โครงการ csr เพื่อสังคม 2565

ปัจจุบันเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) กลายเป็นคำที่องค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนนิยมนำมาเป็นหัวข้อที่ใช้สื่อสารกับสาธารณชน ในบริบทของการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนในระยะยาว แต่สิ่งที่หลายองค์กรแตกต่างกันคือ ขีดความสามารถในการแปลงเจตนา (intention) ไปสู่การกระทำ (action)

ทั้งนี้ ภายใต้ปัจจัยดังกล่าว ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (business as usual) ได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องมองหา และพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (business as new normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน

  • ขั้นตอน เช็กราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
  • ราคาประเมินที่ดินฯ รอบใหม่ ทั่วประเทศขยับ 6.21-8.93%
  • โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “นายทหาร-นายตำรวจ” เป็นราชองค์รักษ์ 60 นาย

ด้วยเหตุนี้ สถาบันไทยพัฒน์จึงพัฒนาแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เรียกว่า “ธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม” (social positive business) เพราะเชื่อว่าน่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างผลกระทบต่อสังคมในเชิงบวกไปพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจ ทั้งยังทำการประเมินทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ ประจำปี 2565

ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565 : From “Net Zero” to “Social Positive” เพื่อหน่วยงาน และองค์กรธุรกิจจะได้นำไปปรับใช้ต่อการพัฒนาแนวทางการสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ

“ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ” ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า สถาบันไทยพัฒน์ทำการสำรวจสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย จำนวน 739 กิจการ รวมทั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IF) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ และรัฐวิสาหกิจ อีกจำนวน 87 แห่ง รวมทั้งสิ้น 826 กิจการ

พบว่าประเด็นที่มีการเปิดเผยสูงสุด คือ ความหลากหลายในโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท 80.08%, นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน 48.15% และการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม 19.53% นอกจากนั้นยังพบอีกว่า 90.6% ไม่มีการรายงานเรื่องสภาพภูมิอากาศ

“ดังนั้นถ้าตามผลการประเมินสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ ESG disclosure จาก 826 กิจการ พบว่ามีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.2 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราได้เดินมาแล้ว 2.2 ก้าว และหากต้องการบรรลุเป้าหมายตามกรอบเวลา SDGs ในปี ค.ศ. 2030 เราจะต้องก้าวย่างไปข้างหน้าอีกปีละ 1 ก้าวอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น ตอนนี้ ด้านธรรมาภิบาลมีความก้าวหน้ามากสุดอยู่ที่ 3.88 ก้าว รองลงมาเป็น ด้านสังคม 1.78 ก้าว และด้านสิ่งแวดล้อม 0.94 ก้าว ตามลำดับ”

สำหรับ 6 ทิศทาง CSR ปี 2565 มีแนวโน้มมุ่งสู่ 6 ประเด็น ได้แก่

หนึ่ง ระบบอาหาร และการเกษตรแบบเจริญทดแทน : เน้นทำการเกษตรกรรมที่คืนสภาพของหน้าดิน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ปรับปรุงวัฏจักรของน้ำ สนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ขนส่ง จัดจำหน่าย บริโภค ไปจนถึงการกำจัดของเสีย และการสร้างนวัตกรรมผลิตอาหารที่เป็นผลบวกต่อธรรมชาติ

สอง เทคโนโลยีชีวภาพ : ธุรกิจที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของประเทศไทย อาทิ พันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์ การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม

Advertisement

การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์ เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบจําเป็นที่ใช้ในการทดลอง หรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล รวมทั้งบริการตรวจวิเคราะห์หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ

สาม ทรัพยากรหมุนเวียน และพลังงานทางเลือก : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ

ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (UNFCCC COP26) ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065

สี่ ยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนประกอบ : การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง และร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (zero emission vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030

ห้า สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสังคม : ธุรกิจการเงินแบบหลากหลาย ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ หรือธุรกิจประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่าย และชำระเงินที่ปลอดภัย เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยรวม

อีกทั้งตอนนี้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งที่เป็นศูนย์ซื้อขาย (exchange), นายหน้า (broker), ผู้ค้า (dealer), ที่ปรึกษา (advisor) และผู้จัดการเงินทุน (fund manager) ดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน

หก เมตาแวร์ (Metaware) เพื่อกลุ่มเปราะบาง : นำเทคโนโลยีในโลกเมตาเวิร์สมาพัฒนาอุปกรณ์ หรือเมตาแวร์สำหรับเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง สามารถช่วยจำลองให้บุคคลไปอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้ โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ที่สร้างการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในรูปแบบของภาพ และเสียง จนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ในเมตาเวิร์ส

“วรณัฐ เพียรธรรม” ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวเสริมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัจจัยความท้าทายใหม่ ๆ ปีนี้ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ความผันผวนทางเสถียรภาพทางการเมืองในต่างประเทศ รวมทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ

ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจของไทยนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 มีการเพิ่มขึ้นของหนี้สินภาคครัวเรือน โดยในรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า รายได้ประชาชนลดลงตามการหดตัวของเศรษฐกิจ และการจ้างงาน ส่งผลให้ครัวเรือนต้องนำเงินออมมาใช้

จากข้อมูลการสำรวจเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือน ครึ่งปี 2564 มีตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงกว่า 14.27 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 89.3 ต่อจีดีพี แม้รัฐบาลหรือสถาบันการเงินจะมีการช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ก็ตาม ครัวเรือนจะต้องใช้เวลา 10 ปี กว่าจะชำระหนี้หมด

ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องทบทวนแบบจำลองการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่สามารถนำประเด็นทางสังคมมาพัฒนาเป็นโจทย์ทางธุรกิจ สร้างให้เกิดเป็นโอกาสตลาด และการเติบโตแก่ธุรกิจ พร้อมกับสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคมร่วมด้วย

“ปี 2565 ภาคเอกชนที่ต้องการสื่อสารถึงการสร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคมที่กิจการมีส่วนดำเนินการ และสนับสนุนไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ สามารถนำเกณฑ์ชี้วัดที่เป็นสากล อาทิ GRI 201 (Direct Economic Impacts) และ GRI 203 (Indirect Economic Impacts) มาใช้ในการวัดระดับผลกระทบ และเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบผ่านรายงานความยั่งยืนประจำปีของกิจการ”

“ฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์” กรรมการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า เพื่อช่วยภาคเอกชนในการปรับตัวสู่รูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ สถาบันไทยพัฒน์พัฒนาเครื่องมือติดตาวัดผล และสื่อสารถึงผลกระทบจากการดำเนินงาน ทั้งในส่วนที่เป็นการให้ความช่วยเหลือสังคม (contribution)

การกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจ (distribution) และการขยายเป็นโครงการ หรือส่วนงานประจำ (extension) ตามรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นบวกต่อสังคมอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

ปัจจัย ESG ที่องค์กรควรดำเนินการในยุคนี้ คือการช่วยเติมเต็ม หรือปิดช่องว่างการดำเนินงานด้าน ESG เพื่อตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นับจากปี ค.ศ. 2022 นอกจากนั้น ผู้บริหารต้องตั้งคำถามเหล่านี้เพื่อตรวจสอบองค์กรตนเอง ก่อนจะปรับปรุงพัฒนารูปแบบธุรกิจไปเป็นธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม ดังนี้

กิจการมีงบฯลงทุนประจำปีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงสร้างพื้นฐาน การปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศหรือไม่ ?

กิจการมีข้อพึงปฏิบัติตามนโยบายการไม่เลือกปฏิบัติ หรือนโยบายการป้องกันการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศหรือไม่ ?

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf