ชื่อตราสัญลักษณ์ ฉลากเขียว

ในปัจจุบัน เราเห็นข่าวเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติในหลายพื้นที่ที่เป็นผลพวงมาจากสภาวะโลกร้อนแทบทั้งสิ้น จึงไม่แปลกเลยที่ทั่วโลกจะต้องหันมาตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างในประเทศไทยเอง ทั้งภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ก็เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับการ รักษ์โลก ด้วยการประหยัดพลังงาน การปลูกต้นไม้ทดแทน และการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศกันมากขึ้น

ยังแฮปปี้จึงอยากจะพาพี่ๆ ไปรู้จักกับ 5 สัญลักษณ์ของ ผลิตภัณฑ์ รักษ์โลก ที่ใช้ในประเทศไทย เพื่อเพิ่มความเข้าใจในฉลากหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และเพื่อที่พี่ๆ จะสามารถเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องนั่นเอง 

1.ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

คงไม่มีใครไม่รู้จัก ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่มักจะเห็นติดตามแอร์ ตู้เย็น หรือเครื่องซักผ้า ฉลากนี้ออกโดยกระทรวงพลังงาน เพื่อแสดงระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า เราจะได้ตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาวได้อย่างถูกต้อง โดย สัญลักษณ์ 5 ดาว หมายถึงประสิทธิภาพในการประหยัดไฟที่ดีที่สุดนั่นเอง 

2.สัญลักษณ์ FSC

FSC หรือ Forest Stewardship Council คือองค์กรพิทักษ์ป่าซึ่งทำหน้าที่ดูแลและส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทดแทนในป่าหมุนเวียน ดังนั้นสินค้าใดก็ตามที่มีสัญลักษณ์ FSC กำกับอยู่ จะถือว่าเป็นสินค้าที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ทดแทนไม้ที่นำไปใช้ในการผลิตและแปรรูป ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้รับการยอมรับในระดับสากลเลยทีเดียว  

3.ฉลากเขียว

ฉลากเขียว คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งมีองค์กรกลางเป็นผู้ให้การรับรอง การติดฉลากเขียวบนสินค้ามีความหมายว่า สินค้านี้ได้รับการตรวจสอบแล้วว่า มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ และการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับการรับรอง เช่น สุขภัณฑ์ หากมีฉลากเขียวติดอยู่ แสดงว่าสุขภัณฑ์นี้ประหยัดน้ำกว่าแบบอื่น

4.ฉลาก Carbon Reduction

หนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และนี่เองคือที่มาของฉลาก Carbon Reduction หรือ ฉลากลดคาร์บอน เครื่องหมายซึ่งแสดงว่าสินค้าดังกล่าวมีกระบวนการผลิตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำ โดยสินค้าฉลากลดคาร์บอนจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยร้อยละ 10 ขึ้นไป พิจารณาจากการลดการใช้ไฟฟ้า วัตถุดิบ หรือการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดในการผลิต เป็นต้น 

5.สัญลักษณ์ Green Industry

อุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry เป็นหนึ่งในนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน สินค้าที่มีสัญลักษณ์ Green Industry ติดอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ไม้ฝา ไม้อัด ฉนวนกันความร้อน หรืออุปกรณ์ต่อเติมตกแต่งต่างๆ ถือว่าได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 สัญลักษณ์สีเขียวบนสินค้าต่างๆ ในบ้านเรา ดูแล้วคงรู้สึกคุ้นหูคุ้นตากันบ้าง เพราะประเทศไทยเองก็เริ่มให้ความสนใจกับการ รักษ์โลก และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ซึ่งหากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกคนร่วมมือร่วมใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ด้วยการการเลือกซื้อสินค้าที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ เราก็คงจะสามารถรักษาโลกใบนี้ไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างแน่นอน  

อ้างอิง
ฉลากเขียว (The Thai Green Label Scheme) - Posts | Facebook
อยากรักโลก ต้องรู้จักสัญลักษณ์อะไรบ้าง? - โครงการ "แยก แลก ยิ้ม" (yaklakyim.com)

การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประชากรโลก ทำให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประเด็นกระแสที่ถูกพูดถึงไม่จบสิ้น เป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทำให้ผู้คนหลายๆ ประเทศตื่นตัวและตระหนักในการแก้ปัญหาร่วมกันผ่านการริเริ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดโลกร้อน เช่น การใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลงหรือใช้ถุงผ้าทดแทน การยกเลิกพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม การไม่ใช้หลอดพลาสติก เหล่านี้เป็นยุทธวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนให้รักษ์โลกมากขึ้น เช่นเดียวกันกับโครงการฉลากเขียว ที่หลายๆ คน อาจจะเคยบังเอิญสังเกตเห็น ฉลากสีเขียววงกลมที่มีรูปนก ต้นไม้และหน้าเด็กยิ้ม ชวนให้สงสัยว่าฉลากสีเขียวนี้คืออะไร และเป็นประโยชน์กับเราอย่างไร

ฉลากเขียวคืออะไร ?

ฉลากเขียว (Green label) หรือฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (eco-label) เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 (ตาม ISO) ที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าชิ้นนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนการกำจัดทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน โดยมีองค์กรกลางเป็นผู้ให้การรับรอง

วิวัฒนาการของฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ eco-label  เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมนีเป็นหัวหอกและนับประเทศแรกที่เอาจริงเอาจังในการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ใช้ฉลากที่เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า (Blue Angel) ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย ฉลากนางฟ้าสีฟ้า ได้เริ่มจากการใช้คำว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltfreundlich (Environment Friendly) มาแก้ไขเป็น ฉลากสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltzeichen (Environment Label) ในปี พ.ศ. 2531 เพื่อหลีกเลี่ยงคำโฆษณาต่างๆ ที่มักใช้ประโยคว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ในกลุ่มสหภาพยุโรปเอง ก็มีฉลาก EU-Eco Label หรือที่เรียกว่า EU – Flower ของสหภาพยุโรป เป็นตราสัญลักษณ์ฉลากสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศในสหภาพยุโรปที่แสดงให้เห็นว่า สินค้าเหล่านั้นมีการผลิตและได้รับการรับรองแล้วว่ามีวงจรชีวิต (Life Cycle) ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบในการผลิต กระบวนการผลิตเป็นสินค้า และผลกระทบของคุณภาพสินค้าต่อผู้บริโภค เช่น การรักษาคุณภาพน้ำ อากาศ ดิน และเสียง รวมทั้งเรื่องการประหยัดพลังงาน โดยพิจารณาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิต ทั้งในเรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกาจัดกากเหลือใช้หรือการนากลับมาใช้ใหม่ 

EU Eco-label มีสัญลักษณ์เป็นรูปดอกไม้และมีรูปตัวอีคล้ายสัญลักษณ์ของเงินยูโรแทนเกสรดอกไม้ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปี 2536


สำหรับประเทศไทย โครงการฉลากเขียวริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน Thailand Business Council for Sustainable Development (TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2536 โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ

โครงการฉลากเขียวเกิดขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานอิสระที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริโภค มีความเป็นกลาง โปร่งใส เชื่อถือได้ โดยมีการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าสีเขียวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเกิดจากการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดนำหน่ายโดยอิสระเท่านั้น

ฉลากเขียว เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ตามมาตรฐาน ISO14024 เริ่มดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2537 โดยฉลากเขียวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ได้รับรองระบบงานGenesis (เจเนซิส) ของเครือข่ายฉลากสิ่งแวดล้อมโลก Global Ecolabelling Network (GEN) มีสมาชิกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล Common Core Criteria (CCC) และในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิก อาจลงนามบันทึกความเข้าใจ Memorandum of Understanding (MOU) ร่วมกันเพื่อดำเนินงานร่วมกันระดับองค์กร ในการยอมรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์เดียวกัน

ปัจจุบันฉลากเขียวได้ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันกับหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ เพื่อการรับสมัครขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม และ การตรวจประเมินสถานประกอบการ (On-Site Assessment) แทนกันของประเทศที่มีความร่วมมือ ในการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มาเลเซีย และเยอรมนี

นอกจากนี้ ฉลากเขียวยังได้มีการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล Common Core Criteria (CCC) เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ถูกนำเข้าหรือส่งออกในตลาดระหว่างประเทศ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printers) เครื่องถ่ายเอกสาร (Copiers) และผลิตภัณฑ์เครื่องฉายดิจิตอล (Digital Projectors)

แนวคิดและวัตถุประสงค์ของโครงการฉลากเขียว

ฉลากเขียวเป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนด โดยความสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค โดยการกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาด รวมถึงกระตุ้นให้รัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อม และลดปัญหามลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในสังคม

ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการฉลากเขียว มาจากแนวคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมภายในประเทศ

2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

3. ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่สะอาด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

ผู้บริโภคได้อะไรจากการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีฉลากเขียว

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวนั้นมีข้อกำหนดและการพิจารณาแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทั้งในแง่การผลิต การใช้ การทิ้งทำลาย และความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ เรียกว่าครบทั้งวงจรวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งจะคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การใช้และการกำจัดทิ้งหลังการใช้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลัก 3R คือ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 

การที่ผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกันลดปัญหาโลกร้อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียวยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่ามีคุณภาพสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีความปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นอันตราย เนื่องจากมีการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้บริโภคยังได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัยอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว

ผลิตภัณฑ์ที่สามารถขอการรับรองฉลากเขียวได้นั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สินค้า และบริการ (บางประเภท) ยกเว้น ยา เครื่องดื่ม และอาหาร เนื่องจากการติดฉลากเขียวบนผลิตภัณฑ์ยา เครื่องดื่มและอาหาร มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในการบริโภค เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคได้

ปัจจุบันฉลากเขียวของประเทศไทย มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่พร้อมให้ผู้ผลิตยื่นขอรับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวแล้ว จำนวน 124 ผลิตภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิ์ให้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียว รวมทั้งสิ้น 674 รุ่น ใน 30 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และ 72 บริษัท/ผู้ผลิต (ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว) (ข้อมูลเผยแพร่ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว ประจำเดือน ม.ค.2561; //www.tei.or.th/greenlabel/download/2018-01-Name-GL-th.pdf) โดยผู้บริโภคสามารถดูรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว และรายชื่อห้องปฏิบัติการทดสอบที่ยอมรับผลโดยฉลากเขียว (ISO/IEC 17025) ได้ที่เว็บไซต์ www.tei.or.th/greenlabel

นอกจากฉลากเขียวแล้ว ภาครัฐยังมีการส่งเสริมระบบการติดฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ฉลากคาร์บอน ฉลากประหยัดพลังงาน ฉลากรับรองไม่ทำลายป่าไม้ ฉลากลดการใช้น้ำ และเกียรติบัตรใบไม้สีเขียวสำหรับธุรกิจโรงแรม เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า สินค้านั้นๆ มีคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันที่ไม่มีฉลากรับรอง

ทั้งนี้ การอ่านฉลากสินค้าจะช่วยให้เราทราบข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อหาหรือใช้บริการอย่างปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้มีการแสดงหรือระบุข้อความบนฉลากตามข้อกฎหมาย โดยฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า โดยหากผู้บริโภคพบเจอสินค้าที่มีข้อความบนฉลากที่เป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้ดำเนินการกับผู้ประกอบการที่กระทำผิดตามกฎหมายได้

ในฐานะพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Active Citizen) อย่างเราๆ การเลือกสรรหรือลดการบริโภคด้วยการเริ่มเป็นผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumers) ที่รู้จักประมาณการบริโภคและตระหนักว่า การบริโภคทุกอย่างล้วนส่งผลกระทบต่อตนเองและสังคม การเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว ก็นับเป็นกิจกรรมที่มุ่งสู่การบริโภคที่พอเพียงบนวิถีแห่งการรักษ์โลกที่แท้จริงเช่นกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- www.tei.or.th/greenlabel

-ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว (//progreencenter.org)

-สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

สัญลักษณ์สีเขียวมีรูปหน้าเด็กยิ้ม ต้นไม้และนกที่อยู่ร่วมกันในโลกที่เห็นนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “ฉลากเขียว” ของประเทศไทย 


-----------------------------------------------------------------------------

ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING)

“ฉลากสิ่งแวดล้อม” เป็นกลไกการสื่อสารและบ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภครับทราบ โดยฉลากสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ     

ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024)เป็นฉลากที่บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด โดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third party) โดยจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบใช้วิธีพิจารณาแบบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Consideration) ในประเทศไทยมีการออกฉลากประเภทที่ 1 ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ฉลากเขียว” 

ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 ( ISO14021)เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออก จะเป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง (Self-declared Environmental Claims)  ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของข้อความ หรือสัญลักษณ์ รูปภาพ เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัด การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น โดยฉลากนี้ จะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อมีคนสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเอง

ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ( ISO14025)เป็นฉลากที่บ่งบอกถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการแสดงข้อมูลสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Environmental information) โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เข้ามาประเมิน ตามมาตรฐาน ISO 14040 โดยฉลากนี้ จะมีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรกลางในการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะประกาศลงกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ


ใส่จำนวนเงินที่ต้องการบริจาค

  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค ฉลากเขียว สัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม

ฉบับที่ 259 เรียนรู้จาก Forex 3D เพราะการลงทุนไม่มีทางลัด

Time line เหตุการณ์        ·  ตุลาคม 2561 ขาดสภาพคล่อง เริ่มระส่ำระส่าย จ่ายช้า แต่ยังพอมีเงินหมุนเวียน        ·  ธันวาคม 2561 ใช้วิธีหลอกล่อโดยให้กำไรมากกว่า 20% หลายๆคนคิดว่าเทรดจริงและเดือนนี้ได้กำไรยอะกว่าทุกเดือน หลายๆคนเพิ่มทุนเข้าไปอีก และได้ลูกค้าใหม่อีกหลายร้อยคน เพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยทีมหน้าม้า แปะสลิปรับโอนปะปนกับคนที่ได้เงินคืนจริงด้วยอยู่เสมอ        ·  ต้นปี 2562 เริ่มจ่ายช้าลงอย่างเห็นได้ชัด        ·  พฤษภาคม 62 บางส่วนเข้าไปเจรจากับบริษัททางบริษัทเริ่มปิดข่าวไม่ได้ ก็เจรจาว่าจะโอนคืนให้ แต่ต้องเงียบห้ามโวยวาย        ·  บริษัทเริ่มปล่อยข่าว เงินติดแบงค์ชาติ, ผู้ถือหุ้น เพื่อนสนิท คนในบริษัทโกง เทสระบบปรับเปลี่ยนคลาส เพื่อให้จุดโฟกัสของนักลงทุน เบี่ยงเบียนไปจากเรื่องเงิน        ·  หลัง ก.ค. เงียบ ทำให้ผู้เสียหายตั้งกรุ๊ปไลน์รวมตัว เริ่มเข้าแจ้งความ แต่ทางบริษัทสร้างกลุ่มประจาน ข่มขู่ ผู้เสียหาย และผู้บริหาร ยังพูดจาให้ความหวังอยู่        ·  ต่อมาผู้บริหารไปปิดบัญชี โอนเงิน ถอนออกก้อนสุดท้ายที่ถอนหมดบัญชี ในเดือนกันยายน 62        ·  พฤศจิกายน 2562 DSI รับเป็นคดีพิเศษ        ·  ธันวาคม 2562 เริ่มยึดทรัพย์ อายัตบัญชี        ·  ปี 2563 ตีเช็คเงินสดให้ผู้เสียหาย มีการปล่อยข่าวคนใกล้ชิดโกงเงิน โทษกระบวนการทางราชการที่ทำให้จ่ายเงินเครือข่ายไม่ได้จากเพจ "รวบรวมผู้โดนโกง จาก Forex 3d"เวลานี้น่าจะมีน้อยคนที่ไม่เคยได้ยินชื่อ Forex 3D ขบวนการแชร์ลูกโซ่ที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอคาดว่ามูลค่าความเสียหายอาจสูงกว่า 4 หมื่นล้านบาท มีบุคคลในวงการบันเทิงเข้าไปพัวพันด้วยจำนวนมากและประชาชนเกือบหมื่นคนที่เป็นผู้เสียหาย         ย่อความให้เห็นที่มาที่ไปกันสักนิด อภิรักษ์ โกฎธิ ก่อตั้งบริษัท RMS Famelia Co. Ltd. และสร้างเว็บไซต์ Forex 3D ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ตามมาด้วยกระบวนการเชื้อเชิญประชาชนให้เข้ามาร่วมร่ำรวยกับ Forex 3D ด้วยการโอนเงินเข้าไปยังบริษัทจากนั้นก็แค่รอรับดอกเบี้ยเดือนละ 10-15 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ต้องทำอะไร        อภิรักษ์อ้างว่าตนเองมีทีมงานที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก ค่าเงิน และยังมีโปรแกรมเอไอช่วยอีกแรง ซึ่งในช่วงต้นผู้ที่ลงทุนกับ Forex 3D ก็ได้รับดอกเบี้ยกลับมาจริงดังที่กล่าวอ้าง กระทั่งปลายปี 2561 ดอกเบี้ยก็หยุดจ่ายผู้ที่ขอคืนเงินต้นก็ไม่ได้คืน แล้วความฝันก็พังทลายลง ลูกไม้เดิมๆ ที่ไม่มีวันหมดอายุ         ทำไม Forex 3D สามารถสร้างความเสียหายทั้งในแง่ทรัพย์สินและจำนวนได้มากมายขนาดนี้?         ถ้าพูดด้วยภาษาของคนที่คลุกคลีในแวดวงการลงทุนและตลาดหุ้นต้องบอกว่า มนุษย์ขับเคลื่อนด้วยความโลภและความกลัว ในกรณี Forex 3D ชัดเจนว่าความโลภทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งก็ว่าไม่ได้เพราะถ้ามีหนทางสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำโดยไม่ต้องลำบากและยังได้รับถ่ายทอดความคิดจากกลางกระแส passive income เป็นใครก็คงไม่ปฏิเสธแต่นั่นยังไม่เพียงพอในการสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้น กระบวนการปั่นความน่าเชื่อถือของ Forex 3D จึงเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่การมีที่ตั้งบริษัทอยู่บนถนนรัชดาย่านธุรกิจของกรุงเทพ การจ่ายผลตอบแทนในอัตรา 10-15 เปอร์เซ็นต์จริงตามที่โฆษณา หมายความว่าถ้าคุณลงทุนกับบริษัทนี้ 1 ล้านบาท คุณจะได้ผลตอบแทนกลับมา 100,000-150,000 บาททุกเดือน แม้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกจะไม่สามารถถอนเงินต้นได้ก็ตาม แต่การได้รับผลตอบแทนขนาดนี้จะทำให้คนยินดีรอเพราะเชื่อว่าแค่ 10 เดือนก็จะคืนเงินต้น จากนั้นก็เป็นกำไรล้วนๆ         ตรงนี้จะสร้างกระแสเล่าลือแบบปากต่อปากดึงดูดเหยื่อเข้ามา ยิ่งถ้าสามารถหาสมาชิกใหม่เข้ามาเพิ่ม ผลตอบแทนที่ได้รับก็ยิ่งสูงขึ้นกลเม็ดอีกประการคือการแสดงความร่ำรวย การโชว์พอร์ต โชว์ผลตอบแทนที่แท้จริง การจัดสัมมนา พาไปดูบริษัทหรือสินทรัพย์ที่มีตัวตน สมาชิกถ่ายรูปคู่กับสินทรัพย์ราคาแพงอย่างรถสปอร์ตหรือบ้านแล้วเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย เดือนสิงหาคม 2561 อภิรักษ์ยังเปิดตัวโชว์รูมรถ RKK Auto Car ที่ขายเฉพาะรถหรูระยับเท่านั้น การมีรูปถ่ายและความสัมพันธ์กับดาราที่มีชื่อเสียง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนจะหลงเชื่อ         ที่แปลกคือทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีการเดิมๆ ซ้ำๆ ของเหล่ามิจฉาชีพ ใช้เกณฑ์ ก.ล.ต. ตรวจหาสิ่งผิดสังเกต         กระแสการลงทุนที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันคือคริปโตหรือสินทรัพย์ดิจิทัล มีทั้งที่ถูกกฎหมายได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมักปรากฎโฆษณาบ่อยครั้งตามโซเชียลมีเดียต่างๆ         ภญ.ชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา กล่าวว่า ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องพยายามออกกติกาการกำกับดูแลเนื่องตอนนี้มีการโฆษณาการลงทุนออนไลน์จำนวนมาก ซึ่งการลงทุนที่น่ากังวลคือการลงทุนในเงินหรือสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งยังไม่เทียบเท่ากับเงิน         “เพราะฉะนั้นมันจะขึ้นๆ ลงๆ พอเราลงทุนไปแล้ว เราจะไม่รู้ว่าค่าเงินที่แท้จริงคืออะไร เลยต้องมีการกำกับโฆษณาไม่ให้เกินจริงหรือกำกับอินฟลูเอนเซอร์ที่โดนจ้างให้มาโฆษณา เราจะเห็นว่าการกำกับโฆษณาเกินจริงในสินค้าอื่นมี สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ดูแล ในผลิตภัณฑ์อาหารและยามี อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ดูแล แต่สำหรับผลิตภัณฑ์นี้มันเริ่มยาก ก.ล.ต. ต้องมากำกับดูแล         “บริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก กลต. จะมีการคุมเข้มมาก มันกลายเป็นกรอบกติกาว่าถ้าโฆษณานอกเหนือจากเว็บไซต์หรือช่องทางที่เป็นทางการของคุณแล้วถือว่าผิด พื้นที่การโฆษณาโดนกระชับพื้นที่เยอะมาก ถ้าเราเห็นโฆษณาลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ให้เราเอาชื่อไปเช็คจากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. ถ้ามันไม่ใช่ก็โฆษณาไม่ได้ไม่ว่าจะน่าเชื่อถือขนาดไหน”         ทั้งนี้ทาง ก.ล.ต. ได้ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์การโฆษณาและการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา มีเนื้อความว่า         1. ต้องโฆษณาไม่เกินความจริง                2. มีการแสดงข้อมูลด้านบวกหรือโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนและต้องมีการแสดงข้อมูลด้านลบหรือความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลควบคุม (balanced view)         3. กำหนดให้โฆษณาคริปโตทำได้ในช่องทางทางการของผู้ประกอบธุรกิจ (official channel) เท่านั้น (กรณีโปรโมตธุรกิจเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เจาะยี่ห้อเหรียญยังสามารถโฆษณาผ่านสื่อทั่วไปได้ทั้งหมด) และสำหรับผู้ประกอบการรายใดมีการเผยแพร่โฆษณาอยู่ก่อนแล้ว เช่น โฆษณาบนบิลบอร์ด เป็นต้น ต้องถอนออกภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ โดยได้ส่งหนังสือและสั่งให้แต่ละบริษัทดำเนินการตามกำหนดและทำตรารับรองส่งกลับมาให้ ก.ล.ต. การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง         ธนัช ธรรมิกสกุล หัวหน้าฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำผู้บริโภคอีกว่า กรณีที่มีการชักชวนให้ลงทุน ผู้บริโภคควรบันทึกเสียงเอาไว้เพราะผู้ชักชวนจะต้องแจ้งชื่อและรหัสการขายเสมอ หากมีการการันตีว่าสามารถทำผลตอบแทนได้เท่านี้ภายในระยะเวลาเท่านี้ เมื่อถือเวลาไม่สามารถทำได้ อย่างน้อยก็มีหลักฐานสำหรับการร้องเรียน เขายังแนะนำอีกว่า        “ก่อนอื่นเราต้องดูว่าการที่เขามาพูดหรือชักชวนนั้น สมมติลงทุน 100 บาทได้ 10 บาทภายในระยะเวลา 1 เดือน เราอาจจะต้องฉุกคิดก่อนนิดหนึ่งว่ามันมีความเป็นไปได้ขนาดไหน ผมเข้าใจว่าเราต้องการเงินมาหล่อเลี้ยงชีวิต ถ้าเรามีเงินเหลือใช้จริง เราก็ลงทุนส่วนหนึ่ง แล้วก็เก็บอีกส่วนหนึ่งโดยไม่ไปกระทบกับส่วนอื่นๆ และต้อหาข้อมูลก่อนจะดำเนินการต่อไปเพราะต้องเจอจิตวิทยาของผู้ตั้งวงอยู่แล้วในกลุ่มมวลชน เราก็ไม่รู้ว่าเขาปั่นหรือเปล่า ก้อนแรก ก้อนสองได้อยู่แล้ว แต่พอเราลงทุนหนักเข้าไปสิ เราเริ่มติดเบ็ดเขา สู้ลงทุนก้อนแรกแล้วเราถอยเลย         “การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง แต่ถ้าเกิดแล้วเราก็ต้องเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทุกอย่าง แม้กระทั่งสลิปการโอน อบรมโดยใคร เพื่อจะได้โยงโดนตัวผู้กระทำความผิดให้ได้ทั้งหมด แล้วนำเรื่องเหล่านี้ไปร้องเรียน ไม่ว่าจะแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานมาช่วยกระพือ ติดต่อสื่อเพื่อให้เขารีบประชาสัมพันธ์ เพื่อไม่ให้เกิดผู้เสียในวงกว้างกว่านี้” ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาสั้น ต้องระวัง!         คราวนี้เรามาฟังคำแนะนำจากกูรูด้านการลงทุนกัน สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ         “ให้ดูลักษณะผลตอบแทน ผลตอบแทนอะไรที่ดูดีเกิน ยกตัวอย่าง ลงทุนไปร้อยบาทปันผลยี่สิบบาท พวกนี้ให้เริ่มระมัดระวัง ถ้าลงทุนในหุ้นเก่งๆ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปีก็ถือว่าเก่งมากแล้ว อย่างวอร์เรนต์ บัฟเฟตต์เองหรือใครก็ตามที่เป็นนักลงทุนระดับโลก 20 เปอร์เซ็นต์ 23 เปอร์เซ็นต์ 27 เปอร์เซ็นต์ (เป็นผลตอบแทนต่อปีในระยะยาว) คือเก่งสุดแล้ว ซึ่งตรงนี้เป็นจุดหนึ่งเลยที่นักลงทุนหลายคนหรือว่าคนที่อยากลงทุนมองข้าม” คำเตือนจากธนัฐ ศิริวรางกูร เจ้าของเพจคลินิกกองทุน         ก่อนการลงทุน สิ่งแรกๆ ที่ควรตรวจสอบก่อนคือผลตอบแทนว่ามีความเป็นไปได้จริงหรือไม่ กรณี Forex 3D ที่อ้างว่าจ่ายผลตอบแทน 10-15 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน ลองคำนวณดูว่าลงทุน 1 ล้านบาท แล้วได้ผลตอบแทน 10 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือนตลอด 1 ปีหรือ 1.2 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 120 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ขณะที่นักลงทุนเก่งๆ ระดับโลกต้องอาศัยเวลา 5 ปีถึง 10 ปีขึ้นไปแล้วนำผลตอบแทนมาหารเฉลี่ยเป็นผลตอบแทน 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ต่อปี         เมื่อใดก็ตามที่มีผู้อ้างว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงๆ ในระยะเวลาอันสั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการหลอกลวง         “ที่ต้องดูคู่กันคือ platform นั้นได้มาตรฐานจากทาง กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) หรือเปล่า คืออย่างน้อยมี กลต. มาคั่นก็ปลอดภัยระดับหนึ่ง”         อย่างไรก็ตาม พบว่าการกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐยังตามไม่ทันการลงทุนหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของเทคโนโลยี กลไกกำกับดูแลภาครัฐยากจะตามทัน         Forex 3D เป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจน ธนัฐอธิบายว่า Forex หรือ Foreign Exchange Market หรือตลาดซื้อขายอัตราเงิน ซึ่งเป็นการเก็งกำไรจากค่าเงิน ทาง กลต. ไม่ได้เป็นผู้กำกับดูแลแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงค์ชาติในการควบคุมเข้าออกของเงินสกุลต่างๆ         “แต่สินทรัพย์ Forex เป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง ฉะนั้น กลต. จะเป็นคนดูแล แต่ว่า กลต. ไม่ได้ไปควบคุมเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ฉะนั้นมันจึงเทาๆ นิดหนึ่ง ถามว่าใครผู้ดูแลหลักผมให้น้ำหนักไปที่แบงค์ชาติ”         สรุปได้ว่าตลาด Forex ไม่ถูกและไม่ผิดกฎหมายเพราะยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ มันจึงอยู่ในพื้นที่สีเทา อย่างไรก็ตาม ทาง ธปท. ได้ชี้แจงว่าตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศต้องทำกับผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเท่านั้น ซึ่งประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อของผู้ได้รับใบอนุญาตได้ทางเว็บไซต์ของ ธปท. (www.bot.or.th) และในปัจจุบันทาง ธปท. ก็ยังไม่มีการให้ใบอนุญาตแก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทางอินเทอร์เน็ต         นอกจากนี้ ธปท. ยังไม่อนุญาตให้ทำการโอนเงินไปต่างประเทศเพื่อชำระธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือ Forex ในเว็บไซต์ต่างประเทศ การฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ส่วนบุคคลที่แนะนำหรือโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตก็อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน         ธนัฐให้ความเห็นว่าไม่มีทางที่หน่วยงานรัฐจะสามารถออกเกณฑ์การกำกับดูแลได้ทันท่วงที ถือเป็นจุดบอดประการหนึ่ง เนื่องจากเกิดสินทรัพย์ใหม่ๆ ขึ้นตลอดเวลา หนทางที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้แก่ประชาชน         “ทำได้มากที่สุดก็คือฝั่งนักลงทุนต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนทุกครั้ง ก็คือเป็นเรื่องธรรมดาปกติ ไม่อยากบอกเลยว่าต้องดูแลตัวเอง” กลับสู่พื้นฐาน investment literacy         เขาเสริมว่า investment literacy เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องทำ ต้องเข้าใจสินทรัพย์ที่จะลงทุนเป็นอย่างดีก่อน ต้องรู้ว่าที่มาที่ไปของผลตอบแทนของสินทรัพย์นั้นมาอย่างไร กลไกสร้างผลตอบแทนมาจากไหน ยกตัวอย่าง Forex ที่โฆษณาว่าให้ผลตอบแทน 10 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน นักลงทุนต้องถามว่ามันมาอย่างไร เป็นไปได้หรือไม่ที่ค่าเงินที่เทรดจะสม่ำเสมอทุกเดือน เป็นต้น         “ผมอยากให้ทุกคนกลับมาที่เบสิค การบริหารจัดการทางการเงิน ฉันไม่อยากจน อยากมีชีวิตที่ดี ถ้าอยากทำแบบนั้นมันไม่มีทางอ้อม ไม่มีทางลัด มันมีแต่ทางฟันฝ่าว่าเราต้องทำบัญชีกระแสเงินสดของตัวเองก่อน ลองบริหารจัดการและเอาเงินที่เหลือไปลงทุน และการที่เราใช้เงินที่หามาอย่างยากลำบากไปลงทุนก้อนนี้มันมีค่ากับเรานะ แล้วเราจะศึกษาเยอะขึ้นแล้วเอาเงินที่เราหาไปลงทุนมากขึ้น เพราะเงินที่หามาได้มันเหนื่อยจริงๆ คนส่วนใหญ่ที่ผมเจอ คนที่มีการเก็บออมแบบตั้งใจจริงๆ เขาจะไม่เข้ามาทางนี้เพราะว่าเขาได้มายาก เขาลงทุนอะไรสักอย่างก็ต้องคิดเยอะ ฉะนั้น กลับไปที่เบสิค ลองปรับตัวเองทำรายรับรายจ่าย เราจะเข้าใจตัวเอง การลงทุนแบบที่รู้ที่มาที่ไปเป็นอย่างดี มันจะปลอดภัยกับตัวเรามากขึ้น”        ประโยคที่ว่า ‘การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน’ ยังใช้ได้เสมอ ห้ามลืมเป็นอันขาด

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 258 อันตรายของการ ‘ปลดล็อกกัญชา’ ในภาวะสุญญากาศที่ไร้การควบคุม

หลังจาก ‘กัญชา’ ถูกปลดออกจายาเสพติดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 จากการผลักดันของอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคภูมิใจไทยที่เคยหาเสียงไว้ ก็เกิดสภาพปั่นป่วนวุ่นวายไม่น้อยเพราะปลดล็อคแบบไร้การกำกับดูแล เกิดข่าวผู้บริโภคกัญชาทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวเข้าต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ไปจนถึงมีการเสพภายในโรงเรียน เป็นเหตุให้มีความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ความเคลื่อนไหวหลังปลดล็อกกัญชา        เบื้องต้นกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขต้องออกประกาศเรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน เพื่อกำกับดูแลในเบื้องต้น โดยมีเนื้อหาดังนี้         1. ให้กัญชา หรือสารสกัดจากกัญชา ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นสมุนไพรควบคุม         2. อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย จำหน่ายสมุนไพรควบคุมตามข้อ 1 ได้ ยกเว้นการกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะโดยการสูบ (2) การใช้ประโยชน์กับสตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร (3) การจำหน่ายให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร         3. อนุญาตให้ใช้ สั่งจ่าย กัญชา ยากัญชา กับผู้ป่วยของตนได้ กลุ่มที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย         4. ผู้ป่วยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ยากัญชา กัญชา ได้ ตามข้อ 3 สามารถครอบครอง ขนย้าย ดูแล เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ในปริมาณที่จ่ายให้สำหรับการใช้ประโยชน์เป็นเวลา 30 วัน         ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เคยตั้งข้อสังเกตและแสดงจุดยืนว่าเนื้อหาในข้อ 2 เท่ากับปล่อยเสรีและสุ่มเสี่ยงที่เยาวชนจะใช้กัญชาในทางที่ผิด อีกทั้งน่าจะขัด พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 มาตรา 46 หรือไม่ ที่บัญญัติว่า ‘ห้ามมิให้ผู้ใดศึกษาวิจัย หรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต’ ทางมูลนิธิฯ เห็นว่าควรยกเลิกประกาศข้อ 2 และรอร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ที่อยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา        ถึงช่วงปลายเดือนกรกฎาคมก็มีการรวบรวมรายชื่อแพทย์จำนวน 851 คน พร้อมออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลปิดสภาวะกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศทันที ยังไม่นับการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กร หน่วยงาน และภาคประชาชนอีกหลายกลุ่มที่ออกมาแสดงความห่วงใยในเรื่องนี้         ถ้าดูสถิติของศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) เราจะไม่แปลกใจ เพราะหลังวันที่ 9 มิถุนายนเป็นต้นมาถึงปลายเดือนกรกฎาคม พบเยาวชนสูบกัญชาสูงขึ้นราว 2 เท่า ผลเบื้องต้นยังพบการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับสารเสพติดทั้งหมดยกเว้นสุราและบุหรี่ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 29.56 ในผู้ป่วยนอก และร้อยละ 44.33 ในผู้ป่วยใน ควรจำกัดเฉพาะกัญชาเพื่อการแพทย์         ย้อนกลับไปดูความเป็นมาของการผลักดันให้มีการใช้กัญชาในทางการแพทย์แบบสั้นๆ ภก.ยงศักดิ์ ตันติปิฎก นักวิชาการและนักวิจัยระบบภูมิปัญญาสุขภาพ รองประธานมูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย เล่าว่า ในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกัญชาอยู่มากและค้นพบประโยชน์ทางเภสัชวิทยาของสารที่อยู่ในพืชชนิดนี้ว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ อีกทั้งในตำรับยาแผนดั้งเดิมของไทย กัญชาก็เป็นส่วนหนึ่งของตำรับยา         เป็นที่มาของการผลักดันโดยกลุ่มนักวิชาการให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ภายหลังจึงมีภาคประชาชนที่ใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่แล้วเข้าร่วมด้วย ขณะที่กลุ่มที่ใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการไม่ได้มีส่วนร่วมตรงนี้ กระทั่งมีการแก้ไขกฎหมายยาเสพติดปี 2562 อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ ต่อมาพรรคการเมืองก็นำไปใช้เป็นนโยบายกัญชาเสรีในการหาเสียง เท่ากับว่าการปลดล็อกกัญชารอบนี้ไม่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์         “ที่ผ่านมาเราควบคุมว่ามันเป็นยาเสพติด แทนที่เราจะได้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้ในทางยาเราก็ทำไม่ได้ ทำให้มีการเรียกร้องว่าน่าจะต้องจัดวิธีการควบคุมใหม่ แทนที่จะไปอยู่ในลิสต์ของยาเสพติด น่าจะมีกฎหมายแยกเฉพาะเพื่อคุมมัน อันนี้ข้อเรียกร้องข้อเสนอมาแต่แรกๆ มีเครือข่ายขับเคลื่อน อาจารย์สำลี ใจดีก็เป็นผู้นำในยุคนั้น”         ตามที่ ภก.ยงศักดิ์ จะเห็นว่าไม่มีตรงไหนที่เรียกว่าเป็นการเปิดกัญชา ‘เสรี’ ชนิดใครอยากปลูก อยากเสพ อยากขายก็ทำได้ แต่มีการควบคุมด้วยกฎหมายเฉพาะและจำกัดการใช้ในทางการแพทย์ ครั้นนำมาปฏิบัติกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน เขาเห็นด้วยกัญชาทางการแพทย์เป็นโยบายที่ควรสนับสนุน แต่ต้องควบคู่กับการควบคุมกำกับให้อยู่ในทางการแพทย์        “ผมไม่เห็นด้วยว่าเราจะกระโจนไปสู่การใช้กัญชาเพื่อนันทนาการในระยะเวลาสั้นๆ แล้วก็มันก็มีข้อควรระวังเยอะแยะที่จะเปิดให้ใช้กัญชาโดยทั่วไป ข้อกังวลเหล่านี้มีเหตุมีผลมีหลักฐานทางวิชาการและควรรับฟัง มันจะเป็นประโยชน์มากถ้าสามารถรวบรวมหรือทำให้คนหรือภาคีต่างๆ ในสังคมที่เขาสนใจเรื่องนี้มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำให้กฎหมายและการควบคุมเป็นไปอย่างที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน” เสรีกัญชาแบบไร้การควบคุม         นอกจากนี้ บรรดาระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ออกมาเพื่อกำกับดูแลก็ชวนตั้งคำถามทั้งในแง่ความชอบด้วยกฎหมายและการนำไปปฏิบัติจริง ไพศาล ลิ้มสถิต กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อธิบายว่าข้อ 2 ในประกาศเรื่องสมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565 เป็นประกาศที่มิชอบเพราะไม่มีอำนาจทางกฎหมาย เนื่องจากในมาตรา 44 และ 45  ของ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ไม่ได้ให้อำนาจในการอนุญาตเรื่องนี้ไว้         “ปกติแล้วการจะอนุญาตเรื่องสมุนไพรควบคุม ตัวอย่างเช่นกราวเครือที่มีการประกาศไปแล้วตามมาตรา 45 จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการครอบครอง การดูแล การเก็บรักษา การศึกษาวิจัย ซึ่งต้องออกเป็นรายละเอียด แต่ว่าประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันที่ 16 มิถุนายนไม่มีรายละเอียดก็เลยไม่มีอำนาจในการออก เป็นการออกที่ไม่ถูกต้อง แล้วก็ขัดแย้งกับมาตรา 46 ของกฎหมายฉบับเดียวกันด้วย เพราะมาตรา 46 บัญญัติว่าไม่ให้วิจัย ส่งออก รวมถึงจำหน่าย โดยเฉพาะการจำหน่ายแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ก็คือว่าใครที่จะเอาพวกกัญชาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และขายให้กับประชาชนเพื่อการค้าจะทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตตาม พ.ร.บ. นี้ซึ่งก็คือปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันกรมการแพทย์แผนไทยฯ ยังไม่เคยอนุญาตให้ใครตามมาตรา 46 เลย ที่ขายกัญชาในสถานบันเทิง การขายดังกล่าวเป้นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. นี้ตามมาตรา 46 แต่ว่ากรมแพทย์แผนไทยแค่ไปตักเตือน ไม่ดำเนินคดีตามกฎหมาย มันมีปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย”        สรุปคือแม้ว่ากัญชาจะถูกปลดออกจากการเป็นยาเสพติดในกฎหมายยาเสพติดแล้ว แต่มันก็ยังถูกควบคุมโดยพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 อยู่ ใครที่ต้องการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกัญชาจะต้องขออนุญาตก่อนทุกกรณี ซึ่งยังไม่มีการอนุญาตแต่อย่างใด นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของประกาศควบคุมกัญชาที่ดูเหมือนจะมีปัญหาในทางกฎหมายให้ต้องพิสูจน์กันต่อ         ส่วนกรณีการปลูกเพื่อใช้เองในครัวเรือนสามารถทำได่โดยไม่ต้องขออนุญาต ไพศาลมองว่าจะสร้างผลกระทบมาก ซ้ำยังผิดหลักการที่ควรต้องขออนุญาตก่อนจึงจะปลูกเองได้ เขายกตัวอย่างว่าหากในบ้านมีเด็กและเยาวชนนำกัญชาไปสูบเองหรือนำไปผสมในอาหารในปริมาณมากเกินไป กรณีคนที่มีอาการแพ้กัญชาอาจมีอันตรายต่อร่างกายได้ ยังไม่นับว่ากัญชามีคุณสมบัติดูดซึมสารพิษและโลหะหนักในดิน การใช้อย่างไม่มีความรู้ย่อมสร้างผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว หยุดภาวะสุญญากาศเสรีกัญชา         ด้าน วีรพงษ์ เกรียงสินยศ เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวว่าเวลานี้สังคมกำลังสับสนกับภาวะสุญญากาศในการกำกับดูแลกัญชา เขาเห็นว่ามี 2 ส่วนที่รัฐจำเป็นต้องทำให้ชัดเจน ประเด็นแรกคือการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการว่าสามารถทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ และจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ต่อไป         ประเด็นต่อมาคืออาหารการกิน วีรพงษ์อธิบายว่าเป็นประเด็นที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและให้อนุญาตแก่ผลิตภัณฑ์ที่มาขอขึ้นทะเบียน ถือว่ายังมีการดูแลอยู่ส่วนหนึ่ง แต่มีปัญหาว่ายังไม่มีมาตรการกำหนดให้ผู้ผลิตติดฉลากคำเตือนว่ามีส่วนผสมของกัญชาให้ชัดเจน ซึ่งตอนนี้เป็นเพียงการขอความร่วมมือเท่านั้น         จุดที่วีรพงษ์คิดว่าน่าเป็นห่วงกว่าคือกลุ่มอาหารปรุงสำเร็จที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด เพราะแต่ละร้านปรุงกันเองใส่กันเอง ไม่มีการกำกับดูแล คงต้องรอร่าง พ.ร.บ.กัญชากัญชง พ.ศ.... ที่อยู่ในการพิจารณาของสภาว่าจะออกมาหน้าตาอย่างไร สามารถสร้างกลไกกำกับดูแลได้แค่ไหน         ไพศาลวิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.กัญชากัญชง ว่าเนื้อหาไม่ค่อยดีนัก หลักการค่อนไปทางส่งเสริมกัญชาเสรี อนุญาตให้ประชาชนปลูกได้โดยไม่จำกัดแต่ใช้วิธีจดแจ้ง ส่วนมาตราการคุ้มครองผู้บริโภค เด็กและเยาวชนก็มีน้อย         “ถ้าจะให้ทำจริงๆ อาจจะต้องแก้ไขย้อนกลับไปที่ตัวประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการประกาศให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 โดยกลับไปใช้ประกาศฉบับเก่าปี 2563 ที่เขียนไว้ว่าให้ตัวต้น ตัวดอกกัญชาเป็นยาเสพติดอยู่ แล้วกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงยุติธรรมพิจารณาร่วมกันในฐานะที่เป็นกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาเสพติดให้คนที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ. ขึ้นมาตามหน่วยงานเสนอ ไม่ใช่ให้ ส.ส. เสนอเพราะทำให้ไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง การรับฟังความเห็นก็ทำน้อย ไม่มีการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายก่อน อันนี้จะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ที่กำหนดให้มีกระบวนการศึกษาผลกระทบก่อนรอบด้าน แต่คงจะยากเพราะรัฐบาลก็ไม่ยอมเสนอร่างกฎหมาย ปล่อยให้ ส.ส.เสนอ เหมือนว่ารัฐบาลก็เกียร์ว่าง”         ไพศาลยังเห็นว่ากฎหมายกัญชากับกัญชงควรแยกคนละฉบับเพราะกัญชงเป็นพืชเศรษฐกินได้ ขณะที่กัญชายังยาเสพติดในหลายประเทศยังต้องควบคุมเข้มงวดมากกว่านี้ ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้ปลูกในระยะแรกควรเป็นผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยหรือแพทย์พื้นบ้านโดยต้องมาจดทะเบียน ส่วนกรณีประชาชนทั่วไปอาจจะอนุญาตให้ปลูกได้ในระยะต่อไปโดยจำกัดในกลุ่มผู้ป่วย พร้อมกับส่งเสริมองค์ความรู้         ด้าน ภก.ยงศักดิ์ แสดงทัศนะว่าการเปิดให้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการยังเร็วเกินไปสำหรับสังคมไทย เขายกตัวอย่างแคนาดาซึ่งกว่าจะอนุญาตให้ใช้เพื่อสันทนาการได้ก็ต้องใช้เวลาเปลี่ยนกว่า 10 ปี เปิดให้โอกาสให้ทุกฝ่ายมาถกเถียง แลกเปลี่ยน วางระบบควบคุม และสร้างกลไกป้องกันกลุ่มเปราะบาง เช่น การควบคุมแหล่งผลิต พื้นที่ขายว่าบริเวณไหนขายได้ ตรงไหนขายไม่ได้ ห้ามขายให้ใคร มีระบบติดตามว่าใครเป็นผู้ซื้อ ซื้อไปจำนวนเท่าไหร่ เป็นต้น        ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่มีเลยในไทย เราจึงอยู่ในสภาพเปิดเสรีกัญชาแบบไร้ทิศทาง ไม่รู้ว่ากฎหมายที่กำลังพิจารณาจะมีหน้าตาอย่างไร เกิดภาวะสุญญากาศ มึนๆ งงๆ และเป็นบทเรียนอีกครั้งว่าการทำเรื่องใหญ่ๆ ที่เน้นเอาเร็วเข้าว่า ไม่วิเคราะห์ผลกระทบ ไม่สร้างการมีส่วนร่วม สุดท้ายก็ต้องมาตามแก้ไขกันไม่จบสิ้น

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 257 ‘กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’ หลายเรื่องต้องรู้ก่อนตกเป็นเหยื่อ

เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่องทางสื่อสารต่างๆ ที่มีหลากหลายขึ้นทำให้การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง หลายครั้งเราได้เห็นแล้วว่าข้อมูลดังกล่าวถูกนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลและความมั่นคงต่อเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นที่มาของ “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (Personal Data Protection Act : PDPA) ที่เริ่มบังคับใช้แล้วอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565  ที่ผ่านมา  PDPA  มีความสำคัญอย่างไร ?         ความสำคัญของ PDPA คือทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไป โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว         สิทธิต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของข้อมูล ทำให้องค์กร บริษัทต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนตัวบุคคลไปใช้ ไม่ว่าจะของลูกค้า พนักงานในองค์กร หรือบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องก็ตามเป็นไปตามหลักปฏิบัติของ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไรบ้าง         ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม และข้อมูลนิติบุคคล เพราะไม่ถือเป็นข้อมูลที่มีสภาพส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลจัดกลุ่มกว้างๆ  ได้ 2 ลักษณะ คือ  ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง  ข้อมูลการศึกษา สัญชาติ เชื้อชาติ  รวมถึงข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ สอง คือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ซึ่งส่วนนี้ต้องระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลมาก ได้แก่ ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์  ความคิดเห็นทางการเมือง ลัทธิ ความเชื่อ พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลพันธุกรรม  ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา  เป็นต้น กฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง        ·       เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)  ซึ่งมีสิทธิในข้อมูลในหลายเรื่องคือ        ·       สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ        ·       สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล        ·       สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล        ·       สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล        ·       สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล        ·       สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล        ·       สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล         ·       ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล           ·       ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล          เมื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลบังคับใช้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)  ต้องใช้ความระวังในการให้ข้อมูลและตระหนักในสิทธิของตนเองตามกฎหมายฉบับนี้ อีกทั้ง และผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ที่เปรียบเสมือนผู้ดูแลระบบมีหน้าที่เก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลไปใช้ ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบดำเนินการเก็บรวบรวมเพื่อให้ข้อมูลปลอดภัย ไม่รั่วไหล ไม่ถูกนำไปใช้ นอกวัตถุประสงค์ที่เจ้าของข้อมูลยินยอม  ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวเป็นข้อมูลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดมากกว่าข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปก็ต้องใช้ความระมัดระวัง มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้นจึงควรเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นต้องใช้ และเก็บตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้กับเจ้าของข้อมูลเท่านั้น โดยสรุปพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดให้การเก็บข้อมูล รวบรวม การนำไปใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล สามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้        ·       ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล        ·       จัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ การศึกษาวิจัยหรือการจัดทำสถิติ        ·       ป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล        ·       จำเป็นเพื่อปฏิบัติกฎหมาย หรือสัญญา        ·       จำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลอื่น        ·       เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการทำตามสัญญาให้บริการ        ·       เป็นการใช้ข้อมูลที่มีกฎหมายอื่นให้อำนาจไว้        ·       เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือร่างกายของบุคคล        ·       เป็นการใช้เพื่อการศึกษาวิจัยหรือสถิติ        ·       เป็นการใช้ตามหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ        ·       เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย PDPA สำหรับกิจการสื่อมวลชน        กรณีกิจการสื่อมวล กฎหมายฉบับนี้มีข้อยกเว้นเชิงเนื้อหาที่ไม่ใช้บังคับตาม พ.ร.บ.  ดังนี้        ·       เป็นข้อยกเว้นเฉพาะกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นการประมวลผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการสื่อมวลชน กฎหมายไม่ได้ยกเว้น เช่น การใช้ข้อมูลพนักงาน การทำระบบสมาชิก        ·       การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของกิจการสื่อมวลชนจะต้องเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น        ·       ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นยังคงต้องจัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย        ·       จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ   โทษทางกฎหมาย  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล         สิ่งสำคัญที่เรายิ่งต้องศึกษาตัวกฎหมายฉบับนี้ นอกจากจะเพื่อปกป้องตนเองจากการเป็นเหยื่อ และถูกละเมิดแล้ว ยังเพราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีบทลงโทษเมื่อนำข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวไปใช้ ซึ่งเราอาจเผลอทำไปได้อย่างไม่รู้ตัว โทษมีดังนี้           o  โทษทางอาญา:การสร้างความเสียหายต่อส่วนรวม        -กรณีนำข้อมูลไปใช้ ทำให้เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โทษสูงสุดจำคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        -กรณีนำข้อมูลไปหาประโยชน์แบบผิดกฎหมาย โทษสูงสุดจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับการลงโทษทางอาญาข้างต้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง และองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิ เจตนาของการกระทำ การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป        o  โทษทางแพ่ง: การทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายทั้งด้านสิทธิ ชื่อเสียง และร่างกาย        -ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้แต่ไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมทดแทนที่แท้จริง        o  โทษทางปกครอง: การฝ่าฝืนข้อกฎหมาย        -จากการไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าขอข้อมูลเข้าถึงตามสิทธิ ฯลฯ ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท        -การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ปรับไม่เกิน 3,000,000 บาท        -เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปรับไม่เกิน 5,000,000 บาท ส่วนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ เบอร์โทร ที่อยู่อาศัย หมายเลขประจำตัว ไม่เข้าองค์ประกอบโทษอาญาตามมาตรา 79 (ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)...................... 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA         1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPAหากไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้        2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPAสามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล        3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPAการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน เพราะเพื่อป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน        4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว        (1) เป็นการทำตามสัญญา        (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ        (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล        (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ        (5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ        (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 256 ควบรวม ทรู - ดีแทค โอกาสทบทวนตัวเองครั้งสำคัญของ กสทช.

ตั้งแต่ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ข่าวหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมากเพราะส่งผลกระทบต่อ ผู้บริโภคเป็นวงกว้าง คือประกาศการควบรวมกิจการของดีแทค หรือกลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  กับกลุ่มกิจการธุรกิจโทรคมนาคมกับบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรูมูฟ เอช         ปัจจุบันประเทศไทยมีหมายเลขโทรศัพท์มือถือใน 3 ค่ายหลักคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส  บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  รวมกันแล้วกว่า  93 ล้านเลขหมาย มีค่าเฉลี่ยในการเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือทั่วโลกโดยเฉลี่ยคนละ 2 เครื่อง  มีความเร็วของเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายแบบ 3G, 4G หรือ 5G อยู่ในระดับเดียวกับญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน และฮ่องกง หากทรู คอร์ปอเรชั่น สามารถควบรวมกับ ดีแทคได้สำเร็จบริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีสัดส่วนของเลขหมายถึงร้อยละ 52 และ ทำให้คนไทยมีทางเลือกในการใช้บริการเพียง  2  เจ้า           หลังประกาศดังกล่าวทำให้เกิดข้อโต้แย้งหลายประการในสังคม  ปัจจุบัน กสทช. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาการควบรวมและว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระให้จัดทำความเห็นประกอบ  จัดวงโฟกัสกรุ๊ปเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายขึ้นแล้วหลายครั้ง   ฉลาดซื้อรวบรวมข้อโต้แย้ง ทั้งฝ่ายคัดค้านและสนับสนุนมานำเสนอเพื่อให้ผู้บริโภคติดตามสถานการณ์ได้ทัน แล้วมาดูกันว่าปรากฎการณ์ผูกขาดด้านโทรคมนาคมจะเกิดขึ้นหรือไม่          ฝ่ายเห็นด้วยให้ควบรวม          -        การควบรวมทำให้เกิดการประสานพลังกัน (synergy) ของธุรกิจโทรคมนาคมที่ปัจจุบันต้องลงทุนเพิ่มขึ้นสูงถึง ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจลดลง ช่วยเพิ่มการลงทุนและจะพัฒนาการให้บริการให้ดีขึ้นได้         -        จะทำให้ประเทศไทยมีบริษัทขนาดใหญ่ระดับชาติ (national champion) มีศักยภาพในการไปแข่งขันในเวทีโลก  ช่วยสร้างความเข้มแข็งในเชิงธุรกิจทั้งในและต่างประเทศที่มีปัจจัยด้าน digital Disruption มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ใหม่ๆ มากขึ้น คุณภาพของ Network ที่เกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่สำคัญ         -        ข้อห่วงกังวลในหลายเรื่อง เช่น   ค่าดัชนีการวัดการกระจุกตัวของตลาด (HHI)  อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของผู้ให้บริการรายใหม่  ราคาค่าใช้บริการที่อาจสูงขึ้น   มีกลไกในการกำกับ ควบคุมอยู่แล้วคือการทำหน้าที่ของ กสทช.  ที่สามารถใช้อำนาจ หน้าที่ กำกับ กำหนดเงื่อนไขได้ ข้อกังวลว่าผู้ให้บริการจะร่วมมือกันกำหนดราคาเอาเปรียบผู้บริโภคไม่สามารถทำได้แล้วในปัจจุบัน เพราะมีการเปิดเผยข้อมูลและมี กสทช. ที่คอยทำหน้าที่อยู่แล้ว           ฝ่ายคัดค้านการควบรวม          -        การที่ผู้ให้บริการมีเงินลงทุนมากขึ้น ไม่ได้การันตีว่าจะมีการลงทุนเพิ่มและบริการจะมีคุณภาพที่ดีขึ้นเสมอไป         -        การควบรวมย่อมทำให้เกิดการผูกขาด  ส่งผลให้ผู้บริโภคถูกจำกัดทางเลือกในการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น  อัตราค่าบริการที่อาจสูงขึ้นและไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่า คุณภาพของสัญญาณลดลง   เอกชนบางรายมีอำนาจเหนือตลาดหรืออาจจับมือกัน มีพฤติกรรมไปในทางเดียวกัน  และไม่เกิดการแข่งขัน         -        การควบรวมทำให้มีผู้ให้บริการน้อยราย ไม่สอดคล้องกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งรักษาการแข่งขันในตลาดเพื่อรองรับการใช้เสรีภาพทางเศรษฐกิจตามที่ได้รับการคุ้มครองในรัฐธรรมนูญ           นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตคณะกรรมการ กสทช. ทบทวนสถานการณ์ที่ผ่านมากับฉลาดซื้อ ว่าตลอดมาประเทศไทยมีผู้ให้บริการแบบ 3 เจ้าคือ AIS   Dtac และ True ทำให้เกิดการแข่งขัน และยิ่งเทคโนโลยีพัฒนายิ่งขึ้นได้ช่วยให้ค่าบริการถูกลงได้ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ดีขึ้นแต่ราคาอาจไม่ได้ถูกลง และคุณภาพอาจไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นหากในระบบไม่มีการแข่งขันกันในการให้บริการ          “หากยังจำกันได้  ตอนที่เรามีการประมูลคลื่น  4  G  บริษัทชื่อ แจส  มาประมูลและชนะ จนได้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายที่ 4  ทำให้ทั้ง 3 รายเดิม ออกแพคเกจ ลดราคาลงมาอย่างมาก แม้ว่าสุดท้าย แจสไม่มีเงินมาจ่ายค่าประมูลได้ แต่ผลพวงที่ทำให้ได้ประโยชน์จนถึงตอนนี้คือผู้บริโภคจ่ายค่าบริการถูกลง”         “การที่มี 3 เจ้า อย่างน้อยเป็นการแข่งขันในระดับที่ทำให้ราคาไม่สูงขึ้น มีโปรโมชั่นต่างๆ มาล่อใจลูกค้าแต่พอเหลือเพียง 2 ราย  ไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกโปรโมชั่นแล้วโดยเฉพาะ  2 ราย ที่มีส่วนแบ่งการตลาดใกล้เคียงกันคือ   50 /50   แล้วตลาดเริ่มอิ่มตัวแล้ว บทเรียนจากต่างประเทศก็พบว่า ระดับการแข่งขันจะลดลง  แต่เอกชนจะมีรายได้เพิ่มด้วย แล้วยิ่งปัจจุบันตอนนี้ที่ยังไม่มีการควบรวมจำนวนโปรโมชั่นของทุกค่ายในตลาด กำลังน้อยลงไปเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้น คือระดับการแข่งขันมันเป็นตัวกำกับดูแล ให้ราคามันอยู่ในจุดที่เหมาะสม   ถ้าการแข่งขันลดลงราคาก็จะผิดปกติ”          “วันนี้หากการควบรวมกิจการเกิดขึ้นจริง สิ่งที่จำเป็นคือ กสทช.ต้องรักษาระดับแข่งขันให้ได้ใกล้เคียงเดิม หากรักษาระดับการแข่งขันไม่ได้ ความเสียหายเกิดขึ้นแน่นอน อีกทั้งต้องประเมินผลกระทบการควบรวมกิจการ และจำกัดผลกระทบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด” นพ.ประวิทย์ กล่าว         สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ‘ทีดีอาร์ไอ’  ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่าในอดีตเมื่อมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพียง 2 ราย นอกจากค่าบริการจะแพงลิบ โปรโมชั่นน้อย คุณภาพบริการแย่แล้ว ผู้ให้บริการยังสามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น ใช้ระบบอีมี่ (IMEI หรือหมายเลขเฉพาะตัวเองของโทรศัพท์ในระบบ GSM ที่มีไว้เพื่อแก้ปัญหาเครื่องถูกขโมยในสมัยก่อน) บังคับให้ผู้ใช้บริการต้องซื้อเครื่องของผู้ให้บริการรายดังกล่าวด้วย         ความหวังอยู่ที่การทำหน้าที่ของ กสทช. ?         หลากหลายข้อโต้แย้ง ข้อห่วงกังวล มีสิ่งหนึ่งที่ตรงกันคือความหวังในการทำหน้าที่ของ กสทช. ที่หากทำด้วยความรอบคอบ รัดกุม ย่อมรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้ แต่เรื่องนี้หลายฝ่ายก็ยังกังวล เพราะในปี 2561    กสทช. ได้ออกประกาศที่ลดทอนอำนาจตัวเองทำให้การควบรวมไม่ใช้ระบบอนุญาต แต่ให้เป็นเพียงการแจ้งเพื่อทราบ ทำให้สังคมมองว่า กสทช. ที่เป็นผู้กำกับดูแลไม่ได้บังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องผู้บริโภคอย่างเต็มที่ ปัจจุบันจึงมีข้อเสนอเพื่อการทำงานของ กสทช.  ดังนี้          -   คลื่นความถี่เป็นสมบัติสำคัญของประเทศ จำเป็นต้องจัดสรรให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดสำหรับประชาชน ระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ การควบรวมธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ย่อมมีผลกระทบอย่างมาก รัฐจะต้องมีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาต โดยการชั่งน้ำหนักระหว่างผลดีทั้งต่อทั้งผู้ประกอบการ การลงทุนเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตกับผลเสียที่จะเกิดกับประชาชนและธุรกิจผู้ใช้บริการโทรคมนาคม        -   การควบรวมกิจการขนาดใหญ่ครั้งนี้ ส่งผลต่อประชาชนผู้ใช้บริการเป็นวงกว้าง กสทช. ผู้ตรวจสอบจะต้องรับฟังความเห็นจากทุกๆ ฝ่ายอย่างรอบด้าน  และให้ข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าเป็นระยะ ผ่านทางเว็บไซต์ของตนเองอย่างเป็นทางการ        -   ในการกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการใดๆ กสทช. ต้องคำนึงถึงการรักษาการแข่งขันในตลาดเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งรักษาผลประโยชน์ของผู้ควบรวมหรือกำหนดเงื่อนไขที่ผู้ตรวจสอบคิดเอาเองว่าบังคับใช้ได้ง่าย ดังนั้นการที่ต้องพึ่งพาการทำหน้าที่ของ กสทช. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในด้านโทรคมนาคม ย่อมสร้างความกังวลกับหลายฝ่ายต่อความสามารถที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ เพราะการกำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะให้ผู้ควบรวมต้องปฏิบัติตามเป็นเรื่องที่จะมีปัญหาและต้นทุนการบังคับใช้สูง อีกทั้ง กสทช.ยังไม่มีข้อมูล เพียงพอ  เท่าทันต่อการกำกับดูแลผู้ให้บริการ ...

อ่านเพิ่มเติม>

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf