สารอาหารที่ เหมาะ กับ นักกีฬา

การเตรียมตัวสำหรับนักวิ่ง นอกจากจะมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นอย่างยิ่งคือการรับประทานอาหารที่จะช่วยให้นักวิ่งมีพละกำลังและสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ขณะวิ่ง รวมถึงการชดเชยพลังงาน การฟื้นฟูร่างกายภายหลังจากการวิ่ง

ดังนั้นนักวิ่งจึงควรมีการวางแผนการรับประทานอาหารเป็นขั้นตอน ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขันเพื่อให้ร่างกายฟิตสมบูรณ์ที่สุด มีความทนทานและสามารถวิ่งด้วยสมรรถภาพที่ดีไปตลอดการแข่งขัน ซึ่งแบบแผนการรับประทานอาหารแบ่งออกตามช่วงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 1 : 5 วันก่อนวิ่ง

การเตรียมตัวช่วง 5 วันก่อนแข่งควรเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารให้สูงขึ้นตามระยะเวลาการฝึกซ้อมหรือระยะที่สอดคล้องกับการแข่งขันเพื่อเป็นการสะสมพลังงานสำรองในรูปไกลโคเจน ร่างกายสามารถสะสมไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อ 80% ที่ตับ 14% ส่วนอีก 6% จะอยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด

จากงานวิจัยของ ดร.Asker Jeukendrup มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เปรียบเทียบการวางแผนการรับประทานอาหารของนักวิ่ง เป็นระยะเวลา 11 วันก่อนวิ่ง กลุ่มแรก ใช้คาร์โบไฮเดรตต่ำ ร้อยละ 41 กลุ่มที่สองใช้คาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 65 พบว่า กลุ่มนักวิ่งที่ใช้คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 41 รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรงเร็วขึ้น ขณะที่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 65 สามารถรักษาระดับพลังงานและสมรรถภาพในการวิ่งไปจนจบการแข่งขันได้ จากงานวิจัยสรุปว่า นักวิ่งที่สะสมไกลโคเจนในร่างกายน้อยมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพร่างกายที่ลดลง มีความเหนื่อยล้ามากขึ้น

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำสำหรับนักวิ่งช่วงเตรียมตัว 5 วัน ก่อนวิ่ง

ระยะเวลาในการวิ่ง / ปริมาณคาร์โบไฮเดรต

  • 30 นาที – 1 ชั่วโมง / วัน ปริมาณ 2 – 4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • 1 – 3 ชั่วโมง / วัน ปริมาณ 4 – 6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • 3 – 4 ชั่วโมง / วัน ปริมาณ 5 – 8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • มากกว่า 4 ชั่วโมง / วัน ปริมาณ 8 – 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ตัวอย่างเช่น นักวิ่งเพศชาย หนัก 70 กิโลกรัม ฝึกซ้อมการวิ่งมาราธอนเป็นเวลา 3 – 4 ชั่วโมงต่อวัน มีความต้องการคาร์โบไฮเดรตประมาณ 350 – 560 กรัมต่อวัน

ตัวอย่างแป้ง ธัญพืช ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตในอาหาร 15 – 18 กรัม

  • ข้าวสวย 5 ช้อนโต๊ะ ก๋วยเตี๋ยวลวก 8 ช้อนโต๊ะ
  • ข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ ข้าวโพด ½ ฝัก
  • ขนมปัง 1 แผ่น ขนมปังเบอร์เกอร์ ½ คู่
  • วุ้นเส้นลวก / เส้นหมี่ลวก 10 ช้อนโต๊ะ มันหวาน / เผือก ½ ถ้วยตวง
  • ข้าวโอ๊ต / ซีเรียล ½ ถ้วยตวง โจ๊ก 1 ถ้วยตวง
  • มักกะโรนี / สปาเก็ตตี้ ½ ถ้วยตวง ข้าวต้ม ¾ ถ้วยตวง
  • แครกเกอร์ 2.5×2.5 นิ้ว 2 แผ่น ขนมจีน 1 จับเล็ก
  • คุ้กกี้ 2 ชิ้น บราวนี่ 1 ชิ้น
  • โดนัท 1 ชิ้น แยม 1 ช้อนโต๊ะ
  • ช็อกโกแลต 4 ชิ้น วุ้นกะทิ 1 ชิ้น

การเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานพบว่า การผสมผสานระหว่างคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนให้ประสิทธิภาพในการส่งเสริมสมรรถภาพของนักวิ่งได้เป็นอย่างดี

ช่วงที่ 2 : 1 วันก่อนวิ่ง

รับประทานอาหารอาหารปกติ เมนูที่คุ้นเคยหรือที่เคยรับประทานอยู่เป็นประจำให้ครบมื้อ ปริมาณข้าว แป้ง คาร์โบไฮเดรตสูงเท่าเดิมเหมือน 5 วันที่ผ่านมา รับประทานแหล่งของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ย่อยง่าย เช่น ปลานึ่ง ปลาย่าง ไก่ย่างไม่ติดหนัง ผัดผัก ผักลวก งดรับประทานผักสดและผลไม้ปริมาณมาก งดอาหารประเภท ส้มตำ ยำรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารทะเลปิ้งย่าง ปลาดิบ อาหารกากใยสูง ถั่วต่าง ๆ ปริมาณมาก เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือกระตุ้นการขับถ่ายท้องช่วงก่อนวิ่งในวันรุ่งขึ้น

ช่วงที่ 3 : 1 – 2 ชั่วโมงก่อนวิ่ง

โดยปกติการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนมักจะจัดขึ้นช่วงเช้ามืด ดังนั้นนักวิ่งควรมีการเตรียมพร้อมร่างกายและเตรียมตัวรับประทานอาหารอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมงก่อนลงทำการแข่งขัน

ตัวอย่างอาหารที่เหมาะสมในช่วงนี้ควรเป็นอาหารย่อยง่ายให้พลังงานสูง เช่น มันหวาน ข้าวโอ๊ต ขนมปังทาแยม แซนด์วิชทูน่า วาฟเฟิล โดนัท ขนมปังสังขยา ขนมปังลูกเกด ครัวซองต์ บัตเตอร์เค้ก ข้าวเหนียวหมูหวาน หมูฝอย ข้าวเหนียวสังขยา โจ๊กใส่ไข่ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ไขมันสูง ย่อยยาก กากใยสูง หรือนักวิ่งบางรายที่ดื่มนมหรือกาแฟตอนเช้ามักจะมีอาการท้องเสียหรือกระตุ้นการขับถ่าย อาจจะต้องงดกลุ่มนมหรือกาแฟไปก่อนในวันแข่งขัน

ช่วงที่ 4 : ขณะวิ่ง

ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรต 30 – 60 กรัมต่อชั่วโมงในการวิ่ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การวิ่ง อาหารที่เหมาะสมสำหรับนักวิ่งช่วงนี้ควรจะอยู่ในรูปแบบน้ำ เจล แบบเม็ดเคี้ยวง่าย ๆ ย่อยง่ายไม่หนักท้อง แน่นท้อง เช่น เจลซองพร้อมดื่มสำหรับนักกีฬา เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำผลไม้ ช็อกโกแลต เยลลี่ เป็นต้น

ส่วนการดื่มน้ำขณะวิ่ง ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมากทีเดียว เนื่องอาจจะทำให้เกิดการจุก แน่นท้อง ควรจิบปริมาณน้อย ๆ เรื่อย ๆ ตามจุดที่พักให้น้ำ

ช่วงที่ 5 : หลังวิ่งภายใน 1 ชั่วโมง

ภายหลังจากการวิ่งเสร็จ ร่างกายจะเกิดภาวะพร่องไกลโคเจนจึงจำเป็นต้องชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปขณะวิ่ง หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือช้าไป อาจทำให้ร่างกายเกิดการอ่อนล้า ฟื้นตัวช้า เกิดการบาดเจ็บสะสมได้ง่าย สารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ คาร์โบไฮเดรตเพื่อให้พลังงานและเติมไกลโคเจนกลับคืนให้แก่ร่างกาย

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการวิ่งควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว เพื่อนำไปใช้ชดเชยพลังงานอย่างทันทีทันใด รวมไปถึงแร่ธาตุที่จำเป็น ได้แก่ โซเดียม ได้แก่ เครื่องดื่มนักกีฬา นมช็อกโกแลต น้ำผลไม้ ขนมปังสังขยา วาฟเฟิล โดนัท บัตเตอร์เค้ก ยังรวมไปถึงผลไม้ที่มีน้ำมากและแร่ธาตุโพแทสเซียม เช่น แตงโม สับปะรด ส้ม กล้วย เป็นต้น

นอกจากนี้โปรตีนยังจำเป็นในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับมาสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการล้า อ่อนเพลีย และฟื้นฟูอาการบาดเจ็บภายหลังจากการวิ่งได้ ตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมภายหลังการวิ่ง ได้แก่ นมสด, นมถั่วเหลือง, ลูกชิ้นปิ้ง โปรตีนบาร์, เวย์โปรตีน, ซาลาเปาหมูสับ, ขนมจีบ, แซนด์วิชทูน่า, ไข่ต้ม, ถั่ว, ขนมถั่วกวน

ภายหลังจากการวิ่งหากน้ำหนักตัวลดลง ปากแห้ง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม เวียนศีรษะ อ่อนเพลียแสดงว่าร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำเป็นอย่างมาก ควรดื่มน้ำอุณหภูมิเย็นพอควรเพื่อดับกระหายให้สดชื่นและชดเชยน้ำที่สูญเสียไปในขณะวิ่งให้เพียงพอ จนกระทั่งอาการดังกล่าวดีขึ้น

นักกีฬาควรได้รับสารอาหารประเภทใด

อาหารที่ควรรับประทาน ควรเน้นหนักไปทางอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อย่าง ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว หรือผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล พร้อมกับทานอาหารกลุ่มอื่นในปริมาณพอเหมาะ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำและปรุงอาหารโดยใช้ไขมันน้อย อย่างเช่น อกไก่ต้ม ปลานึ่ง ทูน่า

อาหารชนิดใดที่ไม่เหมาะสมกับนักกีฬา

อาการประเภทไขมัน นักกีฬาไม่ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันมากเกินไป โดยคุณควรได้รับไขมันเข้าสู่ร่างกายเพียง 30-50 เปอเซ็นต์ ในการใช้พลังงานระดับปานกลาง-ระดับเข้มข้นเท่านั้น เพื่อนำมาเป็นแหล่งเชื้อเพลิงในการใช้แรงขับเคลื่อนของอวัยวะต่าง ๆ ในแต่ละวันในปริมาณที่พอดี และยังเป็นการป้องการการสะสมไขมันส่วนเกิน

อาหารอะไรบ้างที่เป็นสารอาหารคาร์โบที่นักกีฬาควรได้รับ

คาร์โบไฮเดรตสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดทั้งในพืชและสัตว์ แหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่ดีสําหรับนักกีฬา ควรได้จากแป้ง ข้าว ธัญพืชไม่ขัดสีผัก และผลไม้ เช่น ขนมปังโฮลวีท แครกเกอร์ พาสต้าโฮลวีท ข้าวสาลี ข้าว โอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ถั่วเมล็ดต่างๆ เผือก มัน มันฝรั่ง แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม ลูกเกด เป็นต้น เพราะนอกจากจะให้ ...

นักกีฬาควรทานอาหารชนิดใดเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ

นักกีฬาควรบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเพื่อ ทดแทนไกลโคเจนในกล้ามเนื้อที่ร่อยหรอไปจากการออก กำลังกาย อาหารหรือของว่างที่เลือกรับประทานควรเป็น ชนิดที่ให้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสสูง (ข้าว ขนมปัง มัน ผลไม้ หวาน) เรื่องจะเริ่มต้นรับประทานเมื่อไรนั้นคงขึ้นอยู่กับชนิด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf