การเลี้ยงปลาปอม ป่า ดั ว ร์

ปลาปอมปาดัวร์

  • แชร์ไปยัง Facebook
  • แชร์ไปยัง Tweet
  • แชร์ไปยัง LINE

ปลาปอมปาดัวร์

ชื่อสามัญ ปลาปอมปาดัวร์ Discus

ชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาปอมปาดัวร์ Symphysodon aequifasciatus Pellegrin, 1904

ปลาปอมปาดัวร์ (Discus) เป็นปลาน้ำจืดแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ลำตัวมีลวดลายสวยงามมากเป็นพิเศษนักเลี้ยงปลานิยมเพาะพันธุ์กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากรูปร่างและสีสันคล้ายปลาทะเลไมมีผิดขนาดลำตัวโตเต็มที่วัดได้ไม่เกิน 7 นิ้ว ประเภทของปลาปอมปาดัวร์ จำแนกได้ 2 ประเภท

1 ปลาปอมปาดัวร์ 9 แถบ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Symphysodon aequifasciatus Pellegrin, 1904 มีลายเส้นสีดำจาง ๆ พาดลำตัวปลา คือ

  • กรีน ดิสคัส (Green discus) เป็นปลาปอมปาดัวร์ 5 สี อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางลุ่มน้ำอะเมซอน ลำตัวสีน้ำตาลเคลือบเขียวไม่มีลวดลายแต่ส่วนหัวมีลายสีเขียวพาดเป็นมันวาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม จึงทำให้ราคาถูก
  • บราวน์ ดิสคัส (Brown discus) เป็นปลาปอมดัวร์ห้าสี แต่อาศัยอยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำอะเมซอน ลำตัวสีน้ำตาลเข้มกว่าปลาปอมปาดัวร์ชนิดอื่นๆ บางตัวไม่มีลวดลาย แต่มีลักษณะคล้ายกับพวก Green Discus สีสันบนลำตัวเท่านั้น ราคาก็ค่อนข้างถูก
  • บลู ดิสคัส (Blue discus)เรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาปอมปาดัวร์ 7 สี พื้นเพอยู่แถบลุ่มน้ำอะเมซอน ลำตัวมีลักษณะสีน้ำตาลอมแดง เส้นลวดลายเป็นแถวขวางตามลำตัว หัว ครีบ ท้อง ตลอดทั้งครีบหลัง ซึ่งเป็นปลาชนิดทีนิยมกันแพร่หลายในหมู่นักเล่นปลา ราคาค่อนข้างสูง

2 ปลาปอมปาดัวร์ 3 แถบมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Symphysodon discus Heckel, 1840 ลักษณะลำตัวมีแถบสีดำขนาดใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 3 แถบ สีสันสวยงาม สะดุดตากว่าพวกแรก เนื่องจากบริเวณส่วนปลายครีบหลังมีสีแดงเข้มเป็นพิเศษจนสามารถแยกออกได้ 2 ชนิด

  • เรด ดิสคัส (Red discus) นักนิยมเลี้ยงปลาให้สมญานามว่า ปลาปอมปาดัวร์แดง เป็นปลาที่มีพื้นเพมาจากลุ่มน้ำ Rio Trombetas และ Rio Negre ลักษณะลำตัวสีแดงมีส่วนคล้ายปอมปาดัวร์ 7 สี
  • ไพน์แอปเพิ้ล ดิสคัส (Pineapple discus)ปลาปอมปาดัวร์ ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำ Rio Abacaxis มีสัดส่วนคล้ายกับพวก เรด ดิสคัส ยกเว้นบางส่วนของสีสัน ซึ่งปลาชนิดนี้มีสีน้ำเงินอมเขียว สวยงามสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น

พฤติกรรมของปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ตามแหล่งน้ำที่สภาพเป็นกรดอ่อน ๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25-32 องศาเซลเซียส มีนิสัยชอบหลบซ่อนตามพุ่มไม้และวัสดุต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำ คุณสมบัติพิเศษสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงฤดูกาลผสมพันธุ์ ปลาปอมปาดัวร์ จับกันเป็นคู่ วางไข่ ระยะเวลานี้เพศผู้และเพศเมียค่อนข้างดุร้าย ตกใจง่าย การกินอาหารชอบกินอาหารจำพวก ไข่กุ้ง ลูกไรแดง หนอนแดง และอาร์ทีเมีย

การเพาะพันธ์ปลาปอมปาร์ดัวร์

การคัดเลือกปลาปอมปาดัวร์มาทำพ่อแม่พันธุ์ผู้เพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ต้องการพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ สวยงาม รวมถึงมีลักษณะที่ดีมาทำพันธุ์อีกด้วย เพื่อที่ได้ลูกปลาที่ดีตามต้นตระกูล ดังนั้น ผู้เพาะควรคำนึงถึงจุดประสงค์ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ดังนี้

  1. ปลาที่นำมาทำพ่อแม่พันธุ์ต้องอวัยวะทุกส่วนครบสมบูรณ์ ไม่มีชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งขาดหายไป หรือไม่พิการ
  2. การเลือกพ่อแม่พันธุ์ ต้องสนใจเรื่องสีสันของแต่ละตัว ปลาที่สีสันสวย มีลายงดงาม คมสันชัดเจนควรนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์
  3. ลักษณะลวดลายของพ่อแม่พันธุ์ไม่ควรกว้างหรือใหญ่จนเกินไป อันเป็นเหตุให้ลูกปลาที่เกิดใหม่มีปัญหาในด้านการย้อมสี ซึ่งอาจทำให้สีที่ย้อมไม่ได้คุณภาพ และเปรอะเปื้อน ไม่งดงามแก่ตัวปลา
  4. ไม่ควรนำพ่อแม่พันธุ์จากครอกเดียวกันมาผสม เพื่อป้องกันระบบสายเลือดชิด เนื่องจากทำให้ยีนด้อย ปรากฏในรุ่นลูกได้
  5. พ่อแม่พันธุ์ ควรมีขนาด 4-5 นิ้ว อายุไม่น้อยกว่า 8 เดือน ถ้าหากนำปลาที่มีอายุน้อยหรือขนาดเล็กทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ ผลที่ได้ คือ คุณภาพของไข่ไม่ค่อยดี ลูกที่เกิดขึ้นใหม่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ถ้าหากปลาที่นำมามีอายุมากก็ไม่เหมาะที่ใช้ทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ (การสังเกตปลาที่มีอายุมาก คือ ขอบตาดำ และโปนออกจากเบ้าตา)

การเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์

ขั้นตอนที่ 1 วิธีการจับคู่ผสม โดยการนำปลาพ่อแม่พันธุ์มาเทียบกันก่อนการเลือกคู่ หลังจากนั้นสังเกตลักษณะอาการของพ่อแม่พันธุ์ วิธีการสังเกตพฤติกรรมปลาว่าเข้ากันได้หรือไม่นั้น ผู้เลี้ยงนิยมใช้ตะแกรงกั้นกลางตู้ปลาระหว่างพ่อแม่พันธุ์ ถ้าปลาทั้ง 2 แสดงอาการคล่องแคล่วว่องไว สีสันปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น หมายถึง ปลาทั้งคู่เข้ากันได้ ตรงกันข้ามถ้าปลาเห็นกันแล้วว่ายเข้าใส่ทำร้ายกัน ลักษณะเช่นนี้ควรปล่อยไว้สักพักหนึ่ง แต่ถ้าปลาทั้งคู่เกิดอาการทำร้ายกันเช่นเดิม ผู้เพาะเลี้ยงควรเปลี่ยนปลาตัวใดตัวหนึ่งออกจนกว่าได้ปลาที่มีนิสัยตรงกัน เหตุผลดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาทั้งคู่ได้รับบาดแผลหรือบอบช้ำขณะการผสมพันธุ์

ขั้นตอนที่ 2 การผสม และวางไข่ เมื่อเห็นว่า พ่อแม่พันธุ์มีนิสัยเข้ากันได้ดีก็ให้นำตะแกรงที่กั้นอยู่ออก และคอยสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งในระยะนี้พ่อพันธุ์ว่ายเคลียคลอรัดแม่พันธุ์ ถ้าแม่พันธุ์พร้อมอวัยวะเพศหรือท่อนำไข่ยื่นยาวออกมาเพื่อที่วางไข่

ขั้นตอนที่ 3 การดูแลไข่ปลาเมื่อพ่อแม่พันธุ์ผสม และวางไข่เรียบร้อยแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงควรนำตะแกรงครอบโดมที่เตรียมไว้ ครอบไข่ที่ติดอยู่กับโดม ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้พ่อแม่พันธุ์ว่ายน้ำเข้ามากินไข่ปลาในตอนที่มีอาการตกใจ หวงลูก หรือหิว ระยะนี้ก็ควรแยกพ่อแม่พันธุ์ไว้ต่างหาก โดยใช้ตะแกรงตู้ปลาแยก เพื่อป้องกันการผสมเป็นครั้งที่ 2 และ3 เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นผลที่ตามมา คือ พ่อแม่พันธุ์ไม่ยอมเลี้ยงลูกจากไข่ครอกแรก และยังอาจทำลายลูกหรือกินลูกได้ เพราะเหตุที่พ่อแม่พันธุ์ให้ความคุ้มครองลูกปลาที่เกิดใหม่จากครอกที่ 2 ก็เป็นได้

ขั้นตอนที่ 4 จากที่ผู้เพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และใช้ตะแกรงครอบโดยเสร็จแล้วน้ำที่เพาะเลี้ยงอาจมีเชื้อราต่าง ๆ อาศัยอยู่ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นผู้เพาะเลี้ยงควรใช้ยาปฏิชีวนะละลายกับน้ำใส่ลงในตู้เพาะเลี้ยง เพื่อป้องกันเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นกับไข่ปลา และลูกปลา โดยใช้ยาคลอแรมเฟนิคลอหรือเตตร้าซัยคลิน อัตราส่วน 1-3 แคปซูล ผสมกับน้ำแล้วเทใส่ตู้เพาะเลี้ยงขนาด 30x16x16 ลูกบาศก์นิ้ว ตัวยาพวกนี้ช่วยรักษาไข่ปลาไม่ให้ถูกรบกวนจากเชื้อราและแบคทีเรียได้

ขั้นตอนที่ 5 ระยะเวลาฟักออกเป็นตัว ไข่ปลาปอมปาดัวร์มีลักษณะกลมสีน้ำตาลอมแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1-1.5 มิลลิเมตร ไข่ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 2-3 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการฟักอยู่ระหว่าง 27-30 องศาเซลเซียส ไข่ที่ได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีดำ จนกระทั่งฟักออกเป็นตัวอ่อน สำหรับไข่ที่ไม่ได้รับการผสมหรือไข่เสีย สีเริ่มเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีเขียว

ขั้นตอนที่ 6 การอนุบาลไข่ปลาในระยะนี้จัดได้ว่าเป็นระยะที่ไข่มีความอ่อนแอ และเป็นช่วงที่มีความสำคัญที่สุด เพราะไข่ปลาอาจได้รับอันตรายจากเชื้อโรคต่าง ๆ หรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร ดังนั้นผู้เพาะเลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ควรเปลี่ยนน้ำออกประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำในตู้ ทุก ๆ วัน ข้อระมัดระวังผู้เพาะเลี้ยงไม่ควรให้อาหารจำพวกอาร์ทีเมีย หนอนแดง ลูกน้ำ จนเกินความต้องการ เนื่องจากสัตว์จำพวกนี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อไข่ปลาปอมปาดัวร์ได้เหมือนกัน

การอนุบาลลูกปลาช่วงนี้ลูกปลาปอมปาดัวร์อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ อัตราการตายสูงทำให้ผู้เลี้ยงต้องคอยดูแลอย่างทนุถนอม รักษาชีวิตลูกปลาให้อยู่รอดเป็นพิเศษ โดยเทคนิคดังต่อไปนี้

  1. ไข่ปลาปอมปาดัวร์ที่ได้รับการผสมหรือเป็นไข่ที่สมบูรณ์เต็มที่ฟักออกเป็นตัวภายใน 3-4 วัน ซึ่งระยะนี้ลูกปลาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ลูกปลาไม่ยอมเคลื่อนไหว ส่วนเรื่องอาหารไม่จำเป็นต้องให้เนื่องจากลูกปลาได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดงที่ติดมา แต่ข้อสำคัญควรปรับอุณหภูมิของน้ำในตู้เพาะเลี้ยงให้อยู่ในช่วงประมาณ 29-31 องศาเซลเซียส โดยใช้ฮีทเตอร์หรือหลอดไฟทังสเตนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลูกปลา
  2. ต่อจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ถุงไข่แดงที่ติดกับผนังส่วนท้องถูกย่อยสลายหมดไป ลูกปลาเริ่มมีการเคลื่อนย้ายว่ายเข้าไปหาพ่อแม่ ตามธรรมชาติผู้ที่เป็นพ่อแม่ให้ความอบอุ่นแก่ลูก สำหรับพ่อแม่ปลาปอมปาดัวร์ให้ความอบอุ่นแก่ลูกด้วยวิธีการอมลูกปลาไว้ในช่องปากสักพักหนึ่ง แล้วก็พ่นลูกปลากลับไปอยู่ที่โดมตามเดิม เหตุผลที่เป็นเช่นนี้พ่อแม่ปลาคงคิดว่าบริเวณโดมปลอดภัยสำหรับลูกปลา และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ลูกปลาอาศัยเกาะกินเมือกที่พ่อแม่ขับออกมาเป็นอาหาร ในตอนนี้ลำตัวของพ่อแม่ปลามีสีดำ ทำให้มองไม่เห็นลวดลายบนลำตัว
  3. การเพิ่มระดับน้ำ หลังจากลูกปลาทยอยฟักออกมาเป็นตัว ผู้เพาะเลี้ยงควรเติมน้ำให้สูงขึ้นกว่าเดิม แต่ต้องพยายามไม่ให้พ่อแม่ปลาตื่นตกใจได้ การเพิ่มระดับน้ำควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยการเพิ่มวันละ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำในตู้ การที่ทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในตู้เสีย และยังช่วยให้ลูกปลาสามารถปรับตัวได้จนกระทั่งระดับน้ำมีความสูงประมาณ 14-18 นิ้ว ผู้เพาะเลี้ยงจึงดูดน้ำออกตามปกติ ขณะถ่ายน้ำลูกปลามักติดออกมาด้วย ฉะนั้น ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษ ผู้เลี้ยงบางท่านนิยมใช้มือปิดปลายสายยางขยับมือเบา ๆ เพื่อไม่ให้ลูกปลาเล็ดลอด แต่สำหรับกรณีที่ใช้วิธีนี้ต้องพยายามตักลูกปลาลงคืนตู้
  4. เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 7 วัน ก็เริ่มให้อาหารจำพวกไรแดงในปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งและไม่ควรให้อาหารในเวลาที่ลูกปลาหิวจัด เพราะทำให้ลูกปลาท้องอืด

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf