ไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อย ปวดหัว

ติดโควิดหรือเปล่า? สัญญาณเตือนมีอะไรบ้าง? น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะหลังจากที่มีการตรวจพบโควิดหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย และการแพร่ระบาดเกิดการกระจายในวงกว้าง โดยเฉพาะอาการของผู้ที่ป่วยโควิดเริ่มมีความหลากหลาย ทั้งที่มีอาการและไม่แสดงอาการ เพราะฉะนั้นการเฝ้าระวัง เช็คอาการตัวเองถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ อาการโดยทั่ว ๆ ไปที่มักพบบ่อย ได้แก่

  • มีไข้ตัวร้อน ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป พบผู้ป่วยโควิด 19 มีอาการไข้สูง ถึง 87.9%
  • ไอแห้ง ๆ พบประมาณ 67.7%
  • อ่อนเพลีย พบประมาณ 38.1%
  • มีเสมหะ พบประมาณ 33.4%
  • หายใจติดขัด พบประมาณ 18.6%
  • เจ็บคอ พบประมาณ 13.9%
  • ปวดหัว พบประมาณ 13.6%
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือบางครั้งมีอาการปวดตามข้อ พบประมาณ 14.8%
  • มีอาการหนาวสั่น พบประมาณ 11.4%
  • มีอาการวิงเวียน บางรายอาจจะคลื่นไส้ อาเจียน พบประมาณ 5.0%
  • คัดจมูก พบประมาณ 4.8%
  • ท้องเสีย พบประมาณ 3.7%
  • อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือสูญเสียการได้กลิ่น และลิ้นไม่รับรสชั่วคราว
    และจากการระบาดของโควิด19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน 2564 ตรวจพบผู้ป่วยโควิด19 ที่อาจจะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ ตาแดง น้ำมูกไหล หรือมีผื่นขึ้น หากรุนแรงอาจมีอาการปอดอักเสบ

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโควิด19 จะแสดงอาการภายใน 14 วัน โดยเฉลี่ยแล้วระยะฟักตัว และเริ่มแสดงอาการ จะอยู่ประมาณ 5-6 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยอาจจะมีอาการแสดงเพียงอาการเดียวหรือมากกว่านั้นแล้วแต่บุคคลดังนั้นหากใครมีอาการ

เหล่านี้ และมีประวัติเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด19 ประวัติเสี่ยง ได้แก่

  • เดินทาง หรืออาศัยในพื้นที่เสี่ยง ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 หรือพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นบุคคลในครอบครัว ผู้ป่วยยืนยันโควิด19
  • ทำกิจกรรมใกล้ชิด ในระยะไม่เกิน 5 เมตรกับผู้ป่วยยืนยันโควิด19
  • ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่อาศัยหรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 หรือพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด19

ระยะโรคของโควิด19 เป็นอย่างไร?
วันที่ 0 คือ ระยะได้รับเชื้อ
ซึ่งถ้าเป็นบุคคลกลุ่มต่อไปนี้ ได้แก่ เป็นผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง พื้นที่ที่มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด19 ,มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก,มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส, มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือปอดอักเสบ ไม่ทราบสาเหตุ ,มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยโควิด19 ก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ

วันที่ 3- วันที่ 7 คือ ระยะพบเชื้อ
ถ้าคุณเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ช่วงระยะวันที่ 3 สามารถตรวจหาเชื้อโควิด19 ได้โดยการตรวจหาเชื้อจะมี 2 วิธีคือ การตรวจหารหัสพันธุกรรมของเชื้อ สามารถตรวจพบได้ขากสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ และการตรวจโดยการเพาะเชื้อไวรัสโดยใช้เซลล์ต่าง ๆ

วันที่ 10- วันที่ 14 คือ ระยะแสดงอาการ
โดยอาการที่บ่งบอกว่า คุณเป็นคนที่ได้รับเชื้อคือ อ่อนเพลีย, มีไข้,ปวดเมื่อย,หายใจลำบาก, ไอแห้ง

อาการของโรคโควิด 19 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะฟักตัว : ช่วงระยะฟักตัว 5-14 วัน ไวรัสจะแพร่ไปตามเซลล์ที่เยื่อบุคอ และท่อทางเดินหายใจและปอด
ระยะอาการแรกเริ่ม : มีไข้ต่ำ เหนื่อยหอบ ไม่มีน้ำมูก หากร่างกายแข็งแรง ถ้าดูแลแบบไข้หวัด อาจหายได้ภายใน 7 วัน หากมีอาการผิดปกติ และเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด19
ระยะรุนแรง : เกิดอาการปอดบวม ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 14% จากผู้ที่มีอาการระยะแรก พัฒนามาถึงขั้นรุนแรง สามารถรักษาหายได้ หากเข้ารับการรักษาทันที
ระยะวิกฤติ : เป็นระยะที่ไวรัสทำงานเต็มที่ ทำลายระบบภายใน ติดเชื้อในกระเลือด เยื่อบุลำไส้ถูกทำลาย ไตหยุดการฟอกเลือด ปอดรับออกซิเจนไม่เพียงพอ

ติดต่อศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ

ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น มีลมหนาวพัดเข้ามา บ่งบอกได้ว่ากำลังเข้าสู่ฤดูหนาว หลายๆคนอาจชอบเพราะทำให้รู้สึกว่าเย็นสบาย แต่รู้หรือไม่สภาพอากาศเช่นนี้จะทำให้ร่างกายป่วยได้ง่ายกว่าปกติ

เนื่องจากในช่วงอากาศที่เย็นเป็นเวลาที่เอื้อต่อการอยู่รอดและแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วยหรือสุขภาพไม่แข็งแรง จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก  6 โรคที่มากับหน้าหนาว  เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคต่างๆ และป้องกันการเจ็บป่วย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงแต่เนิ่นๆ มาดูกันว่าโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาวที่ควรระวังมีอะไรกันบ้าง

1. โรคไข้หวัด
ไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการคล้ายๆไข้หวัดใหญ่ แต่ข้อแตกต่างคือไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ ไม่ค่อยมีอาการไข้ และปวดกล้ามเนื้อ

วิธีรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคหวัด เนื่องจากมีเชื้อไวรัสหลายชนิด และส่วนใหญ่มักจะหายเอง หากเป็นไข้หวัดควรพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำให้บ่อย เช็ดตัวบ่อยๆเพื่อระบายความร้อนในร่างกาย และรับประทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ และยาลดน้ำมูก หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ เพื่อเช็คอาการ

วิธีดูแลตัวเอง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินซี ช่วยป้องกันไข้หวัดได้ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ

2. โรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน เชื้อต้นเหตุเป็นไวรัสที่เรียกว่า อินฟลูเอ็นซาไวรัส (Influenza virus) หรือไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือ Influenza A และ B หากเป็นจะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและศีรษะอย่างรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย

วิธีการรักษา
ควรดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย เช็ดตัวบ่อยๆ รับประทานยาตามอาการ หากรับประทานยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

วิธีดูแลตัวเอง
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยผู้ที่ควรรับวัคซีนได้แก่ เด็กเล็ก คนชรา แพทย์ และพยาบาล โดยต้องเข้ารับการฉีดทุกปี เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่และร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

3. โรคปอดบวม
เกิดจากภาวะปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไว้รัส ทำให้มีหนองและสารน้ำในถุงลม จนเนื้อบริเวณปอดนั้นไม่สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการไอ คัดจมูก จาม และมีเสมหะมาก มีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน หนาวสั่น แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด มักจะพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 - 10 ปี

วิธีการรักษา
หากรู้สึกว่ามีอาการคล้ายเป็นปอดบวม ควรรีบพบแพทย์ทันที หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการปอดบวมจะได้รับยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม

วิธีดูแลตัวเอง
รีบรับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก สำหรับเด็กเล็กควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม

4. โรคหัด
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อรูบีโอลาไวรัส มักระบาดช่วงปลายฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน มักพบในเด็กตั้งแต่อายุ 2 - 12 ขวบ ติดต่อกันได้ง่าย จากการไอ จาม รดกันโดยตรง หรือหายใจเอาละองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป อาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาคือ น้ำมูกไหล ไอแห้ง ตาและจมูกแดง มีไข้สูง หากมีไข้ติดต่อกัน 3-4 วัน จะมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และยังมีตุ่มใสๆ ขึ้นในปาก กระพุ้งแก้ม และฟันกรามบน ซึ่งตุ่มเกิดขึ้นเฉพาะโรคหัดเท่านั้น พอผื่นออกได้ประมาณ 1 - 2 วัน เด็กจะมีอาการดีขึ้น

วิธีการรักษา
ยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงการรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น หายใจสั้น เจ็บหน้าอกขณะหายใจ ชัก ควรรีบพบแพทย์ทันที

วิธีดูแลตัวเอง
ฉีดวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมันและคางทูม จะช่วยป้องกันโรคหัดได้ โดยจะเริ่มฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 6 ขวบ

5. อุจจาระร่วง
เป็นอีกโรคที่มากับฤดูหนาวที่ควรระวัง ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ที่ระบาดมากสุดช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก ผ่านกระเพาะอาหารแล้วแบ่งตัวที่ลำไส้ พบบ่อยในเด็กอายุ 6-12 เดือน เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่ำ อาการของโรคจะมีไข้ ท้องเสียรุนแรงและอาเจียนอย่างหนัก บางรายเสียน้ำมากจนช็อกหรือเสียชีวิต

วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง จึงต้องรักษาตามอาการให้ดีขึ้น โดยควรจิบเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากผู้ป่วยไม่สามารถดื่มน้ำได้ จำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดแทน

วิธีดูแลตัวเอง
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน สามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน วัคซีนจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค และลดความรุนแรงลงได้

6. โรคไข้สุกใส
มักระบาดช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อไวรัสวาริเซลลา ติดต่อผ่านทางการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง สัมผัสของใช้ มีระยะฟักตัวในร่างกาย 10 - 20 วัน พบมากในเด็กอายุ 5 - 15 ปี โดยเกิดกับผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน

วิธีการรักษา
ต้องรักษาตามอาการ เมื่อมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรแคะ แกะ เกา บริเวณตุ่ม เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นแผลเป็นได้ ส่วนมากผู้ป่วยโรคนี้ไม่ต้องพบแพทย์ เพราะอาการไม่รุนแรง ไม่มีมีโรคแทรกซ้อน

วิธีดูแลตัวเอง
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้สุกใส โดยฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็น ก็สามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันได้เช่นกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf