การรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุกี่ปี

เรื่องสำคัญที่บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมต้องรู้

Published by law_admin on 19/02/202219/02/2022

เรื่องสำคัญที่บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมต้องรู้ !

 

         เรื่องนี้ เหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงนั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของใครหลายๆคนมาก อย่างเช่น ตัวของทนายความผู้เขียนเอง ก็เป็นลูกบุญธรรมของป้าเช่นกัน และผู้เขียนก็เชื่อว่าในปัจจุบันนี้ หลายๆครอบครัวก็แต่งงานกันแล้ว แต่ก็ยังไม่มีลูกเนื่องจากแต่งงานตอนอายุมากแล้ว ดังนั้น การรับบุตรบุญธรรมก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

         ซึ่งกฎหมายก็ได้กำหนดเงื่อนไขของการรับบุตรบุญธรรมเอาไว้ โดยคนที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรมได้นั้น จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าคนที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

         ยกตัวอย่าง เช่น นางสาวอั้มซึ่งมีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ ต้องการรับเด็กซักคนเป็นบุตรบุญธรรม เด็กคนนั้นก็ต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี นางสาวอั้มจึงจะมีสิทธิรับเป็นบุตรบุญธรรมได้

         และถ้าผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ก็ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน เว้นแต่ คู่สมรสไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่น เป็นคนวิกลจริต หรือไปจากที่อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ก็ต้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทน

         การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งสามารถจดได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ และจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์) หรือบิดา มารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม (กรณีอายุต่ำกว่า 15 ปี)

         ซึ่งที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงรายละเอียดคร่าว ๆ ของการรับบุตรบุญธรรม ส่วนเรื่องที่ทนายผู้เขียนตั้งใจจะนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านในบทความนี้นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม

         เนื่องจากว่า ตามกฎหมายนั้นได้กำหนดให้คนที่เป็นบุตรบุญธรรมนั้น มีฐานะอย่างเดียวกับลูกแท้ ๆ ของผู้รับบุตรบุญธรรม ดังนั้น เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตาย บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเหมือนลูกแท้ ๆ คนหนึ่ง

         นอกจากนั้น บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ตนได้กำเนิดมา เช่น มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อแม่ที่แท้จริง หรือมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ให้กำเนิดอยู่

         แต่ในทางกลับกัน การรับบุตรบุญธรรมนั้น ไม่ได้ทำให้ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมแต่อย่างใด กล่าวคือ หากบุตรบุญธรรมทำงานมีฐานะหรือมีทรัพย์สินขึ้นมาก และเกิดเสียชีวิตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเลย

         อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีช่องทางของกฎหมายอยู่บ้าง คือ หากบุตรบุญธรรมต้องการให้พ่อหรือแม่บุญธรรมของตนได้รับมรดก ก็สามารถทำพินัยกรรมยกให้กับผู้รับบุตรบุญธรรมได้

.

สถิตย์ อินตา ทนายความ

083-5681148

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : //numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : //bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สังกัด กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2520 และตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการและดูแลด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 และตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ในส่วนภูมิภาคได้แต่งตั้งให้มีคณะอนุกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ โดยมีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นสำนักงานเลขานุการ

การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นการให้บริการด้านสวัสดิการเด็ก การดำเนินงานให้รับเด็กเป็นบุตร บุญธรรมจำเป็นต้องอาศัยหลักของกฎหมายควบคู่กับหลักการทางสังคมสงเคราะห์ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร เป็นต้น

การขอรับเด็ก (ผู้เยาว์) เป็นบุตรบุญธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

คุณสมบัติตามกฎหมายของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
1. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี (นับตั้งแต่วันเกิด ถึงวันที่ยื่นคำร้อง)
2. ต้องมีอายุมากกว่าเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ไม่น้อยกว่า 15 ปี
3. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามเป็นผู้ปกครองเด็กตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่

  • ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
  • ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์ หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
  • ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดา หรือมารดากับผู้เยาว์
  • ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อ ห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง

หลักเกณฑ์การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
1. ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นคนสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ซึ่งขอรับเด็กสัญชาติไทยที่บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาเป็นผู้ให้ความยินยอม หรือเด็กที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดา และได้ผ่านการทดลองเลี้ยงดูครบกำหนดแล้ว
2. ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นคนสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ซึ่งขอรับเด็กสัญชาติไทยที่ได้รับยกเว้นการทดลองเลี้ยงดูตามกฎหมาย

คุณสมบัติทางสังคมของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
1. เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ ครอบครัวอบอุ่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวดี
2. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
3. ต้องมีฐานะการครองชีพที่มั่นคง มีทรัพย์สินและรายได้ที่แน่นอน ไม่มีหนี้สิน และมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูหรือสนับสนุนการศึกษาของเด็ก
4. ต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ถูกสุขลักษณะ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่อยู่ห่างไกลจากชุมชนมากเกินไป
5. ต้องมีเวลาให้กับเด็กที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม ให้ความสำคัญ และเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด
6. ต้องมีเหตุผลในการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เหมาะสม ไม่เชื่อถือเรื่องโชคลาง รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอย่างเปิดเผยและจริงใจ ไม่ได้รับการคัดค้านจากสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง
7. ต้องไม่มีบุตร หรือเด็กในความอุปการะมากเกินไป เพื่อให้บุตรบุญธรรมได้รับความรักและการเอาใจใส่อย่างเต็มที่
8. ไม่เคยมีประวัติกระทำความผิดตามกฎหมาย หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ต่อบุคคลอื่นหรือประพฤติผิดศีลธรรมและจารีตประเพณีอันดีงาม
9. ต้องมีวุฒิภาวะเหมาะสมที่จะอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนให้บุตรบุญธรรมประพฤติตนเป็นคนดี

เอกสารประกอบการพิจารณาของฝ่ายผู้ขอและคู่สมรส
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ
3. สำเนาทะเบียนสมรส 1 ฉบับ หรือสำเนาทะเบียนการหย่า หรือสำเนาใบมรณะบัตร (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)
4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล คนละ 1 ฉบับ
5. ใบรับรองแพทย์แสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ คนละ 1 ฉบับ (ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว เท่านั้น คนละ 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
7. หากผู้ขอมีบุตรอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บุตรต้องมาลงนามยินยอมให้บิดามารดารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และแนบสำเนาบัตรประชาชนของบุตร คนละ 1 ฉบับ หากบุตรไม่สามารถมาลงนามได้ ให้ผู้ขอรับเด็กทำบันทึกระบุเหตุผลที่บุตรไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอม และให้บุตรนั้นทำบันทึกแสดงความยินยอมให้บิดามารดารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
8. หากคู่สมรสไม่ขอรับเด็กเป็นบุตรด้วย คู่สมรสต้องมาลงนามแสดงความยินยอมให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฝ่ายเดียวต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอม ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องมีคำสั่งอนุญาตของศาลแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น
9. กรณีผู้ขอรับเด็ก (มีสัญชาติไทย ไม่ได้ CITIZEN หรือ GREENCARD) ทำงานและอาศัยอยู่ต่างประเทศให้นำสำเนาหนังสือเดินทาง หนังสืออนุญาตทำงาน หนังสือรับรองการทำงานและรายได้ และทำหนังสือขอความร่วมมือเยี่ยมบ้านในต่างประเทศโดยต้องระบุสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่อยู่ของตน และยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในการติดตามเยี่ยมบ้าน และติดตามการทดลองเลี้ยงดูเด็ก (กรณีต้องทดลองเลี้ยงดูเด็กตามกฎหมาย) ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (หลักฐานที่เป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย โดยแปลอย่างถูกต้อง และได้รับการรับรอง)
10. หากผู้ขอรับเด็กมีคู่สมรส ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่อยู่กินร่วมกันฉันท์สามีภรรยา คู่สมรสนั้นไม่สามารถขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมร่วมได้ และต้องลงนามในเอกสารคำร้องขอรับเด็ก พร้อมมีเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้น

เอกสารประกอบการพิจารณาของบิดามารดาเด็ก

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ
  3. สำเนาทะเบียนสมรสหรือสำเนาทะเบียนการหย่าและบันทึกการหย่าซึ่งระบุว่าฝ่ายใดเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร หรือสำเนาใบมรณะบัตร (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต) จำนวน 1 ฉบับ
  4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล คนละ 1 ฉบับ
  5. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้วเท่านั้น คนละ 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
  6. บิดามารดาเด็กต้องมาลงนามแสดงความยินยอมมอบเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ถึงแม้บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตหรือถูกถอนอำนาจปกครอง

เอกสารประกอบการพิจารณาของเด็ก

  • สำเนาสูติบัตรเด็ก จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล จำนวน 1 ฉบับ
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว เท่านั้น จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) กรณีเป็นเด็ก อายุตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี อนุโลมให้ใช้รูปขนาดโปสการ์ดได้
  • กรณีเด็กมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี เด็กต้องมาลงนามแสดงความยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่
  • กรณีเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้เด็กเขียนบันทึกระบุเหตุผลที่ต้องการ และยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ขอรับเด็ก

เอกสารประกอบการพิจารณาของผู้รับรอง จำนวน 2 คน ผู้รับรองต้องรู้จักกับผู้ขอรับเด็ก เช่น บิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หัวหน้าหน่วยงาน

1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ คนละ 1 ฉบับ
2.  สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 1 ฉบับ

ผู้รับรองไม่ต้องมาในวันที่ผู้ขอรับเด็กนำคำร้องมายื่น แต่ต้องรับรองสำเนาเอกสารของตนเองให้เรียบร้อย
** บุคคลที่เชื่อถือได้ ในแบบ บธ.4 หน้าที่ 5, ผู้รับรองในแบบ บธ. 7 ข้อ 11 และผู้รับรองที่ลงนามในหนังสือรับรองต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันเท่านั้น
***การรับรองใน แบบ บธ. 7 ข้อ 11 ของผู้รับรอง ให้เขียนรับรองผู้ขอรับเด็กว่ามีความเหมาะสมที่จะเลี้ยงดูเด็กอย่างไรบ้างตามความคิดเห็นของผู้รับรอง เช่น ความมั่นคงของรายได้ หน้าที่การงาน ความประพฤตินิสัยใจคอ อารมณ์จิตใจ สภาพครอบครัว และให้ระบุระยะเวลาที่ผู้ขอรับเด็กได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กด้วย

หมายเหตุ 
1. เอกสารหลักฐานของทุกคน (ยกเว้นของผู้รับรอง) ให้นำฉบับจริงมาแสดงด้วย ในวันที่นำคำร้องขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมายื่น
2. ไม่อนุญาตให้ผู้ขอรับเด็ก หรือบุคคลอื่นใดนำหนังสือแสดงความยินยอมต่าง ๆ ไปให้ผู้ที่ต้องมาลงนามต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ไปลงนามที่อื่นทุกกรณี

กรณีชาวต่างชาติขอรับบุตรติดภรรยาหรือหลานของภรรยาเป็นบุตรบุญธรรม
สถานที่ติดต่อยื่นเรื่อง
ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เลขที่ 255 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2354-7500, 0-2354-7509  (ตั้งอยู่ในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี)

เอกสารที่ต้องเตรียม (พร้อมทั้งเตรียมเอกสารฉบับจริงเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่)

ผู้ขอรับเด็กและคู่สมรส
1. สำเนาหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
2. สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน คนละ 2 ฉบับ
3. ใบรับรองจากแพทย์ซึ่งแสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ คนละ 1 ฉบับ
4. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว คนละ 4 รูป พร้อมทั้งรูปบุตรในครอบครัว (ถ้ามี)
5. เอกสารแสดงทรัพย์สิน
6. เอกสารรับรองการทำงานและรายได้ และเอกสารรับรองการเงินย้อนหลัง ไม่เกิน 6 เดือนและใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (WORK PERMIT)
7. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า
8. สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน คนละ 2 ฉบับ
9. เอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่รับรองว่าสามารถรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมาย
10. เอกสารจากหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองที่ผู้ขอมีภูมิลำเนาอยู่ ซึ่งรับรองว่าสามารถนำเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเข้าประเทศได้
11. เอกสารรับรองความประพฤติและความเหมาะสมทั่วไปจากบุคคลที่เชื่อถือได้ 2 คน เอกสารจะต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ขอด้วย

บิดามารดาเด็กหรือผู้ปกครอง
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง คนละ 2 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านคนละ 2 ฉบับ
3. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกการหย่าหรือสำเนาใบมรณะบัตรหรือคำสั่งศาล
4. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว คนละ 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – สกุล

เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
1.  สำเนาสูติบัตรเด็ก 2 ฉบับ
2.  สำเนาทะเบียนบ้านเด็ก 2 ฉบับ
3.  สำเนาการเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
4.  รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว 2 รูป (ถ้าเป็นเด็กอนุโลมให้ใช้รูปถ่ายขนาดโปสการ์ดได้)
5.  ถ้าเด็กอายุเกิน 15 ปี บริบูรณ์ ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ

หมายเหตุ
ติดต่อศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม E-mail Address:adoption@loxinfo.co.th

*** กรณีชาวต่างประเทศยื่นคำขอรับเด็กผ่านหน่วยงานต่างประเทศ จะไม่อนุญาตให้บิดามารดาเด็กลงนามในหนังสือแสดงความยินยอม (บธ.6) ก่อนที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะได้รับเอกสารคำขอรับเด็กจากหน่วยงานของประเทศที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่

ที่มา : สหทัยมูลนิธิ.2554. เอกสารการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม : ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม.กรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

Submit Rating

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.2 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 47

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้

โฆษณา

  • แท็ก
  • บุตรบุญธรรม
  • สวัสดิการ
  • สหทัยมูลนิธิ
  • อุปการะเด็ก

RSATHAI

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากผู้เขียน

คำนวณอายุครรภ์

ประจำเดือนครั้งล่าสุด

Please, Enter all values correctly.

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

สัปดาห์ วัน

เรื่องราวอัพเดทใหม่

4.5 (272)

เลือดล้างหน้าเด็กคืออะไร จะท้องไหม ตรวจตั้งครรภ์เมื่อไหร่ดี

4.5 (275)

3 อาการที่ปกติ และ 7 สัญญานที่ไม่ปกติหลังทำแท้ง ยุติการตั้งครรภ์ เป็นอย่างไร

Twitter #rsathai

RSATHAI Follow

ยุติการตั้งครรภ์ ทำแท้ง เป็นบริการสุขภาพเมื่อท้องไม่พร้อม ปรึกษาออนไลน์ //t.co/ewtgWlGT6J ยุติการตั้งครรภ์ //t.co/Iqw1gbh3dI

Retweet on Twitter RSATHAI Retweeted

RSATHAI @rsathaiorg ·

11 มี.ค.

การซื้อ #ยาทำแท้ง ออนไลน์ หรือไปทำแท้งกับผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ เราพบว่าผู้หญิงถูกหลอก ไม่ได้รับยา หรือได้รับคำแนะนำการใช้ยา ขนาดของยาที่ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับอายุครรภ์ ได้ยาไม่มีคุณภาพ ยาปลอม ใช้แล้วไม่แท้ง เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา และยังคงท้องต่อไป (1)

Reply on Twitter 1502220708377554944 Retweet on Twitter 1502220708377554944 15 Like on Twitter 1502220708377554944 6 Twitter 1502220708377554944

RSATHAI @rsathaiorg ·

14 ธ.ค.

สิ่งที่ต้องรู้มาตั้งหลายปีแล้ว การยุติการตั้งครรภที่ทันสมัยและปลอดภัยนั้น มี 2 วิธี

1. ยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยา
- น้อยกว่า 12 สัปดาห์ สามารถใช้ยาด้วยตนเองที่บ้านได้อย่างปลอดภัยภายใต้การดูแลของแพทย์
- มากกว่า 12 สัปดาห์ รับบริการที่ รพ. อาจมีการพักค้าง 1-3คืน (1)

Reply on Twitter 1602935484874838021 Retweet on Twitter 1602935484874838021 61 Like on Twitter 1602935484874838021 20 Twitter 1602935484874838021

RSATHAI @rsathaiorg ·

9 ธ.ค.

Live การแถลงรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย "แถลง 10 ก้าวหน้า 10 ถดถอย สิทธิมนุษยชน 2565" //facebook.com/845823472249099/videos/709108287066912

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf