สั่งของจากต่างประเทศ shopee เสียภาษีไหม

เคยไหมที่เห็นเพื่อนอัพสเตตัสพร้อมกระเป๋าใบสวย รองเท้าแบรนด์หรู เห็นแล้ว มือนี่พุ่งไปกดไลค์เร็วกว่าแสงเลยใช่ไหมคะ? ซึ่งสินค้าบางตัวนั้น เราก็ไม่เคยเห็นขายในบ้านเราด้วยสิ แล้วเอ๊ะ... เพื่อนสอยมาจากไหนกัน คำตอบก็คือ “สั่งผ่านเว็บไซต์จากต่างประเทศ” เข้ามานั่นเอง ว่าจะตามไปซื้อ เห็นราคาบนเว็บก็พอสู้ไหว แต่มาติดอยู่ตรงเรื่อง “ภาษีอากรขาเข้า” นี่แหละ เห็นแบบนี้ใจไม่ดีรีบไปอ่านรายละเอียดกันดีกว่าค่ะ

ถ้าลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งของนำเข้าจากต่างประเทศ เราจะเจอคำถามเรื่องภาษีเป็นลำดับต้น ๆ กันเลย ไม่ว่าสินค้าที่สั่งเข้ามานั้น จะชิ้นเล็ก ชิ้นใหญ่ ของใช้ส่วนตัว จะของขวัญหรือของฝาก ก็เลี่ยงภาษีได้ยาก โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า 1,000 บาทและไม่เกิน 40,000 บาท จะต้องเสียภาษีอากรขาเข้า (หากสินค้าแสดงหน้ากล่องพัสดุรวมค่าจัดส่ง มูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี) ซึ่งวิธีการเสียภาษีนั้นท่องไว้ในใจเป็นสูตรคร่าว ๆ ได้เลยว่า จะสั่งของเข้ามาเมื่อไหร่...

สินค้าราคาเกิน 1,000 บาท + ค่าขนส่ง + อัตราภาษี (ขึ้นอยู่กับหมวดสินค้า 5% - 56%) + vat 7% + ค่าดำเนินการ

ด้วยความที่หลาย ๆ คนพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า ก็เลยระบุมูลค่าหน้ากล่องพัสดุไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรมาตรวจสอบรายการและเกิดข้อสงสัยแล้วตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนมากขึ้น เมื่อตรวจสอบแล้วการแสดงมูลค่าสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง ก็กลายเป็นบิดเบือนข้อมูล ต้องโดนจ่ายภาษีหนักกว่าเดิม ถ้าไม่อยากเจอเหตุการณ์ช้ำใจแบบนั้น หากใครอยากสั่งของจากเมืองนอกก็ลองทำตามวิธีด้านล่างดูได้เลย

ให้ผู้ขายระบุหน้ากล่องว่า “ของขวัญ/ของฝาก” (Gift)

การระบุหน้ากล่องว่าของขวัญของฝากเหมาะกับสินค้าที่มีขาดไม่ใหญ่ น้ำหนักไม่มากดูไม่น่าเป็นของที่นำเข้ามาเพื่อเป็นสินค้า ก็มักจะผ่านการตรวจตราได้ง่ายกว่า และไม่ค่อยน่าโดนแกะกล่องตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรเท่าใดนัก

เพิ่มเติมหน้าพัสดุว่า “No Commercial Value”

นอกจากสินค้าของคุณที่ไม่ควรจะมีชิ้นใหญ่และหนักมากแล้ว ก็ควรแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนว่า “ไม่ได้นำเข้าสินค้าเพื่อการค้า” แต่เป็นการนำเข้าเพื่อใช้ส่วนตัว แต่รายละเอียดนี้ก็ต้องสอดคล้องกับราคาประเมินหน้ากล่องด้วย (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่)

สั่งหลายอย่าง ต้องแยกหมวดหมู่

ด้วยความที่อัตราการเสียภาษีอากรนำเข้าในแต่ละหมวดนั้นไม่เท่ากัน เวลาที่คุณสั่งสินค้าหลายอย่างหลายชนิด ก็ควรให้แยกหมวดหมู่สินค้าออกเป็นกล่อง ๆ ไป ไม่ควรนำสินค้าหลายชิ้นหลายชนิดมารวมอยู่ในกล่องเดียวกัน อย่างการซื้อหนังสือหรือตำราเรียนจากต่างประเทศ เมื่อสั่งพร้อม ๆ กับเสื้อผ้าหรือกระเป๋าแบรนด์เนมแล้วนำมาบรรจุอยู่ในกล่องเดียวกัน โดยระบุรายละเอียดและมูลค่าหน้ากล่องพัสดุ ก็จะทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราเหมารวม จริง ๆ แล้วหนังสือหรือตำราเรียนได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ดังนั้นก็ควรแยกหมวดสินค้าโดยให้หนังสืออยู่ในกล่องหนึ่ง และสินค้าชนิดอื่น ๆ ก็อยู่ในหมวดเดียวกันก็อยู่อีกกล่องหนึ่ง (อ่านข้อมูลสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีขาเข้าได้ที่นี่)

ใช้บริการจัดส่งพัสดุแบบลงทะเบียน

เมื่อตัดสินใจสั่งสินค้านำเข้าแล้ว ลองเลือกใช้บริการส่งพัสดุแบบลงทะเบียนดู เพราะการเลือกส่งของแบบนี้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรมักจะไม่ค่อยสุ่มตรวจเท่าใดนัก และบางเว็บไซต์ส่งให้ฟรี ตรงนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่ามูลค่าสินค้าจะแพงขึ้นเพราะค่าขนส่ง

เลี่ยงใช้บริการร้านหิ้ว

หลาย ๆ คนไม่อยากวุ่นวายกับขั้นตอนการสั่งซื้อและเรื่องภาษี จึงเลือกวิธีซื้อผ่านร้านหิ้วเหล่านี้แทน ซึ่งราคาก็จะโดนบวกเพิ่มมาอยู่แล้ว และทางร้านเหล่านี้ก็มักจะเป็นผู้หลีกเลี่ยงภาษี เราอาจจะได้สินค้าที่ชอบจริงแต่ก็จะกลายเป็นผู้สนับสนุนให้ร้านเหล่านี้ทำผิดกฎหมาย ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง ร้านเหล่านี้ก็มักไม่รับผิดชอบ เช่น ได้รับเงินค่าพรีออเดอร์จากหลายคนแล้วก็ปิดร้านเชิดเงิน หรือเมื่อสินค้าที่ร้านสั่งเข้ามาโดนภาษีเพิ่มขึ้นเยอะ พวกเขาก็มักจะมาเก็บเงินกับลูกค้าเพิ่มเติมอีก

ซื้อในบ้านเราปลอดภัยที่สุด

อีกหนึ่งวิธีการที่ดี ปลอดภัยจากการจ่ายภาษีเพิ่มเติม และได้ของเร็วที่สุดก็คือ การเดินเข้าไปซื้อสินค้ายี่ห้อที่ต้องการในห้างใกล้บ้านซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายมากที่สุด และภาษีส่วนนี้ก็จะเข้ารัฐเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ หากคอลเลคชั่นล่าสุดยังไม่มาก็อดใจรออีกนิด บ้านเราเป็นตลาดใหญ่แห่งหนึ่งของแบรนด์มากมายเดี๋ยวเขาก็นำเข้ามาขาย แล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเสียภาษีให้ปวดหัว

การสั่งสินค้านำเข้าจากต่างประเทศผ่านเว็บไซต์นั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณได้รับสินค้าที่ต้องการ ส่วนในเรื่องของภาษีนั้น ก็ควรทำใจยอมรับตั้งแต่ตัดสินใจสั่งซื้อแล้ว หากคุณบิดเบียนข้อมูลแล้วทางสรรพากรจับได้ ก็จะกลายเป็นว่าโดนปรับและต้องจ่ายภาษีหนักกว่าปกติ ดังนั้นการซื้อสินค้าแบรนด์ดังในบ้านเราก็เป็นอะไรที่ดีที่สุดไม่มีการเลี่ยงภาษี เนื่องจากทางภาครัฐก็อยากให้เราใช้สินค้าที่มีจำหน่ายในบ้านเรา เพราะภาษีตรงนี้จะเป็นส่วนช่วยพัฒนาประเทศได้นั่นเอง

กรมศุลกากรจะส่งใบแจ้งสีเขียว ๆ มาตามที่อยู่ของเรา โดยปกติสามารถเช็คตามเลข Tracking พัสดุที่ส่งมาได้เลย อย่างเช่นของไปรษณีย์ไทย เราจะเจอสถานะของพัสดุคือนำจ่ายไม่สำเร็จ และเจ้าหน้าที่จะเขียนเหตุผลว่า ออกใบแจ้ง ซึ่งก็หมายถึงใบแจ้งสีเขียวค่าภาษีนำเข้านั่นเอง รอมาส่งถึงที่บ้านได้เลย ก่อนจ่ายสามารถตรวจสอบความถูกต้องของภาษีได้ หากเราคิดว่ากรมศุลกากคิดภาษีมาแพงเกินจริง สามารถส่งคำร้องโต้แย้งได้ แต่ต้องอ้างอิงจากอัตราเสียภาษีนำเข้าจากกรมศุลกากรเท่านั้น

การช้อปสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศในยุคนี้ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสามารถเลือกซื้อได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางแพลตฟอร์ม Marketplace ในไทย อย่าง Shopee, Lazada, Taobao, Amazon และอีกมากมาย ที่สามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ง่าย ๆ  แต่ทุกครั้งที่สั่งของมาจากต่างประเทศ ควรจะต้องคำนึงถึงการชำระภาษีนำเข้าด้วยเสมอ 

ภาษีนำเข้าคืออะไร?

ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยสินค้าแต่ละประเภทก็จะมีอัตราการชำระภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนนี้ก็เพื่อปรับปรุงการค้าภายในประเทศ และเพื่อเป็นการส่งเสริมบางอุตสาหกรรมให้ดำเนินการต่อไปได้ อย่างเช่น รัฐยกเว้นภาษีให้กับเครื่องจักรการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม > 5 ข้อควรรู้ ส่งของไปต่างประเทศง่าย ๆ ฉบับประหยัดงบน้อย!)

สั่งของจากต่างประเทศเสียภาษีอย่างไร?

ภาษีนำเข้าจะเกิดขึ้น เมื่อมีการซื้อของจากต่างประเทศกลับมายังไทยหรือสั่งซื้อของออนไลน์ที่ส่งมาจากต่างประเทศ ถ้าของที่นำเข้าไทยมานั้นมีมูลค่าสูงเกินที่กำหนดไว้เราจะต้องจ่ายภาษีเพื่อนำของชิ้นนั้นเข้าประเทศ โดยจะเสียให้กับกรมศุลกากร ทุกครั้งที่มีพัสดุเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจประเมินราคา จากนั้นจะส่งใบเรียกเก็บภาษีไปยังผู้รับ เพื่อมาชำระและรับของที่ไปรษณีย์ 

สินค้าราคาเท่าไหร่จึงจะเสียภาษี?

หากราคาสินค้าที่นำเข้ามา มีมูลค่าเกิน 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีตามอัตราประเภทสินค้าแต่ละชนิด โดยมี เทคนิคการสั่งของจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษีแบบถูกต้อง คือ

1. สั่งของไม่เกิน 1,500 บาท สั่งของจากต่างประเทศจะต้องคำนวณให้ดีเสมอ  กรมศุลกากรกำหนดราคาสินค้าทุกชนิด มูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้า 

2.สั่งของจากต่างประเทศ ผ่านบริการ  Shipping สำหรับผู้ที่สั่งสินค้าราคาเกิน 1,500 บาท ควรใช้บริการ Shipping ระหว่างประเทศ จ่ายแค่ค่าขนส่งอย่างเดียว โดยให้ Shipping เคลียร์เรื่องภาษีนำเข้าให้ได้เลย (อ่านเพิ่มเติม > อยากส่งของไปต่างประเทศ เลือกบริษัทขนส่งไหนดี?)

อัตราภาษีนำเข้าสินค้าละประเภท

สินค้าแต่ละประเภทจะเสียภาษีไม่เท่ากัน  ยกตัวอย่างสินค้าที่คนไทยนิยมสั่งของจากต่างประเทศ อัตราเสียภาษีนำเข้า คิดตามเปอร์เซ็นต์ดังนี้..

  • ภาษีนำเข้า 30% : เครื่องสำอาง หมวก น้ำหอม รองเท้า ผ้าห่ม ร่ม
  • ภาษีนำเข้า 20% : กระเป๋า
  • ภาษีนำเข้า 10% : CD DVD อัลบั้ม คอนเสิร์ต Power Bank หูฟัง Headphone Earphones ตุ๊กตา
  • ภาษีนำเข้า 5% : นาฬิกา แว่นตา แว่นกันแดด
  • ยกเว้นภาษีนำเข้า แต่เสีย VAT 7% : นิตยสาร Photobook คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ เมาส์ (อ่านเพิ่มเติม > 4 ทริค ส่งของไปต่างประเทศให้ราบรื่น)

วิธีคำนวณภาษี

จำนวนเงินที่จะนำมาคิดภาษีนั้นจะมาจาก ราคาสินค้า+ค่าจัดส่ง+ค่าประกันภัย โดยมีเกณฑ์ง่าย ๆ ตามนี้

  • รวมกันไม่เกิน 1,500 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษี
  • รวมกันแล้วเกิน 1,500 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายภาษี

ถ้ามีการจ่ายภาษี จะมีภาษีที่ต้องจ่าย 2 รายการด้วยกัน คือ

  • ภาษีนำเข้า = ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งของ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) = 7%

โดยสามารถคำนวณภาษีได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง x อัตราภาษีนำเข้า (%) = ภาษีนำเข้า
  • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง + ภาษีนำเข้าที่ต้องจ่าย x vat 7% = ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: //article.redprice.co, //www.you.co

ปรึกษาหรือสนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศ

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

สั่งของจากต่างประเทศต้องเสียภาษีไหม

ทุกครั้งที่มีการสั่งของจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า “ภาษีนำเข้า” ในกรณีที่มูลค่าสินค้านั้น ๆ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นคือ เมื่อทำการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศแล้วมีราคา CIF (ราคาศุลกากร (ค่าสินค้า + ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง + ค่าประกันภัย) สูงกว่า 1,500 บาท ซึ่งอัตราภาษีนั้นจะขึ้นอยู่กับหมวดหมู่ของ ...

ซื้อของ Shopee ต่างประเทศ ได้ไหม

Shopee มีโปรแกรมที่ทำให้การขยายร้านค้า หรือสินค้าของคุณไปสู่ลูกค้าต่างชาติง่ายขึ้นแล้วนะคะ ด้วยโปรแกรม SIP ซึ่งการขยายธุรกิจไปต่างประเทศนี้ทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ซึ่งออเดอร์ดังกล่าวจะมาจากลูกค้า 3 ประเทศหลัก ๆ คือ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์นั่นเองค่ะ

ขายของกับ Shopee เสียภาษีไหม

ผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าบน Shopee จะต้องคำนวณและยื่นแบบฯเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา 2 ครั้งต่อปี ดังนี้ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (แบบ ภ.ง.ด.94)

สั่งของจากต่างประเทศ เสียอะไรบ้าง

อัตราภาษีนำเข้าสินค้าละประเภท ภาษีนำเข้า 10% : CD DVD อัลบั้ม คอนเสิร์ต Power Bank หูฟัง Headphone Earphones ตุ๊กตา ภาษีนำเข้า 5% : นาฬิกา แว่นตา แว่นกันแดด ยกเว้นภาษีนำเข้า แต่เสีย VAT 7% : นิตยสาร Photobook คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ เมาส์ (อ่านเพิ่มเติม > 4 ทริค ส่งของไปต่างประเทศให้ราบรื่น)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf