ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมของธุรกิจ

​ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

โลกกำลังอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นรวดเร็ว และรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและวิถีการใช้ชีวิตของเราทุกคน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำความเข้าใจและเตรียมรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเท่าทัน

BOT พระสยาม MAGAZINE ได้รับเกียรติจาก คุณสุภัททกิต เจตทวีกิจ อดีตผู้ประกาศข่าวและพิธีกรจากสถานีโทรทัศน์ Money Channel มาร่วมสนทนากับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อสร้างความเข้าใจในมิติการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจไทย รวมถึงให้ข้อแนะนำในการปรับตัวสำหรับภาคธุรกิจและภาคประชาชนท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคใหม่

ภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนต้องพร้อมรับมือ

คุณสุภัททกิต : ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น จนไม่รู้ว่าเรื่องไหนกระทบต่อตัวเรา หากมองจากภาพใหญ่ในมิติทางเศรษฐกิจ ท่านผู้ว่าการมองว่าเรื่องที่สำคัญมีอะไรบ้าง

ดร.วิรไท : ผมเห็นด้วยว่าเราควรมองบริบทการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ โดยต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่มากระทบตัวเราเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นหรือเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น เพื่อจะรับมือได้ถูกต้องสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจไทยมีอย่างน้อย4 เรื่องสำคัญ ได้แก่

          เรื่องแรก คือ เทคโนโลยี ที่กำลังเปลี่ยนแปลงเร็วมากประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก สามารถตอบโจทย์หลากหลายด้วยต้นทุนที่ถูกลงมาก เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การซื้อของและการทำธุรกรรมทางการเงินมาอยู่บนสมาร์ทโฟน เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทำให้เกิดเศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน (sharing economy) ธุรกิจต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพยากรเอง สามารถใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีอีกมากกำลังจะเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจในโลก ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สามมิติ Artificial Intelligence (AI) machine learning หรือเทคโนโลยีชีวภาพ เรียกได้ว่าไม่มีธุรกิจใดที่จะไม่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากเทคโนโลยีที่นับวันจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น

          เรื่องที่สอง คือ ห่วงโซ่การผลิต (supply chain) เมื่อระบบอัตโนมัติ (automation) และหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนคนได้เกือบทั้งหมด ทำให้หลายธุรกิจซึ่งเดิมกระจายขั้นตอนการผลิตไปหลายจุดทั่วโลก ย้ายกลับมาผลิตในภูมิภาค (regionalization) มากขึ้นหรือดึงกลับไปผลิตภายในประเทศปลายทาง (onshoring) เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านนี้ สำคัญมากเพราะประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดที่พึ่งพาการ ส่งออก และภาคอุตสาหกรรมไทยก็เป็นส่วนหนึ่งใน supply chain ของโลกด้วย นอกจากนี้ ภาคบริการจะมีบทบาทมากขึ้นใน supply chain ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือบริการหลังการขาย กิจกรรมบริการจะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองเรื่องการตั้งราคา

          เรื่องที่สาม คือ ภาวะโลกร้อน ซึ่งนำไปสู่สถานการณ์หลายอย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน อย่างในปี 2562 บางพื้นที่ในประเทศไทยประสบทั้งภัยแล้งรุนแรงและน้ำท่วมฉับพลันในเวลาใกล้กัน น้ำสะอาดจะเป็นสิ่งที่ขาดแคลนในอนาคต เรื่องเหล่านี้เป็นความเสี่ยงโดยตรงต่อธุรกิจและกระทบกับคนทั้งโลก นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงทางอ้อมที่อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ และความคาดหวังของสังคมถึงมาตรฐานในการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

          สำหรับประเทศไทยยังมีเรื่องที่สี่ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ในปี 2578 เราจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยมาก (hyper-aged society)1 จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นและคนวัยทำงานน้อยลง โครงสร้างแรงงานที่เปลี่ยนไปทำให้การทำธุรกิจรูปแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากอาจไม่เหมาะสมอีกต่อไป โครงสร้างตลาดและการบริโภคของประชาชนก็จะเปลี่ยนไปมากด้วย

เหรียญสองด้านของ Technology Transformation

คุณสุภัททกิต : ถ้าเจาะลึกลงไปในด้านเทคโนโลยี ท่านผู้ว่าการประเมินสถานการณ์และมีคำแนะนำในการรับมือด้านนี้อย่างไร

ดร.วิรไท : เวลาพูดถึง "การเปลี่ยนแปลง" หลายคนมักมองเป็น"ความเสี่ยง" แต่ความจริงแล้วเราต้องมองในเรื่อง "โอกาส" ด้วยในช่วง 2 - 3 ปีมานี้ ธปท. มองถึงโอกาสของเทคโนโลยีและเริ่มดำเนินการหลายเรื่อง เช่น การส่งเสริมระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ลดการใช้เงินสดและเช็คซึ่งมีต้นทุนสูง ส่งผลให้คนไทยได้รับประโยชน์จากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงิน จนเรียกได้ว่าประเทศไทยมีต้นทุนการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่ำสุดในโลก หรือการนำเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology (DLT) มาพัฒนาสกุลเงินดจิทัลในโครงการอินทนนท์2  ซึ่ง เป็นกลไกใหม่ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องมีบัญชีกลางอยู่บัญชีเดียว

          การทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัลจะทิ้งรอยเท้าดิจิทัล (digital footprint) ที่สะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลรอยเท้าดิจิทัลจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สร้างประโยชน์ให้กับเจ้าของข้อมูลได้มากในอนาคต สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มพูดถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อจากข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือและการทำธุรกรรม e-Payment เพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ

คุณสุภัททกิต : มาถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) ท่านผู้ว่าการมีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร

ดร.วิรไท : ผมคิดว่าหลักคิดสำคัญคือ ลูกค้าจะต้องได้ประโยชน์จากข้อมูลการทำธุรกรรมของตนเอง เราต้องหาจุดสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ข้อมูล ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมนี้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวกำหนดให้มีกระบวนการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและรักษาสิทธิของเจ้าของข้อมูล เช่น ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้

           อีกเรื่องที่สำคัญคือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) อาจฟังดูเป็นหน้าที่ของสถาบันการเงิน แต่ถ้าเราใช้คำว่า สุขอนามัยด้านไซเบอร์ (cyber hygiene) จะเห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นหน้าที่ของเราทุกคน เหมือนการที่ต้องล้างมือก่อนรับประทานอาหารใช้หน้ากากป้องกันเวลาเจอคนไอหรือจาม ต่อไปสุขอนามัยด้านไซเบอร์ควรเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนเข้าใจ ต้องรู้จักดูแลตัวเอง เช่นรู้วิธีการตั้งและเก็บพาสเวิร์ดให้มีความปลอดภัยสูง หรือการกำหนดเพดานวงเงินในการทำธุรกรรมออนไลน์

ปรับมุมมอง พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้าน supply chain

คุณสุภัททกิต : ในภาคการผลิตและภาคบริการ เราเริ่มเจอปัญหาเรื่องการปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยีและ supply chain ที่เปลี่ยนแปลงไป ท่านผู้ว่าการมีคำแนะนำอย่างไร

ดร.วิรไท : การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและ supply chain ครอบคลุมแทบทุกด้านของภาคธุรกิจ และทุกคนต้องสร้างความเข้าใจ เวลาคนบอกว่า เศรษฐกิจไม่ดีทำให้ขายของได้น้อยลงอันที่จริงแล้วอาจเป็นเพราะรูปแบบการทำธุรกิจได้เปลี่ยนไป อย่างร้านอาหาร ถ้าร้านใดมีบริการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์ม food delivery จะเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และมีธุรกิจทั้งวัน แต่ถ้าร้านไหนที่ยังขายแบบเดิม ก็จะรู้สึกว่าขายของได้น้อยลง เพราะคนนิยมสั่งอาหารผ่าน food delivery เพิ่มขึ้น

          ธุรกิจไทยต้องสำรวจความสามารถในการแข่งขันของตนเอง และเร่งปรับตัวเพื่อไปอยู่ใน supply chain ที่กำลังปรับเปลี่ยน เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ที่จะเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าก็จะมี supply chain ใหม่เกิดขึ้น ภาครัฐเองก็ต้องเร่งแก้ไขกฎเกณฑ์ให้ทันสมัยและเอื้อต่อการปรับตัวของภาคธุรกิจอย่างเท่าทัน ต้องมีมาตรการจูงใจให้ธุรกิจลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือ AI รวมถึงต้องเร่งพัฒนาแรงงานให้มีทักษะสอดคล้องกับเทคโนโลยีและวิถีการทำธุรกิจแบบใหม่

Sustainability : ภาคธุรกิจร่วมแก้ปัญหาโลกร้อน

คุณสุภัททกิต : ท่านผู้ว่าการมองว่า ภาคธุรกิจควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนอย่างไร

ดร.วิรไท : การทำธุรกิจที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นความเสี่ยงสำคัญของภาคธุรกิจ เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน (sustainability) มากขึ้น ภาคธุรกิจต้องมองไกลและมองกว้างต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำต้องไม่ซ้ำเติมปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างผลข้างเคียง ไม่เช่นนั้นจะต้องเผชิญความเสี่ยงอันเกิดจากความคาดหวังของสังคม หรือกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะออกตามมา ความจริงอยากให้มองเรื่องนี้เป็นโอกาสด้วย อย่างการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีตลาดใหญ่มากทดแทนการใช้พลาสติก หรือการทำเกษตรประณีตที่ปลอดสารเคมีจะได้สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ฉะนั้น หากใครเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความยั่งยืนก่อนย่อมได้เปรียบเพราะจะกลายเป็นผู้กำหนดมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรม

          สำหรับภาคสถาบันการเงิน แนวคิดเรื่องการธนาคารเพื่อความยั่งยืนจะต้องถูกผนวกเข้ามาในทุกขั้นตอนสำคัญของการทำธุรกิจโดยเฉพาะการพิจารณาความเสี่ยงด้านสินเชื่อ

Aging Society กับโครงสร้างแรงงานไทย

คุณสุภัททกิต : การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการทำธุรกิจในอนาคตหรือไม่ และทุกคนควรเตรียมตัวอย่างไร

ดร.วิรไท : การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะกระทบอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มเครื่องหนัง หรือเฟอร์นิเจอร์ ภาคธุรกิจจึงต้องปรับรูปแบบการผลิตจากที่เน้นความได้เปรียบจากต้นทุนค่าแรงหรือใช้แรงงานจำนวนมากมาเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value-added) นอกจากนี้ เราต้องช่วยกันสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถหารายได้ด้วยตนเอง เพื่อไม่สร้างภาระให้กับภาครัฐมากเกินควร นโยบายด้านแรงงานของประเทศจะเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญมาก

          ผมขอเน้นว่า เราอยู่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ถ้าคิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องสร้างระบบแรงจูงใจที่ส่งเสริมให้คนเร่งปรับตัวไปสู่โลกใหม่ ที่ผ่านมาเราอาจจะเน้นการเยียวยา เราต้องระวังไม่ให้การเยียวยากลายเป็นการส่งเสริมให้คนทำแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง การปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักร่วมกัน เริ่มทำด้วยกันเพราะไม่มีใครที่ทำเหมือนเดิมแล้วจะอยู่รอดได้ในโลกใหม่

>> ดาวน์โหลด PDF Version
>> ชมคลิปวีดิโอ
>> อ่าน e-Magazine

ประโยชน์ของธุรกิจทางตรงมีอะไรบ้าง

8 Page 9 ข้อดีของการตลาดแบบตรง 1. สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน 2. ส่งข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง 3. ให้ความสะดวกแก่พนักงานขาย 4. สามารถประเมินผล และรู้จำนวนผู้สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ชัดเจน 1. มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 2. มีความสะดวกมากขึ้น ไม่เสียเวลาในการเดินทาง

ประโยชน์ของธุรกิจทางอ้อมคืออะไร

2.คุณประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าเลย หรือ คุณประโยชน์ทางอ้อม คือผลข้างเคียงที่ได้รับจากสินค้า เป็นคุณประโยชน์พลอยได้จากการใช้สินค้าหรือบริการ คุณประโยชน์ทางอ้อมนี้เอง ที่ช่วยเพิ่มรสชาิด การทำการตลาดของคุณ ไม่ซ้ำซาก จำเจเหมือนคุณประโยชน์ทางตรง คุณประโยชน์ทางอ้อมจะช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการทำการตลาดของคุณ คุณจะมีความคิด ...

ประโยชน์ทางตรงคืออะไร

1. ประโยชน์ทางตรง ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

คู่แข่งทางอ้อม มีอะไรบ้าง

2. คู่แข่งทางอ้อม (Indirect competitor) คือคู่แข่งที่อาจขายอาหารคนละประเภทกันกับร้านเรา แต่จับกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกัน หรือ อาจขายอาหารประเภทเดียวกันหรือคล้ายกันกับเรา แต่ราคาต่างกันและจับกลุ่มลูกค้าไม่เหมือนกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf