พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย 2565

เผยแพร่: 31 พ.ค. 2565 09:01   ปรับปรุง: 31 พ.ค. 2565 09:01   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จากงานวิจัย Mintel Global Consumer ที่ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ผู้บริโภคมากกว่า 50% ต่างกังวลว่าตนจะไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนก่อนที่จะมีโรคระบาด ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญกับการล็อกดาวน์ กักตุนอาหาร หรือการเปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นสถานที่ทำงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งยังทำให้อาหารกลายเป็นสิ่งที่ไม่ใช่แค่เพื่อการยังชีพ แต่ยังเป็นเหมือนแหล่งกำลังใจที่ช่วยให้ผู้คนก้าวเดินต่อไปอีกด้วย

เทรนด์ผู้บริโภคทั่วโลกประจำปี 2565 ของ Mintel ได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเหล่านี้ พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำที่แบรนด์อาหาร เครื่องดื่ม และผู้ให้บริการด้านอาหารสามารถนำไปใช้วางกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในอนาคต ซึ่งเทรนด์สำคัญ 3 ประการ เพื่อการนำเสนอศักยภาพที่ยอดเยี่ยมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้นได้แก่ ควบคุมได้ เพลิดเพลินได้ทุกที่ และพื้นที่แห่งความยืดหยุ่น


ควบคุมได้
ในส่วนของการ “ควบคุมได้” จะพาไปดูว่าผู้บริโภคต้องรับมือและจัดการกับความรู้สึกว่าไม่มีอะไรแน่นอน และความไม่มั่นใจที่เกิดขึ้นจากการระบาดใหญ่อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคต้องการที่จะมีอำนาจจัดการและควบคุมสิ่งต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้ แบรนด์อาหารและเครื่องจะช่วยส่งเสริมผู้บริโภคในส่วนนี้ได้ด้วยการให้รายละเอียดสินค้าอย่างโปร่งใส ชัดเจน และตรงไปตรงมา

“ทุกวันนี้ ผู้บริโภคต้องการอำนาจที่จะเลือกสิ่งดี ๆ ให้กับตัวเองมากกว่าที่เคยเป็นมาเพื่อการมีสุขภาพที่ดี โดยผู้บริโภคมากกว่าครึ่งในฟิลิปปินส์ (61%) ไทย (56%) และเวียดนาม (64%) ชี้ว่า ตนเลือกที่จะอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ (เช่น ส่วนผสม ส่วนประกอบทางโภชนาการ) ก่อนที่จะซื้ออาหารหรือเครื่องดื่ม แบรนด์อาหารและเครื่องดื่มมีหน้าที่ในการที่จะให้คำแนะนำที่มีความชัดเจนและน่าเชื่อถือเพื่อสอดรับต่อความต้องการด้านสุขภาพของผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะสามารถเลือกตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างมั่นใจ หากแบรนด์ให้ข้อมูลที่มีความชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์ และเชื่อมโยงกับความต้องการสารอาหารในแต่ละวัน” Heng Hong Tan นักวิเคราะห์ด้านอาหารและเครื่องดื่มของ Mintel APAC กล่าว

“ผู้บริโภคคาดหวังถึงความโปร่งใสในการทำธุรกิจของแบรนด์ที่ไม่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ควรจะเป็นมากขึ้น แบรนด์จะได้รับความไว้วางใจหากมีการรับรองถึงหลักปฏิบัติจากหน่วยงานภายนอก หรือมีการวัดประเมินผ่านการจัดลำดับต่าง ๆ เพราะสิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้บริโภคจะสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและมีข้อมูลมารองรับการตัดสินใจนั้น” Tan กล่าวเสริม


เพลิดเพลินได้ทุกที่
“เพลิดเพลินได้ทุกที่” เปิดโลกความคิดที่ว่า ผู้บริโภคต้องการก้าวข้ามการถูกจำกัดอิสระ หลังจากต้องทนกับการใช้ชีวิตในช่วงเวลาแห่งการล็อกดาวน์มาอย่างยาวนาน และจะรู้สึกมีความสุขกับสิ่งสนุกใหม่ ๆ ที่มาในรูปแบบของกิจกรรมและเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน แบรนด์อาหารและเครื่องดื่มจึงนับว่าอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่จะรังสรรค์ประสบการณ์ที่โลกออนไลน์ก็ไม่

สามารถทดแทนได้
“ผู้บริโภคชื่นชอบอาหาร เครื่องดื่ม และบริการด้านอาหารที่อิ่มเอมผ่านการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อที่จะนำพาพวกเขาเข้าถึงรสชาติและความสุขในการลิ้มรส อาหารและเครื่องดื่มที่หน้าตาน่ารับประทานอาจทำให้พวกเขาพบกับรสชาติเหนือความคาดหมายและมิติที่น่าสนใจได้ ในขณะเดียวกัน เมตาเวิร์ส (Metaverse) ได้เป็นเหมือนตัวกลางใหม่ที่เปิดโอกาสให้แบรนด์ต่าง ๆ มีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ตามข้อมูลผู้บริโภคของ Mintel แล้ว ในประเทศสิงคโปร์ 73% ของผู้บริโภค กล่าวว่า พวกเขาจะเล่นเกมบนแท็บเล็ต แล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ โดยแบรนด์ต่าง ๆ จะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในเกม และ “เปลี่ยนสิ่งธรรมดา ๆ ในชีวิตให้กลายเป็นเกมอันแสนสนุก” อย่างการทำอาหารผ่านโลกดิจิทัลที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อหรือผูกสัมพันธ์กับผู้อื่นได้” Tan กล่าวต่อ


พื้นที่แห่งความยืดหยุ่น
การระบาดใหญ่ทำให้ผู้บริโภคโหยหาการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความสะดวกสบายในแง่ของการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ไปพร้อมกัน “พื้นที่แห่งความยืดหยุ่น” จะทำให้เราเข้าใจว่า ผู้บริโภคนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเปลี่ยนความคิดที่มีต่อพื้นที่ทำงานกับพื้นที่ให้ความผ่อนคลาย เนื่องจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป การผสมผสานระหว่างพื้นที่ทางกายภาพกับออนไลน์ที่ดีที่สุดจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างตัวตนให้กับแบรนด์ในการโต้ตอบกับผู้บริโภคในอนาคต โดยในประเทศอินโดนีเซีย 82% ของผู้บริโภคเลือกที่จะเดินทางไปซื้ออาหารด้วยตนเองจากร้านค้า

“เราจะเห็นผู้ค้าปลีกกำหนดแนวทางใหม่ในแง่ของพื้นที่และการขายเพื่อรองรับฐานผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้ความสะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น และดึงผู้ที่มีความสนใจเหมือน ๆ กันให้มาอยู่รวมกัน ไม่ว่าจะเป็นในโลกออฟไลน์หรือออนไลน์ ในทุก ๆ วันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเช่นนี้ โลกที่มีความผสมผสานจะหมุนไปอย่างราบรื่นมากขึ้น” Tan กล่าวสรุป

สามารถดาวน์โหลดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกประจำปี 2565 จาก Mintel (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ฟรีได้ที่นี่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือในกรณีที่ประสงค์ทำการนัดสัมภาษณ์ทีมนักวิเคราะห์ของเราเพิ่มเติม โปรดติดต่อ Mintel Press Office ที่


ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

27 ส.ค. 2565 เวลา 0:09 น. 1.7k

เปิดข้อมูลใหม่ คนไทยกระหน่ำซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กระฉูด พบตัวเลขการใช้จ่ายในการซื้อแต่ละเดือนพุ่ง หลังสภาพัฒน์ ระบุภาวะสังคมไทย แจ้งรายละเอียดชัด ช่วงโควิด-19 ระบาด คนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายมากขึ้น

ข้อมูลการแถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ของ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงออกมาวันก่อน มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ สถานการณ์การใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนไทย โดยระบุถึงการดูแลสุขภาพยังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 

ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายมากขึ้น อีกทั้งข้อจำกัด ในการเข้าถึงอาหารในช่วงดังกล่าวยังทำให้การบริโภคอาหารของผู้คนมีความหลากหลายน้อยลง ส่งผลต่อความครบถ้วนของสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน 

โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนไทยขาดสมดุลในการบริโภคอาหาร โดยมีการบริโภคอาหารไขมันสูงและอาหารแปรรูปในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก 

นอกจากนี้ ปัจจุบันผู้คนยังให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ และรูปร่างหน้าตามากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จากข้อมูลของ EuroMonitor พบว่า ปี 2559 ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินของประเทศไทย มีมูลค่า 53,810 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 74,247 ล้านบาท ในปี 2564 

ทั้งนี้ สถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของคนไทย จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พบว่า ในปี 2564 ครัวเรือนกว่า 1.8 ล้านครัวเรือน มีการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาบริโภค เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 149.3% ที่มีเพียง 0.7 แสนครัวเรือน 

โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 1,036 บาทต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการให้ความสำคัญกับสุขภาพ 

ข้อมูลผลสำรวจพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ของศูนย์บริการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า เหตุผลของการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อบำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ลดปัญหาเกี่ยวกับผิว และลดน้ำหนัก ส่วนใหญ่มีพฤติกรรม และวิธีการเลือกซื้อ ดังนี้

  • 70% พิจารณาจากการได้รับสัญลักษณ์ อย. เกือบ 
  • 40.5% ตัดสินใจเลือกซื้อเพราะมีส่วนประกอบและสรรพคุณตรงกับความต้องการ 
  • 33.7% ตัดสินใจซื้อตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการสำรวจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประชาชนกว่า 70% มีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าคนไทยจะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น แต่บางส่วนยังมีทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่รอบด้านมากนัก

สำหรับ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ทุกคนควรรู้เท่าทัน มีดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นขึ้นทะเบียน อย.ในประเภทอาหาร มิใช่ประเภทยา ซึ่งการได้รับเครื่องหมาย อย. ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าจะได้รับประโยชน์หรือเกิดผลต่อร่างกายตามที่คาดหวัง เพียงแต่เป็นการรับรองว่าวัตถุดิบและกระบวนการผลิตจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค 
  2. ไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากสารอาหารในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนใหญ่เป็นสารที่ผู้บริโภคสามารถได้รับจากการบริโภคอาหารปกติ 
  3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีโทษเช่นกัน เนื่องจากสารประกอบบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้บริโภค 
  4. สารอาหารที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีต้นทุนสูงกว่าการรับประทานอาหารปกติ 
  5. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมากยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงผลต่อร่างกาย 

จะเห็นได้ว่า หากรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและหลากหลาย ก็จะได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่สำหรับคนบางกลุ่ม อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางโภชนาการ อาจใช้เพื่อเสริมสารอาหารที่ขาดไปได้ 

สำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคสามารถพิจารณาเลือกซื้อได้ ดังนี้ 

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว/มียาประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และผู้ที่ต้องการบริโภคควรพิจารณาตามความต้องการและข้อจำกัดของร่างกายตนเอง 
  • ศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ มีฉลากแสดงส่วนประกอบ จดทะเบียน อย. 
  • ไม่ควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณดีเกินไป 

นอกจากนี้ ผู้บริโภคไม่ควรหวังพึ่งสารอาหารจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นหลัก โดยละเลยการให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารและพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสม

ขณะที่ภาครัฐ ควรมีแนวทางในการรวบรวมข้อมูล แนวทางในการเลือกซื้อ รวมถึงระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาบริโภคได้สะดวกมากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf