โครงการในพระราชดําริ ร.10 ทั้งหมดมีกี่โครงการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฏรเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ ของพระองค์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริ ที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้เกิดความ "พออยู่ พอกิน”

ความรักและความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่านสะท้อนผ่านการทรงงานอย่างหนักเพื่อให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นในทุกด้าน ทุกๆ เดือน ทุกๆ ปีพระองค์ท่านทรงสร้างโครงการตามพระราชดำริขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้อยู่กันอย่างผาสุกตลอดไป

1. โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์

จากคลองลัดโพธิ์ในเขตอำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการที่แรกเริ่มเดิมทีขุดขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางลัดระหว่างลำน้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งเมื่อขาดการใช้งานมาเป็นเวลานานจึงมีสภาพตื้นเขินและเมื่อถึงฤดูที่ น้ำเหนือไหลหลากหรือมีปริมาณฝนตกชุกการระบายน้ำจึงเป็นไปได้ช้า และเกิดสภาพน้ำาท่วมขังพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) มีแนวพระราชดำริปรับปรุงคลองลัดโพธิ์โดยจัดทำเป็นโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเร่งระบายน้ำเหนือออกสู่ทะเลช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑลเนื่องจากคลองที่ขุดขยายเป็นการย่นระยะทางและเวลาการไหลของน้ำในบริเวณพื้นที่กระเพาะหมู ที่แต่เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาต้องไหลอ้อมถึง 18 กิโลเมตร ก็สามารถไหลลงทะเลได้รวดเร็วขึ้น ด้วยระยะทางเพียง 600 เมตร ทั้งยังสามารถบริหารจัดการนด้วยการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงและน้ำทะเลหนุนสูงนอกจากนี้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ยังมีศักยภาพในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ

ซึ่งกรมชลประทานได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาและวิจัยประดิษฐ์กังหันไฟฟ้าพลังน้ำไหลต้นแบบขึ้นมาสองแบบ

คือ แบบหมุนตามแนวแกนและแบบหมุนขวางการไหล

ทั้งยังคำนึงถึงสภาพทางสังคมและชุมชน

นับเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้หลักธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

ประโยชน์ของการลัดน้ำของคลองลัดโพธิ์ได้สร้างความสุขให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โครงการประตูระบายน้ำาคลองลัดโพธิ์
ม. 9 ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
โทร : 0 2464 2058
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น.
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง กรุงเทพฯ - โครงการประตูระบายน้ำาคลองลัดโพธิ์
พิกัดภูมิศาสตร์ : N13° 39.877’ E100° 32.325’
LAT 13.666776 LONG 100.537085
จากถนนสุขสวัสดิ์

ไปยังถนนนครเขื่อนขันธ์ วิ่งเข้าถึงตลาดพระประแดง

แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรหึงษ์ ตรงไปเรื่อยๆ

ก็จะถึงสวนสุขภาพลัดโพธิ์และโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์

2. โครงการพัฒนาดอยตุง

“ฉันจะปลูกป่าดอยตุง”

พระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า

ที่ในเวลาต่อมาได้ก่อตั้งเป็นโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน)

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โดยพระองค์ทรงได้รับ แรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 9)

ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยทรงสังเกตเห็นว่าชาวไทยภูเขาส่วนใหญ่ยากจนและขาดโอกาสในการดำเนินชีวิต

พระองค์จึงมีพระราชปณิธานริเริ่มทำเป็นโครงการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ

ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมป์

เพื่อขยายผลการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ให้มีความรู้ มีอาชีพ

สามารถเลี้ยงตัวเองได้

พร้อมกับพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เคยเสื่อมโทรมบนดอยตุงให้กลับมีความอุดมสมบูรณ์

ด้วยการปลูกป่าและส่งเสริมให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีจิตสำนึกและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ

ไม่ใช่แค่การปลูกพืชทดแทน แต่เป็นการพัฒนาที่มีความหลากหลายในการดำรงชีวิตที่ทำได้จริง

โดยเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ชุมชนดอยตุงสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการพัฒนาดอยตุง
ศูนย์ท่องเที่ยวและบริการ สำนักงานประสานงาน โครงการพัฒนาดอยตุง อาคารอเนกประสงค์ พระตำหนักดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 57000
โทร : 0 5376 7015-7
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.
เว็บไซต์ : www.doitung.com , www.doitung.org
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง เชียงราย - โครงการพัฒนาดอยตุง
พิกัดภูมิศาสตร์ : N20° 17.351’ E99° 48.661’
LAT 20.297622 LONG 99.810610
จากอำเภอเมืองเชียงรายไปตามทางหลวงหมายเลข

110 (เชียงราย-แม่สาย) ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่

870-871 มีป้ายบอกทางแยกซ้ายพระตำหนักดอยตุง ระยะทางอีก 17 กิโลเมตร

3. โครงการชั่งหัวมัน

บ้านไร่ของในหลวงแห่งนี้

เป็นอีกหนึ่งโครงการตามแนวพระราชดำริที่เกิดขึ้นจากความเอาพระราชหฤทัยใส่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 9)

ที่ทรงมีต่อราษฎรให้สามารถนำแนวทางไปดัดแปลงใช้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผืนดินของตนเอง

เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

โดยทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณใกล้อ่างเก็บน้ำหนองเสือ

บ้านหนองคอไก่ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ประมาณ 250 ไร่

ซึ่งผืนดินบริเวณนี้แห้งแล้ง ประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ

มีพระราชดำริให้ใช้พื้นที่ทั้งหมดจัดทำเป็นโครงการตัวอย่างแบบบูรณาการด้านการเกษตรและปศุสัตว์

ภายใต้ชื่อ “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ” โดยสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ

อาคาร ติดตั้งระบบไฟฟ้า

พัฒนาปรับปรุงและปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นแปลงปลูกพืชผัก ผลไม้

และสัตว์เลี้ยง ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

โดยคาดหวังว่าอนาคตที่นี่จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่สมบูรณ์แบบสำหรับประชาชนทั่วไป

โครงการชั่งหัวมัน
1 ม.5 บ้านหนองคอไก่ ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 76130
โทร : 0 3247 2701-2 , 0 3265 3868
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น.
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง กรุงเทพฯ - โครงการชั่งหัวมัน
พิกัดภูมิศาสตร์ : N12° 44.699’ E99° 42.330œ’
LAT 12.747213 LONG 99.703830
จากกรุงเทพฯ

ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี

ผ่านตัวเมืองเพชรบุรีไปประมาณ 20 กิโลเมตร

ขับผ่านสี่แยกไฟแดงท่ายางมาประมาณ 4 กิโลเมตร พบทางแยกขวามือ

ให้เลี้ยวขวาไปอีก 15 กิโลเมตร แล้วตรงไปสะพานสามแยกไปทางเขาลูกช้าง

จากจุดนี้มีป้ายบอกไปโครงการชั่งหัวมัน ให้ขับตามป้ายไปราว 20 กิโลเมตร

ถึงจุดหมายปลายทางที่โครงการชั่งหัวมัน

4. ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน

จากสภาพพื้นที่เดิมในบริเวณนี้ที่เนื้อดินเป็นทราย

ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการชะล้างพังทลายของดินสูง ดินรองรับน้ำได้น้อย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9)

มีแนวพระราชดำริกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน

อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแหล่งรวบรวม

ศึกษา ทดลอง วิจัย

และพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ทางการเกษตรให้เป็นศูนย์ด้านเกษตรกรรมที่สมบูรณ์แบบด้วยวิธีการเกษตรแผนใหม่

ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ ฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาที่ดิน

การวางแผนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสพึ่งพาตนเองได้

อีกทั้งยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตและเป็นศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ

ถือเป็นต้นแบบแนวทางและตัวอย่างการพัฒนาให้แก่พื้นที่อื่นได้อย่างยั่งยืน

ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน
7 ม.2 ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120
โทร : 0 3855 4982-3
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
เว็บไซต์ : www.khaohinsorn.com
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง กรุงเทพฯ - ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน
พิกัดภูมิศาสตร์ : N13° 45.210’ E101° 30.131’
LAT 13.753684 LONG 101.500191
จากกรุงเทพ

ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ไปทางมีนบุรี มุ่งสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร จากตัวเมืองฉะเชิงเทราใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304

ไปทางอำเภอพนมสารคาม บริเวณกิโลเมตรที่ 51 - 52

5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 9) มีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เมื่อ พ.ศ.

2524 ความว่า

“…ให้พิจารณาพื้นที่เหมาะสม จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี…”

ต่อมาจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ

ที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม กำหนดบริเวณตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่

ให้เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนขึ้น

เพื่อดำเนินการศึกษา สาธิต

และพัฒนาที่ดินชายฝั่งทะเลอ่าวคุ้งกระเบนและพื้นที่ใกล้เคียง

ด้วยการวางแผนพัฒนาจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมและยั่งยืนอย่างมีระบบ

ตั้งแต่การศึกษาทดลอง วิจัย ทดสอบ สาธิต ขยายผล และการบริหารจัดการ

โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่ประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นศูนย์กลางในการอบรมเผยแพร่ผลการศึกษา การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

พัฒนาด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิต

ตลอดจนพัฒนากิจกรรมอื่นๆ แบบบูรณาการควบคู่ไปด้วย

พร้อมทั้งอนุรักษ์ฟื้นฟูและจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ

ส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับศักยภาพเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน

เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชน

เป็นการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาที่นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินแล้ว

ยังสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ทำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในปี 2543

และรางวัลดีเด่นในปี 2545 ประเภทองค์กรส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว

ในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน
ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22120
โทร : 0 3943 3216-8
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง กรุงเทพฯ - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน
พิกัดภูมิศาสตร์ : N12° 34.217’ E101° 54.000’
LAT 12.571604 LONG 101.895685
จากกรุงเทพฯ

ใช้ถนนสุขุมวิทมุ่งหน้าสู่จังหวัดจันทบุรี จนถึงช่วงหลักกิโลเมตรที่

301-302 ให้เลี้ยวขวาที่เเยกหนองสีงา

จากนั้นวิ่งตรงเข้ามาตามเส้นทางหลักเรื่อยๆ อีกประมาณ 27 กิโลเมตร

ซึ่งจะผ่านทั้งวัดวังหิน วัดรำพัน วัดท่าศาลา

และเมื่อถึงทางแยกที่ตัดกับทางจะไปหาดคุ้งวิมาน ก็ให้เลี้ยวซ้าย

มุ่งหน้าตรงไปสักระยะจะมีป้ายบอกจุดหมายคือศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอยู่เป็นระยะ

6. สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีความอุดมสมบูรณ์ของขุนเขาและป่าไม้

ทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ สถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่งที่ดำเนินงานวิจัยด้านไม้คัดดอก

ไม้ประดับ พืชผัก ผลไม้ และงานประมงบนพื้นที่สูง

รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัยที่จะนำไปสู่การส่งเสริมอาชีพเพื่อให้เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอและเผ่าม้งมีรายได้

พร้อมกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมและการอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร

โดยมุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

ส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง รักษาสภาพแวดล้อม

และเป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้

ทางสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ยังมุ่งเน้นพัฒนาด้าน ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย

ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภาคการเกษตรทั้งพืชผักอินทรีย์ ไม้ผลขนาดเล็ก

ไม้ผลเขตหนาว ไม้ผลเขตร้อน กาแฟ พืชไร่ และดอกไม้แห้ง

ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพนอกภาคการเกษตร

ได้แก่ การพัฒนาด้านความเข้มแข็งและคุณภาพขององค์กร ชุมชน

ตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9)

รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านการท่องเที่ยวด้วย

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
202 ม.7 หมู่บ้านขุนกลาง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160
โทร : 0 5328 6771-2 ต่อ 14-15, 08 0769 1944
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.
ฤดูกาลท่องเที่ยว : พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

การเดินทาง เชียงใหม่ - สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
พิกัดภูมิศาสตร์ : N18° 32.637’ E98° 31.065’
LAT 18.542621LONG 98.517207
จากอำเภอเชียงใหม่ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด

ตามทางหลวงหมายเลข 108 ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 57

ซึ่งอยู่ก่อนถึงตัวอำเภอจอมทอง ประมาณ 1 กิโลเมตร

จะมีทางแยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 (สายจอมทอง-อินทนนท์)

ไปตามเส้นทางสายนี้จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 31 มีทางแยกขวามือบ้านขุนกลาง

เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์

รวมระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ถึงสถานีฯ ราว 91 กิโลเมตร

7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์

เป็นอีกหนึ่งโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 9) ที่ทำการวิจัย ทดสอบ

ค้นหาสายพันธุ์ของพืชที่สามารถต้านทานโรค เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่และฤดูกาล

ให้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดแนะนำ

ส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอหรือเผ่ากะเหรี่ยงให้มีรายได้เลี้ยงชีพแบบพออยู่พอกิน

ด้วยการปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์

รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข

ความเข้มแข็งของชุมชน และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

และวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าให้คงอยู่ตลอดไป

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
ม.7 ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ 58130
โทร : 0 5331 8325 , 08 4365 5405
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง เชียงใหม่ - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
พิกัดภูมิศาสตร์ : N19° 04.165’ E98° 17.500’
LAT 18.935673 LONG 98.373324
จากอำเภอเมืองเชียงใหม่

ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 เข้าสู่อำเภอแม่ริม มุ่งไปยังทางหลวงหมายเลข

1096 ผ่านอำเภอสะเมิงไปบ้านบ่อแก้ว เข้าสู่บ้านวัดจันทร์ รวมระยะทางราว 154

กิโลเมตร

8. โรงเรียนกาสรกสิวิทย์

จากที่ดินกว่าร้อยไร่ในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว

จังหวัดสระแก้ว ที่ นายสมจิตต์ และนางมณี อิ่มเอย น้อมเกล้าฯ

ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการจัดตั้งเป็นโรงเรียนกาสรกสิวิทย์

ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เป็นศูนย์กลางการใช้ประโยชน์จากกระบือในด้านเกษตรกรรมระดับพื้นบ้าน

และเป็นสถานที่สำหรับฝึกกระบือให้สามารถไถนาและทำงานด้านการเกษตรกรรมร่วมกับชาวนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทางโรงเรียนได้เชื่อมโยงกับธนาคารโคกระบือ

เมื่อมีนักเรียนเข้ามาฝึกกับปราชญ์ท้องถิ่นภายในโรงเรียน

ก็จะมีการเบิกกระบือออกมาจากธนาคาร

เพื่อให้กระบือตัวนั้นมาเรียนรู้ ร่วมไปกับนักเรียน

อีกทั้งยังให้ความรู้ในเรื่องของวิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรมการเกษตรท้องถิ่น

ความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านที่เรียบง่าย

และการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 9)

เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันพร้อมกับดูแลสภาพแวดล้อมและรักษาธรรมชาติให้สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างยั่งยืน

โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
999 ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองฯ จ.สระแก้ว 27000
โทร : 0 3724 4657
เว็บไซต์ : www.kasorn.com
เปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.
ฤดูกาลท่องเที่ยว : ตลอดทั้งปี

การเดินทาง กรุงเทพฯ - โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
พิกัดภูมิศาสตร์ : N13° 51.340’ E102° 01.160’
LAT 13.859060 LONG 102.018866
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข

1 (พหลโยธิน) ถึงรังสิต แล้วใช้สะพานวงแหวน แยกขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 305

เลียบคลองรังสิต ผ่านอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

แล้วแยกขวาใช้เส้นทางหมายเลข 33 ผ่านอำเภอกบินทร์บุรี

อยู่ก่อนถึงจังหวัดสระแก้วประมาณ5 กิโลเมตร

9. โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

ลุ่มน้ำปากพนังในอดีตเคยอุดมสมบูรณ์

เปรียบเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เมื่อกาลเวลา ผ่านไป

กลับประสบปัญหาหลายประการ ด้วยสาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สภาพดินมีปัญหา นิเวศแหล่งน้ำขาดสมดุล

เกิดปัญหาอุทกภัย

น้ำเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง ทำให้ชาวบ้านใช้น้ำในการอุปโภค

บริโภคไม่ได้

ปัญหาของดินเปรี้ยวรวมทั้งน้ำเน่าเสียจากพื้นที่ทำนากุ้ง ไหลลงสู่ลำน้ำต่างๆ

จนไม่สามารถนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(รัชกาลที่ 9) จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้กลับคืนสู่พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และยั่งยืน

มีการน้ำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำมาใช้

มีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นเป็นการสร้างรายได้

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดินอย่างจริงจังและ ต่อเนื่อง

ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวและการเกษตรในพื้นที่โครงการฯ

ให้เป็นแหล่งผลิต พันธุ์พืชที่เคยเป็นมาในอดีตให้กลับคืนมาสู่ประชาชนลุ่มน้ำปากพนังเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป

โครงการในพระราชดําริ ร.10 มีกี่โครงการ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5,151 โครงการ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ ดูโครงการทั้งหมด ค้นหาโครงการฯ แผนที่โครงการ โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริทั้งหมด จำนวน 5,151 โครงการ ภาค กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้ อื่นๆ รวมทั้งสิ้น จำนวนโครงการ 855 โครงการ 1,295 โครงการ 1,960 โครงการ 994 โครงการ 47 โครงการ ...

โครงการพระราชดําริมีกี่

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี ๒๔๙๕-๒๕๖๐ (มีจำนวน ๔,๗๔๑ โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๐) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ... ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง อธิบายแต่ละโครงการ

ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

โครงการพระราชดําริ ร.9 มีกี่โครงการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจรอุทกภัยและ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf