วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

�ѭ������Ǵ����㹻Ѩ�غѹ

㹻Ѩ�غѹ����Ǵ��������繸����ҵ� ������㹻�������㹷�ͧ�����������١����������ҡ��鹠 㹢�����ǡѹ����Ǵ�����ҧ�Ѳ������ (������������ҧ���)� ��Ѻ������᷹�ҡ������ӴѺ� ��駹�����ͧ�ҡ㹻Ѩ�غѹ�ӹǹ��Ъҡ�����������������ҧ�Ǵ���Ǡ �ա�û�д�ɰ���оѲ��෤����������ӹ�»���ª���������������ҡ��鹠 �Ũҡ��÷��������Ǵ�������¢ͺࢵ���ҧ��ҧ�ҡ��鹠 ����觼š�з��µç��͡�ô�ç������С���դس�Ҿ���Ե���բͧ������ ���ͻ�ͧ�ѹ�ѭ�Ҵѧ����Ƿء���֧��ͧ���˹ѡ�֧�ѭ�������ѹ� ���֡�Ҷ֧�ѡɳТͧ�ѭ����мš�з�����Դ��鹠 ��ʹ����ǧ���Ƿҧ㹡�û�ͧ�ѹ������ѭ��
�š�з�����Դ��鹨ҡ�����෤����շ���յ������Ǵ����
෤����ՠ ��� ��觷�����������ҧ����������ӹ�»���ª�� �ҡ���������ҧ������Ѵ���ѧ� ����觼š�з���ͤ���������ͧ�������駷ҧ�ç��зҧ����� ����з���ҹ����������Ѳ��෤������������ª��㹷ء � ��ҹ� ��㹷ҧ�ç����� �Ũҡ��������ҧ�Ҵʵԡ����觼š�з���ͷ���������������Ǵ���������ǡѹ� �ѧ���
1.� �š�з�����յ������Ǵ�����ҧ�����ҵ�� ������Ѿ�ҡø�����õ��ѹ�繻Ѩ����Ӥѭ㹡�ô�ç���Ե�ͧ����������������ժ��Ե�����Ŷ١����  ����觼š�з��������Ǵ����
(1)� ����٭���·�Ѿ�ҡø����ҵ�� ����
-� ����٭���·�Ѿ�ҡôԹ� �Դ�ѭ�ҡ�þѧ���¢ͧ�Թ� �Թ�������س�Ҿ� �ѹ�繼Ũҡ��������ͧ�ѡáŷҧ����ɵà �����������㹡���ɵ�
-� ����٭���·�Ѿ�ҡù�Ӡ �蹠 ���觵鹹���Ӹ�ö١����  �ѭ�������駠 �ѭ�ҹ��������  ��÷����觻�ԡ�ŷ�������������ҡ� ��л����������ŧ������觹��
-� ����٭���·�Ѿ�ҡû���������ѵ���Ҡ �ѹ���ͧ�Ҩҡ�����෤�������������㹡�÷���»���ѹ�繷����������¢ͧ�ѵ����
-� ����٭���·�Ѿ�ҡ����ҵؠ ��о�ѧ�ҹ�ҡ��������˹�ҷҧ෤�����㹻Ѩ�غѹ� ������ա�ùӷ�Ѿ�ҡ����ҵ��������ҧ���������੾�о�ѧ�ҹ� ��˹��� ��ͧ�٭���§�����ҳ㹡�èѴ�Ҿ�ѧ�ҹ�����繨ӹǹ������
(2)� �٭���¤�����ҡ���·ҧ����Ҿ� ��ѧ�ҡ����ժ��Ե��͡��Դ��鹺��š� �ҡ��������Ѳ�ҡ�������ӹǹ��Ъ�Դ�ҡ������ӴѺ� ��ͨҡ��鹼Ũҡ�������¹�ŧ�ҧ����Ǵ������������ҵԷ��������ժ��Ե��������٭�ѹ������ҧ��� ����ա�äҴ��ó��������ժ��Ե�����ѵ�ҡ���٭�ѹ��� ����������ҧ���  1,000� ���
(3)� �������¹�ŧ�����ҡ���š� �Ԩ�����ͧ���������»�С���ռŵ�͡������¹�ŧ�����ҡ�Ƞ ��觨��觼ŵ���������������ժ��Ե���㹻Ѩ�غѹ����͹Ҥ�� �ѧ���
-� ����Դ�������͹��Ш�� (Greenhouse� Effect)� ���˵��׺���ͧ�Ҩҡ��������ͧ��ҫ����դس���ѵ�㹡�ôٴ�Ѻ������͹�ҡ�ǧ�ҷԵ�� �蹠 ��ҫ����͹����Դ�ҡ���������������ԧ����繫ҡ����ժ��Ե��С�ҫ��෹����Դ�ҡ����������¢ͧ����ժ��Ե� �繵鹠 ��觨��觼š�з���͡�õ�駶�蹰ҹ������ ���ͧ�ҡ�дѺ��ӷ����٧��鹠 �к�����Ȩ�����¹�ŧ�ҡ���лѨ�غѹ
-� ����ҡ����⫹�١����  㹻Ѩ�غѹ���Դ���з���ع�ç��鹡Ѻ�š� ��С��ѧ�ռš�з��������ժ��Ե��ҧ� ������������躹�š��駺������㹷��Ť�͠ ������ѧ����ŵ�������ŵ��ͧ��ҹ��鹺���ҡ��ŧ������š�ҡ�Թ仠 ���ͧ�ҡ����ҡ�Ȫ����⫹�١�����
(4)� �Դ�ѭ���ž������Ǵ����� ���¶֧� �ͧ������������š������軹���͹� ��С������Դ�ѹ���µ������Ǵ����� ��觻�Сͺ�����ž�ɨҡ���觪����� �ž�ɨҡ�����ص��ˡ���� ����ž�ɨҡ�����ɵá���
2.� �š�з��ҡ�����෤����շ���յ������Ǵ�����ҧ�ѧ�� ��͡�ҡ���觼š�з��������Ǵ�����ҧ�����ҵ����Ǡ �ҡ���������ҧ������Ѵ���ѧ����觼š�з��������Ǵ�����ҧ�ѧ������Ѳ������ͧ�������� ��
(1)� �ѭ�ҡ��������Ъҡ����ҧ�Ǵ���Ǡ ���ͧ�Ҩҡ��������˹�ҷҧ෤����շҧ���ᾷ�� �ҡ����ա�û�ͧ�ѹ������� �͹Ҥ�����Դ�ѭ���ԡĵԻ�Ъҡ���
(2)� �٭���¤�����ҡ���·ҧ�Ѳ�����������Իѭ�ҷ�ͧ����Դ�ҡ������ԭ����˹�Ҵ�ҹ��ä��Ҥ�� ���觠 ���������à ������Դ����š����¹�Ѳ��������ҧ�Ǵ���Ǡ ����з��Ǥ������ѧ���������㹡�äѴ���͡��觴� � �ͧ���Իѭ�Ҵ������һ�Ѻ��
(3)� �٭���¤�������秢ͧʶҺѹ�ҧ�ѧ�� ʶҺѹ��ҧ� �ҧ�ѧ��� �蹠 ��ͺ���Ǡ ������ ��ʹҠ ����֡���պ��ҷ����Զժ��Ե�ͧ��Ҫԡ��ѧ������ŧ� �������෤�����������������ҷ�����Դ�ѭ�ҵ�ҧ� ����� �蹠 �ѭ�����ʾ�Դ� �Ҫ�ҡ���� �����ՠ �����ѻ��蹠 �����ҧ�ҹ

Ref : //ebook.nfe.go.th/ebook/html/011/118.htm �13/02/2008

ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดโควิด – 19 ที่ดำเนินมาเป็นปีที่ 3 หลายๆประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการและเริ่มนโยบายการอยู่ร่วมกับโรคชนิดใหม่นี้ให้ได้ ดูแล้วน่าจะเป็นปีที่สถานการณ์กำลังดีขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งเรากลับต้องเจอกับวิกฤตที่ไม่คาดคิด ทั้งสงครามที่รัสเซียเดินหน้าบุกโจมตียูเครนนำไปสู่วิกฤตด้านพลังงานและอาหาร วิกฤตเศรษฐกิจ และอีกหนึ่งในวิกฤตที่ปีนี้โลกของเราต้องเจอนั่นก็คือ สภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนี้หากโลกยังคงนิ่งเฉยกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกลุ่มผู้ก่อมลพิษหลัก

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากในเมือง Petrópolis ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาทางตอนเหนือของริโอ เดอ จาเนโร เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากนี้เกิดจากพายุที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 เมือง Petrópolis เป็นอีกเมืองที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ บราซิลจะต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศและออกนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้ว

และในปีนี้ เรายังคงสรุปสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจเพื่อให้ทุกคนได้อัพเดทประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจากไทยและทั่วโลก

1.วิกฤตสภาพภูมิอากาศก่อภัยพิบัติไปทั่วโลก และการฟอกเขียวไม่ใช่ทางออกแต่สิ่งที่ควรทำคือการลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยโลกกำลังสูงขึ้นทุก ๆ ปี รายงานจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สรุปเอาไว้ว่าในปี 2021 ที่ผ่านมาเป็นปีที่อุณหภูมิโลกสูงที่สุดเป็นครั้งที่ 6 ตั้งแต่ที่องค์การได้บันทึกสถิติเอาไว้ ซึ่งการที่เราไม่สามารถรักษาให้โลกคงอยู่ในอุณหภูมิที่ควรจะเป็น นั่นทำให้เราต้องเจอกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วดังเช่นในปีนี้ เช่น เหตุการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน คลื่นความร้อนที่ทำให้เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดไฟป่าเป็นวงกว้างในหลายเประเทศทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ส่วนในเอเชียก็ไม่น้อยหน้า ต้องเจอทั้งคลื่นความร้อนและฝนตกหนักกว่าปกติอีกด้วย

อุณหภูมิที่สูงขึ้นในอังกฤษทำให้เกิดไฟป่าบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำใน อุทยานแห่งชาติ North York Moors © Steve Morgan / Greenpeace

เหตุการณ์เหล่านี้คือผลกระทบที่ประชาชนทั่วโลกได้รับจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ก่อมลพิษหลัก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล อุตสาหกรรมปศุสัตว์ ที่พยายาม ‘ชะลอและบิดเบือน’ วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นโดยการผลักให้เป็นปัญหาปัจเจกบุคคล พวกเขาประชาสัมพันธ์อย่างหนักให้คนตื่นตัวและเริ่มลดผลกระทบจาก ‘ตัวเอง’ ในขณะเดียวกันก็ออกแคมเปญที่พยายามทำให้ตัวเอง ‘เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เราเรียกว่า ‘การฟอกเขียว’ (Greenwash) 

เอ็มม่า ทอมป์สัน นักแสดงและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กางป้ายผ้าที่มีข้อความว่า ‘การฟอกเขียว’ คือตัวการทำลายสภาพภูมิอากาศ บนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ที่ลอยลำอยู่ ณ เมืองเวนิส อิตาลี เพื่อสนับสนุน ‘ภาคีความร่วมมือพลเมืองยุโรป (the European Citizens’ Initiative (ECI) )’ ในการยุติการสนับสนุนหรือการให้พื้นที่โฆษณาแก่อุตสาหกรรมฟอสซิลในสหภาพยุโรป โดยเปิดให้ประชาชนลงชื่อสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวและเมื่อได้รายชื่อถึง 1 ล้านคนภายใน 1 ปีแล้ว คณะกรรมการสหภาพยุโรปจะต้องนำข้อเสนอนี้ไปพิจารณาต่อ © Greenpeace / Lorenzo Moscia

ปัจจุบัน การฟอกเขียว มีอยู่ทุกหนแห่ง ไม่ว่าคุณจะกำลังเติมน้ำมัน จองตั๋วเครื่องบิน หรือเดินช็อปที่ซูเปอร์มาร์เก็ต คุณได้ตกเป็นเป้าหมายการตลาดฟอกเขียวที่โน้มน้าวว่าทุกอย่างกำลังไปได้ดี ทั้งเที่ยวบินไร้คาร์บอน น้ำมันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาหารที่กำลังกิน ที่ถูกอ้างว่าทั้งหมดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero) แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่!

กลยุทธ์การฟอกเขียวนี่เองที่เอื้อให้การปล่อยมลพิษดำเนินต่อไป และพวกเราที่เป็นประชาชนทั่วไปก็เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ที่บางครั้งอาจถึงชีวิต

ล่าสุดรายงาน IPCC ระบุอย่างชัดเจนว่ามีกลยุทธ์การชะลอและเพิกเฉย ด้วยการใช้สื่อโฆษณาในการสื่อสารและเลือกที่จะ ‘ไม่นำเสนอ’ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการออกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ด้านภาคประชาชนในสหภาพยุโรปรวมตัวกันในนาม ‘ภาคีความร่วมมือพลเมืองยุโรป (the European Citizens’ Initiative (ECI) )’ เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชน 1 ล้านรายชื่อ ภายใน 1 ปี เพื่อเรียกร้องกฎหมายใหม่ที่จะกำหนดห้ามไม่ให้มีการสนับสนุนหรือทำแคมเปญโฆษณาเกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลในสหภาพยุโรป โดยมุ่งหวังที่จะจำกัดการฟอกเขียวธุรกิจฟอสซิลผ่านสื่อโฆษณา

  • กุสตาฟ มาร์ทเนอร์ อดีตผู้ชนะรางวัลคานส์ ไลอ้อนส์ และนักกิจกรรมกรีนพีซพูดถึงอุตสาหกรรมฟอสซิลในสื่อโฆษณา
  • หลุมพรางของการฟอกเขียว (Greenwashing)

ในส่วนของประเทศไทยเอง ภาครัฐได้นำเสนอ “แผนที่นำทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 (Nationally Determinded Contributions-NDCs) และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทยฉบับปรับปรุง (Net Zero)” โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์แผนดังกล่าวเบื้องต้น ทำให้เกิดการตั้งคำถามหลายส่วนว่าเราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและจะเป็นกลางทางคาร์บอนได้จริงหรือไม่?  เรายังเห็นความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการปลดระวางถ่านหินและเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน แต่เป้าหมายที่ชัดเจนคือการแปลงพื้นที่ป่าให้กลายเป็นสินค้าเพื่อซื้อขายคาร์บอน ผ่านแนวคิดการชดเชยคาร์บอน ที่ไม่ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต้นเหตุแต่เป็นการฟอกเขียวในอีกรูปแบบหนึ่ง

การลดการใช้พลังงานจากถ่านหินจากเดิมลงจะช่วยให้เราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณมหาศาล โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าเราจะมีพลังงานไม่พอใช้ เพราะในปัจจุบันนี้ เรามีกำลังผลิตไฟฟ้าล้นระบบเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดมากกว่าร้อยละ 40 และมีโรงไฟฟ้าส่วนเกินจากกำลังผลิตสำรอง 15% มีมากถึง 9,055 เมกะวัตต์ 

ป้ายข้อความ ‘การฟอกเขียว ทำลายสภาพภูมิอากาศ’ ในงาน Thailand Climate Action Conference

แล้วเราทำอะไรได้บ้างเพื่อหยุดการฟอกเขียวนี้ สิ่งที่เราทำได้คือการรวมพลังกันเพื่อบอกให้นักการเมืองและผู้กำหนดนโยบายของประเทศเห็นความสำคัญของวิกฤตสภาพภูมิอากาศต่ออนาคตของเรา สนับสนุนการเคลื่อนไหวของเยาวชน เข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวในชุมชนท้องถิ่นเพื่อเรียกร้องถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง

2.ปัญหาสิ่งแวดล้อม = ปัญหาสิทธิมนุษยชน การรวมตัวเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและปกป้องสิทธิของประชาชนและชุมชน

กล่าวได้ว่าตั้งแต่ต้นปี 2565 สถานการณ์ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยถือว่าน่าจับตามองอย่างมาก (ถ้าใช้ศัพท์วัยรุ่นหน่อยก็คงเป็นคำว่า เดือดมาก!) จากการต่อสู้ของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินที่กินระยะเวลายาวนานมากว่า 10 ปี ในปีนี้กระบี่รอดพ้นจากโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันการขับเคลื่อนคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นที่เดินทางขึ้นมาทวงถามสัญญาจากรัฐบาล โดยเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 รวมถึงขอให้จัดทำการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) แต่กลับถูกสลายการชุมชนและถูกจับกุมดำเนินคดีนอกจากนี้ยังมีการฟ้องเพิกถอนรายงาน EIA โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย โดยผู้ฟ้องคือกลุ่มชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ หมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นคดีสิ่งแวดล้อมคดีแรกในปี 2565 

SEA ความหวังของชาวจะนะและการเรียกร้องให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจหากเกิดอุตสาหกรรมที่พื้นที่อาจได้รับผลกระทบ

การต่อสู้คัดค้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ของเครือข่ายชุมชนจะนะรักษ์ถิ่น ถือเป็นอีกประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน หลังจากเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ชาวบ้านเดินทางกว่า 1,000 กิโลเมตร เพื่อมาพูดคุยและทวงถามสัญญาที่รัฐบาลเคยให้ไว้ว่าจะยุติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมและจับกุมพร้อมแจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงเป็นที่มาของการตั้งคำถามว่า ประชาชนเพียงแค่เดินทางมาเพื่อเจรจาพูดคุยแต่สิ่งที่รัฐกระทำคือการจับกุมประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ?

กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นและเครือข่าย เดินขบวนจากหน้าองค์การสหประชาชาติไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามการแก้ปัญหาโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ก่อนถูกตำรวจขวางและปักหลักค้างคืนสะพานชมัยมรุเชฐ ในวันที่13 ธ.ค 2564 © Chanklang Kanthong / Greenpeace

และหลังจากการรวมตัวเรียกร้องร้องรัฐให้จัดทำการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์หรือ SEA ไปเมื่อปีที่แล้วและได้รับคำมั่นสัญญามา ทว่าปัจจุบันยังไร้วี่แววของหน่วยงานที่จะเข้ามาทำการศึกษา แตกต่างจากการทำข้อมูลการประเมินผลกระทบโดยชุมชนเอง ซึ่งตอนนี้ชุมชนรวบรวมข้อมูลได้มากถึง 70 % แล้วเพื่อย้ำว่าจะนะนั้นมีดีเกินกว่าที่จะกลายเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม

ในขณะเดียวกัน การดำเนินคดีกับเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นทั้ง 37 คนก็เกิดขึ้นแล้ว หลังจากถูกสลายการชุมนุมเมื่อปลายปี 64 ตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้องส่งตัวต่ออัยการ ใน 3 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จราจรฯ, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ และขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน

กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นและเครือข่าย เดินขบวนจากหน้าองค์การสหประชาชาติไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อทวงถามการแก้ปัญหาโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ก่อนถูกตำรวจขวางและปักหลักค้างคืนสะพานชมัยมรุเชฐ ในวันที่13 ธ.ค 2564 © Chanklang Kanthong / Greenpeace

ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) อธิบายว่า SEA คือกระบวนการการมีส่วนร่วม การนำเอามิติด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาวิเคราะห์พิจารณาร่วมเวลาที่เราทำแผนหรือนโยบาย เพราะการนำเอาทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาพิจารณาร่วมกันจะทำให้การดำเนินการไปในทิศทางที่ยั่งยืน 

“พอได้ยินแบบนี้แล้วเราก็คิดไม่ถึงว่ามันจะนำไปสู่การจับกุมดำเนินคดีกับชาวบ้าน”

เสวนา ‘SEA กับการกำหนดอนาคตจะนะ’ ผ่านมุมมองของนักกฎหมาย คุณอมรินทร์ สายจันทร์ จาก มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) คุณณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ ผู้ประสานงานด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซประเทศไทย นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู และมุมมองจากชาวบ้านจะนะ   คุณนูรี โต๊ะกาหวี โดยมี คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย © Songwut Jullanan

อย่างไรก็ตามเครือข่ายยังมองว่า SEA คือความหวังในการต่อสู้คัดค้านครั้งนี้ แต่รัฐเองก็ต้องจริงใจกับประชาชนด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและต้องเปิดให้ทุกภาคส่วนที่จะได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา ส่วนคนนอกพื้นที่และประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้ก็จะต้องคอยจับตาดู และเรียนรู้จากกรณีของพื้นที่จะนะที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาทำข้อมูลชุมชนเพื่อปกป้องบ้านเกิดของตัวเอง ให้กำลังใจสนับสนุนชาวบ้าน เพราะการได้รับกำลังใจจากคนทั่วประเทศนั้นก็เป็นกำลังสำคัญให้กับชาวจะนะเช่นเดียวกัน

ชุมชนกะเบอะดินรวมตัวค้าน ‘โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย’ คัดง้าง EIA ด้วยข้อมูลทรัพยากรชุมชน สู่การฟ้องเพิกถอน EIA เมื่อเมษายนที่ผ่านมา

‘การทำข้อมูลชุมชนแบบที่ต้องช่วยกัน’ คือคำเรียกที่ชุมชนชาวกะเหรี่ยงโปว์ ในหมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้เรียกวิธีการทำข้อมูลชุมชน Community Health Impact Assessment (CHIA) 

ข้อมูลที่ชาวบ้านรวบรวมมา (มีชื่อว่า “จุดแสงสว่างกลางหุบเขา กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์”) จะถูกนำไปใช้ในการฟ้องเพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ (EIA) ของเหมืองถ่านหินอมก๋อย เพราะชุมชนมีความกังวลว่าเหมืองถ่านหินอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ โดยการฟ้องครั้งนี้จะเป็นการท้าทายการทำรายงานอีไอเอซึ่งทำให้บริษัท 99 ธุวานนท์ จำกัด ได้ดำเนินโครงการ สิ่งที่ชาวบ้านอมก๋อยต้องการก็คือ ขอให้มีการเพิกถอนรายงานฉบับนี้และต้องการการจัดทำอีไอเอมีความโปร่งใสและมีการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น ถือเป็นคดีสิ่งแวดล้อมคดีแรกในปี 2565

เพราะคนในชุมชนทราบดีว่าพวกเขามีทรัพยากรอะไรบ้างและอุดมสมบูรณ์มากเพียงใด น้ำในลำห้วยเป็นส่วนสำคัญในการทำการเกษตรของคนในชุมชน ระบบนิเวศโดยรอบในพื้นที่ริมน้ำมีสัตว์น้ำและพืชพันธ์ุผักริมน้ำอยู่ไม่น้อย ยังมีหลายต่อหลายคนที่เป็นเจ้าของ “วัว” ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่สะท้อนการสะสมทุนไว้เป็นก้อน และมีแปลงพืชผลทางการเกษตรที่เป็นรายได้หลักสำคัญของครัวเรือน และจะปฎิเสธไม่ได้ว่า “น้ำ” คือทรัพยากรสำคัญที่เป็นจุดเด่นของอมก๋อย เพราะที่นี่เป็นเมืองแห่งต้นน้ำ ทำให้ป่าอุดมสมบูรณ์  อมก๋อยจึงเป็นเมืองศักยภาพที่มีอากาศดีแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่น 

สิ่งที่ชุมชนตั้งคำถามต่อ EIA ฉบับนี้ก็คือความย้อนแย้งเกี่ยวกับข้อมูลด้านทรัพยากรในรายงานกับทรัพยากรจริงๆอย่างที่อมก๋อยเป็นอยู่ และนี่จึงทำให้ชุมชนพยายามจะสื่อสารกับสาธารณะมาโดยตลอด ว่าบ้านกะเบอะดินเป็นพื้นที่ที่ต้องช่วยกันปกป้อง และโครงการเหมืองไม่ใช่สิ่งที่ชุมชนต้องการ เป็นการตอกย้ำว่า ที่ผ่านมายังมีการแย่งยึดที่ดิน มีความเหลื่อมล้ำ และการทำอีไอเอมีปัญหา ซึ่งไม่สามารถใช้ในการตัดสินใจได้แต่กลายเป็นเครื่องมือทางผ่านให้เกิดโครงการ

4 เมษายน 2565 ชุมชนกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เดินทางไปยังศาลปกครอง จ.เชียงใหม่ เพื่อยื่นฟ้องให้มีการเพิกถอน EIA โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย

‘วันที่กระบี่ไม่มีถ่านหิน’ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินประกาศชัยชนะ ปิดฉากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เดินหน้าสู่เมืองพลังงานหมุนเวียน

ในเดือนมิถุนายน 2565 เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินระบุว่า จากการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ที่ศึกษาโดยมหาวิทยาลัยนิด้า และกระทรวงพลังงานเป็นผู้จัดทำรายงานมีผลการศึกษาออกมาแล้วว่า “กระบี่รอดพ้นจากโครงการถ่านหิน 100 %” (อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากพลังงานหมุนเวียน โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลยังคงถูกเสนอให้เป็นทางเลือกของความมั่นคงทางพลังงานในภาคใต้)

ภาพหมู่เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน

ทางเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ถือโอกาสประกาศชัยชนะต่อสาธารณะว่า ด้วยพลังประชาชนทำให้วันนี้ กระบี่และอันดามันปลอดภัยจากถ่านหินแล้ว และกำลังจะมุ่งหน้าเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100%

เป็นระยะเวลาร่วมสิบปีที่เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินต่อสู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ – เทพา หลังจากรัฐบาลไทยเผยแพร่แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 (แผน PDP 2010 Revision 3) ที่มีแผนจะสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 4,400 เมกะวัตต์ จึงเกิดการรวมตัวกันของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชนท้องถิ่นรวมตัวกันเพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว เนื่องจากกังวลถึงผลกระทบของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อาจเกิดต่อสุขภาพ เกษตรกรรม ท่องเที่ยว และระบบนิเวศในทะเล รวมถึงยังเป็นตัวการที่เร่งให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ชุมชนจากกระบี่ถือธงที่มีข้อความ “ปกป้องกระบี่จากถ่านหิน” และแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของเสียงที่ถุกรัฐเพิกเฉยจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว © Sittichai Jittatad / Greenpeace
  • สรุปการขับเคลื่อนคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ – เทพา

จากแรงผลักดันของประชาชน ทำให้รัฐประกาศใช้ค่ามาตรฐานใหม่ฝุ่น PM2.5

จากการรณรงค์ ‘ขออากาศดีคืนมา (Right to Clean Air)’ ของกรีนพีซ ประเทศไทย จนกระทั่งในปี 2561 เราผลักดันให้กรมควบคุมมลพิษดำเนินการทดสอบระบบการรายงานคุณภาพอากาศตามดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ใหม่ โดยปรับปรุงดัชนีคุณภาพอากาศโดยใช้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในการคำนวณ

และในปีนี้เรายังคงร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนผลักดันกระบวนการทางกฎหมายให้หน่วยงานรัฐเร่งรัดการแก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบการปรับค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศโดยทั่วไป จากค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่ค่ามาตรฐานเดิมไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีที่ค่ามาตรฐานเดิม 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปรับเป็นค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566 และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอันเนื่องมาจาก PM 2.5 ได้ถึงร้อยละ 31หรือ 9,000 คนต่อปี

กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนผลักดันกระบวนการทางกฎหมายให้หน่วยงานรัฐเร่งรัดการแก้ไขปัญหา PM2.5 โดยเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบการปรับค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศโดยทั่วไป จากค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่ค่ามาตรฐานเดิมไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีที่ค่ามาตรฐานเดิม 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปรับเป็นค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566 และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2565

เราเห็นว่า รัฐบาลไทยต้องให้คำมั่นว่าจะปฏิบัติตามค่าแนะนำคุณภาพอากาศฉบับใหม่ของ WHO โดยมียุทธศาสตร์และแผนการดำเนินการที่ระบุเวลาชัดเจน เช่น การควบคุมและกำจัดแหล่งกำเนิด PM2.5 ด้วยการเลิกใช้ถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิล และเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน การแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน นำการออกแบบเมืองยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปธรรม และกำหนดมาตรฐาน PM2.5 ของประเทศให้เป็นไปตามแนวทางของ WHO เพื่อปกป้องชีวิตของประชาชน

จากอ่าวไทยถึงรัฐสภา : เครือข่ายประมงพื้นบ้านเดินเรือยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบังคับใช้กฎหมายควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน

27 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายประมงพื้นบ้านเดินทางจากปัตตานีมาถึงรัฐสภาไทย ยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลให้เริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน และประกาศมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤต

หลายปีที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านจึงรวมตัวกันรณรงค์ให้หยุดซื้อ-จับ-ขาย สัตว์น้ำวัยอ่อน พวกเขาร่วมกันทำบ้านปลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน สร้างข้อตกลงในชุมชนไม่จับสัตว์น้ำบริเวณดังกล่าว สื่อสารวิกฤตครั้งนี้กับสังคมเรื่อยมา ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เครือข่ายประมงพื้นบ้าน 23 จังหวัด รวมตัวเดินเรือจากปัตตานีขึ้นมายังรัฐสภาไทยเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลเริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมสัตว์น้ำวัยอ่อน ในภารกิจที่ชื่อว่า “ทวงคืนน้ำพริกปลาทู” ซึ่งแสดงถึงความพยายามปกป้อง “ปลาทู” ตัวแทนความมั่นคงทางอาหาร วัฒนธรรม และทรัพยากรทางธรรมชาติที่กำลังจะสูญหายไป 

27 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายประมงพื้นบ้าน ยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลให้เริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน และประกาศมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤต

ทางเครือข่ายมองว่าที่ผ่านมา การรณรงค์โดยลำพังปราศจากการเข้ามาควบคุมด้วยเครื่องมือของรัฐไม่ได้ผลเท่าที่ควร การเรียกร้องให้เริ่มบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอาจเป็นทางออกที่จะปกป้องความมั่นคงทางอาหาร (จากทะเลไทย) ได้

3.สงคราม วิกฤตความมั่นคงทางอาหาร วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และระบบอาหารที่ล้มเหลว ข้อมูลจากรายงาน IPCC ย้ำว่าอาหารที่เน้นพืชผักจะช่วยให้เราต่อกรกับภาวะโลกร้อน

สงครามรัสเซีย – ยูเครน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อระบบอาหารของโลกที่พึ่งพาการผลิตเชิงอุตสาหกรรมและพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรัสเซียไม่หยุดบุกโจมตียูเครนก็ทำให้ยูเครนไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้อย่างเต็มที่ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน

ทั้งนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจคือ รัสเซียและยูเครนเป็นหนึ่งในสองประเทศที่ส่งออกธัญพืชมากที่สุดของโลก โดยประเทศ 5 อันดับแรกตามสถิติในปี 2564 คือ รัสเซีย 17.7% สหรัฐอเมริกา 14.1% แคนาดา 14.1% ฝรั่งเศส 10.1% ยูเครน 8%

สำหรับพลเมืองโลก สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นกำลังส่งผลต่ออุปทานธัญพืช ทำให้ราคาอาหารทะยานสูงขึ้น เนื่องจากสองประเทศนี้เป็นฐานการผลิตสำคัญ โดยถือครองสัดส่วนการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 12 ของโลก ในจำนวนนี้มีการส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดจากยูเครนร้อยละ 40  ไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาความหิวโหยของประชาชนและการขาดแคลนอาหาร การที่ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นนั้นยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเดิมรุนแรงอยู่แล้วจากวิกฤต Covid-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ประชากร 1 ใน 10 คน ประสบปัญหามีอาหารไม่พอกิน

ภาพการประท้วงของคนหลายพันคนโดยแสดงสัญลักษณ์ สันติภาพ เพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามรัสเซีย – ยูเครน บริเวณจตุรัส Budapest’s Heroes โดยกรีนพีซ ฮังการี ได้จัดการประท้วงครั้งนี้ขึ้น

ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าของยูเครน มีการซื้อข้าวสาลีจากยูเครนสูงสุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ทำรายได้ให้กับยูเครนมูลค่า 789.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงระหว่างปี 2559-2563 โดยข้าวสาลีนั้นเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญสำหรับอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ที่ไทยนั้นเป็นผู้ผลิตอันดับต้นของโลก ทั้งด้านการส่งออกเนื้อไก่และอาหารสัตว์

เดิมทีแม้ก่อนภาวะสงครามและโรคระบาดโควิด 19 ระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรมก็ไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืนของปัญหาความหิวโหยและสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องวิกฤตโลกร้อน ความแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ระดับอุตสาหกรรมที่ขยายตัวไปเรื่อย ๆ และสารพิษต่าง ๆ รูปแบบการทำเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่ผลิตครั้งละมาก ๆ พึ่งพาปุ๋ยครั้งละมาก ๆ นั้น มาพร้อมกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง

สงครามที่เกิดขึ้นในยูเครนเป็นอีกวิกฤตที่ตอกย้ำว่าระบบอาหารของโลกที่พึ่งพาการผลิตระดับใหญ่ ผ่านการนำเข้า แทนที่จะเป็นการผลิตบนฐานเกษตรกรในประเทศ ประกอบกับการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมากซึ่งมีเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นธาตุอาหารของพืชนั้น เป็นความเปราะบางของระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรม ไม่ยั่งยืน เสี่ยงต่อการล่มสลาย ส่งผลกระทบต่อประเทศที่ยากจนอย่างรุนแรง และไม่สามารถเลี้ยงคนบนโลกได้อย่างแท้จริง นี่คือความไม่มั่นคงทางอาหาร

  • วิกฤตความมั่นคงทางอาหาร เกิดขึ้นแล้วจริงหรือ?
  • แม่แจ่ม ข้าวโพด หมอกควัน และบริษัทอาหารสัตว์รายใหญ่
  • ทำไมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ชวนตั้งคำถามกับ วิทยา ครองทรัพย์ สภาลมหายใจภาคเหนือ

ข้อมูลจากรายงาน IPCC ยืนยันถึงการกินอาหารที่เน้นพืชผักท้องถิ่นแทนระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรมจะช่วยกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

นอกเหนือจากภัยสงครามที่สร้างผลกระทบแล้ว เหตุการณ์ที่น่ากังวลพอๆกันคือระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรมเชื่อมโยงกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศเนื่องจากระบบดังกล่าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาล คณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ออกรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ฉบับที่ 3 ต่อรัฐบาลทั่วโลก โดยในรายงานล่าสุดนี้เป็นข้อสรุปถึงมาตรการที่รัฐบาลควรนำมาใช้เพื่อให้ผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อนเกิดขึ้นน้อยที่สุด ย้ำอีกครั้งว่า เพื่อไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส มนุษย์จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 และมุ่งสู่การปล่อยเหลือศูนย์

กรีนพีซ ประท้วงหน้าฟาร์ม Funen Piggery ในเดนมาร์ค หลังจากประเทศออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหากเดนมาร์คจะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ สิ่งหนึ่งที่เดนมาร์คจะต้องทำคือยุติการทำฟาร์มเนื้อหมูแบบอุตสาหกรรม © Kristian Buus / Greenpeace

นอกจากคำแนะนำให้โลกยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดแล้ว ​​ความคืบหน้าครั้งใหญ่ของรายงานฉบับนี้คือการย้ำถึงความสำคัญของระบบอาหารที่เน้นผักหรือ แพลนท์เบส (plant-based food system) จำเป็นต่อการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ มาตรการที่รายงาน IPCC แนะนำเพื่อเปลี่ยนสู่ระบบอาหารที่เน้นพืชผักและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่นักวิชาการและองค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องมายาวนาน เช่น ลดการผลิตเนื้อสัตว์ระดับอุตสาหกรรม การเก็บภาษีคาร์บอนกับผลิตภัณฑ์อาหาร ปรับปรุงนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ควบคุมการตลาดและการโฆษณาของบริษัทอาหาร ติดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่บอกข้อมูลเรื่องการผลิตและก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

4.วิกฤตมลพิษพลาสติก กับคำถามถึงผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีความพยายามลดมลพิษพลาสติก ไม่ว่าจะเป็น Road map การจัดการขยะพลาสติก การประกาศงดแจกถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้า รวมถึงเชิญชวนให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อย่างการพกถุงผ้า กระบอกน้ำส่วนตัว และแยกขยะพลาสติกประเภทต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิล แต่มลพิษพลาสติกไม่มีท่าทีว่าจะลดลงเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้คนกว่าล้านคนทั่วโลกออกมาเรียกร้องเรื่องนี้ ทำให้รัฐบาลทั่วโลกเริ่มรับรู้ว่าทางเดียวที่จะแก้ปัญหามลพิษพลาสติกได้ก็คือการเปลี่ยนไปสู่ระบบการใช้ซ้ำ 

ผลักดันเชิงนโยบายทั่วโลกด้วย Global Plastics Treaty

ที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปของโมเดลธุรกิจที่ใช้ระบบการใช้ซ้ำและการเติมเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ถึงเวลาของเราแล้วที่จะต้องลงมือขยายระบบดังกล่าวไปสู่อุตสาหกรรมและชุมชนให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันผ่านนโยบายและกฎหมายในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กรีนพีซสากลและภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องพลาสติกได้เข้าร่วมเจรจา ข้อตกลงที่ชื่อว่า สนธิสัญญาพลาสติกระดับโลก “Global Plastics Treaty” ซึ่งเป็นสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่มีความเข้มแข็ง และนี่คือสิ่งที่เราต้องการให้รัฐบาลทั่วโลกและกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ต้องลดรอยเท้าพลาสติกที่พวกเขาผลิตออกมาทันทีและเปลี่ยนไปสู่ระบบใช้ซ้ำและการเติม ข่าวดีอย่างหนึ่งคือ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขนโยบายสำคัญที่เกี่ยวกับการใช้ซ้ำเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง

กิจกรรมเก็บขยะ และตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติก (Brand Audit) ที่คุ้งบางกระเจ้า เพื่อรวบรวมข้อมูลประเภทพลาสติกและแบรนด์สินค้าที่พบในสิ่งแวดล้อมของชุมชนบางกะเจ้า โดยข้อมูลที่รวบรวมได้ดังกล่าวจะถูกนำไปรวมกับข้อมูลที่เก็บได้ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อสรุปผลเป็นข้อมูลรายปีว่าพบเจอขยะพลาสติกประเภทใดและแบรนด์ใดมากที่สุด

เพื่อรับมือกับมลพิษพลาสติกและวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เราต้องการให้กลุ่มรัฐบาลมาร่วมกันกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาระบบพื้นฐานยของการนำกลับมาใช้ซ้ำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เรามีโอกาสครั้งสำคัญที่จะ ‘ปฏิวัติการใช้ซ้ำ’ ( Reuse Revolution ) ผ่านสนธิสัญญาพลาสติกโลกที่ถูกกำหนดขึ้นเป็นกรอบการทำงานสำหรับแต่ละประเทศเพื่อลดการผลิตพลาสติกและการบริโภค รวมทั้งเป็นกรอบในการมุ่งสู่อนาคตที่ไร้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และการออกกฎหมายเหล่านี้จำเป็นต้องนำเอาระบบการใช้ซ้ำและการเติมเข้าไปพิจารณาร่วมกันอีกด้วย

  • แฟมิลี่ มาร์ท ในไต้หวันจัดทำระบบมัดจำแก้วสำเร็จ!
  •  โคคา-โคล่า กับ เป๊ปซี่ ใครจะก้าวมาเป็นผู้นำสร้างระบบใช้ซ้ำและระบบเติม
  • มลพิษพลาสติกในทะเล ใครควรเป็นคนรับผิดชอบ?

แพลตฟอร์ม ‘สืบจากขยะ’ เพื่อรวมตัวประชาชนยอดนักสืบ หาที่มาของปัญหาขยะพลาสติกและผู้รับผิดชอบ

ในปีนี้กรีนพีซ ประเทศไทยเองยังคงรณรงค์การลดใช้พลาสติกจากต้นทางและรณรงค์ให้ผู้ผลิตเข้ามามีส่วนมีความรับผิดชอบต่อมลพิษพลาสติกที่ตนเองก่อขึ้น ซึ่งเราหวังว่าจะทำให้ผู้ก่อมลพิษเหล่านี้ลดการฟอกเขียวที่มักผลักปัญหาขยะพลาสติกให้ผู้บริโภคฝ่ายเดียว ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ชวนทุกคนมาเป็นนักสืบ ‘สืบจากขยะ ใครกันที่ต้องรับผิดชอบ’ มองหาต้นทางของปัญหามลพิษผ่านข้อมูลการเก็บและบันทึกข้อมูลของอาสาสมัครกรีนพีซ และเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทผู้ผลิตแบรนด์ใดทั้งไทยและต่างประเทศที่มีขยะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สำรวจมากที่สุด และควรมีความรับผิดชอบต่อมลพิษที่เกิดขึ้นจากสินค้าของตัวเอง

นอกจากนี้ เรายังเปิดให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลขยะพลาสติกที่พบเจอในสิ่งแวดล้อมได้ เพียงแค่เก็บขยะในชุมชนของตัวเอง หรือตามสถานที่ที่ต้องการสำรวจขยะ แล้วส่งข้อมูลมาเพื่อรวบรวมไว้ในแพลตฟอร์มนี้ได้อีกด้วย

  • แพลต์ฟอร์ม สืบจากขยะ ใครกันที่ต้องรับผิดชอบ

ในอีกด้าน มลพิษพลาสติกเชื่อมโยงกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญ เพราะพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล พลาสติกทำมาจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เวลาขุดขึ้นมาต้องใช้พลังงานเยอะมาก ไปจนถึงการกำจัด พลาสติกมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกขั้นตอน เพราะผลิตจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน กระบวนการจัดการขยะพลาสติกก็ส่งผลกระทบไม่แพ้กัน แถมยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาล และด้วยเหตุผลนี้เองในการเจรจา สนธิสัญญาพลาสติกระดับโลก ก็จะพูดคุยในประเด็นที่ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมฟอสซิลเพื่อลดการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) อีกด้วย

สัญลักษณ์ “Plastic Pollution Starts Here” ถูกวางบริเวณหน้าศูนย์การผลิตพลาสติก SABIC ซึ่งได้รับความร่วมมือจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล ExxonMobil แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงของพลาสติกและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ในปี 2565 นี้ถือเป็นปีที่มีสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นมากมายและทุก ๆ ประเด็นจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งผลกระทบที่หนักหน่วงและกว้างมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อย่างในประเทศไทยเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน เพราะเราเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น รัฐไทยเองไม่ควรละเลยปัญหานี้หรือออกมาตรการในระดับผิวเผิน 

กรีนพีซ ประเทศไทยเรียกร้องให้รัฐสภาไทยประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อออกกฎหมายหรือวางมาตรการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างจริงจังมากกว่าแค่การฟอกเขียวอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก 1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน และชั้นโอโซนถูกท าลาย) 2. มลพิษทางอากาศ 3. หมอกควัน และฝนกรด 4. ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) 5. ปรากฏการณ์เอลนิโญ (El Nino) 6. การละลายของธารน ้าแข็งและภาวะน ้าท่วม 7. การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี

วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันคืออะไร

ปัจจุบันมีปัญหาสิ่งแวดล้อมถึง 3 เรื่องใหญ่ที่เกินขีดความสามารถของโลกจะรับได้อย่างปลอดภัยแล้ว ได้แก่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาจากไนโตรเจน และวิกฤติภูมิอากาศ ทั้งนี้หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว โลกอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางแย่ลงจนกู่ไม่กลับอีก

วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลอย่างไรต่อการดำเนินชีวิต

เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติและวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่า ต้องส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งในแง่ของปัญหาสุขภาพที่แย่ลง, ปัญหาด้านอาหารการกินที่มีสารปนเปื้อน รวมถึงมีปริมาณลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรน้อยลงกว่าเดิม

สาเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคือข้อใด

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดจากการกระทำของคนเราเป็นปัจจัยหลักการที่จำนวนประชากรมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรก็เพิ่มมากตามไปด้วยเช่น ต้องการที่อยู่อาศัย ที่ทำกินสำหรับทำการเกษตร แร่ธาตุ แหล่งพลังงาน น้ำ และอาหารเมื่อทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็ทำให้มีการบุกรุกทำลายสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น เพื่อให้ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf