พุทธศาสนสุภาษิตมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร

พุทธศาสนิกชนต่างคุ้นเคยกับพุทธศาสนสุภาษิตบทต่าง ๆ ทั้งจากการแสดงพระธรรมเทศนา หรือตามสื่อวิทยุและโทรทัศน์ แต่ผู้คนในสมัยนี้อาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก หรืออย่างหัวข้อของเรื่องนี้ บางคนแม้แต่คิดว่าเรื่องเกี่ยวกับธรรมะไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินได้ วันนี้เรามาหาคำตอบว่า พุทธศาสนสุภาษิตสอนพวกเราเกี่ยวกับการวางแผนการเงินไว้อย่างไรบ้างดีกว่าครับ...

อตฺตทตฺถมภิญฺญาย พึงกำหนดเป้าหมายของตนให้ชัด

จุดเริ่มต้นสำคัญของการวางแผนการเงินก็คือ การกำหนดเป้าหมายในชีวิต บางคนอาจมีเป้าหมายหลายด้าน เช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ การศึกษาของบุตร ในขณะที่บางคนอาจมีเป้าหมายเพียงไม่กี่ข้อ เป้าหมายเหล่านี้จะนำไปสู่จำนวนเงินที่ต้องมีเพื่อบรรลุแต่ละเป้าหมาย โดยเป้าหมายที่เหมาะสมสามารถพิจารณาตามหลัก SMART ได้แก่ S-Specific มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง M-Measurable สามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ A-Achievable สามารถบรรลุได้ ไม่ยากเกินไปและไม่ง่ายเกินไป R-Realistic อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่เราเป็นอยู่ และ T-Timely มีกำหนดเวลาที่แน่นอนโดยที่ยังสามารถปฏิบัติได้

หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส คนผัดวันประกันพรุ่ง มีแต่จะเสื่อม

เมื่อกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ชัดเจนแล้ว จะทำให้เรารู้ว่าต้องมีเงินเท่าใดจึงจะบรรลุแต่ละเป้าหมาย ถึงตรงนี้สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ การมีวินัยในการออมและการลงทุนตามแผนปฏิบัติการ ดังคำกล่าวที่ว่า ออมก่อนรวยกว่า หากเราเอาแต่ผัดวันประกันพรุ่ง โดยคิดว่าไว้เริ่มออมเงินวันหลังดีกว่า ก็จะทำให้เสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทน ซึ่งเป็นไปตามหลัก Time Value of Money หรือมูลค่าของเงินตามเวลา ที่ว่า เงินจำนวนเดียวกันในปัจจุบันย่อมมีค่ามากกว่าในอนาคต เพราะเงินในปัจจุบันสามารถสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยได้ โดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาว ผลตอบแทนที่ทบต้นจะมีพลังมหาศาลเมื่อเทียบกับเงินลงทุนเริ่มแรกอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

อนิสมฺม กตํ กมฺมํ จินฺติตํ ทำการงานที่ไม่พินิจพิจารณา ย่อมเกิดผลเสีย

ในการวางแผนการลงทุน จำเป็นต้องอาศัยการพินิจพิจารณาทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภท ทั้งสองสิ่งมักจะมีระดับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ผู้ลงทุนย่อมคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นสำหรับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์หลายประเภท ดังคำกล่าวที่ว่า Don’t put all your eggs in one basket. (อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเพียงใบเดียว) เพราะหากเราทำตะกร้าหล่น ไข่ก็จะแตกทั้งหมด เปรียบได้กับเงินลงทุนที่ลดลงอย่างมากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งทั้งหมดจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ (Risk Tolerance) และความสำคัญของเป้าหมายที่ต้องการลงทุนด้วย

รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง

นอกเหนือจากแผนการออมและการลงทุนแล้ว เราก็ไม่ควรลืมที่จะวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วย เพราะชีวิตของคนเราต้องเผชิญความเสี่ยงหลายด้านด้วยกัน ทั้งความเสี่ยงต่อชีวิต สุขภาพ หรือทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ โดยเราต้องประเมินโอกาสเกิดและผลกระทบของความเสี่ยงแต่ละด้าน แล้วเลือกใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน สำหรับภัยที่มีโอกาสเกิดน้อยและผลกระทบไม่รุนแรงมาก เราอาจรับความเสี่ยงไว้เองได้ แต่หากเป็นภัยที่มีผลกระทบรุนแรง ก็ควรใช้วิธีโอนความเสี่ยง เช่น การทำประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย และถ้าเป็นภัยที่มีโอกาสเกิดได้ง่าย อาจจะต้องหาทางบรรเทาผลกระทบ หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านนั้น

อนาคตํ ปฏิกยิราถ กิจฺจํ จงเตรียมการสำหรับอนาคตไว้ให้พร้อม

คนในวัยเพิ่งเริ่มทำงานอาจไม่ได้คำนึงถึงอนาคตมากนัก โดยเฉพาะวันที่ตนเองต้องเกษียณจากการทำงาน เพราะคิดว่ายังเป็นเวลาอีกยาวไกล ทั้งที่จริงแล้ว ชีวิตหลังเกษียณก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ บางรายการอาจมากกว่าวัยหนุ่มสาวด้วยซ้ำ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ยิ่งอายุขัยเฉลี่ยของคนเรามีแนวโน้มยืนยาวมากขึ้นในอนาคต เงินที่ต้องเตรียมไว้สำหรับการเกษียณก็มากขึ้นตาม เราจึงควรออมเงินเพื่อการเกษียณผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) (สำหรับหน่วยงานราชการ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับภาคเอกชน) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) (สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ) กองทุนประกันสังคม หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดก็ติดตามไปไม่ได้

ไม่ว่าเราจะเป็นใคร สักวันหนึ่งเราก็ต้องจากโลกนี้ไป ทรัพย์สินที่เคยเป็นของเราก็ไม่สามารถติดตัวไปได้ การวางแผนการจัดการทรัพย์สินขณะมีชีวิตและการวางแผนมรดก จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราสบายใจว่าความมั่งคั่งของเราได้ถูกส่งต่อไปยังบุคคลในครอบครัวตามความประสงค์ ตัวช่วยสำคัญก็คือ พินัยกรรม หากเราไม่ทำพินัยกรรม ทรัพย์มรดกก็จะตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การส่งมอบทรัพย์สินขณะมีชีวิตกับการตกทอดทางมรดกจะมีผลต่อภาระภาษีของผู้ได้รับทรัพย์สินแตกต่างกัน คือภาษีการรับให้ และภาษีการรับมรดก เราจึงต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ที่เราต้องการส่งต่อความมั่งคั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้

จากที่ได้เล่ามาข้างต้น หลายคนอาจคิดว่าการวางแผนการเงินเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน เพราะมีหลายเรื่องให้คำนึงถึง และการจะบรรลุเป้าหมายแต่ละด้านก็ต้องใช้เงินจำนวนไม่ใช่น้อย เรื่องนี้ไม่ต้องกังวลไปครับ บรรดานักวางแผนการเงิน ตลอดจนผู้ประกอบวิชาชีพทางการเงินอื่น ๆ ทั้งผู้แนะนำการลงทุน ตัวแทนประกันชีวิต ที่ปรึกษาด้านการวางแผนภาษี ฯลฯ ยินดีที่จะเป็น “เพื่อนร่วมทาง” พาผู้รับคำปรึกษาทุกคนที่ต้องการวางแผนชีวิตให้ตนเองและครอบครัว เดินทางไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยินดีที่จะให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ไม่จำกัดแต่เพียงเรื่องการเงินเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้นี่เอง คือ “ความสุข” ที่เหล่า “เพื่อน” ต้องการมอบให้ผู้รับคำปรึกษา

แม้ว่าพุทธศาสนสุภาษิตจะมีอายุมากกว่า 2,500 ปีแล้ว ทว่ายังคงคุณค่าสำหรับการปรับมุมมองความคิดและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน รวมถึงการวางแผนการเงินในแง่มุมต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่า สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ธรรมะไม่มีล้าสมัย นั่นเองครับ...

ติดต่อผู้เขียนได้ที่ www.facebook.com/vinaya.chysirichote หรือ LINE: vinayachy

#พุทธศาสนสุภาษิต #การวางแผนการเงิน #SiamWealthManagement #VinayaChy

พุทธศาสนสุภาษิตมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไร

การศึกษาพุทธศาสนาสุภาษิต ท าให้นักเรียนได้รับประโยชน์ ในด้านการอ่าน และเขียนภาษาบาลีได้อย่างถูกต้อง ได้รู้หลักค าสอนทางพระพุทธศาสนาที่เป็นข้อเตือนใจ สามารถอธิบายขยายหลักธรรมให้พิสดารได้ และได้เรียนรู้หลักธรรมที่จะน าไปเป็น แนวทางแห่งการด าเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เล่มที่ 1 พุทธศำสนสุภำษิต เอกสำรประกอบกำรเรียน เรื่อง ...

พุทธศาสนสุภาษิตคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

พุทธศาสนสุภาษิต คือ สุภาษิต ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย หรือ แม้แต่เตือน สติ ให้เรา หู ตา สว่าง เกิดปัญญาเข้าใจ ได้อุบายที่ดีในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหา และพ้นจากเครื่องเศร้าหมองได้

วิธีการปฏิบัติตนตามพุทธศาสนสุภาษิตมีอะไรบ้าง

- ให้ทาน โดยการบริจาคทรัพย์และสิ่งของแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือ - ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่นและพร้อมที่จะปกป้องผู้ที่อ่อนแอกว่า - ให้ความรักและความเอ็นดูต่อสัตว์ต่าง ๆ ไม่ควรทำร้ายหรือรังแกสัตว์ให้ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

พุทธศาสนสุภาษิต “ยถาวาที ตถาการี” สอนให้ชาวพุทธปฏิบัติอย่างไร

คาอ่าน ยะ ถา วา ทีตะ ถา กา รี คาแปล พูดเช่นไร ทาเช่นนั้น แนวทางการปฏิบัติตน เป็นคนซื่อสัตย์รักษาคาพูด รักษาคามั่นสัญญา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ ต่อตนเอง ทาให้คนนับถือ เคารพ ยกย่อง และสรรเสริญ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf