ราชาธิปไตย กับ สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มกุฎสาธารณรัฐ หรือราชาธิปไตยแบบรัฐสภา
นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบ็จเจิต นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน

คอลัมนิสต์

ความแตกต่างระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับพระมหากษัตริย์ภายใต้

มีผู้อธิบายว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองคนเดียวที่มีอำนาจอันชอบธรรมสูงสุด และอำนาจนี้

ไม่ถูกจำกัดตีกรอบโดยกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ หรือโดยองค์กรนิติบัญญัติใดๆหรือโดยจารีตประเพณีใดๆ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันพระมหากษัตริย์มักจะสืบสายโลหิต แต่ก็ไม่เป็นจำเป็นเสมอไป”  

ส่วน พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็น “ระบบการปกครองที่องค์พระมหากษัตริย์แบ่งปันอำนาจกับองค์กรการปกครองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ องค์พระมหากษัตริย์ในทางปฏิบัติอาจจะเป็นประมุขของรัฐหรือเป็นเพียงผู้นำในทางพิธีการเท่านั้น รัฐธรรมนูญ (ในรูปแบบการปกครองแบบนี้/ผู้เขียน) จะจัดการแบ่งสันอำนาจการปกครองที่เหลือให้กับองค์กรนิติบัญญัติและตุลาการ” 

 และเมื่อนำคำอธิบายจากข้างต้นมาสังเคราะห์ จะได้ความว่า การปกครองทั้ง 2 แบบนี้ มีความเหมือนกัน ประการแรกคือ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ประการที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจ นอกนั้นคือ ความแตกต่างและความแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ในการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระราชอำนาจที่ไม่ถูกจำกัดตีกรอบโดยกฎหมายหรือองค์กรสถาบันใดๆ และบางทีก็ไม่ถูกจำกัดแม้แต่จารีตประเพณีด้วย ส่วนพระมหากษัตริย์ในการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น พระราชอำนาจถูกจำกัดตีกรอบโดยกฎหมายหรือองค์กรสถาบัน 

ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญคือ พระราชอำนาจถูกจำกัดตีกรอบหรือไม่ถูกจำกัดตีกรอบ และถ้าจะพิจารณาจากความแตกต่างดังกล่าวนี้ จะพบว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ การปกครองที่พระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ไม่ถูกจำกัด และพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ในการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญถูกจำกัด จากจุดนี้ ทำให้เห็นได้ว่า แท้จริงแล้ว การปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญคือ การปกครองแบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองที่เรียกว่า การปกครองที่จำกัดพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ หรือที่มีศัพท์เรียกว่า “ปรมิตตาญาสิทธิราชย์” (limited monarchy)  ซึ่งอยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัดอีกทอดหนึ่ง (limited government) 

การปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญคือ การปกครองแบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจจำกัด เพราะการจำกัดพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์มิได้จำกัดโดยรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่อาจจะจำกัดโดยองค์กรและสถาบันทางการเมืองได้ นั่นคือ องค์กรและสถาบันทางการเมืองเป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดกรอบในการจำกัดพระราชอำนาจ รวมทั้งการตีความ ชี้ขาด และแก้ไขเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพระราชอำนาจในรัฐธรรมนูญ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) ยังสามารถแยกย่อยลงไปได้อีกว่า การจำกัดพระราชอำนาจนั้น จำกัดในแบบไหน ถ้าจำกัดโดยรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ในลักษณะนี้ก็จะเข้าข่ายการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) หากจำกัดพระราชอำนาจโดยรัฐสภาเป็นองค์กรสูงสุดในการวางกรอบจำกัดพระราชอำนาจก็จะเข้าข่ายการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐสภา (parliamentary monarchy)

ดังนั้น โดยเบื้องต้น ในการจัดแบ่งประเภทของรูปแบบการปกครองที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงควรแบ่งระหว่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับปรมิตตาญาสิทธิราชย์ แล้วเมื่อเป็นปรมิตตาญาสิทธิราชย์ ในขั้นต่อไป จึงค่อยพิจารณาแบ่งออกเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐสภา แม้ว่าเราจะทราบว่า การปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐสภา (parliamentary monarchy) อยู่ภายใต้ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ เพราะพระราชอำนาจถูกจำกัดตีกรอบ แต่คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การจำกัดตีกรอบพระราชอำนาจนั้น ไม่ว่าจะในการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐสภา มีเกณฑ์หรือไม่ว่าจะต้องมีการจำกัดตีกรอบพระราชอำนาจแค่ไหน ถึงจะเข้าข่ายเป็นการปกครองที่อยู่ภายใต้ปรมิตตาญาสิทธิราชย์? หรือเพียงแค่มีการจำกัดพระราชอำนาจโดยรัฐธรรมนูญหรือโดยรัฐสภา แม้จะเป็นการจำกัดพระราชอำนาจไม่มากก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการปกครองที่อยู่ภายใต้ปรมิตตาญาสิทธิราชย์? 

ด้วยเหตุนี้เอง ที่นักรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองเปรียบเทียบ อย่าง Alfred Stepan, Juan J. Linz, และ Juli F. Minoves ได้สร้างตัวแบบขึ้นมาใหม่เพื่อใช้เรียกรูปแบบการปกครองที่พระมหากษัตริย์ยังทรงปกครองและมีพระราชอำนาจไม่จำกัดในปัจจุบันว่า การปกครองที่กษัตริย์ยังทรงปกครองอยู่ (ruling monarchies) ขณะเดียวกัน นักวิชาการทั้ง 3 นี้ ก็เห็นด้วยว่า ในปัจจุบัน ตัวแบบที่เรียกว่า “การปกครองแบบพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ” (constitutional monarchy) เป็นตัวแบบที่กว้างเกินไป ไม่เพียงพอที่จะใช้ในการทำความเข้าใจการพัฒนาประชาธิปไตยในการปกครองที่ยังมีพระมหากษัตริย์อยู่ 

โดย Stepan, Linz และ Minoves ได้ขยายความให้เห็นถึงความไม่พอเพียงของตัวแบบพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยยกตัวอย่าง การปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของจักรวรรดิเยอรมนี (Imperial Germany) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แม้ว่าพระเจ้าไกเซอร์ ทรงปกครองตามรัฐธรรมนูญร่วมกับสภาล่าง ที่เลือกตั้งมาบนพื้นฐานของการให้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปแก่พลเมืองทุกคน และสภานิติบัญญัตินี้ก็มีอำนาจในการตัดสินกำหนดงบประมาณแผ่นดิน แต่พระเจ้าไกเซอร์ไม่เพียงแต่มีอำนาจส่วนพระองค์ในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี (the chancellor) และทรงมีพระราชอำนาจในการบัญชาการกองกำลัง แต่ยังทรงมีพระราชสิทธิ์ในการเรียกประชุมหรือปิดประชุมสภา ทั้ง 2 ระดับของสหพันธรัฐได้  สภาพการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ Stepan, Linz และ Minoves เห็นว่า ระบอบการปกครองดังกล่าวมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตีกรอบพระมหากษัตริย์ แต่ไม่เป็นประชาธิปไตย 

พวกเขาจึงเสนอตัวแบบที่เรียกว่า democratic parliamentary monarchy หรือ DPM ที่จะต้องมีความแน่นอนชัดเจนว่า รัฐสภาจะต้องมีอำนาจเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่กระนั้นคำถามที่ตามมาก็คือ ถ้าเช่นนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ใน DPM ก็มีสถานะไม่ต่างจากตรายางเท่านั้น? ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ใช่ พระราชอำนาจควรมีมากน้อยแค่ไหน? หรือขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละสังคม?

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ราชาธิปไตย ต่างกันอย่างไร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของรัฐและการบริหาร ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) กษัตริย์เป็นประมุขที่มีอำนาจจำกัด เช่น ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) ซึ่งพระราชอำนาจจะจำกัดอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

การปกครองแบบราชาธิปไตยมีความสําคัญอย่างไร

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อังกฤษ: constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหา ...

การสิ้นสุดการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลอย่างไร

การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. 2475.

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

[สมบูระนายาสิดทิราด] น. ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ. (อ. absolute monarchy). ดูคำอื่นๆในหมวดแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน สมสมการสมการเคมีสมคบสมควรสมคะเนสมจรสมจริงสมจริงสมจังสมจารี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf