เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ออกกำลัง กาย

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) 

คือภาวะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ โดยปกติเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโตอยู่ภายในโพรงมดลูก แต่ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญที่อื่นที่ไม่ใช่ในโพรงมดลูก จะเรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ตำแหน่งที่พบบ่อยส่วนใหญ่มักพบบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้องทางด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของมดลูกรวมถึงอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่นอกจากนี้ ยังพบได้ที่ท่อไต ลำไส้เล็ก ปอด สมอง และบริเวณผิวหนัง หรือแผลผ่าตัดเป็นต้น

พบได้ประมาณ 1 ใน 10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ และอาจสูงถึง 5 ใน 10 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอาการปวดประจำเดือนร่วมกับปัญหามีบุตรยาก

สาเหตุของโรค

► ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคนี้ แต่มีทฤษฎีที่เชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดระดู หรือประจำเดือนมีการไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ่มเชิงกราน ผ่านทางท่อนำไข่ ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาผู้หญิงมีประจำเดือน เลือดประจำเดือนจะไหลออกมาทางช่องคลอด แต่จะมีเลือดประจำเดือนบางส่วนไหลผ่านท่อนำไข่เข้าไปในอุ้งเชิงกราน โดยเลือดประจำเดือนนี้จะมีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะมีกลไกในการกำจัดเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้ แต่ในผู้หญิงบางคนมีความผิดปกติของกลไก ในการจัดการเซลล์เหล่านี้ ทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมานั้นสามารถไปฝังตัวตามจุดต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน รวมถึงรังไข่ และเจริญเติบโตขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิงได้ เช่นเดียวกับโพรงมดลูกปกติ 

► ในช่วงที่เป็นประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เช่นเดียวกับในโพรงมดลูก เป็นเหตุให้เกิดบาดแผล และการอักเสบในตำแหน่งที่มีภาวะนี้ทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

นอกจากนี้ ปัจจัยด้านพันธุกรรมมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โดยพบว่าญาติสายตรง เช่น แม่ หรือพี่น้องเป็นโรคนี้ พบความเสี่ยงการเป็นโรคนี้สูงขึ้น 7 เท่า            

อาการโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  

อาการที่สงสัยว่าจะเป็น ได้แก่

  • อาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ โดยมักจะมีอาการปวดนำมาก่อน 2-3 วันก่อนที่ประจำเดือนมา ในช่วงที่กำลังมีประจำเดือนอาการปวดจะมากขึ้น และจะรุนแรงมากขึ้นในรอบเดือนถัดๆ ไป
  • อาการปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยลักษณะอาการปวดจะปวดเจ็บลึกๆ ในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพัธ์
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (มีอาการปวดท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน)
  • มีบุตรยาก
  • คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย (ช็อกโกแลตซีส หรือถุงน้ำช็อกโกแลต)
  • เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
  • ส่วนน้อยอาจมีอาการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของโรค เช่น สตรีที่มีตัวโรคอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะ อาจทีอาการปวดเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือปัสสาวะเป็นเลือดช่วงที่เป็นประจำเดือน ในสตรีที่มีตัวโรคที่ลำไล้ใหญ่ส่วนปลายอาจมีอาการถ่ายลำบาก ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายเป็นเลือด โดยเฉพาะช่วงที่เป็นประจำเดือน บางคนมีอาการไอเป็นเลือดในช่วงเป็นประจำเดือน เนื่องจากมีเยื่อบุโพรงมดลูก ไปเจริญที่ปอด เป็นต้น

การแยกอาการปวดประจำเดือนที่ปกติและอาการปวดประจำเดือนจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

สังเกตได้จากอายุและลักษณะอาการปวดประจำเดือนที่เป็น ถ้าอายุยังไม่มากแล้วมีอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน โดยเริ่มมีอาการปวดประจำเดือนตั้งแต่เริ่มเป็นประจำเดือน ครั้งแรก อาการปวดเป็นเท่าๆ เดิม ไม่ได้ปวดรุนแรงขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดประจำเดือนธรรมดา แต่ถ้าอายุมากขึ้น แล้วอยู่ๆ เริ่มมีอาการปวดประจำเป็น หรืออาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เดิมมีอาการปวดประจำเดือน ไม่มาก พอทนได้ หรือรับประทานเพียงยาแก้ปวดก็หาย แต่ต่อมาอาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น ต้องรับประทานยาแก้ปวดปริมาณมากขึ้น หรือต้องรับประทานยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงขึ้น มีอาการปวดจนต้องหยุดเรียน หยุดงาน หรือปวดจนรบกวนชีวิตประจำวัน หรือบางคนถึงขั้นต้องไปฉีดยาแก้ปวดที่ คลินิก หรือ โรงพยาบาล อาการดังกล่าวค่อนข้างบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อย่างไรก็ตามเพื่อความแน่ใจว่าปวดประจำเดือนเป็นจากอะไร แนะนำพบสูตินรีแพทย์ เนื่องจากอาการปวดประจำเดือนอาจเป็นจากโรคอื่น ก็เป็นได้ เช่น เนื้องอกมดลูก การอักเสบในอุ้งเชิงกราน พังผืดในอุ้งเชิงกราน หรือมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น

ลักษณะรอยโรคของเอ็นโดเมททริโอซิส

เอ็นโดเมททริโอซิส สามารถแบ่งลักษณะรอยโรคได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

เอ็นโดเมททริโอซิสที่อยู่ในตัวมดลูก (endometriosis interna) หรือทางการแพทย์เรียกชื่อเฉพาะว่า อะดีโนไมโอซิส (adenomyosis) คือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูดเจริญผิดที่เข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้มดลูกมีขนาดโตขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนออกมากร่วมด้วย

เอ็นโดเมททริโอซิสที่อยู่นอกตัวมดลูก (endometriosis externa) ซึ่งในทางการแพทย์โดยทั่วไปเวลากล่าวถึงเอ็นโดเมททริโอซิส จะหมายถึงกลุ่มนี้ คือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูก ที่เจริญไปฝังตัวที่อวัยวะอื่นๆ นอกตัวมดลูก เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และปอด เป็นต้น โดยรอยโรคในกลุ่มนี้อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

  1. เยื่อบุช่องท้อง (superficial peritoneal lesions) คือ พบรอยโรคของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บนผิวเยื่อบุช่องท้อง
  2. ถุงน้ำ หรือซิสต์ที่รังไข่ หรือเรียกโดยทั่วไปว่าช็อกโกแลตซีสต์ (chocolate cyst หรือทางการแพทย์เรียกว่า endometrioma) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนที่เกิดจากเอ็นโดเมททริโอซิสมักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ สัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยาก และมักเกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ช็อกโกแลตซีสต์เป็นอาการแสดงหนึ่งของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โดยตัวโรคไปเกิดขึ้นที่รังไข่ในลักษณะของถุงน้ำ ที่เราเรียนว่า ช็อกโกแลตซีสต์เพราะลักษณะของถุงน้ำในโรคนี้ ภายในมีของเหลวที่มีลักษณะคล้ายกับช็อกโกแลต กลไกการเกิดช็อกโกแลตซิสต์ เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปเกาะ และเจริญเติบโตขึ้นที่รังไข่จนทำให้เกิดถุงน้ำขึ้น ขณะเป็นประจำเดือนเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ในถุงน้ำมีเลือดด้วย เมื่อเวลาผ่านไป น้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบในถุงเลือดนั้นจะถูกดูดซึมกลับ ทำให้เลือดในถุงน้ำมีลักษณะเข้มขึ้น และเมื่อค้างนานๆ ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือน ช็อกโกแลต เราจึงเรียก ว่า ถุงน้ำช็อกโกแลต หรือ ช็อกโกแลตซีสต์
  3. รอยโรคแบบฝังลึก (deep infiltrating endometriosis หรือ DIE) เกิดจากรอยโรคฝังตัวกินลึกเข้าไปใต้เยื่อบุช่องท้อง ซึ่งอาจเข้าไปถึงอวัยวะใกล้เคียง เช่น เส้นประสาท หลอดเลือด ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ เป็นต้น โดยรอยโรคชนิดนี้เป็นสาเหตุของอาการปวดที่รุนแรงซึ่งความรุนแรงของอาการปวดมักสัมพันธ์กับความลึกของรอยโรค ร่วมกับอาการผิด ปกติอื่นๆ ที่รอยโรคลุกลามเข้าไปถึงอวัยวะข้างเคียง เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด หรือถ่ายปนเลือดช่วงเป็นประจำเดือน เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคสูง มักมีความสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน พบว่า

  • สตรีที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนเพื่อนๆ
  • สตรีที่เข้าสู่ภาวะวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้ากว่าปกติ
  • สตรีมที่มีประจำดเดือนออกมากและออกนานหลายวัน
  • สตรีที่รอบเดือนมาถี่ หรือระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้น 
  • สตรีที่มีมารดา พี่สาว หรือน้องสาวเป็นโรคนี้
  • สตรีที่มีลูกคนแรกตอนอายุมาก ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟมากๆ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สูงขึ้น

อันตรายต่อสุขภาพ

โรคนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดประจำเดือนทำให้เราต้องทนทุกข์ทรมานจากการปวด ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางครั้งส่งผลทางด้านการงานและสังคม ทำให้เราต้องหยุดเรียน หรือหยุดงานเนื่องจากอาการปวด ในบางคนเกิดการแตกของถุงน้ำ ทำให้เกิออาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน อาจต้องได้รับการผ่าตัดแบบฉุกเฉินนอกจากนั้น โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากโรคนี้มักจะทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน บางรายเป็นมากจนทำให้เกิดการอุดตันของท่อนำไข่ทั้งสองข้างทำให้ไม่สามารถมีบุตรเองได้โดยวิธีธรรมชาติ อาจจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด หรือต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว

กรณีที่มีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ แนะนำให้พบสูตินรีแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจภายใน ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์ หรือตรวจพิเศษอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการตรวจอัลตราซาด์นั้น อาจทำการตรวจทางหน้าท้องหรือตรวจทางช่องคลอด ซึ่งแพทย์จะเลือกตรวจตามความเหมาะสม แต่สำหรับการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุด คือ การส่องกล้อง เข้าไปในช่องท้อง ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ เอามาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งการตรวจ โดยวิธีส่องกล้องนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกคน แพทย์จะทำเมื่อเห็นว่ามีความเหมาะสม ในบางกรณีแพทย์อาจลองให้การรักษาโดยให้ยาแก้ปวด หรือยาฮอร์โมน แล้วสังเกตการตอบสนองต่อการรักษา ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังจากได้รับยา 3-6 เดือน แพทย์จะแนะนำการส่องกล้องตรวจร่วมกับการผ่าตัดผ่านกล้องเป็นการรักษาขั้นถัดไป

การรักษา

เนื่องจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาดได้โดยธรรมชาติของโรคจะดีขึ้นเองเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากวัยหมดประจำเดือนไม่มีฮอร์โมนเพศ (เอสโตรเจน) ในการกระตุ้นตัวโรคอีก จุดประสงค์ของการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค

ถ้ามีอาการปวดประจำเดือนการรักษาเพื่อลดอาการปวด ถ้ามีปัญหามีบุตรอยาก การรักษาเพื่อช่วยให้มีบุตร แต่ถ้ามีก้อนที่รังไข่ การรักษาเพื่อตัดก้อนที่รังไข่ออก เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการรักษาเน้นการรักษาตามอาการของโรค เป็นหลัก โดยการรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่ การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการผ่าตัด และ การรักษาร่วมกันระหว่างการให้ยาและการผ่าตัด

1. การรักษาด้วยยา โดยการใช้ยาแก้ปวด หรือยาฮอร์โมนเพื่อกดการทำงานของรังไข่เพื่อบรรเทาอาการปวด จึงไม่ช่วยในกรณีที่ผู้ป่วย ต้องการมีบุตร ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่

1.1 ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDS) ในกรณีที่ปวดประจำเดือนไม่มาก อาจเริ่มด้วยยากลุ่มพาราเซตตามอล แต่ถ้าต้องการยาที่มี ฤทธิ์แก้ปวดมากขึ้น อาจใช้ยาต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด โดยแนะนำให้เริ่ม รับประทานยา 1-2 วันก่อนเริ่มมีอาการปวดประจำเดือน เพื่อระงับอาการปวด ได้ดียิ่งขึ้น แต่ในรายที่โรคนี้เป็นมาก อาจใช้ยาต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด ไม่ได้ผล ผลข้างเคียงที่สำคัญของการต้านการอักเสบกลุ่มเอ็นเสด ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร และโรคไต เป็นต้น

1.2 ยาคุมกำเนิด รวมถึงชนิดยาเม็ด ยาฉีด ยาฝัง แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิดทางช่องคลอด โดยยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพดีในการช่วยลดอาการปวดและปริมาณประจำเดือน สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดอาจรับประทานแบบต่อเนื่อง (โดยไม่ต้องรับประทานยาหลอกหรือยาที่เป็นเม็ดแป้ง) เป็นเวลามากกว่า 3 เดือน ผลทำให้ประจำเดือนห่างออก และปวดประจำเดือนลดลง สำหรับผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด ได้แก่ คลื่นไส้ เจ็บคัดตึงที่เต้านม และเลือดออกกะปริดกะปรอยจากช่องคลอด โดยผลข้างเคียงเหล่านี้จะลดลงเมื่อใช้ยาต่อเนื่องไปหลายเดือน

1.3 ยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจนติน สามารถบรรเทาอาการปวดได้ผลดี มักใช้ในกรณีที่อาการปวดไม่ดีขึ้น หรือมีข้อห้ามจากยาคุมกำเนิด ยาในกลุ่มนี้มีทั้งแบบเม็ดรับประทาน ยาฉีด และชนิดที่เป็นห่วงคุมกำเนิด ยากลุ่มโปรเจนตินชนิดฉีดไม่เหมาะสำหรับสตรีที่ต้องการมีบุตร เนื่องจากยานี้มีผลกดการทำงานของรังไข่ ในระยะยาว ซึ่งหลังหยุดยานี้ ต้องใช้เวลานานกว่ารังไข่จะกลับมาทำงานปกติ จนมีประจำเดือนตามปกติได้ สำหรับปัจจุบันมียาใหม่ในกลุ่มนี้ที่เป็นแบบเม็ด รับประทาน มีประสิทธิภาพดีในการลดอาการปวดประจำเดือน สามารถลดขนาด ถุงน้ำช็อกโกแลตให้เล็กลง และมีผลข้างเคียงต่ำเมื่อเปรียบเที่ยบกับยากลุ่มอื่นๆจึงเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้น

1.4 ยาฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน เป็นยาฮอร์โมนกระตุ้นลักษณะเพศชาย มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคนี้ และลดอาการปวดประจำเดือนได้ดี ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบรับประทาน แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สิว หน้ามัน มีขนหรือหนวดขึ้น และอาจมีเสียงเปลี่ยนเป็นแบบผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้สามารถหายไปได้เองหลังหยุดการใช้ยา ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่ยังคงอยู่แม้จะหยุดใช้ยาแล้ว

1.5 ยากลุ่ม Gonodotropin releasing  hormone agonist (GnRHa) เป็นยาที่ช่วยหยุดการทำงานของรังไข่ชั่วคราว ทำให้ไม่มีฮอร์โมนเพศมากระตุ้นตัวโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยานี้ที่มีประสิทธิภาพดี ทำให้ไม่มีประจำเดือนชั่วคราว และทำให้อาการปวดลดลงหลังหยุดยาประจำเดือนจะมาปกติ แต่ยานี้ราคาสูงและมีผลข้างเคียงต่อรังไข่ ทำให้มีอาการคล้ายวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เช่น ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เหงื่อแตกตอน กลางคืน อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน หากได้รับยานี้เป็นเวลานานเกิน 6 เดือน ดังนั้นถ้าจะใช้ยานี้ในระยะเวลานั้นควรได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนร่วมด้วย เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน

2. การรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดประจำเดือนมาก หรือเป็นสาเหตุที่ปวดท้องน้อยเรื้อรังที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล
  • มีถุงน้ำช็อกโกแลตที่รังไข่ขนาดใหญ่ (ขนาดมากกว่า 3-4 เซนติเมตร)
  • มีบุตรยาก

โดยการผ่าตัดจะเอารอยโรคหรือถุงน้ำช็อกโกแลตออก แต่ในรายที่เป็นมากอาจต้องทำการผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกทั้งสองข้าง ซึ่งปัจจัยที่คำนึงถึงการผ่าตัดว่าจะตัดอะไรออกบ้าง ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ความรุนแรง ของโรค อายุ ความต้องการมีบุตร และโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคเป็นต้น

สำหรับวิธีการผ่าตัดหลังๆ มี 2 วิธีคือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องมีการพัฒนาไปมาก ถือเป็นทางเลือกหลักในการผ่าตัดโรคนี้ เนื่องจากภาพมีกำลังขยายสูง สามารถเห็นรอยโรคได้ดีกว่า จึงตัดรอยโรคที่เป็น ได้มากกว่า แผลมีขนาดเล็ก ทำให้ปวดหรือเจ็บแผลน้อยกว่า ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดผ่านกล้องยังลดการเกิดพังผืดจากการผ่าตัดได้ดีกว่า การผ่าตัดผ่านกล้องสามารถทำการตัดรอยโรคที่เป็น ตัดถุงน้ำซ็อกโกแลต จนไปถึงการตัดมดลูก และรังไข่ ผ่านกล้องได้ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้องทำโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่านตัดผ่านกล้องโดยเฉพาะ

3. การรักษาร่วมกันระหว่างการใช้ยาและการผ่าตัด

เนื่องจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีอัตราการเป็นซ้ำสูงหลังการรักษา ดังนั้น จึงควรใช้ยารักษา ต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ร่วมถึงการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคนี้หลังผ่าตัด โดยแนะนำให้ยาต่อเนื่องจนผู้ป่วยต้องการมีบุตร หรือให้ยาฮอร์โมนรักษาต่อเนื่องอย่างน้อยหนึ่งปีครึ่งถึงสองปี หรือให้ต่อจนถึงวัยหมดประจำเดือน ดังนั้น การเลือกใช้ยาจึงควรเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพดี มีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงต่ำ เนื่องจากต้องให้ยาเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน

การป้องกันโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดโรคนี้ที่ได้ผลแน่นอน ดังนั้นหากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะอาการปวดประจำเดือน ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ

M

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf