หมอนรองกระดูกเคลื่อน รักษาหายไหม

   การนั่งขับรถ ควรขยับเบาะที่นั่งให้เอนไปข้างหลังเล็กน้อย ประมาณ 10 - 15 องศา และขยับเบาะให้ใกล้พอดี ซึ่งเมื่อเหยียบคันเร่งหรือเบรกเต็มที่แล้ว เข่าจะงอเล็กน้อยประมาณ 20 - 30 องศาและนั่งให้แผ่นหลังและสะโพกแนบกับเบาะ อาจจะใช้หมอนเล็กๆ หนาประมาณ 3 - 5 นิ้ว รองที่หลังบริเวณเอวด้วยก็ได้

หมอนรองกระดูกคอจะคั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอที่จะมีประมาณทั้งหมด 7 ปล้อง มีหน้าที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้มนุษย์เราสามารถก้มหรือเงยคอได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ หรือใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นหมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็วของคนในปัจจุบัน ได้แก่

พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน คนที่จดจ่อใช้มือถือสมาร์ทโฟนแบบหนักหน่วง คนทำงานห้องแล็บที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์บ่อยๆ คนทำงานฝีมือก้มๆ เงยๆ ต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้จะยิ่งเร่งให้หมอนรองกระดูกคอของเราเสื่อมไวกว่าปกติ ส่วนมากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป และมักจะเป็นบริเวณปล้องที่ 5 ต่อ 6 รองลงมา คือ ปล้องที่ 6 ต่อ 7

เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูก

ก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดคอร้าวมาที่แขน หากเป็นมากๆ หรือมีการกดทับเส้นประสาทมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง ชาบริเวณปลายนิ้ว เป็นต้น

การที่เราสะบัดคอแล้วมีเสียงดังกร็อบแกร็บ คือ อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมหรือไม่?

ต้องบอกว่าไม่ใช่ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่มีเสียง หากเราสะบัดแล้วมีเสียงกร็อบแกร็บแต่ไม่มีอาการปวดใดๆ ก็ไม่น่าจะมีผลขนาดต้องทำการรักษา ซึ่งเสียงที่ว่า คือ เสียงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมากกว่า แต่โดยปกติแล้วการสะบัดคอให้มีเสียงดังๆ นั้น แพทย์แนะนำว่า “ไม่ควรทำ” เพราะมีผลทำให้ข้อต่อบริเวณคอเสื่อมเร็วได้เช่นกัน เกิดจากการทำงานที่หนักเกินไปเวลาเราสะบัดแรงๆ

การรักษาโดยทั่วไปของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

จะเป็นการชะลอไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น ส่วนใหญ่คนไข้จะมาด้วยอาการปวดบริเวณต้นคอถึงสะบัก แพทย์จะให้ทานยาลดการอักเสบ การนอนพัก กายภาพบำบัด ประคบด้วยน้ำร้อน การบริหาร อาการปวดเหล่านี้ก็จะสามารถหายได้เอง ส่วนการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมนั้น ปัจจุบันก็มีการผ่าตัดอยู่เหมือนกันแต่ให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมที่จำเป็นต้องทำ คือ หมอนรองกระดูกมีการแตกและกดทับบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งโชคดีหน่อยที่เราพบได้ค่อนข้างน้อยมาก

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ
หัวหน้าหน่วยกระดูกสันหลัง ภาควิชาออโธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story วัยทำงานเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม” ได้ที่นี่

YouTube: //youtu.be/CaKabEeiWOc

คอ โรคกระดูก หมอนรองกระดูก พนักงานออฟฟิศ ติดหน้าจอ นั่งหน้าคอมนาน สะบัดคอ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกคอเสื่อม

หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา เพราะกระดูกสันหลังบริเวณนี้รับน้ำหนักมาก และมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ ทำให้หมอนรองกระดูกอาจจะเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนกดเบียดเส้นประสาท โดยจะมีอาการปวดหลังช่วงเอวต่อกับสะโพก ร่วมกับปวดร้าวลงขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมของขาหรือปลายเท้าร่วมด้วยได้

มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 20-50 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้คือการทำงานที่ต้องยกของหนัก น้ำหนักตัวมาก การสูบบุหรี่ การบิดตัวหรือก้มหลังอย่างรวดเร็วและรุนแรง เป็นต้น

ทำความรู้จักหมอนรองกระดูก มันคือส่วนไหนในร่างกาย และทำหน้าที่อะไร

แนวกระดูกสันหลังของคนเราจะประกอบไปด้วยตัวกระดูก และมีหมอนรองกระดูกที่คั่นอยู่ในแต่ละชั้น โดยหน้าที่ของหมอนรองกระดูกคือช่วยในการรับน้ำหนักของร่างกาย เหมือนเป็นตัวประคองระหว่างชั้นของกระดูกสันหลังเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่น

แม้จะมีชื่อว่าหมอนรองกระดูก แต่จริงๆ แล้วโครงสร้างส่วนใหญ่ของมันประกอบด้วยน้ำ คอลลาเจน และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น โปรตีน ซึ่งหากดูตามภาพจะเห็นว่าโครงสร้างภายในจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. Nucleus pulposus

Nucleus pulposus คือแกนกลางหมอนรองกระดูก โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นคอลลาเจนกับน้ำที่มากถึง 80% ทำหน้าที่รับแรงกระแทก และช่วยกระจายแรงของนํ้าหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย


2. Annulus fibrosus 

Annulus fibrosus คือโครงสร้างเนื้อเยื่อโดยรอบที่คอยห่อหุ้ม Nucleus pulposus ด้านในไม่ให้ปลิ้นออกมา มีหน้าที่ทำให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับแรงในแนวบิด หมุน เอียง หรือก้มเงยได้ดี 

นอกเหนือจากเรื่องลักษณะโครงสร้างแล้ว ความพิเศษอย่างหนึ่งของหมอนรองกระดูกคือมันเป็นส่วนประกอบของร่างกายที่ไม่มีเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงโดยตรงเพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน และของเสีย แต่จะใช้แรงดันของกระดูกที่กดมาที่ตัวหมอนรองกระดูกขณะที่เราเคลื่อนไหวร่างกายในการแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างกัน ส่งผลให้กระบวนการซ่อมแซมตัวเองของมันไม่ค่อยดีนัก จึงเป็นเหตุผลว่าเมื่อใดก็ตามร่างกายของเรามีอาการหมอนรองกระดูกปลิ้น นั่นหมายความว่ามันอาจเป็นจุดเริ่มต้นความเสื่อมของกระดูกสันหลังแบบหนึ่ง

สาเหตุของหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท

อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าหมอนรองกระดูกทำหน้าที่ในประคองและกระจายแรงในการรับน้ำหนักของกระดูกสันหลังโดยตรง เพราะฉะนั้นปัจจัยเสี่ยงหลักๆ จะเน้นไปในเรื่องการรับน้ำหนักและความเคลื่อนไหวที่รุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้หมอนรองกระดูกแตกปลิ้นออกมา ดังนี้

1. น้ำหนักตัวมาก

เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมาก กระดูกสันหลังก็ต้องรับน้ำหนักมากตามไปด้วย

2. การใช้งานที่ไม่เหมาะสม

เช่น ก้มหลัง ยกของหนัก เพราะท่าทางเหล่านี้เป็นการเพิ่มแรงดันที่หมอนรองกระดูกค่อนข้างเยอะ ซึ่งอาจจะเกินความทนทานที่หมอนรองกระดูกรับได้ จนกระทั่งเกิดการแตกปลิ้นออกมา

3. การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

พบมากในกลุ่มคนวัยทำงาน และมักจะมีโอกาสเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทในบริเวณช่วงเอวมากที่สุด เพราะเวลาที่นั่งนานๆ กระดูกสันหลังส่วนนั้นจะรับน้ำหนักแบบเต็มๆ  

4. การไอหรือจามแรงๆ

เป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มแรงดันอย่างฉับพลันในหมอนรองกระดูก

5. คนที่สูบบุหรี่จัด

บุหรี่จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมก่อนวัยอันควร และทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการแตกปลิ้นได้มากขึ้น

การเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทมี 3 รูปแบบ

1. Protusion

ตัวนิวเคลียสด้านในมีการทะลักออกมา โดยที่ขอบด้านนอกยังไม่เกิดการฉีกขาด

2. Extrusion

ขอบด้านนอกมีการขาดออก และมีนิวเคลียสทะลักออกมาโดยที่ยังติดกับด้านในอยู่ ไม่ได้หลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระ

3. Sequestration

ขอบด้านนอกมีการขาดออก โดยที่นิวเคลียสมีการปลิ้นหลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระจากด้านใน 

อาการปวดในช่วงแรกจะค่อนข้างมาก ซึ่งเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยคือ ปริมาณการกดทับของเส้นประสาท และการอักเสบจากการแตกปลิ้นของหมอนรองกระดูก คนไข้ประมาณ 80% ที่ทำการรักษาอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน4-6 สัปดาห์ แต่จะมีส่วนที่เหลือที่อาการอาจจะไม่ดีขึ้น เนื่องจากมีหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทมาก ซึ่งอาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด

เมื่อเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ทำไมถึงรู้สึกปวดร้าวลงขาเพียงข้างเดียว

หากดูตามภาพประกอบ จุดที่วงกลมในภาพจะเป็นบริเวณที่หมอนรองกระดูกสันหลังมักจะปลิ้นออกมาทางด้านข้างฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากกว่าที่จะปลิ้นออกมาตรงกลาง ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นประสาทพาดผ่านอยู่ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทส่วนใหญ่จะมีอาการปวดร้าวชาลงขาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง

ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท

โดยปกติแพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อน ซึ่งเฉพาะสองขั้นตอนนี้ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้เบื้องต้นแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทหรือไม่

แต่เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกายด้วยเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อให้ได้ผลยืนยันออกมาชัดเจนร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการทำ MRI จะเห็นโครงสร้างของหมอนรองกระดูกสันหลังและเส้นประสาทได้ชัดเจน ทำให้สามารถบอกได้ว่ามีการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งใดมากน้อยแค่ไหน เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป


แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท

1. รักษาด้วยการใช้ยา 

การรักษาด้วยการใช้ยาจะเป็นการจ่ายยาตามโรคของผู้ป่วย เช่น ยาแก้ปวด, ยาลดการอักเสบ, ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดของระบบประสาท เป็นต้น 

นอกจากยารับประทานแล้วก็ยังมีทางเลือกหนึ่งคือการฉีดยาระงับปวดลดอาการอักเสบที่เส้นประสาท วิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยทำ MRI เพื่อหาตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทอยู่ จากนั้นจะฉีดยาเข้าไปในบริเวณใกล้กับเส้นประสาทที่โดนหมอนรองกระดูกกดทับ โดยใช้เครื่อง X-Ray เป็นตัวบอกตำแหน่ง เพื่อลดอาการปวดและอักเสบของเส้นประสาท 

2. รักษาโดยไม่ใช้ยา

กายภาพบำบัด 

การกายภาพบำบัด เช่น การนวด อัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์ รวมไปถึงการทำช็อกเวฟเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด นอกจากนี้ยังมีท่ากายบริหารยืดเหยียดและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย 

แพทย์จะวิเคราะห์จากการซักประวัติว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง และควรแก้ไขอย่างไร

3. รักษาด้วยการผ่าตัด 

วิธีนี้จะเกิดขึ้นในกรณีของผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาในสองรูปแบบข้างต้นมาแล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ซึ่งรูปแบบการผ่าตัดสำหรับโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท จะมีดังต่อไปนี้

1. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกแบบเปิดแผล (Open discectomy)

เป็นวิธีการผ่าตัดแบบเริ่มแรกตั้งแต่สมัยก่อน โดยจะเป็นการเปิดแผลในบริเวณที่หมอนรองกระดูกถูกกดทับในความกว้างประมาณ 7-8 เซนติเมตร เพื่อที่จะนำหมอนรองกระดูกที่ถูกกดทับอยู่ออกไป 

2. การผ่าตัดโดยหมอนรองกระดูกโดยใช้กล้องกำลังขยายสูง (Microscopic discectomy)

วิธีนี้จะช่วยให้แผลผ่าตัดเล็กลงเหลือเพียง 2-3 เซนติเมตร โดยแพทย์จะมีตัวช่วยเป็นกล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายมากกว่าปกติ 20-100 เท่า ซึ่งจะทำให้เห็นรายละเอียดของเส้นประสาทอย่างชัดเจนมาก โดยไม่จำเป็นเปิดแผลกว้างเหมือนการผ่าตัดแบบปกติ 

3. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง Endoscope (Endoscopic discectomy) 

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง Endoscope เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope โดยแพทย์จะทำการเจาะรูสอดท่อขนาดเล็ก และสอดอุปกรณ์เข้าไปเพื่อทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกออกมา ซึ่งวิธีนี้จะทำให้แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็กมากเพียง 8 มิลลิเมตรเท่านั้น 

การพัฒนาวิธีการผ่าตัดที่ทำให้แผลเล็กลงนั้น นอกจากแผลที่เราเห็นจากภายนอกจะเล็กลงแล้ว ข้อดีอื่นๆ ที่สำคัญกว่าขนาดแผลคือ กล้ามเนื้อหลัง กระดูกสันหลังส่วนที่ดีอยู่ก็จะบาดเจ็บจากการผ่าตัดลดลง ทำให้เสียเลือดน้อยลง ความเจ็บหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธีปกติ กลับมาลุกยืนเดินได้ทันทีหลังผ่าตัดในวันแรก ทำให้เวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังผ่าตัดน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็ว

กล่าวโดยสรุปคือ โรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทนั้น อาจพูดได้ว่าปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดมาจากพฤติกรรมการใช้งานแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นหนทางป้องกันที่ดีที่สุดคือการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ เพราะเพียงการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระกระดูกสันหลังของเราได้แล้ว 

Q&A

Q: หลังการผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานแค่ไหน

หลังจากผู้ป่วยทำการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว อาการปวดร้าวลงขาจะดีขึ้นทันที ส่วนอาการชาหรืออ่อนแรงจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ

2 สัปดาห์หลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะเริ่มกลับไปทำกิจกรรมเบาๆ ได้ เช่น นั่งทำงาน ขับรถ เดินยืนระยะไกลๆ ได้ แต่ยังต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือการก้มเงยหลังมากๆ ไปก่อน ส่วนการใช้งานแบบเต็มรูปแบบ ทั้งการทำงานปกติและออกกำลังกาย จะสามารถทำได้ภายใน 6-8 สัปดาห์ 

Q: เคยเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทมาแล้ว จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกไหม

จากการศึกษาพบว่ามีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกหลังผ่าตัด 10-15% ทั้งนี้ เราสามารถลดความเสี่ยงของโอกาสที่จะเป็นซ้ำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้งานหลังที่ไม่ถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการก้มหลัง ยกของหนักๆ การสูบบุหรี่ และต้องพยายามควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป เพื่อลดแรงดันที่จะเกิดขึ้นกับหมอนรองกระดูก

Q: ทำไมการนั่งหลังค่อมหรือก้มหลังยกของจึงส่งผลเสียต่อหมอนรองกระดูก?

จริงๆ แล้วในทุกๆ การเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะนั่ง เดิน ยืน หรือนอน กระดูกสันหลังที่เป็นแกนกลางของร่างกายกำลังทำหน้าที่รับน้ำหนักของเราอยู่ตลอดเวลา นั่นหมายความว่าถ้าเราทำกิจวัตรประจำวันในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง กระดูกสันหลังก็จะทำงานมากขึ้น จนอาจก่อให้เกิดอาการปวดหลังตามมา

เคยมีผลการศึกษาออกมาแล้วว่าท่าทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราส่งผลต่อการรับน้ำหนักของกระดูกสันหลังแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งพบว่าหากเรายืนหลังตรงปกติ กระดูกสันหลังจะรับน้ำหนักเต็มๆ ที่ 100% อยู่แล้ว แต่หากอยู่ในท่านั่ง กระดูกสันหลังจะรับน้ำหนักมากขึ้นไปอีกที่ 140-185% นั่นเป็นเพราะน้ำหนักทั้งตัวไม่ได้ถูกแบ่งเบาไปที่ร่างกายท่อนล่าง แต่มากองรวมกันอยู่ที่ช่วงเอว ยิ่งถ้านั่งพร้อมกับยกของไปด้วย การรับน้ำหนักจะทวีคูณขึ้นไปที่ 275% เลยทีเดียว เมื่อกระดูกสันหลังรับน้ำหนักมาก แน่นอนว่าหมอนรองกระดูกต้องได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นท่าทางที่ถูกต้องในการที่จะช่วยลดภาระให้การรับน้ำหนักของกระดูกสันหลัง คือการยืน เดิน นั่ง โดยพยายามให้หลังอยู่ในแนวตรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการยกของหนักโดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการลดแรงดันที่จะเกิดกับหมอนรองกระดูกของเรานั่นเอง

หมอนรองกระดูกเคลื่อนหายได้ไหม

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นแล้วหายเองได้ด้วยกลไกตามธรรมชาติ ความเจ็บปวดแม้จะรุนแรงในช่วงแรกแต่มักจะดีขึ้นเป็นลำดับ การเข้ารับการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ ทำให้ผลการรักษาดีกว่า การผ่าตัดจะถูกพิจารณาเป็นกรณีท้ายๆ เมื่อการรักษาอื่นไม่ได้ผลหรือเริ่มมีการสูญเสียการทำงานของเส้นประสาท เกี่ยวกับผู้เขียน

กระดูกสันหลังเคลื่อนรักษาหายไหม

เดินลำบาก ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เกิดขึ้นได้ทุกวัยแต่รักษาให้หายขาดได้ด้วยเทคนิค OLIF ลุกเดินใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

หมอนรองกระดูกรักษายังไง

คนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคอจะต้องดูแลตัวเองด้วยวิธีปรับการใช้ชีวิตประจำวันใหม่ อาทิ หากต้องนั่งนานๆ ควรปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง อย่านั่งนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืน หรือปรับเปลี่ยนอากัปกิริยา ทุกๆ ชั่วโมงเพื่อลดอาการปวดคอ คอแข็ง หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ , การนอนควรใช้ หมอนหนุนศีรษะ ...

หมอนรองกระดูกปลิ้นกี่วันหาย

อันที่จริงภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดไส้ในของหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาได้ภายใน 4-6 สัปดาห์โดยธรรมชาติ แต่เนื่องจากอาการปวดของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอาการเจ็บปวดที่รุนแรงมากจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานและอารมณ์ของผู้ป่วย จึงควรเข้ารับการรักษาเพื่อลดอาการเจ็บปวดที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf