ภาพเขียนสีที่ ปรากฏ เป็น หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ ส่วน ใหญ่ ใช้ วัสดุ จาก สิ่ง ใด



       

จังหวัดเลยมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณวิทยา และโบราณคดีที่ยาวนานจังหวัดหนึ่ง บริเวณพื้นที่
อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง อำเภอภูหลวง อำเภอเมืองเลย อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอเชียงคาน ของจังหวัดเลย

        ประวัติศาสตร์จังหวัดเลยแบ่งออกเป็น  ๓  ยุคคือ (พิสิฐ เจริญวงศ์,๒๕๒๘ : ๒๕.)
              ๑. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 
                 จังหวัดเลย อยู่ในระหว่าง  ๕,๖๐๐-๑,๕๐๐  ปีมาแล้ว มีหลักฐานทางด้านโบราณ วิทยาและโบราณคดี
                  หลักฐานทางด้านโบราณวิทยา ที่พบในจังหวัดเลย ได้แก่ รอยเท้าไดโนเสาร์ที่บริเวณผาเตลิ่น บนภูหลวง ในเขตอำเภอภูเรือ จำนวน ๑๖ รอยเท้า และที่หมันขาวอำเภอด่านซ้าย มีรอยเท้าจำนวน ๓ รอยจากการศึกษาของ
ผู้เชี่ยวชาญพบว่า เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์จำพวกกินเนื้อเดินสองขาด้วยขาหลัง สูงประมาณ ๓ เมตร มีชีวิตอยู่ เมื่อประมาณ ๑๔๐ ล้านปีมาแล้ว (พิสิฐ  เจริญวงศ์ ๒๕๒๘)
หลักฐานทางด้านโบราณคดี ที่พบได้แก่ ศิลปะถ้ำ เครื่องมือหิน กำไลสำริด เหล็ก  ทองเหลือง และภาชนะต่าง ๆ
                 ๑.๑  ศิลปะถ้ำ
                         ศิลปะ เป็นทรัพยากรที่ต่างไปจากทรัพยากรธรรมชาติที่คนทั่ว ๆ ไป เห็นแล้วรู้ว่าเป็นอะไร แต่อาจมองศิลปะไม่เป็น เพราะรูปศิลปะที่ปรากฏอาจจะไม่เหมือนกับสิ่งที่เห็นในธรรมชาติก็ได้ เว้นแต่จะเลียนแบบขึ้น
                         อดีตมนุษย์ยังไม่มีหนังสือใช้ มนุษย์ใช้ศิลปะเป็นสื่อมากกว่าสมัยนี้ เพราะศิลปะเป็นสื่อบอกเล่า
ให้คนในกลุ่มสังคมเดียวกันเข้าใจอีกทางหนึ่งเพิ่มเติมจากภาษาพูด และเป็นสิ่งติดต่อกับพลังเหนือธรรมชาติ อีก
หลายเรื่องหลายทางด้วยกัน
                         งานศิลปะที่ทำอยู่ในถ้ำ ปากถ้ำ จึงเรียกว่า “ศิลปะถ้ำ” แต่ในความเป็นจริงแล้วงานศิลปะ
ประเภท นี้ยังทำอยู่ตามหน้าผา เพิงผา และเพิงหินด้วย สำหรับจังหวัดเลย เพิงผาหรือเพิงหินที่ให้ร่มเงาได้ ชาวบ้านเขาเรียกว่า ถ้ำกันทั้งนั้น เช่น ถ้ำผาฆ้อง และถ้ำผาฆ้อง ๒ ถ้ำมโหฬาร ถ้ำสูง ถ้ำลายแทง ถ้ำพระ ถ้ำมือ ถ้ำคิววิว ถ้ำผาปู่  ภูถ้ำพระ (ตำบลกกดู่) และถ้ำขาม ล้วนแต่เป็นเพิงหินและถ้ำที่ให้ร่มเงาทั้งสิ้น
                          “ศิลปะถ้ำ” สร้างขึ้นเพื่อส่วนรวม คือ เป็น “ศิลปะชุมชน” (Communal Art) นั่นเอง โดยที่การสร้างสรรค์นั้นกำหนดโดยวัฒนธรรม (Culturally Conditioned) จากแรงบันดาลใจต่าง ๆ เช่น ความเชื่อทางศาสนา หรือพิธีกรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนที่ศิลปินเป็นสมาชิกสังคม
                          ศิลปะประเภทนี้สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อใช้ในพิธีการ และ เพื่อ “ศิลปะ” เอง
                          ๑) ศิลปะเพื่อพิธีการ ทำขึ้นเนื่องในความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมักจะมี “ข้อบังคับ” บางประการว่าทำอะไรได้ อย่างไร และทำอะไรไม่ได้ เช่น รูปแบบสีหรือวัสดุ เป็นต้น 
                          ๒) ศิลปะทั่วไป เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาที่เป็นศิลปินเลือกทำได้ตามใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ เทคนิค วิธีการ หรือเรื่องที่ศาสนาประเพณีไม่ได้ห้ามไว้
                          ศิลปะดังกล่าวนี้ส่วนมากเป็นของที่สร้างมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยศิลปินนิรนาม แล้วขาดช่วงไปเลย เราจึงไม่รู้ความหมายของภาพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่มักพบตามถ้ำ เพิงผา หน้าผา หรือก้อนหินใหญ่ ๆ ตามภูเขา จึงเรียกรวม ๆ ไปว่า “ศิลปะถ้ำ” (Cave Art) ซึ่งทางวิชาการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ศิลปะบนหิน”  (Rock Art) นั่นเอง (ศิลปะถ้ำในอีสาน, ๒๕๓๑ : ๑๗-๑๘)
                ๑.๒  แหล่งศิลปะถ้ำ
                           แหล่งศิลปะถ้ำ ในประเทศไทย พบศิลปะถ้ำแล้วทุกภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน พบมากที่สุด อาจเป็นเพราะภาค
นี้มีพื้นที่กว้างใหญ่ถึงหนึ่งในสามของประเทศ
                           นับตั้งแต่การค้นพบศิลปะถ้ำแหล่งแรกของอีสานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ จนถึงปัจจุบัน ได้พบศิลปะถ้ำในอีสานถึง ๑๓๑ แหล่ง ใน ๙ จังหวัด คือ เลย อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อุบลราชธานี และนครราชสีมา (ศิลปะถ้ำในอีสาน, ๒๕๓๑ : ๑๘-๑๙ )
                           ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดเลยที่ค้นพบปัจจุบันมีจำนวน ๙ แหล่ง ดังนี้
                           ๑)  ถ้ำคิววิว ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านนาน้อย ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง ภาพเขียนสีที่
ปรากฏบนผนังหิน เป็นภาพสัญลักษณ์ ได้แก่ ภาพเส้นตรง เส้นโค้ง ลายเส้นหลักเป็นฟันปลา หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ต่อกับภาพลายเส้นคู่ขนาน ภาพทั้งหมดใช้สีแดงในการเขียนภาพ
                           ๒)  ถ้ำผาฆ้อง ตั้งอยู่บ้านผาฆ้อง ตำบลผานกเค้า ภาพเขียนสีอยู่ในถ้ำมี ๒ แห่ง ให้ชื่อว่าผาฆ้อง ๑ และผาฆ้อง ๒
                               ผาฆ้อง ๑ ภาพเขียนสีอยู่บนเพดานหน้าถ้ำ ภาพที่พบ “สุนัข” ภาพวัวครึ่งตัว 
ภาพคนยืนกาง แขน ภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง
                               ผาฆ้อง ๒ ภาพเขียนสีพบในถ้ำตรงทางเข้า มีภาพคน ๑ ภาพ ภาพสัตว์ ๒ ภาพ และ
มีภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภาพมือ ๑๑ ภาพ ภาพสัตว์รูปร่างคล้ายวัว ๓ ตัว เขียนแบบเงาทึบ ๑ ตัวลายเส้นโครงภายนอก
๒ ตัว และภาพลายเส้นรูปตาข่ายและลายเส้นคู่ขนาน ๓  เส้น
                           ๓)  ถ้ำมโหฬาร ในถ้ำนี้พบการเขียนสีจำนวน ๒ จุด คือ ถ้ำมโหฬาร ๑ จุดและถ้ำสูง ๑จุด ถ้ำมโหฬารตั้งอยู่บ้านหนองหิน ตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน ภาพเขียนสีด้วยสีแดงคล้ำบนพื้นหินสีเทาอ่อน ประกอบด้วยภาพคน ๗ ภาพ ภาพสัตว์ ๑๐ ภาพ จำพวกกระทิง ช้าง เลียงผา(เยียง) ไก่ป่า
                                ถ้ำสูง อยู่ในถ้ำมโหฬาร ภาพเขียนด้วยสีแดงจาง ๆ บนพื้นหินสีชมพู และสีเทา ประกอบด้วยภาพสัตว์คล้ายม้าหรือกวาง ภาพลายเส้นวงกลม ลายเส้นคด
                           ๔) ถ้ำพระตั้งอยู่หมู่บ้านนาน้อย ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง ภาพเขียนสีอยู่บนเชิง
ภูกระดึงทางทิศใต้ ชื่อว่า “ภูฮัง” ภาพที่พบในแหล่งภาพเขียนสีแห่งนี้มีภาพมือจำนวน ๓๖ ภาพ ภาพสัตว์ คือ ช้าง ภาพเส้นสัญลักษณ์มี ๗ ภาพ ได้แก่ภาพวงกลมเขียนด้วยเส้นทึบ ๑ วง   ภาพวงกลมเขียนด้วยเส้นทึบ ภายในมีภาพ
ครึ่งวงรี และภาพที่ประกอบไปด้วยเส้นตรง เส้นโค้ง เส้นคู่ขนาน เส้นหยัก แต่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าประกอบขึ้นเป็น
รูปอะไร ภาพเขียนด้วยสีแดง
                           ๕)  ถ้ำลายแทง บ้านผากลางดง ตำบลผานกเค้า อำเภอภูกระดึง ภาพเขียนสีที่ถ้ำลายแทง
นี้ภาพช้างเขียนอยู่หน้าถ้ำ สีที่ใช้เขียนมีสีแดงอมส้ม เป็นแหล่งภาพเขียนสีที่เขียนภาพอย่างน้อย ๒ ครั้ง ทับรอยกัน เขียนเรื่องราวการล่าสัตว์ที่มีหมาช่วยล่า สันนิษฐานว่ากลุ่มชนนี้ตั้งชุมชนอยู่บนที่ราบและมีกฏระเบียบทางสังคมที่ใช้
ร่วมกัน ภาพทั้งหมดมี  ภาพคน ๔๐ ภาพ   ภาพสัตว์ ๑๔ ภาพ ภาพมือคน ๘ ภาพ   ภาพเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ๑๖ ภาพ จำนวนประมาณ ๗๔ ภาพ
                            ๖)  ถ้ำมือ บ้านผาน้อย ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง ภาพเขียนที่ปรากฏบนผนังหินแบบ
เพิงหมาแหงน ภาพที่ปรากฏบนผนังถ้ำนี้ จำแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
                                ภาพมือ มีทั้งหมด ๒๐ ภาพ มีเทคนิคการทำภาพมือ ๒ วิธีด้วยกันคือ มือแบบทาบ และใช้สีทาฝ่ามือแล้วขูดสีขาวส่วนนอกเป็นลายเส้นโค้งลูกคลื่น
                               ภาพสัญลักษณ์ มีเพียง ๑ ภาพ เป็นภาพแบบเงาทึบ ไม่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นภาพ
อะไร
                            ๗)  ถ้ำผาปู่ บ้านน้ำภู ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง ภาพที่ปรากฏอยู่บนเพิงผาปากถ้ำ เป็นภาพ
เขียนด้วยสีแดงคล้ำ ภาพที่พบเป็นแบบสัญลักษณ์มีลักษณะการเขียนแบบโครงนอกก่อน แล้วระบายสีทึบลงไปอีกครั้ง
                            ภาพเขียนเป็นภาพสัญลักษณ์ รูปสามเหลี่ยม รูปโค้งคล้าย ๆ ทรงผมผู้หญิงงอนที่ปลาย (ภาพนี้คล้ายคน) รูปสีเหลี่ยมผืนผ้าระบายสีทับบางส่วน
                             ๘) ภูถ้ำพระ บ้านกกดู่ ตำบลกกดู่ อำเภอเมืองเลย ลักษณะของแหล่งเป็นเพิงหินแกรนิต เกิดจากก้อนหินตั้งซ้อนกัน ภาพที่พบเป็นภาพลายเส้นสีแดง เป็นภาพสัญลักษณ์ คือ
                                ๘.๑.  ลายเส้นคู่ขนานคล้ายนิ้วมือ
                                ๘.๒. ลายกากบาท
                                ๘.๓. ลายหยักฟันปลาคู่ขนาน
                                ๘.๔. ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนต่อกัน ๔ ภาพ
                                ๘.๕. ลายเส้นทึบคล้ายคน

                            

๙) ถ้ำผาขาม บ้านนาดินดำ ตำบลนาดินดำ อำเภอเมืองเลย ภาพเขียนคล้ายสีแดง เป็นภาพลาย
เส้นวกวน ลายเส้นคล้ายรากไม้ ลายเส้นโค้งผสมกับตารางสี่เหลี่ยม คล้ายเส้นทางในแผนที่
                           ๑๐) ถ้าผาป่อง  บ้านปวนพุ  ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน

                           จากผลของการศึกษาทางด้านโบราณคดีในเขตจังหวัดเลย เท่าที่ผ่านมานั้นได้มีการพบ
โบราณ วัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์  เฉพาะเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานของเครื่องมือหิน และเศษภาชนะดินเผา  ส่วนมากมีอายุ ประมาณ  ๙,๐๐๐  ปี มาแล้ว ( DONN BAYARD, ๑๙๗๓-๑๙๗๕  :  ๙๕-๑๑๓)
                          หลักฐานที่บ่งบอกว่าดินแดนแถบนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อีกแหล่ง
หนึ่ง คือ ใบเสมาหินขนาดใหญ่ ชนิดหินทรายทองเป็นพุทธศิลปะสมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ อักษร
ที่จารึกคืออักษรปัลลวะ หรืออักษรอินเดียใต้ ที่พบมากในประเทศไทยทุกภาคในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ อักษรจารึกทั้ง ๑๒ บรรทัดปรากฏอยู่ด้านข้าง ของใบเสมาหิน ที่มีรูปหม้อ แกะสลักบริเวณกลางหิน (ชิน  อยู่ดี, ๒๕๑๐)
                            ปัจจุบันศิลาจารึกหลักนี้ อยู่ที่วัดพัทธสีมาราม บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ ร่วมกับกลุ่มใบเสมาหินจำนวน ๓๙ หลักในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๗๐ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔
                            คำจารึก-คำอ่าน  เนื่องจากอักษรจารึกลบเลือนมากจึงไม่สามารถอ่านข้อความ ส่วนใหญ่ได้เพียง
ปรากฏ คำที่ชัดเจนอยู่บ้างเช่นมีคำว่า "ศรี" และคำว่า "มารคด" เป็นต้น                               
                            เนื้อเรื่อง เมื่ออักษรจารึกลบเลือนจึงไม่สามารถจะทราบเรื่องราว รายละเอียดทั้งหมดได้ พอที่จะสันนิษฐานคร่าว ๆ จากหลักฐานโบราณคดีประเภทใบเสมาหินประกอบได้ว่าบริเวณที่พบใบเสมาหินหากตี
ความจาก รูปแบบ ศิลปกรรมและอักษรปัลลวะ ที่จารึกว่าเป็นศิลปะแบบทวารวดี
              ๒. ยุคประวัติศาสตร์
                 ธวัช  ปุณโณทก   กล่าวว่า ในที่นี้จะกำหนดยุคประวัติศาสตร์อีสาน  เมื่อมีการบันทึกเรื่องราวของชุมชน โดยไม่พิจารณาว่ากลุ่มชนที่ได้สร้างศิลาจารึกและโบราณสถานในสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์อีสานนั้น เป็นเผ่าพันธุ์ใด
                 ยุคประวัติศาสตร์ ปรากฏชัดเจนในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ร่วมสมัยกับสุโขทัย) บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือและลุ่มแม่น้ำอู (เมืองแถนและเมืองเชียงดง เชียงทอง) แต่ไม่พบหลักฐานที่พอเชื่อได้นอกจากตำนานเล่าสืบกันมา ฉะนั้นนักประวัติศาสตร์จึงยอมรับการตั้งชุมชนของกลุ่มวัฒนธรรมไทย – ลาว แต่จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีและศิลาจารึกแล้ว พบว่าวัฒนธรรมไทย –ลาว เข้ามามีอิทธิพลแทนที่วัฒนธรรมขอมโบราณโดยง่ายดาย แสดงให้เห็นว่าชาวท้องถิ่นนั้นคงไม่เป็นชุมชนที่เข้มแข็งทางวัฒนธรรมแต่อย่างใด วัฒนธรรมไทย – ลาวจึงเข้ามาแทนที่อย่างง่ายดาย จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าชาวท้องที่ในแอ่งสกลนครนั้นคงเป็นเพียงชุมชนหัวหน้าเผ่าพันธุ์กระจัดกระจายไม่ได้รวมกันเป็นนครรัฐที่มั่นคง และคงจะเป็นสังคมแบบบรรพกาลที่ไม่เหลือซากวัฒนธรรมของขอมสมัยพระนครอยู่ในสังคมนั้น ๆ เมื่อชุมชนกลุ่มไทย – ลาวขยายอิทธิพลทางการเมืองและชุมชนเข้ามาอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกัน ชนพื้นเมืองเริ่มรับวัฒนธรรมไทย – ลาวและก่อตัวเป็นสังคมเมือง สืบทอดวัฒนธรรมสมัยไทย – ลาวต่อมา ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่จังหวัดเลย (เมืองหล่ม เมืองเลย ปากเหือง เชียงคาน ด่านซ้าย) จังหวัดหนองคาย (เมืองเวียงคุก เมืองปากห้วยหลวง) จังหวัดอุดรธานี บริเวณอำเภอบ้านผือ อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม (เมืองโคตรบอง) ฉะนั้นจึงพบว่าพงศาวดารลาวมักจะกล่าวถึงหัวเมืองที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
                 ส่วนพงศาวดารไทยนั้นได้กล่าวถึงหัวเมืองสำคัญ ๆ ของล้านช้างเท่านั้นในสมัยอยุธยาแสดงว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองทางด้านการเมืองและการทูต หาได้กล่าวถึงหัวเมืองที่อยู่ในแอ่งโคราชของภาคอีสานแต่อย่างใดไม่ และเส้นทางติดต่อกันในสมัยอยุธยานั้นคงใช้เส้นทางผ่านเมืองนครไทย (อำเภอนครไทย) จังหวัดพิษณุโลก ไปสู่เมืองด่านซ้ายและลงเรือตามลำน้ำหมันซึ่งเป็นลำธารเล็ก ๆ ไหลลงน้ำโขงบริเวณอำเภอเชียงคาน เช่นในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง ได้สร้างความสัมพันธไมตรีกับอยุธยารัชสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์เพื่อต่อต้านอำนาจพม่าที่กำลังแผ่เข้ามาในอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ ก็ใช้เส้นทางติดต่อผ่านอำเภอนครไทย และอำเภอด่านซ้าย เช่นกัน (กรมศิลปากร, ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔, ๒๕๐๔)
                 การสร้างบ้านแปงเมืองในอาณาบริเวณที่เป็นจังหวัดเลยทุกวันนี้มีประวัติการก่อตั้งที่เป็นเรื่องราวเฉพาะแต่ละท้องถิ่น แต่ละเมืองแยกจากกันอย่างค่อนข้างชัดเจนแต่จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีและศิลาจารึกแล้ว พบว่าวัฒนธรรมไทย –ลาว เข้ามามีอิทธิพลแทนที่วัฒนธรรมขอมโบราณโดย ง่ายดาย แสดงให้เห็นว่า ชาวท้องถิ่นนั้น  คงไม่เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ทางวัฒนธรรมแต่อย่างใด วัฒนธรรมไทย–ลาวจึงเข้ามาแทนที่อย่างง่ายดาย จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าชาวท้องที่ในแอ่งสกลนครนั้นคงเป็นเพียงชุมชนหัวหน้าเผ่าพันธุ์กระจัดกระจายไม่ได้รวมกันเป็นนครรัฐที่มั่นคง และคงจะเป็นสังคมแบบบรพพกาลที่ไม่เหลือซากวัฒนธรรมของขอมสมัยพระนครอยู่ในสังคมนั้น ๆ เมื่อชุมชนกลุ่มไทย – ลาวขยายอิทธิพลทางการเมืองและชุมชนเข้ามาอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกัน ชนพื้นเมืองเริ่มรับวัฒนธรรมไทย – ลาวและก่อตัวเป็นสังคมเมือง สืบทอดวัฒนธรรมสมัยไทย – ลาวต่อมา ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่จังหวัดเลย (เมืองหล่ม เมืองเลย ปากเหือง เชียงคาน ด่านซ้าย) จังหวัดหนองคาย (เมืองเวียงคุก เมืองปากห้วยหลวง) จังหวัดอุดรธานี บริเวณอำเภอบ้านผือ จนถึงอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดสกลนครและนครพนม (เมืองโคตรบอง) ฉะนั้นจึงพบว่าพงศาวดารลาวมักจะกล่าวถึงหัวเมืองที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น  (กรมศิลปากร,๒๕๓๑ : ๘๐-๘๙.)                   
                 ประวัติศาสตร์เมืองเลยหรือจังหวัดเลยในยุคต่าง ๆ มีความหลากหลาย ในการศึกษา พบว่าพัฒนาการทางการเมือง การศึกษา การศาสนา วัฒนธรรมประเพณี เศรษฐกิจและสังคม จังหวัดเลย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองสืบต่อกันมา แต่โบราณมีการพัฒนาท้องถิ่น จากชุมชนเป็นเมือง เช่น เมืองซ้ายขาว หรือเมืองซายขาวเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญทางด้านหนึ่งของล้านช้างปรากฏชื่อเมืองเป็นครั้งแรกในรัชกาล พระเจ้าฟ้างุ้ม (ช่วง พ.ศ. ๑๘๙๖ - ๑๙๓๖) (สำนักโบราณคดีและ พิพิธภัณ ฑสถานแห่งชาติที่ ๘ , ๒๕๔๓ : ๔๒)
                เติม วิภาคย์พจนกิจ ได้กล่าวถึงเมืองนี้ว่า “บ้านทรายขาวยังปรากฎหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่าเคยเป็นเมืองเก่า
มาครั้งหนึ่ง มีหลักเมือง  กำแพงเมืองปรากฎให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ แม้ใน  แผนที่ประเทศไทยเก่า ๆ สมัย มร.เจ.เอช.แมคคาธี (พระวิภาคภูวดล) เป็นเจ้ากรมแผนที่ ก็เขียนเมืองทรายขาว” (เติม วิภาคย์จนกิจ,๒๕๓๐:๓๑๙)
                นอกจากนี้พื้นที่ลุ่มน้ำเลยตั้งแต่บ้านทรายขาวจนถึงสบเลย เช่นบ้านท่าข้าม อำเภอเมืองเลย บ้านธาตุอำเภอเชียงคาน ยังมีชุมชนดั่งเดิมอยู่ โดยเฉพาะที่บ้านท่าข้าม  พบศิลาจารึกวัดห้วยห้าว  (วัดร้าง) ริมฝั่งแม่น้ำเลย เป็นจารึกบอกย้ำอาณาเขต  และการบูรณวัดห้วยห้าว (ดนุพล ไชสินธุ์. ๒๕๓๗ : ๘๐-๘๔)
                ปัจจุบันกรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุเรียบร้อยแล้วในประกาศ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๘ ฉบับที่ ๗๐ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย สถาบันราชภัฎเลย
                ทั้งหลักฐานโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นกล้องยาสูบ เศษเครื่องถ้วยชามจากการสำรวจของโครงการโบราณคดี
เขื่อนผามอง หรือศิลาจารึกวัดห้วยห้าว ๒ หลักที่พบ ล้วนแสดงให้เห็นว่าวัดห้วยห้าวเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (เติม  วิภาคย์พจนกิจ,๒๕๓๐ : ๒๕-๒๗)
              ๓. ยุครัตนโกสินทร์
                เมืองเลยมีประวัติความเป็นมาแน่ชัดอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้พระยาท้ายน้ำไปสำรวจทำบัญชีไพร่สม เมื่อเดินทางขึ้นไปจนถึงเมืองลมหรือเมืองหล่มบาจาย (อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์) คงจะได้ทราบ กิตติศัพท์ถึงเมืองทรายขาวจากผู้คนในท้องถิ่น ด้วยชาวเมืองลมหรือ
เมืองหล่มเก่าผู้คนพูดสำเนียงเดียวกันกับผู้คนในเมืองทรายขาว ด้วยความสนใจจึงได้เดินทางข้ามภูเขาหลวงมาสำรวจ เห็นเมืองทรายขาวเป็นชุมชนใหญ่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น น่าที่จะได้รับการพิจารณาให้ตั้งขึ้นเป็นเมืองได้  แต่ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุอื่น เช่น เมืองทรายขาวเคยเป็นเมืองมาก่อน แต่ได้สิ้นสภาพความเป็นเมืองด้วยเหตุแห่งทุพภิกขภัย  พระยาท้ายน้ำ  ต้องเดินทางไปสำรวจจนถึงบ้านแฮ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่มีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่น ทั้งยังมีความศรัทธาเชื่อมั่นต่อผู้คนในกลุ่ม และได้คัดเลือก ท้าวคำแสนกับท้าวเหง้า สองพี่น้องเชื้อสายหลวงพระบาง ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครอง   พระยาท้ายน้ำ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านแฮ ขึ้นเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองเลย” ตามชื่อแม่น้ำเลย   
                ท้าวคำแสนกับท้าวเหง้า สองพี่น้องได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นหลวง   เป็นที่หลวงศรีสงคราม   เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองเลยในชั้นต้น  
                 หลวงศรีสงคราม (คำแสน)  กับหลวงศรีสงคราม (คำเหง้า) ปกครองเมืองเลยไปจนสิ้นสมัย (๒๓๙๖-๒๔๑๖) เป็นเวลา ๒๐ ปี ต่อจากนั้นทางราชการจึงได้ส่ง หลวงราชภักดี  (สนธิ์ฯ) ขึ้นมาทำการปกครองตามนโยบายของรัฐบาลโดยตรง (พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา ของจังหวัดเลย,๒๕๔๒ : ๙๖-๙๗)
                 สำหรับเมืองเลยซึ่งขึ้นอยู่ในมณฑลลาวพวน (มณฑลอุดร) ได้มีอำเภอขึ้นอยู่ในปกครองครั้งแรกรวม ๓ อำเภอ คือ อำเภอกุดป่อง (อำเภอเมืองเลย) อำเภอท่าลี่ (พ.ศ.๒๔๓๒) และอำเภอนากอก
       ส่วนอำเภอนากอกที่อยู่ในเขตการปกครองของเมืองเลยนั้น เดิมอยู่ในแขวงไชยบุรีในปี พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เมื่อฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงของประเทศไทยไปหมด และยังได้เข้ามายึดครอง เอาบริเวณแขวงไชยบุรีของไทย ที่อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงไปอีก อำเภอนากอก ที่อยู่ในแขวงไชยบุรี จึงตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว เมืองเลยจึงตั้งบ้านอาฮีที่อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำเหืองของไทย ขึ้นเป็นอำเภออาฮี แทนอำเภอนากอก เป็นการชั่วคราว (อำเภอนากอก ปัจจุบันคือ บ้านนากอก แขวงไชยบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
                 ต่อมาเมื่อได้มีการแก้ไขการปกครองให้เป็นแบบเทศาภิบาลที่สมบูรณ์ ได้ยุบอำเภออาฮีลงเป็นตำบลอาฮีขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอท่าลี่ ได้มีการโอนอำเภอต่าง ๆ ให้ขึ้นอยู่ในการปกครองของเมืองเลย เช่น อำเภอด่านซ้าย เมืองพิษณุโลก อำเภอเชียงคาน จากเมืองพิชัย และยกฐานะแขวงวังสะพุงขึ้นเป็นอำเภอวังสะพุงโอนจากเมืองหล่มสัก เมืองเลยจึงมีอำเภอเกิดขึ้นในระหว่างนั้น รวม ๕ อำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย อำเภอท่าลี่ อำเภอด่านซ้าย อำเภอเชียงคาน และอำเภอวังสะพุง
                 ปัจจุบันจังหวัดเลยเป็น ๑ ใน ๑๙ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ๑๔ อำเภอ ๘๙ ตำบล  ๙๑๖ หมู่บ้าน มี ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑ เทศบาลเมือง ๒๓ เทศบาลตำบล ๗๖ องค์การบริหารส่วนตำบล

 
 
 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf