สั่ง ทํา นามบัตร ต้องหัก ณ ที่จ่าย ไหม

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่  (อ่าน 5000 ครั้ง)

เอ

เป็นบริษัทที่รับงานจากลูกค้า เกี่ยวกับงานพิมพ์  เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ , บัตรประจำตัวต่างๆ (บัตรประจำตัวผู้ป่วย) , สติ๊กเกอร์ , งานพิมพ์ทุกชนิด และรับจัดงานส่งเสริมการขายต่างๆ ด้วย เช่น รับจัดบู๊ช , รับจัดงาน event ต่างๆ ซึ่งถ้ามีลูกค้าสั่งเกี่ยวกับงานพิมพ์ ทางบริษัทฯ ก็จะไปจ้างโรงพิมพ์ผลิตอีกต่อนึง โดยที่วัถุดิบต่างๆ นั้น ทางโรงพิมพ์เป็นคนจัดหาเองทั้งหมด และหากเป็นงานจัดบู๊ช หรืองาน event ต่างๆ ทางบริษัทจะดำเนินการเอง ไม่ได้จ้างใครต่อ มีคำถามดังนี้

1. บริษัทต้องมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายโรงพิมพ์หรือไม่  แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1.1  ถ้าบริษัทเป็นผู้หาวัตถุดิบให้กับโรงพิมพ์  จ้างโรงพิมพ์ พิมพ์งานอย่างเดียว ต้องหักค่าบริการ 3% หรือไม่

1.2 ถ้าจ้างโรงพิมพ์แล้วโรงพิมพ์เป็นผู้จัดหาวัถุดิบเองทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ใช่หรือไม่

2.  เป็นผู้ถูกหัก ณ ที่จ่าย  แบ่งเป็น  2  กรณี คือ

2.1  ถ้ารับงาน (เกี่ยวกับงานพิมพ์บัตรผู้ป่วย) จากลูกค้าที่เป็นหน่วยงานราชการต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายจากหน่วยงานราชการ 1% หรือไม่  และมีการกำหนดยอดที่ต้องถูกหักหรือไม่ว่าขั้นต่ำต้องเป็นยอดเท่าไร

2.  การรับจัดบู๊ชและงาน event ต่างๆ  บริษัทต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ใช่หรือไม่

ขอความกรุณาผู้รู้  ตอบคำถามเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ  หรือท่านอื่นร่วมแสดงความคิดเห็นก็ได้ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

เอ

ขออีก 1 คำถามค่ะว่า ลักษณะกิจการข้างต้น กิจการจะต้องถูกลูกค้าหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่ เพราะไม่ได้ผลิตเอง

Ac-Angel

ข้อ 1 ทั้ง 1.1 และ 1.2 ต้องหักทั้งสองกรณีครับ ถือเป็นจ้างทำของทั้งคู่ เว้นแต่ว่าผู้รับจ้างจะพิสูจน์ได้ว่ามีสินค้าสำเร็จรูปอยู่แล้ว เพียงแต่ให้พิมพ์ชื่อของเราเข้าไปเท่านั้น อย่างนี้ถือเป็นขายสินค้า

ข้อ 2.1 การทำการค้าใด ๆ กับหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ หรือแม้แต่การขายสินค้าก็ต้องถูกหักภาษี 1 % ครับ ส่วนการจัดงาน event ตัวอย่างไม่ชัดเจน แต่ถ้าเทียบกับลักษณะของการรับจัดแสดงสินค้าแทนลูกค้าเพื่อการประชาสัมพันธ์ก็ต้องถูกหักภาษีเช่นกัน

เอ

หลายคนที่กำลังเริ่มทำธุรกิจหรือกำลังเริ่มจดเป็นนิติบุคคล ก็อาจจะสงสัยและยังไม่ชัดเจนเรื่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ว่าจริงๆแล้ว ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? และภาษีหัก ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์? ซึ่งในบทความนี้เราจะมาลงรายละเอียดเรื่องนี้กันค่ะ

สามารถเลือกอ่านได้นะคะ

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ?
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์
    • บริการขนส่ง หัก 1 เปอร์เซ็นต์
    • ค่าโฆษณา หัก ณ ที่จ่าย 2 เปอร์เซ็นต์
    • ค่าบริการหัก ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์
    • ค่าจ้างทำของ หัก 3 เปอร์เซ็นต์
    • ค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5 เปอร์เซ็นต์
  • ยอดไม่ถึง 1,000 บาท ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ?

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็คือการหักภาษีไว้ล่วงหน้าซึ่งอาจจะเป็นการจ้างงานหรืองานบริการหรืออื่นๆ เดี๋ยวเราจะไปลงลึกรายละเอียดในหัวข้อถัดไปกันนะคะ แต่ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจก่อนว่าการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะประกอบไปด้วยกัน 3 ส่วนคือ ผู้จ่ายเงิน ค่าอะไร และก็ผู้รับเงินค่ะ ทั้ง 3 ส่วนนี้คืออะไรมาดูกันค่ะ

  1. ผู้จ่ายเงิน - ก็คือผู้ว่าจ้างซึ่งจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้นถึงจะสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ โดยจะเป็นบริษัท จำกัดหรือห้างหุ้นส่วน จำกัดก็ได้ ซึ่งผู้จ่ายเงินจะต้องนำส่งภาษีให้กับผู้รับเงินด้วย หจก กับ บริษัทต่างกันอย่างไร? อ่านเพิ่มเติมได้นะคะ
  2. ค่าอะไร - จ่ายเงินเป็นค่าอะไร ยกตัวอย่างเช่น ค่าบริการ ค่าขนส่ง หรืออื่นๆ ซึ่งแต่ละแบบก็จะหักภาษี ณ ที่จ่าย เปอร์เซ็นต์ไม่เท่ากันนะคะ รายละเอียดด้านล่างค่ะ
  3. ผู้รับเงิน - ก็คือผู้ที่มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า ผู้ว่าจ้างจ้างเรา 100 บาท อันที่จริงแล้วเราจะต้องได้รับเงิน 100 บาท แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นผู้รับเงินจะได้รับเงินจริงๆ 97 บาท นั่นเองค่ะ เพราะถูกหักภาษีล่วงหน้า 3 เปอร์เซ็นต์จากผู้จ่ายเงิน แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถขอคืนภาษีได้หากเราไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีค่ะ

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าเป็น ค่าอะไร และจะมีแบบไหนบ้างมาดูกันค่ะ

ค่าอะไร หักกี่เปอร์เซ็นต์
บริการขนส่ง 1%
ค่าโฆษณา 2%
ค่าบริการ 3%
ค่าจ้างทำของ 3%
ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5%

บริการขนส่ง หัก 1 เปอร์เซ็นต์

ค่าขนส่งถ้าเราจะหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทขนส่งจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นกิจการขนส่งหรือโลจิสติกส์ บริการขนส่งจะหักอยู่ที่ 1 เปอร์เซ็นต์

ค่าโฆษณา หัก ณ ที่จ่าย 2 เปอร์เซ็นต์

หากมีการจ้างทำโฆษณาหรือจ่าง agency เพื่อทำโฆษณาโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์ของเรา ในส่วนนี้จะถือว่าเป็นค่าโฆษณา ดังนั้นจะสามารถหัก ณ ที่จ่าย 2 เปอร์เซ็นต์ค่ะ แต่ถ้าเป็นกรณีที่จ้างรีวิวสินค้า หรือจ้าง bueaty bloger รีวิวสินค้าในส่วนนี้จะไม่ได้อยู่ในหมวดโฆษณานะคะ จะถือว่าเป็นค่าจ้างบริการจะหักที่ 3 เปอร์เซ็นต์

ค่าบริการหัก ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์

จะเป็นค่าจ้างบริการทั่วไปยกตัวอย่างเช่น

  • ค่าจ้างทำเว็บไซต์
  • ค่าตกแต่งภายใน
  • ค่าจ้างทำนามบัตร
  • ค่าอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการสถานที่
  • ค่าจ้างทำ Graphic Design
  • ค่าจ้างช่างถ่ายรูป
  • ค่าจ้างรีวิวสินค้า
  • และค่าบริการอื่นๆ

ในส่วนนี้จะเป็นค่าบริการทั้งหมด ซึ่งค่าบริการหัก ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซนต์ ค่ะ

ค่าจ้างทำของ หัก 3 เปอร์เซ็นต์

ให้ดูในส่วนวัสดุเป็นหลัก สมมติว่า เราเป็นกิจการขายเสื้อผ้า แล้วเราจ้างอีกบริษัทหนึ่งตัดเย็บเสื้อผ้าให้ โดยเราเป็นคนซื้อผ้าเพื่อให้บริษัทนั้นเป็นคนตัดเย็บให้เพื่อให้ได้สินค้า กรณีนี้ถือว่าเป็นค่าจ้างทำของสามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์ได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นกรณีเราจ้างบริษัทหนึ่งตัดเย็บเสื้อผ้าให้และบริษัทนั้นเป็นคนซื้อผ้าหรือวัสดุอื่นๆ เอง ในกรณีนี้จะไม่ได้เป็นค่าจ้างทำของนะคะ จะเป็นการซื้อสินค้าแทนค่ะ จะไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ค่ะ

ค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5 เปอร์เซ็นต์

สำหรับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องดูว่าใครมีอำนาจในการถือกุญแจ และต้องมีสัญญาเช่าที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราไปเช่า อาคาร รถยนต์ หรือห้อง ในส่วนนี้ถ้าเรามีอำนาจในการถือกุญแจและมีการทำสัญญาเช่าชัดเจน ถือว่าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5 เปอร์เซ็นต์ค่ะ แต่ถ้าเราไปเช่นห้องเพื่อสัมนาเป็นครั้งคราว หรือเช่ารถพร้อมคนขับ กรณีนี้ถือว่าเป็นค่าบริการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 เปอร์เซ็นต์ค่ะ

ยอดไม่ถึง 1,000 บาท ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

หากยอดเงินได้ไม่ถึง 1,000 บาท เราไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่ะ แต่ถ้าเป็นค่าบริการอื่น อย่างเช่น ค่าอินเทอร์เน็ตหรือค่าโทรศัพท์ ที่มีการจ่ายตามสัญญาในส่วนนี้ต้องหักษี ณ ที่จ่าย ถึงแม้ว่ายอดจะไม่ถึง 1,000 บาทค่ะ

สำหรับคนที่เริ่มจดบริษัทหรือแม้กระทั้งผู้รับเงินก็อาจจะ งง ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ? ไม่มากก็น้อย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเรื่องภาษีมากขึ้นนะคะ และสุดท้ายนี้หากเรามีเงินได้ก็อย่าลืมเสียภาษีตามกฏหมายกันด้วยนะคะ

นามบัตร ต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

สำหรับยอดเล็กๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่! ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท

จ้างทำของ ต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ การรับจ้างผลิตสินค้าดังกล่าวถือเป็น การรับจ้างทำของอยู่ในบังคับต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0.

ใครต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

สรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ทยอยจ่าย ...

ทำไมต้องมีการหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้ทำไม? ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรบอกไว้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” คือตัวช่วยในการลดภาระผู้เสียภาษี ไม่ต้องเสียภาษีเยอะๆ ทีเดียวตอนปลายปีครับ แต่ว่าถ้ามองในอีกแง่ คือ เค้ากลัวเราเบี้ยวเงินภาษีเงินได้ปลายปีมากกว่า กลัวไม่มีตังค์จ่าย ก็เลยทยอยๆ รับเงินไว้เลย ตอนที่เราได้รับเงินนั้นเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf