ที่
ไม่ตรงตามความต้องการ ซึ่งอาจมีสาเหตุจาก Logic Errors และถ้าได้ทดสอบกับผู้ใช้จริงก็จะ
สามารถตรวจสอบ System Design Errors ได้

ขั้นตอนที่ 5 : การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation)

          การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งานจัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือการเขียน
โปรแกรม ได้แก่
                    •  คู่มือสำหรับผู้ใช้โปรแกรม (User's Manual or User's Guide) คือเอกสารที่อธิบาย
วิธีการใช้ระบบหรือโปรแกรม เรียกว่า User Manual ใช้สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรม แนะนำวิธีการใช้
งานโปรแกรม แนะนำคุณสมบัติ และองค์ประกอบของโปรแกรมต่าง ๆ วิธีการติดตั้งโปรแกรม
สามารถทำควบคู่ไปกับการเขียนโปรแกรม อาจทำเป็นคู่มือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบโปรแกรม
ออนไลน์ก็ได้ (Online Manual)
                    •  คู่มือสำหรับผู้เขียนโปรแกรม (Programmer's Manual or Programmer's Guide) เป็น
คู่มือที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรม รวมทั้งเทคนิคพิเศษต่างๆ ของโปรแกรม เพื่อให้สะดวก
ต่อการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมที่มีอยู่เดิม โดยทั่วไปจะเป็นเอกสารแสดงการวิเคราะห์และออกแบบ
ระบบ เรียกว่า System Manual ใช้สำหรับผู้พัฒนาระบบหรือโปรแกรม เท่านั้น

ขั้นตอนที่ 6 : การใช้งานจริง (Program Implement)

          การใช้งานจริง เป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากทำการทดสอบและแก้ไขโปรแกรมให้มีความ
ถูกต้องเรียบ ร้อยแล้ว โดยการนำโปรแกรมไปใช้งานจริงด้วยการป้อนข้อมูลต่างๆ สภาวะแวดล้อม
และสถานการณ์ต่างๆโดยผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถทำงานตามฟังก์ชั่น และทำตามจุดประสงค์
ของโปรแกรมที่เขียนไว้ ขั้นตอนการใช้งานจริงของโปรแกรมหากพบข้อผิดพลาด ก็สามารถ
ปรับปรุง แก้ไข โปรแกรมให้ถูกต้องได้

ขั้นตอนที่ 7 : การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance)

          การเขียนโปรแกรมที่ ดีต้องมีขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มีความถูกต้อง
ทันสมัย และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยทั่วไปโปรแกรมที่ใช้งานจะประกอบด้วย
หลาย ๆ รุ่น เช่นรุ่นทดสอบ (Beta Version) และ รุ่นที่ใช้งานจริง (Release Version) และต้องมีการ
ปรับเปลี่ยนโปรแกรมให้ดีขึ้น ดังตัวอย่างเช่นโปรแกรมเวอร์ชัน 1 มีการเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไข
โปรแกรมเป็นเวอร์ชัน 1.2 เป็นต้นการพัฒนาโปรแกรมให้ดีขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน และผู้เขียนโ
ปรแกรมต้องอาศัยคู่มือการใช้งาน และเอกสารประกอบของโปรแกรม เพื่อเป็นแนวทางในการ
แก้ไข และให้ผู้อื่นๆสามารถพัฒนาต่อได้               

การเขียนโปรแกรมควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นลำดับแรก

การวิเคราะห์ปัญหาเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่สุด ผู้พัฒนาโปรแกรม จะต้องทําก่อนที่จะเขียนโปรแกรมจริงเพื่อทําความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น และค้นหาจุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ การวิเคราะห์ปัญหาต้องกําหนดให้ได้ว่า โจทย์ต้องการอะไร ใช้ตัวแปรเท่าไหร่ ทําอย่างไรจึงจะแก้ปัญหานั้นได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยขั้น ...

การเขียนโปรแกรมจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น.
1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา.
2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา.
3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด.
4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม.
5. นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งาน.

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการเขียน code มีประเด็นใดบ้าง

ในทางเดียวกัน Coding ก็ใกล้เคียงคือการสร้างสัญลักษณ์ ขั้นตอนอะไรบางอย่างให้สามารถ สามารถเเก้ไขปัญหาบางอย่างได้.
ต้อง Planning หมายถึง วางเเผน ... .
ต้อง Thinking หมายถึง คิด ... .
ต้อง Logic หมายถึง คิดเเบบตรรกะ ... .
ต้อง Problems Solving หมายถึง การเเก้ไขปัญหา.

การพัฒนาโปรแกรมจะต้องทำสิ่งใดก่อน

ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study).
ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา (Algorithm Design).
ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding).
ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging).
ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation).
ขั้นบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance).

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf