พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ประชาชนร้องทุกข์ด้วยวิธีใด

ประเพณีตีกลองร้องฎีกา! จากสั่นกระดิ่งหน้าวัง ตีกลองหน้าพระที่นั่ง ถึงศูนย์ดำรงธรรม!!

เผยแพร่: 13 พ.ค. 2562 10:46   โดย: โรม บุนนาค


การปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น แม้จะอยู่ในระบอบราชาธิปไตย แต่รูปแบบก็ล้ำยุคเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ในวันพระจะมีการแสดงพระธรรมเทศนาที่พระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งตั้งอยู่บนเนินดินกลางดงตาลในกรุงสุโขทัย นอกจากวันพระ พระแท่นนี้จะเป็นที่ออกว่าราชการ พ่อขุนรามคำแหงจะประทับเหนือพระแท่น ให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางข้าราชการ และราษฎรเข้าเฝ้า หากใครมีปัญหาก็นำมาสู่ที่ประชุมแห่งนี้ ซึ่งเปรียบเหมือนรัฐสภา

นอกจากเวลาประชุมที่พระแท่นดงตาล ถ้าราษฎรผู้ใดมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจต้องการจะเข้าเฝ้า ก็สามารถเดินไปสั่นกระดิ่งที่หน้าวัง “เรียก” มหาราชพระองค์นี้ให้ออกมาพบได้เข้าพบผู้แทนราษฎรยุคนี้ยังยากกว่าเสียอีกไม่แต่คนเท่านั้น สัตว์ก็สามารถทำแบบนี้ได้เช่นกัน

ในนิทานพระร่วง ได้เล่าเรื่องหนึ่งไว้ว่า มีม้าแก่ตัวหนึ่งรับใช้เจ้าของมาแต่ยังหนุ่ม ไม่ว่าจะขับขี่หรือเทียมรถลากสินค้าไปขาย ม้าก็รับใช้เจ้าของด้วยความซื่อสัตย์ จนเจ้าของร่ำรวยเป็นเศรษฐี แต่เจ้าของกลับไม่สำนึกในบุญคุณของม้า พอมันแก่หมดเรี่ยวแรงก็ปล่อยให้ไปหากินเอาเองตามยถากรรม

ม้าแก่ไปเล็มหญ้าหน้าวังแล้วดึงเชือกสั่นกระดิ่ง พ่อขุนรามคำแหงเสด็จออกมาตามสัญญาที่สลักไว้ในแผ่นศิลาติดประกาศไว้ เมื่อเห็นว่าเป็นม้า ไม่ใช่คน พระองค์ก็ทรงไต่สวนหาเรื่องราวจนทราบว่ามันถูกทอดทิ้ง จึงรับสั่งให้เจ้าของนำมันกลับไปเลี้ยงดูให้มีความสุขสมกับที่มันทำงานรับใช้มา ไม่ปล่อยให้หากินเองเป็นม้าเร่ร่อนอีกต่อไป

ตลอดระยะเวลา ๔๐๐ กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏว่ามีประเพณีสั่นกระดิ่งหน้าวัง หรือว่าราชการแบบพระแท่นศิลาอาสน์มาใช้ เพราะมีประชากรมากขึ้นจนไม่สามารถใช้ระบบ “พ่อปกครองลูก” อย่างในสมัยกรุงสุโขทัยได้ พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมมติเทพ ปกครองอาณาประชาราษฎร์แบบเจ้ากับไพร่

ประเพณีสั่นกระดิ่งหน้าวังนี้ถูกละทิ้งไปถึง ๖๐๐ กว่าปี จึงถูกนำกลับมาใช้อีกในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เปลี่ยนจากกระดิ่งเป็นกลองวินิจฉัยเภรี และมีเงื่อนไขอยู่หน่อยว่า ถ้าฝนตกจะไม่ออกมาพบ

ตามปกติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีนัดจะเสด็จออกรับฎีกาของราษฎรเดือนละ ๔ ครั้ง ในวันขึ้น ๗ ค่ำ ขึ้น ๑๔ ค่ำ และแรม ๗ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำ เวลาบ่ายจะเสด็จออกประทับบนพระที่สุทไธสวรรย์ หรือที่พระแท่นเบญจา หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ แล้วตีกลองวินิจฉัยเพรีเรียกคนให้มาถวายฎีกา แต่มีข้อแม้ว่า “ถ้าไม่มีราชการอื่นสำคัญและฝนไม่ตก” ในวันที่ไม่ทรงออกมาเอง ก็จะทรงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เสด็จออกรับเรื่องราวมาทูลถวายอีกที และทรงกำหนดวิธีการเขียนฎีกาไว้ด้วยว่า

“...จะให้กรมล้อมวังแต่งเขียนให้เหมือนอย่างแต่ก่อนก็ตาม หรือจะให้ผู้แต่งเขียนให้ หรือจะแต่งเขียนเองก็ตาม แต่ให้เขียนให้ถูกถ้วนตามอักษรที่ใช้ไม่ผิด อนึ่ง อย่าสมคบนักเลงฝิ่นให้แต่งเขียนให้เป็นอันขาด ในเรื่องราวฎีกานั้นเล่าอย่าให้วนเวียนเลอะเทอะ ให้ว่าโดยความสัตย์จริง อย่าให้เก็บเอาความเท็จเป็นสำนวนเติมในฎีกา แล้วอย่าให้มีคำหยาบช้าต่อพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้มีบรรดาศักดิ์...”

การถวายฎีกาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี้ มีดีกว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอีกอย่างคือ มีเงินแถมให้ด้วย ดังคำท้ายของประกาศที่ว่า

“...แลการซึ่งทรงรับฎีกาเป็นการเปลื้องทุกข์ร้อนราษฎรนี้ ทรงยินดีว่าได้บำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่อยู่อย่างหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯว่าถ้าผู้ใดมาทูลเกล้าฯถวายฎีกา จะพระราชทานเงินคนละสลึงเป็นบำเหน็จก่อน เมื่อชำระได้ความจริง ผู้ถวายฎีกาชนะความตามเรื่องราวในฎีกาของผู้นั้นแล้ว จะพระราชทานเงินเพิ่มให้อีกสลึงหนึ่งเป็นรางวัล”

นอกจากการถวายฎีกาที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์แล้ว ยังโปรดให้ยื่นฎีกาได้ทุกเมื่อทุกเวลา ตามประกาศที่ว่า

“...ถ้ามีตำแหน่งเฝ้าก็ให้กราบทูล หรือจะยกชูถวายเองหน้าพระที่นั่ง ถ้าไม่มีตำแหน่งก็จงฝากเรื่องราวนั้นแก่ข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นพี่น้อง เจ้าขุนมูลนาย เป็นนายหน้านำเรื่องราวทูลเกล้าฯถวายในที่ใดที่หนึ่ง เวลาใดเวลานึ่งก็ได้ไม่ห้าม ผู้นำเรื่องราวทูลเกล้าถวาย ถ้าส่งตัวเจ้าของเรื่องราวได้แล้ว ก็ไม่มีความดอก จงเอาธุระแก่ญาติพี่น้องด้วยช่วยรับเรื่องราวมาทูลเกล้าฯถวายเถิด วันใด เวลาใด ไม่ว่า ไม่ห้าม ถ้าไพร่ไม่มีใครจะอนุเคราะห์ถวายเรื่องราวได้ ก็ให้คอยที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์...”

เมื่อทรงมีพระกรุณาเมตตาให้ยืนถวายฎีกาได้ทุกเวลาทุกโอกาสเช่นนี้แล้ว ประชาธิปไตยเลยเบ่งบาน ร้องกันไม่เลือกกาลเทศะ เสด็จพระราชดำเนินไปไหนก็มีแต่คนดักรอถวายฎีกา จนทรงมีประกาศออกมาอย่างขุนเคืองพระราชหฤทัยว่า

“...ไม่ชอบพระราชหฤทัยอยู่แต่ที่ร้องสกัดขวางทางเสด็จนั้น ทรงพระราชดำริเห็นว่าไม่ควร ไม่ชอบพระราชหฤทัย เพราะเป็นอันถือตำราเก่าไป ว่าผู้จะได้พบเสด็จเพ็ดทูลยาก จะได้ช่องร้องฎีกาเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปไหนๆ หรือผู้ร้องพอใจจะเอายศว่าสกัดเสด็จให้หยุดอยู่ได้ จึงพอใจร้องเมื่อเวลาเสด็จ ก็ผู้ที่ร้องเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินนั้น คดีก็ไม่โปรดให้ชำระสักเรื่องหนึ่ง ก็ยังขืนร้องร่ำไปไม่ฟังประกาศ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปมีผู้ร้อง ทรงนิ่งเสีย ขบวนเสด็จล่วงไป ที่ทุกวันเรียกเลยๆนั้น ผู้ร้องก็ลุกขึ้นวิ่งตามขบวนเสด็จร้องเสียงดังตามมาข้างหลังว่า โปรดสัตว์ผู้ยากเจ้าข้า โปรดสัตว์ผู้ยากเจ้าข้า จนสุดๆเสียง เหมือนหนึ่งร้องว่า เจ้าชีวิตโวย หยุดก่อนโวย เหมือนกัน งามบ้านงามเมืองแล้วหรือ...”

ปัจจุบัน ไม่มีทั้งกระดิ่งและกลองวินิจฉัยเภรี แต่มีโทรศัพท์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ได้ให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นทุกจังหวัด เพื่อบริการแก้ปัญหาให้ประชาชนโดยร้องทุกข์ด้วยตัวเองหรือยื่นหนังสือที่ศูนย์ดำรงธรรมระดับจังหวัดระดับอำเภอทุกที่ได้เลย หรือจะร้องทางโทรศัพท์สายด่วนก็ได้ โดยมีคำขวัญว่า “คิดไม่ออก บอกศูนย์ดำรงธรรม ๑๕๖๗”

การที่พ่อขุนรามคำแหงให้ประชาชนมาร้องทุกข์ต่อพระองค์โดยเกิดผลดีอย่างไร

การที่พ่อขุนรามคำแหงให้ประชาชนมาร้องทุกข์ต่อพระองค์โดยตรง เกิดผลดีอย่างไร answer choices. ทำให้คดีความสิ้นสุดลง ทำให้คดีความลดน้อยลง

เมื่อประชาชนเดือดร้อนพ่อขุนรามคําแหงทรงใช้วิธีใด

การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เมื่อประชาชนเดือดร้อนพ่อขุนรามคำแหงทรงใช้วิธีการใด ฟ้องร้องศาลยุติธรรม สร้างกระดิ่งแขวนไว้หน้าประตูเมือง เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนมาสั่นกระดิ่ง ศาลทหาร

การที่พ่อขุนรามคำแหงได้แขวนกระดิ่งไว้ที่หน้าวังเพื่อให้ประชาชนได้ร้องทุกข์จะมีประโยชน์ด้านใดมากที่สุด

มีกระดิ่งแขวนเอาไว้ ไพร่คนใดมีเรื่องทุกข์ร้อนก็ไปสั่นกระดิ่งอันนั้น เมื่อเจ้าเมืองคือ พ่อขุนรามคำแหงทรงได้ยินก็จะเสด็จมาดำเนินการพิพากษาค วามด้วยพระองค์เองความตอนนี้ฟังดูก็เข้าท่าดี

สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงให้ราษฎรมาสั่นกระดิ่งหน้าประตูวังเพื่ออะไร

ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่๑ ตอนหนึ่งระบุว่าฟอขุนรามคาแหงให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราขวัง ราษฎรที่มีเรื่องทุกข์ร้อน สามารถมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพระองค์ได้ความว่า 'เมื่อชั่วพ่อขุนรามค าแหง.... ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพรฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้อง ใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf