สั่งของผ่านชิปปิ้ง เสียภาษีไหม

ไม่ว่าจะเป็นแค่พ่อค้าแม่ค้าที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือบรรดาธุรกิจชิปปิ้ง นำเข้า-ส่งออก ก็ต้องศึกษาเรื่องของภาษีเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ไม่เกิดปัญหาอื่นตามมาภายหลัง และเพื่อความเข้าใจอย่างง่าย จะขอแบ่งประเภทภาษีที่ต้องชำระตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

กรมศุลกากร
  1. ภาษีศุลกากร หรือค่าอากร เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในทุกกรณี (รวมถึงการส่งออกนอกประเทศ) ซึ่งจำนวนเงินจะขึ้นอยู่กับพิกัดอัตราศุลกากร
  2. อาการขาเข้า ภาษีที่เกิดจากการนำเข้าสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคในประเทศ มีการคำนวณตามพิกัดอัตราศุลการ ราคา และสภาพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่หากมีมูลค่ารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยเกิน 1,500 บาท ก็ต้องเสียทันที
กรมสรรพสามิต
  1. ภาษีสรรพสามิต เป็นการจัดเก็บภาษีกับสินค้าหรือบริการบางประเภท เช่น กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย, สินค้าที่มีผลประโยชน์พิเศษจากรัฐ, สินค้าที่มีผลเสียต่อสุขภาพเมื่อบริโภค, สินค้าที่สร้างภาระกับรัฐบาล, สินค้าที่สร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อม

ซึ่งตัวอย่างสินค้าเหล่านี้ เช่น บุหรี่, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เครื่องดื่มบางประเภท, น้ำมัน, แบตเตอรี่, รถยนต์, จักรยานยนต์, น้ำหอมรถ, สิ่งทอปูพื้นที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น การคำนวณภาษีสรรพสามิตจะเป็นไปตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

  1. ภาษีเพื่อมหาดไทย คือ ภาษีสรรพสามิตที่มีการเก็บเพิ่มเพื่อจัดสรรให้กับทางกรุงเทพมหานคร ราชการท้องถิ่น และกฎหมายการจัดสรรเงินภาษีสุรา ต้องจ่ายเพิ่มเมื่อเสียภาษีสรรพสามิต โดยสินค้าที่ต้องเสียทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ สุรา ยาสูบ น้ำหอม ไพ่ แบตเตอรี่
กรมสรรพากร
  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษี VAT กรณีคุณนำเข้าสินค้ามาเพื่อจำหน่าย เมื่อมีการขายสินค้าออกไปจะต้องจัดเก็บภาษีดังกล่าวจากผู้ซื้อ ซึ่งปกติแล้วอัตราภาษีจะอยู่ที่ 7% แล้วนำไปจ่ายให้กับกรมสรรพากร (หากเป็นในนามบุคคลธรรมดารายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ไม่มีการจดทะเบียน VAT ไม่ต้องบวกเพิ่ม)

ส่วนธุรกิจชิปปิ้งที่เป็นเสมือนนายหน้าผู้ให้บริการ จะมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ทางบริษัทมีการจ่ายเงินแทนให้กับเจ้าของสินค้า จากนั้นจึงค่อยมีการเรียกเก็บกับตัวเจ้าของสินค้าต่อไป ยกเว้นกรณีภาษีเหล่านั้นมีการระบุชื่อเป็นเจ้าของสินค้าไว้แล้ว

  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการเก็บภาษีจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับเงินจากทางผู้จ้าง ปกติแล้วจะหักอยู่ที่ 3% ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จ่ายออกไป ยกเว้นคุณทำธุรกิจชิปปิ้ง การนำเข้า-ส่งออกในนามมูลนิธิหรือสมาคม ผู้ว่าจ้างต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับใครก็ตามที่สนใจทำธุรกิจนำเข้าสินค้า หรือธุรกิจชิปปิ้งควรต้องรู้เอาไว้ เป็นการสร้างความมั่นใจและปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม ไม่ต้องกังวลใจเรื่องกฎหมายหรือการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

 

เลขที่หนังสือ : กค 0706/6946
วันที่ : 17 สิงหาคม 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการชิปปิ้ง จัดเก็บสินค้าและขนส่ง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 77/1(10) และมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
: บริษัท ก. จำกัด ประกอบกิจการให้บริการชิปปิ้ง จัดเก็บสินค้า และขนส่ง โดยมีรายได้ดังนี้

1. รายได้จากค่าบริการชิปปิ้งรวมทั้งค่าบริการขนส่ง

1.1 การให้บริการด้านขนส่งสินค้าอย่างเดียว และจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งจากกรมการขนส่งทางบก

1.2 การให้บริการชิปปิ้ง โดยเป็นตัวแทนออกของแทนลูกค้า เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันในการให้บริการแก่ลูกค้า จึงมีการบริการขนส่งเกี่ยวเนื่องกับชิปปิ้งด้วย ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการเองหรืออาจจ้างบริษัทอื่นดำเนินการแทน บริษัทฯ ได้แยกค่าขนส่งและค่าชิบปิ้งออกจากกัน แต่ได้นำเฉพาะค่าชิปปิ้งไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ค่าบริการจัดเก็บสินค้าและค่าบริการขนส่งแบ่งเป็น

2.1 การให้บริการขนส่งสินค้าให้ลูกค้า โดยไปรับของที่คลังสินค้าของลูกค้าและส่งของตามสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด

2.2 การให้บริการจัดเก็บสินค้าของลูกค้าที่คลังสินค้าของบริษัทฯ เมื่อลูกค้าขายสินค้าได้ ลูกค้าจะแจ้งให้บริษัทฯ ส่งสินค้าตามที่อยู่ของใบส่งสินค้า บริษัทฯ ได้ทำสัญญาว่าจ้างการจัดเก็บสินค้าแยกต่างหากจากสัญญาการขนส่ง ค่าบริการจัดเก็บสินค้าของบริษัทฯ เป็นจำนวนเงินน้อยกว่าค่าบริการขนส่งสินค้าประมาณ 5 เท่า ธุรกิจหลักของบริษัทฯ เป็นการประกอบกิจการการขนส่งมากกว่าการประกอบกิจการคลังสินค้า บริษัทฯ จึงขอทราบว่า รายได้ค่าชิปปิ้ง ค่าจัดเก็บสินค้าและค่าขนส่งข้างต้นบริษัทฯ มีภาระภาษีต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

แนววินิจฉัย
: 1. กรณีตาม 1.1 และ 2.1 การให้บริการขนส่งสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว และการให้บริการขนสินค้าภายในบริเวณคลังสินค้าของลูกค้า โดยนำสินค้าจากคลังสินค้าของลูกค้าไปส่งตามสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

2. กรณีตาม 1.2 การให้บริการชิปปิ้งโดยเป็นตัวแทนออกของแทนลูกค้าและมีการให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย ไม่ว่าจะแยกค่าขนส่งออกจากค่าบริการชิปปิ้งหรือไม่ก็ตามถือเป็นการให้บริการชิปปิ้งทั้งจำนวน บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการชิปปิ้งและค่าบริการขนส่งรวมกันตามข้อ 3/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

3. กรณีตาม 2.2 การให้บริการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าของบริษัทฯ และบริการขนส่งสินค้าของลูกค้าที่อยู่ในคลังสินค้าตามสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด ไม่ว่าจะแยกค่าขนส่งออกจากค่าบริการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นการให้บริการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าทั้งจำนวน บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าและค่าบริการขนส่งรวมกัน ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

สินค้านำเข้าประเภทไหนที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

สินค้านำเข้าประเภทไหนที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ของใช้ส่วนตัวที่นำมาจากต่างประเทศมูลค่ารวมต่ำกว่า 10,000 บาท สินค้าปลอดภาษี (Duty Free) มูลค่ารวมต่ำกว่า 20,000 บาท บุหรี่ต่ำกว่า 200 มวน หรือ ยาสูบน้ำหนักน้อยกว่า 250 กรัม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีปริมาณน้อยกว่า 1 ลิตร

เสียภาษีนําเข้า คิดยังไง

สูตรที่ใช้ในการคำนวณค่าภาษีนำเข้า อากรขาเข้า = มูลค่ารวม CIF x อัตราอากรขาเข้า (5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้านั้นๆ) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = (มูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT. มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT.

นำเข้าสินค้าเสียภาษีไหม

ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศก็ตาม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ โดยกรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้า-ขาออกและภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น สินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่งของทางเรือ เสียภาษีไหม

7. ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ใน อัตราร้อยละ 7.0 จากค่าบริการ ซึ่งค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf