การบริหารการคลังไทยในปัจจุบัน

กองนโยบายการคลัง

   นางวรรณา แพรศรี  
ผู้อำนวยการกองนโยบายการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3501

กองนโยบายการคลังมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการเกี่ยวกับการคลังภาคสาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทั้งด้านรายได้ รายจ่ายสาธารณะ การบริหารดุลงบประมาณ การบริหารทรัพย์สิน และหนี้สาธารณะ
(๒) ติดตาม วิเคราะห์ ประเมิน และรายงานภาวะรายได้ รายจ่าย ดุลงบประมาณ การบริหารทรัพย์สิน หนี้สาธารณะ รวมทั้งมาตรการกึ่งการคลังของรัฐ ภาระผูกพันทางการคลัง และภาพรวมฐานะการคลังภาคสาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๓) วางแผนด้านการคลังและจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านการคลังของกระทรวง ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานของแผนดังกล่าว
(๔) เสนอแนะกฎเกณฑ์และแนวทางในการรักษาวินัยทางการคลัง การกำหนด กรอบความยั่งยืนทางการคลัง การติดตามประเมินผลและเสนอแนะแนวทางในการบริหารความเสี่ยงทางการคลังและการจัดทำและพัฒนาเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
(๕) จัดทำข้อมูลด้านการคลังภาคสาธารณะ ข้อมูลเพื่อการบริหารความเสี่ยง ทางการคลังและข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายด้านการคลัง ในส่วนที่เกี่ยวกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
(๖) เสนอแนะและจัดทำนโยบายด้านการคลังท้องถิ่นให้สอดคล้องกับนโยบาย การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๗) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

การอภิปรายทางวิชาการ   “การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ”  โดย
ดร.อมรา  ศรีพยัคฆ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดร.ปัทมา  เธียรวิศิษฎ์สกุล   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คุณพงศ์นคร  โภชากรณ์   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ดร.บันลือศักดิ์  ปุสสะรังสี    ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน)
ดร.สมชัย  จิตสุชน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ผู้ดำเนินการอภิปราย  : คุณพิลาสลักษณ์  ยุคเกษมวงศ์  สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

          ดร.อัมรา ศรีพยัคฆ์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นำเสนอว่า ทางธปท. ได้มีการพัฒนาแบบจำลองมาอย่างต่อเนื่อง โดยในยุคแรก แบบจำลองจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งจำลองมาทั้งระบบเศรษฐกิจ ทั้งภาคการเงิน และภาคต่างประเทศ ปัญหาที่พบ คือ ข้อมูลล่าช้า และเทคโนโลยียังไม่เกื้อหนุน ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ในช่วงหลัง แบบจำลองของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเน้นในเรื่องการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ซึ่งจำเป็นในการกำหนดนโยบายการเงิน เนื่องจากนโยบายการเงินเช่น อัตราดอกเบี้ย RP-14 วัน จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจล่าไปประมาณ 8 ไตรมาส การเหลื่อมของเวลาต่อผลของนโยบายนั้นทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องทำการประมาณการ
          แบบจำลองของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น จะเน้นเส้นทางการส่งผ่านนโยบายการเงินต่อระบบเศรษฐกิจ ในทางด้านอุปสงค์ (Demand Side) และเน้น potential output ระยะยาวในทางด้านอุปทานซึ่งใช้เทคนิคที่เรียกว่า HP-trend โดยธปท. มีแบบจำลองที่หลากหลายเช่น Financial Programming, Leading indicators และ ECM ซึ่งทันสมัย และสามารถพยากรณ์ได้ดีพอสมควร
          การประมาณการของธปท. นั้นจะแถลงเป็นรายไตรมาส โดยจะรายงานในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งกระบวนการนั้นจะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเงินพิจารณาในสมมติฐาน เช่น ราคาน้ำมัน การรายงานนั้นจะมีการครอบคลุมถึงความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยจะรายงานเป็นช่วงความน่าจะเป็น (Fan Chart) หลังจากที่ประมาณการเงินเฟ้อแล้ว ทางธปท.จะเตรียมการจัดทำนโยบายการเงินต่อไป
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2548 นั้น GDP ในไตรมาส 2 ดีกว่าในที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ ดังนั้น จึงน่าจะมีแรงส่งมากขึ้นในครึ่งปีที่เหลือ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังคงเป็นปัจจัยลบที่กดดันภาวะเศรษฐกิจ สำหรับด้านเงินเฟ้อ โอกาสที่จะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินเป้าที่ตั้งไว้มีพอสมควร แต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีภายใต้แรงกดดัน

          ดร. ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สศช.) กล่าวว่า สศช.จะประเมินอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นรายปี เพื่อดูศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะสั้น  ผ่าน Macro Economic Framework โดยปกติแล้วทาง สศช. จะประเมินภาพเศรษฐกิจในอนาคตตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น
          - หากเพิ่มวัตถุดิบ/ ต้นทุนการผลิต  แล้วจะส่งผลต่อกระทบต่อเศรษฐกิจในทิศทาง และขนาดเท่าใด
          - การใช้จ่ายของภาครัฐจะส่งผลขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร
          - พิจารณาศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ
          - พิจารณาอุปสงค์ และเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอก
          สศช. จะมีการแถลงข่าวทุกสามเดือน ซึ่งจะโดยจะแถลงพร้อมกับ GDP ไตรมาสล่าสุด ปกติแล้ว การแถลงของสศช. ในไตรมาสแรกของปี ช่วงของการประมาณการจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1 เนื่องจากข้อมูลยังมีอยู่น้อยจึงมีการคาดเดาสูง และจะปรับลดลงมาเหลือร้อยละ 0.5 ในเดือนกันยายน ส่วนในเดือนธันวาคมจะแถลงเป็นตัวเลขเดี่ยว อย่างไรก็ตาม ดร.ปัทมา ได้ให้มุมมองต่อการประมาณการอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจว่าอัตราที่แตกต่างกันร้อยละ 0.1-0.2 นั้นไม่แตกต่างกันมาก ถือได้ว่าไม่มีนัยสำคัญ
          ขั้นตอนของการประมาณการนั้นจะเริ่มจากการทบทวนสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาแล้ว ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อเศรษฐกิจ โดยพิจารณาว่าภาคเศรษฐกิจไหนเป็นภาคที่ช่วยดึง หรือฉุด ปัจจัยสำคัญที่นำมาพิจารณา เช่น ราคาน้ำมันซึ่งเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิต เศรษฐกิจโลกซึ่งเป็นตัวกำหนดการส่งออก
          ขั้นตอนหลังจากนั้น จะเป็นการนำเสนอสมมติฐานการประมาณการให้คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักต่างๆในสศช. หลังจากนั้นจึงนำไปใช้กับแบบจำลอง ซึ่งทาง สศช. มีเครื่องมือหลากหลายเนื่องจากแต่ละแบบจำลองมีจุดอ่อน จุดแข็งที่ไม่เหมือนกัน แบบจำลองที่ทาง สศช.ใช้ ได้แก่
          - CQM หรือ Current Quarter Model ใช้เครื่องชี้รายเดือน ประมาณการ GDP โดยเชื่อมกับระบบ SNA
          - QFM ใช้ผลการประมาณการจาก CQM มาเป็นข้อมูล
          - CGE และ Financial Programming
          ด้านภาพรวมเศรษฐกิจปี 2548 นั้น ในครึ่งปีแรก ขยายตัวได้ร้อยละ 3.9 เทียบกับปีที่แล้ว ชะลอตัวลง เนื่องจากราคาน้ำมัน ภัยธรณีพิบัติ และภาวะภัยแล้ง และเผชิญกับปัญหาดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล อย่างไรก็ดีตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 นั้นแสดงถึงสัญญาณฟื้นตัวจากไตรมาสแรก ในครึ่งปีแรกนั้น ด้านอุปสงค์ยังแข็งแรงดี โดยการบริโภคภาคเอกชนปรบตัวลงอย่างมีเสถียรภาพ และการลงทุนกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การนำเข้าในครึ่งแรกของปีค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะหมายความว่ามีการสะสมสต็อกอยู่มาก ทำให้การนำเข้าในครึ่งปีหลังจะลดลง
          ปัจจัยภายในประเทศที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ได้แก่
          - การส่งออก ที่แนวโน้มเดือน กรกฎาคม และสิงหาคม ปรับตัวดีขึ้น โดยกลุ่มสินค้าที่มีปัญหา เช่น ไก่ และกุ้ง ดีขึ้น ราคายางกลับมาอยู่ในระดับสูง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์กลับมาเพิ่มมากขึ้น
          - การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น
          - สต็อกสินค้านำเข้ามาก ทำให้การนำเข้าลดลง
          - นโยบายของรัฐบาลมีประสิทธิภาพ
          ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการว่างงานลดลง และการลงทุนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้คือ การท่องเที่ยวที่ยังไม่แน่นอน ราคาน้ำมัน ภัยแล้งในภาคตะวันออก Global Imbalance และ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ และจีน
 โดยสรุปแล้ว คาดว่าทั้งปี 2548 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.8-4.3 โดยการลงทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อน เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวของรายได้ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แต่หักกับอัตราเงินเฟ้อแล้วยังถือว่าอยู่ในระดับที่ติดลบ

          นายพงศ์นคร โภชากรณ์ จากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้อภิปรายโดยนำเสนอในประเด็นต่างๆ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
          ภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน: เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ประสบกับปัญหาด้านอุปทาน (supply shock) เช่น ราคาน้ำมันดิบ ธรณีภิบัติภัยสึนามิ ภัยแล้ง ไข้หวัดนก และการปิดซ่อมชั่วคราวของโรงงานเหล็กและปิโตรเคมี ทำให้ GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 ต่อปี และคาดว่าในครึ่งหลังของปีปัญหาดังกล่าวจะหมดไป คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี ดุลการค้าจะขาดดุลลดลง และดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุล นอกจากนั้น รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินเป้า 66,600 ล้านบาท และในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.3 ต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
          การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยใช้ SWOT Analysis
          จุดแข็ง (S: Strength) ประกอบด้วยฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับสูงเกินกว่าร้อยละ 70 ภาคบริการสามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอัตราการว่างงานต่ำมากเพียงร้อยละ 1 (ปีก่อนว่างงานสูงกว่าร้อยละ 2)
          จุดอ่อน (W: Weakness) ประกอบด้วยปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ยังต่ำอยู่ ทั้งที่คุณภาพของปัจจัยทุนและแรงงานดีขึ้น
          โอกาส (O: Opportunity) ประกอบด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนใน Mega Projects การขยายตลาดสินค้าส่งออก Super Star รวมถึงไก่และกุ้ง การบริหารการนำเข้าสินค้า จีนลอยตัวค่าเงินหยวนเอื้อต่อการส่งออกและลงทุนของไทย และปัญหา supply shock ในครึ่งปีแรกได้คลี่คลายลง
          ภัยคุกคาม (T: Threat) ประกอบด้วยราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับสูง Fed Funds Rate ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น สินค้าราคาถูกจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาด และปัญหาการขาดแคลนน้ำในปีหน้า
          ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการ คือ รักษาจุดแข็ง ลดจุดอ่อน ขยายโอกาส และรับมือภัยคุกคาม
          ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2548 และในระยะปานกลาง: ภายใต้สมมติฐานที่กำหนด ในกรณีฐานพบว่า Real GDP Growth Rate จะอยู่ที่  ร้อยละ 4.34 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 4.33 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลร้อยละ 2.51 ของ GDP และสำหรับผลการประมาณการเศรษฐกิจในช่วง 5 ปี (2548-2552) เฉลี่ยแล้ว Real GDP จะอยู่ที่ร้อยละ 5.29 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.84 ต่อปี และดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุล ร้อยละ 2.17 ของ GDP ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วง 5 ปีนี้ เศรษฐกิจจะขยายตัวดีและมีเสถียรภาพ
          นอกจากนั้น นายพงศ์นคร ยังเสนอมุมมองว่า ในการพิจารณาข้อดี-ข้อเสียของ Mega Projects นั้น จะต้องมองที่คุณภาพชีวิตของคนในประเทศที่จะสูงขึ้นจากการลงทุนด้านการขนส่ง การศึกษา และด้านสุขภาพ แทนที่จะมองแค่การขาดดุลค้าและบัญชีเดินสะพัดเพียงอย่างเดียว และได้สรุปว่าเศรษฐกิจไทยปี 48 ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วในไตรมาสแรกของปี ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี อีกทั้ง แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะ 5 ปีข้างหน้าจะยังคงขยายตัวได้อย่างแข่งแกร่ง และมีเสถียรภาพในเกณฑ์ที่บริหารจัดการได้

          ดร. บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี จากธนาคารกรุงเทพ ได้กล่าวถึงการใช้แบบจำลองในแง่ของเอกชน โดยระบุถึงเป้าหมาย และข้อจำกัดของการวิเคราะห์และพยากรณ์เศรษฐกิจเชิงธุรกิจ เนื่องจากการวิเคราะห์และพยากรณ์เศรษฐกิจจะใช้ข้อมูลในอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งตัวแปรเหล่านี้มีความสลับซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ดังนั้นจึงควรใช้ข้อมูลย้อนหลังประมาณ 1-3 เดือนเป็นหลัก รวมถึงข้อมูลปัจจุบันและ Indicator ที่สำคัญประกอบด้วย
          นอกจากนี้ ดร.บันลือศักดิ์ ได้ยกตัวอย่างปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ราคาน้ำมัน และโอกาสที่จะเกิดฟองสบู่แตกในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ โดยกล่าวถึงผลกระทบของราคาน้ำมันว่าทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัว ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลในปี 2548 ส่วนกรณีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ พบว่าการซื้อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรแม้ราคาเฉลี่ยบ้านไม่เพิ่มขึ้นมากนัก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีปัจจัยที่ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะยาวยังไม่ปรับตาม Fed Fund Rate และคาดว่ายังมีเวลาอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี กว่าที่จะเกิดปัญหาราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ

          ดร. สมชัย จิตสุชน จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยกล่าวว่าในการทำแบบจำลองนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกแบบจำลองที่สมเหตุสมผล เนื่องจากแต่ละแบบจำลองมีจุดเด่น จุดด้อยต่างกัน รวมถึงจุดเด่นของการใช้ทฤษฎีในแบบจำลองว่า สามารถอธิบายตามที่มาได้ แต่แบบจำลองมักมีขนาดใหญ่ และโครงสร้างของแบบจำลองขึ้นอยู่กับความเชื่อของผู้ทำแบบจำลองนั้นว่าจะใช้ตัวแปรใดบ้างในแบบจำลอง ในกรณีที่ไม่ใช้ทฤษฎีจะมีความแม่นยำในการคาดการณ์สูงกว่า และผลการคาดการณ์ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้สูงมาก ดังนั้น ถ้ามีการผิดพลาดในข้อมูลจะส่งผลต่อการคาดการณ์และไม่สามารถอธิบายได้ ในด้านข้อสมมติฐานที่ใช้ก็จะต้องมีความสมเหตุสมผลสูง และเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ ผู้ทำแบบจำลองจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาวะตลาดทุนโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และในบางกรณีอาจมีความจำเป็นต้องทำแบบจำลองย่อยเพื่อนำมาประกอบในแบบจำลองใหญ่ด้วย ในส่วนของผู้ทำแบบจำลองจะต้องไม่ใช้ความเชื่อส่วนตัว มีความเป็นกลางทางการเมือง  และหมั่น update ผลการประมาณการตลอดเวลา  นอกจากนี้ ดร.สมชัย ได้เปิดเผยประมาณการภาวะเศรษฐกิจระยะปานกลางว่า ในปี 2548 การส่งออกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 12.7 การนำเข้าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 22.9 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลประมาณร้อยละ 1.7 ของ GDP การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP)  คาดว่าจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 4.5 อัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 4.1 ส่วนในปี 2549 ดร.สมชัย คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 4.3 ส่วนในปี 2550-2552 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 6.2-6.4  และ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.0 ในปี 2550 ในด้านบัญชีเดินสะพัดจะมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นร้อยละ 2.5 ในปี 2549 ร้อยละ 4.3 ในปี 2550 ร้อยละ 5.9 ในปี 2551 และร้อยละ 6.9 ในปี 2552 ซึ่งจะมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างมาก
          ทั้งนี้ ดร.สมชัย ได้เสนอนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้ 2 ประการ ประการแรกคือการหยุดชดเชยราคาน้ำมันทันที และยกเลิกส่วนลดจากภาษีสรรพสามิต ประการที่สอง คือลดยอดลงทุนในโครงการใหญ่ทั้งหมดลงครึ่งหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากแนวโน้มในปัจจุบัน ถ้ารัฐบาลกระทำการดังกล่าวจะทำให้ Real GDP ขยายตัวลดลง  ส่วนอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงประมาณ 23,000 ล้านบาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf