ส่วนแบ่งการตลาด food delivery 2565

  • Share
  • Tweet

ก่อนจะติดโควิด-19 กันทั่วหน้า ก็คิดว่าติดโซเชียลกันก่อนมากกว่า เมื่อประชาชนทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดนานเกือบ 3 ปี ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้น “สื่อโซเชียลและอินเทอร์เน็ต” จึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบัน

อย่างที่ทราบกันดีว่า…การแพร่ระบาดทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การทำงาน การเรียน ช้อปปี้ ซื้อของต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งสิ้น โดยใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อกลางการติดต่อ ซื้อขายต่างๆ 

ขอบคุณรูปภาพ : สรุปพฤติกรรมการใช้งาน Digital และอินเทอร์เน็ตของไทย 2021 | Techsauce

จากสถิติประชากรทั่วโลก ในปี 2019-2021 มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 23% เมื่อเปรียบกับประชากรไทยเพิ่มขึ้นถึง 8% นอกจากนี้คนไทยยังมีการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking มากที่สุดในโลกถึง 68% รองลงมาเป็นแอฟริกาใต้ 64% และ โปแลนด์ 58% นั่นเอง

การจากเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังช่วงเหตุการณ์โควิด-19 แสดงให้เห็นแล้วว่าอัตราการเพิ่มขึ้นดังกล่าว ถือเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนักการตลาดด้านธุรกิจ E-commerce สามารถคาดเดาทิศทางและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ณ ปัจจุบันได้ 

“คนไทยติดโซเชียล อันดับ 2 ของโลก” 

ตำแหน่งนี้ไม่ใช่จะได้มาง่ายๆ แต่พี่ไทยก็ทำให้ได้ไม่ผิดหวัง!! จากสถิติของ We Are Social รายงานว่า คนไทยกว่า 69% หันมาใช้ชีวิตอยู่บนสื่อออนไลน์มากกว่าใช้ชีวิตจริง เพราะส่วนใหญ่การนำเสนอข่าวสารต่างๆ เลือกใช้ช่องทางผ่าน “สื่อโซเชียลเป็นหลัก” ทำให้พฤติกรรมการเสพข่าวสารออนไลน์ของคนไทยมีเพิ่มมากขึ้นถึง 91% จากคนทั่วโลก คิดเป็น 78% เท่านั้น 

ขอบคุณรูปภาพ : เปิดสถิติคนไทยเสพติด ‘ออนไลน์ โซเชียล’ สูงติดอันดับโลก (bangkokbiznews.com)

อย่างที่ทุกคนรู้จักกันผ่านช่องทางแต่ละประเภทที่ผู้บริโภคคุ้นเคยกันดี อย่างเช่น 

  • ถ้าต้องการสั่งซื้อสินค้า จะต้องเลือกซื้อผ่านแอป Lazada , Shopee, Line MyShop ,Alibaba หรือ JDCentral และอื่นๆ  
  • หากต้องการสั่งซื้ออาหาร จะต้องเลือกผ่านแอป Grab ,  Line Man , Foodpanda , Gojek , Robinhood , 7 Delivery หรืออื่นๆ
  • การไลฟ์สดบนช่องทางออนไลน์ต่างๆ จะต้องเลือกผ่านแอป Facebook, Instragram, Tiktok, Lazada , Shopee หรืออื่นๆ

ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทันและการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ สำหรับนักการตลาดพยายามคิดค้นระบบการซื้อขายง่าย สะดวกต่อพ่อค้าแม่ค้าและผู้บริโภคมากที่สุด เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อภายในระยะเวลาอันสั้น และยิ่งตอนนี้ศึกสงครามE-Commerce ดุเดือดมาก โดยรูปแบบการ Live E-Commerce กำลังจะเป็นเทรนด์นิยมในไทยอย่างแพร่หลาย 

ขอบคุณรูปภาพ : สรุปพฤติกรรมการใช้งาน Digital และอินเทอร์เน็ตของไทย 2021 | Techsauce

“คนไทยช้อปปี้ออนไลน์เก่ง ติดอันดับ 3 ของโลก”

โดยได้มีการเก็บสถิติE-commerce ในไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนไทยกว่า 83.6% เลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะซื้อง่าย สะดวก และรวดเร็ว จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคไม่นิยมเดินทางไปช้อปปี้ซื้อของหน้าร้านกันแล้ว แต่หันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า ไม่ต้องเดินลากขาให้เมื่อยนั่นเอง

ขอบคุณรูปภาพ : ทิศทางอีคอมเมิร์ซปี’65 ทะลุ 9 แสนล้าน โซเชียล-ไลฟ์สด แรง (prachachat.net)

ากข้อมูลดังกล่าว เผยให้เห็นว่า ธุรกิจE-commerce คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และแนวโน้มตลาดE-commerce ในปี 2565 จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดไม่ต่ำกว่า 30% หรือมูลค่าราว 9 แสนล้านบาท 

ซึ่งสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2565 ได้แก่

  • สินค้ากลุ่มสุขภาพ
  • สินค้ากลุ่มแฟชั่น
  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
  • สินค้าสำหรับทารกและเด็ก
  • สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

ธุรกิจขายออนไลน์ ไม่ใช่ “ทางเลือก” แต่คือ “ทางรอด”

แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจE-commerce ถือว่าเป็นสงครามแดงเดือด ด้วยเศรษฐกิจที่ยังไม่ทรงตัว และมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น ส่วนใหญ่นิยมหันมาทำธุรกิจขายออนไลน์ คือ ทางรอดที่ดีที่สุด ทำให้มีจำนวนคู่แข่งขันเยอะ ยิ่งทำให้ค่าใช้จ่ายโฆษณาจากต้นทุนเท่าเดิม แต่ได้ยอดขายที่ต่ำลง อีกทั้งยังปิดการมองเห็นอีกด้วย และทุกเจ้าต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั่นเอง

อ้างอิง : moneybuffalo / eximknowledgecenter

CONTENT TIPS

10 ไอเดียทำ VDO Content ลง IG ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น

Published

5 เดือน ago

on

4 พฤษภาคม 2022

เป็นที่เข้าใจได้ค่ะ หากในหน้าโปรไฟล์ไอจีธุรกิจของใครหลาย ๆ คนจะเต็มไปด้วยโพสต์ขายของ เพราะเป็นใคร ใครก็อยากเน้นโพสต์ได้ทำหน้าที่แผงขายของสร้างรายได้ให้กับเรา 

แต่ถ้าหากเราต้องการพรีเซนต์ธุรกิจเราต่อลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อขยายฐานลูกค้า การลงแค่คอนเทนต์ Hard sell อย่างเดียวคงไม่มีใครอิน ดังนั้นวันนี้เราจะมาแจก 10 ไอเดียทำ VDO Content ลง IG ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น จาก Social Media Examiner กันค่ะ

ขึ้นชื่อว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ ดังนั้นหลักการของทั้ง 10 ไอเดียนี้จะมาจากหลักการการทำ TOFU (Top-of-Funnel) เพื่อเป็นการแนะนำตัวแบรนด์ให้ลูกค้าใหม่ ๆ ได้หันมาสนใจทำความรู้จักกับเราค่ะ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อทำวิดีโอไอจีโดยใช้หลักการ TOFU

  • เป็นตัวของตัวเอง เพื่อจูงใจให้ลูกค้าเป้าหมายรักเราที่เป็นเรา แล้วกดตุ่มฟอลโลว์เราในที่สุด
  • ทำให้ง่ายเข้าไว้ คนเข้ามาใหม่ส่วนมากยังไม่มีใครสนใจข้อมูลเชิงลึกมากหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นแนะนำทำให้เข้าถึงง่ายเข้าไว้และยังแฝงไปด้วย offer ต่าง ๆ ของเราค่ะ
  • เล่าเรื่อง หรือ Storytelling การนำเสนอแบบนี้จะทำให้แอค ฯ ของเราดูน่าติดตาม คนกลับมาดูคอนเทนต์เราบ่อยขึ้น
  • สั้น ๆ กระชับ เพราะในปีนี้ 2022 IG มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับวิดีโอสั้นกันแล้วค่ะ ดังนั้นความยาวคลิปไม่เกิน 60 วิ คือแนะนำค่ะ

10 ไอเดียทำ VDO Content ลง IG ดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้น

แนะนำตัวธุรกิจของเรา

แนะนำธุรกิจของเราให้แก่ Potential customers ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับสตอรี่ของธุรกิจ โชว์เคสว่าเรามีสินค้าอะไรบ้าง หรือแม้กระทั่งใครเป็นทีมงานเราบ้าง แบบนี้ก็ได้ แต่ในบางทีหากมีเรื่องเล่าเยอะทำให้วิดีโอยาวเกินไปก็สามารถซอยย่อยออกมาเป็นพาร์ท ๆ ได้ค่ะ

แสดงคุณค่าแบรนด์ของเรา

โชว์ให้ลูกค้าในอนาคตของเราเห็นว่าสินค้าของเรามีดีหรือถูกใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตขนาดไหน หรือจะนำเอา CEO มาให้สัมภาษณ์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับภาพลักษณ์แบรนด์ก็ทำได้

ยกตัวอย่างจากแอคเคาท์ @kencko ที่นำเสนอ Value ของสินค้าในรูปแบบที่อยากให้ทุกคนมองลึกลงไปว่าภายในนั้นมีส่วนประกอบอะไรอยู่บ้าง โดยการใช้ลูกเล่นแว่นขยายส่องลงไป

รูปจาก Social Media Examiner

แสดงให้เห็นถึงเวย์การใช้สินค้าใหม่ ๆ

ให้แรงบรรดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้าได้อยากลองซื้อสินค้าของเราไปใช้ดูบ้าง หากใครคิดไม่ออกก็ลองนึกถึงการนำโอรีโอไปใช้เป็น Raw material ในการทำขนม/เบเกอรี่ต่าง ๆ ดูก็ได้ค่ะ เคสนี้เคยประสบความสำเร็จแล้วช่วยให้โอรีโอได้เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนได้มาแล้ว

สอนวิธีการใช้หรือเคล็ดลับ DIY

การให้ไอเดียวิธีการใช้สินค้าเวย์ใหม่ ๆ กับลูกค้าก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่หากจะให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นก็ทำวิดีโอสอนการใช้ในแบบของเราไปเลย

Sneak peek สินค้าใหม่

ให้ลูกค้าได้ตื่นเต้นกับสินค้าใหม่ที่เรากำลังจะออกวางขาย โดยการลงสตอรี่เพื่อให้ดูน่าค้นหา เพราะด้วยเนเจอร์ของฟีเจอร์นี้ที่คอนเทนต์จะคงอยู่เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น

เปิดตัวสินค้าใหม่

ให้เกิด Awareness กับโปรดักใหม่ของเรา โดยอาจจะทำเปฌน Reels สั้น ๆ โชว์ว่าสินค้าใหม่ของเราใช้ทำอะไรได้บ้าง ปรับแต่งยังไงได้บ้าง

โชว์เบื้องหลังการทำงาน / การผลิต แบบเล็ก ๆ น้อย ๆ

เพราะว่าคนสมัยนี้ต่างชอบดูอะไรที่เรียล ๆ และดูเข้าถึงได้ การพาทัวร์โรงงานหรือโปรดักไลน์สั้น ๆ ก็ทำให้คนหันมาสนใจเอนเกจกับเรามากขึ้น

บอกสรรพคุณของสินค้า

เพื่อไฮไลต์ถึงความเจ๋งของสินค้าเรา แต่ต้องคำนึงไว้เสมอว่าเราทำโดยอิงหลัก TOFU เพราะฉะนั้นเนื้อหายังไม่ต้องลึกมากค่ะ

ทำคอนเทนต์ขำ ๆ บ้าง

การขายของไม่จำเป็นต้องอัดแต่คอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้าเสมอไป การทำคอนเทนต์ขำ ๆ จะช่วยเรียกยอดเอนเกจได้ดีเลยค่ะ

ใช้ฟีเจอร์ไลฟ์สด สื่อสารกับลูกค้าแบบ Real time

เป็นวิธีการที่เรียลและจริงใจกับลูกค้ามากที่สุด และยังสามารถเปลี่ยนลูกค้าจากขั้น TOFU มาเป็น MOFU ได้อีกด้วย

อ้างอิง : Social Media Examiner

CONTENT TIPS

คอนเทนต์แบบไหนโดนใจผู้ใช้ Facebook, IG, Twitter, TikTok มาที่สุด ฉบับปี 2022

Published

5 เดือน ago

on

20 เมษายน 2022

อัปเดตแนวทางการทำคอนเทนต์ในปี 2022 ของแต่ละแพลตฟอร์มยอดฮิตอย่าง Facebook, IG, Twitter และ TikTok กันค่ะ 

ทุกวันนี้เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าฟีเจอร์ของแต่ละแพลตฟอร์มนั้นอาจมีหน้าตาที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันไปแต่สำหรับนักการตลาดหรือสายคอนเทนต์อย่างเรา ๆ ก็ต้องรู้ว่าในความแตกต่างเล็ก ๆ นี้พฤติกรรมของผู้ใช้แต่ละแพลตฟอร์มมีความคาดหวังในตัวเนื้อหาและสนใจในคอนเทนต์แต่ละประเภทแตกต่างกันไป เพราะบางทีคอนเทนต์ Real time ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ อาจไม่ได้ตอบโจทย์และเรียกเอนเกจได้เสมอไปนั่นเองค่ะ

 Facebook ยังต้องการ Community-driven 

รูปจาก //blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

จากการสำรวจ ถึงแม้เหล่าคอนเทนต์ประเภท Funny, Informative, Creative จะถูกโหวตจากผู้ใช้ว่าพวกเขาอยากเห็นบนหน้าฟีดมากที่สุด แต่แท้จริงแล้ว Community-driven นั้นก็ยังเป็นประเภทคอนเทนต์ที่ผู้ใช้ยังให้ความสนใจ กล่าวคือ ผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 5 ต้องการเห็นแบรนด์สร้างคอมมูนิตี้ให้พวกเขา 

อีกทั้งอ้างอิงจากการวิจัยของ GWI. ยังพบว่า ระดับของเอนเกจเมนต์ในแต่ละกลุ่มเฟซบุคนั้นมีคงที่และสม่ำเสมอ แต่ยังไม่มีค่อยแบรนด์นำข้อดีของการมีกลุ่มความสนใจเฉพาะในเฟซบุคไปใช้ประโยชน์สักเท่าไหร่ เพราะกลุ่มคอมมูนิตี้เหล่านี้คือแหล่งของคนที่มีความสนใจร่วมกัน, ในพื้นที่นั้น ๆ อยู่รวมกัน ซึ่งหากแบนรนด์นำไปต่อยอดก็จะทำให้พบกับกลุ่ม Audience ที่ Specific กับตัวธุรกิจได้มากขึ้น

เพราะด้วยเนเจอร์ของตัวผู้ใช้ Facebook เองที่ไม่ได้มายด์มากเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่ต้องเจาะจงเพื่อพวกเขามาก เพราะพวกเขานั้นก็อยากให้คอนเทนต์ตัวเองแมสเหมือนกัน ดังนั้นโพสต์หน้าฟีดจึงเริ่มไม่ค่อยน่าสนใจเท่า Subculture แล้ว (จากการสำรวจพบว่า ผู้ใช้ 43.2% รู้สึกว่าหน้าฟีดไม่ค่อย Relevant แล้ว) 

Instagram คอนเทนต์ต้องชิค

รูปจาก //blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

อย่างที่รู้ ๆ กันว่าเมื่อ CEO ของ IG ได้ออกบอกมาว่า IG ไม่ใช่แพลตฟอร์มแชร์รูปอีกต่อไป และจะกลายเป็นแอป ฯ ที่ให้ความบันเทิงแทน ในเมื่อเป็นแบบนี้ Piority ของผู้ใช้ย่อมเปลี่ยน ทำให้คอนเทนต์ประเภทตลกเฮฮา (Funny) กลายเป็นคอนเทนต์ที่ผู้ใช้ต้องการมากที่สุด

ประจวบเหมาะกับช่วงที่โควิดระบาด UGC (User Generated Content) เลยบูมและถูกแชร์อย่างมากในโลกโซเชียล แต่อย่างไรก็ตามเหล่า Instagrammer ก็ยังต้องคงคอนเซปต์ ‘ความชิค’ ไว้อยู่เสมอ สอดคล้องกับผู้ใช้จำนวน 23% ชอบเข้าถึงแบรนด์ที่ดูชิคหรือคูลมากกว่า 

Twitter บางส่วนยังเป็นความหวังของสังคม

รูปจาก //blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

Twitter ถือว่าเป็นแพลตฟอร์ม Microblogging คล้ายพันทิปในบ้านเราเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเนื้อหาในแพลตฟอร์มนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นทางการจ๋าเสมอไปค่ะ เพราะจากความเกร็งนี้ทำให้ผู้ใช้ unliked หรือ unfollowed แบรนด์ไปแล้วกว่า 35% ในเดือนที่ผ่านมา

จริงอยู่ที่เนื้อหาในทวิตเตอร์นั้นจะออกไปในแนวตลกขบขัน แต่แท้จริงแล้วนั้นชาวทวิตเตอร์ไม่ได้ใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากเท่าไหร่ เพราะพวกเขาสนใจในเรื่องของการเอนเกจ มีส่วนร่วม มากกว่าที่จะมาเสพอะไรขำ ๆ แล้วผ่านไป 

Conversation จึงสำคัญกว่า Monologue สำหรับแพลตฟอร์มนี้ ดังนั้นสำหรับนักการตลาดแล้ว ผู้ใช้นั้นคาดหวังที่จะให้แบรนด์รับฟังพวกเขามากกว่าที่จะให้ความรู้แก่พวกเขา (51% VS 38%)

TikTok คอนเทนต์เน้นตลกและครีเอท

รูปจาก //blog.gwi.com/chart-of-the-week/best-content-on-tiktok-twitter-and-instagram/

ขึ้นแท่นมาเลยอันดับหนึ่งในเรื่องของคอนเทนต์ประเภท Funny ที่ผู้ใช้อยากเห็นบนหน้าเพจมากที่สุด ดังนั้นแบรนด์ที่นำเสนอภาพลักษณ์ตลกแบบไม่ห่วงสวยกันจึงจะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ในแพลตฟอร์มนี้ เพราะผู้คนนั้นต่างยกให้ติกตอกเป็นเหมือนพื้นที่ที่คอยปลดปล่อยความติ๊งต๊องออกมา

ตัวอย่างของแบรนด์ที่ทำออกมาได้ดีก็คือ Duolingo แอป ฯ นกฮูกเขียวสอนภาษาที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกัน ซึ่งผลก็คือแบรนด์นี้ดูเป็นบุคคลจับต้องได้มากขึ้น และสามารถเข้าถึงกลุ่ม Audience ที่อายุน้อยได้ดี

สุดท้ายนี้เราก็ต้องกลับมาทำการบ้านกันอีกรอบว่าในคอนเทนต์ของแต่ละทอปปิคที่เราอยากนำเสนอออกไปในแต่ละแพลตฟอร์มนั้นต้องนำเสนอในเวย์ที่แตกต่างกันไป เพื่อการมองเห็นและการเข้าถึงที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเองค่ะ

อ้างอิง : GWI

CONTENT TIPS

Shopee ลงแข่งสนามเดือด Food Delivery พร้อมงัดไม้เด็ดพิชิตใจลูกค้า

Published

6 เดือน ago

on

11 เมษายน 2022

กลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม E-commerce ชื่อดังอย่าง Shopee บุกตลาด Food Delivery ทั่วไทย หลังจากได้เปิดตัวก่อนหน้านี้ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้ผลตอบรับดีเกินคาด ยอดดาวน์โหลดแอปกว่า 500,000 คน พร้อมร้านค้าพาร์ทเนอร์เข้าร่วมกว่า 500 ร้าน

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป Work From Home ตามมาตรการของระงับการแพร่ระบาดของรัฐบาล จึงไม่สามารถเดินทางไปข้างนอกได้สะดวกกว่าเช่นเคย ดังนั้นช่องทางออนไลน์ จึงตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคมากที่สุด 

ขอบคุณรูปภาพ : //www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2995.aspx

โดยจากผลสำรวจของ Nielsen Thailand กลุ่มพฤติกรรมผู้บริโภคช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์ ปี 2565 เผยว่า กลุ่มร้านอาหาร และ แอปสั่งซื้ออาหาร มีอัตราการเติบโตสูงถึง 647% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับการสั่งอาหารผ่านแอป และคาดว่าหลังจากวิกฤตโควิด-19 หายไป ธุรกิจ Food Delivery ก็ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คาดการณ์ ธุรกิจ Food Delivery ในปี 2565 มีแนวโน้มโตเพิ่มขึ้นประมาณ 4.5% หรือมูลค่าตลาด 7.9 หมื่นล้านบาท กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของศึกสงครามแย่งชิงบัลลังค์ส่วนแบ่งการตลาด Food Delivery อย่างดุเดือด

พื้นที่ยังเหลือ Shopee Food ขอร่วมจอยหน่อย

หลังจากที่ AirAsia เปิดตัวบริการฟู้ดเดลิเวอรี่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุดขอต้อนรับน้องใหม่ Shopee Food เพิ่มอีกหนึ่งราย แพลตฟอร์มอี คอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ ผู้ให้บริการสินค้าออนไลน์ พร้อมฐานลูกค้าเก่ามากมาย ที่ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab Foodpanda หรือ Line man ไม่ควรพลาดเด็ดขาด

ขอบคุณรูปภาพ : Shopee บุกตลาด Food Delivery งัด 4 ไม้เด็ดครองใจไรเดอร์ | ทันข่าว Today (thunkhaotoday.com)

โดยกลยุทธ์ที่จะเอามาพิชิตใจไรเดอร์ ครองใจลูกค้า สร้างความมั่นใจเลือกใช้บริการ

  1. รอบวิ่งเยอะ 24 ชั่วโมง : เนื่องจาก Shopee มีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว สร้างความมั่นใจให้แก่ไรเดอร์เพิ่มโอกาสรอบวิ่งตลอดทั้งวัน
  1. ออเดอร์เพียบ : แอปพลิเคชันช้อปปี้เป็นอีกหนึ่งแอปที่มีฐานข้อมูลลูกค้ามากมาย พร้อมช่องทางการชำระแสนสะดวกผ่านช้อปปี้ และ Shopee Pay เพื่อเพิ่มโอกาสรับออเดอร์ได้มากขึ้น
  1. รับงานเท่าเทียม : ได้มีการตั้งมาตรการแบ่งขั้นการรับงานอย่างเท่าเทียม ด้วยอุปกรณ์เซ็ตใหญ่ หรือ เล็ก ก็วิ่งได้เหมือนกัน
  1. แจกงานให้เท่ากัน : ระบบการกระจายงานให้แก่ไรเดอร์อย่างเท่าเทียม ไม่มีการทุจริตจ่ายงานลำเอียง
ขอบคุณรูปภาพ : ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดปี 65 มูลค่าตลาด “ฟู้ดเดลิเวอรี่” โตแตะ 7.9 หมื่นล้าน (bangkokbiznews.com)

เทรนด์ธุรกิจ Food Delivery เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งทางShopee มองเห็นถึงโอกาสเทรนด์ธุรกิจ FoodDelivery เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงตัดสินใจลงแข่งสนามเดือดในครั้งนี้ด้วย หากดูมูลค่าตลาดรวมย้อนในแต่ละปีจะเห็นได้ว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี 

  • ปี 2563 มูลค่าตลาด 68,000 ล้านบาท
  • ปี 2564 มูลค่าตลาด 74,000 ล้านบาท
  • ปี 2565 คาดว่ามูลค่าตลาด 82,000 ล้านบาท
  • ปี 2566 คาดว่ามูลค่าตลาด 90,000 ล้านบาท

จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ หลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ผู้บริโภคนิยมเลือกใช้บริการแอปสั่งซื้ออาหาร อีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป

สาเหตุของการเติบโตธุรกิจ Food Delivery

ปัจจัยหลักสำคัญของอัตราการเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ เกิดจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผลักดันให้ผู้คนเข้าสู่โลกออนไลน์โดยปริยาย นอกจากจะอำนวยความสะดวกสบาย รวดเร็ว ยังมีโปรโมชั่น คูปองส่วนลดต่างๆ ของพาร์เนอร์ร้านอาหารชื่อดังมากมาย พร้อมส่งตรงความอร่อยให้ถึงบ้าน

อย่างไรก็ตามShopee ลุยธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การแข่งขันยังคงมีแนวโน้มรุนแรงทวีคูณเรื่อยๆ ซึ่งทุกแบรนด์ต่างงัดกลยุทธ์เพื่อเอาใจผู้ประกอบการร้านอาหาร ไรเดอร์ และผู้บริโภค โดย EIC คาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าวิกฤตโควิด-19 คลี่คลายลง แนวโน้มธุรกิจแอปส่งอาหารยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือว่าShopeeFood ยังคงเป็นที่น่าจับตามองอย่างมากในไทย

อ้างอิง : shopeefood / thansettakij / bangkokbiznews.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf