สีประจำคณะสหเวชศาสตร์

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประวัติความสืบเนื่องจากการเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ของโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2502 ซึ่งต่อมาได้มีการโอนคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลในส่วนที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาสังกัดแผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514 และมีการพัฒนาขึ้นเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่ง จัดตั้งเป็นคณะสหเวชศาสตร์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ซึ่งนับเป็นคณะลำดับที่ 17 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและถือเป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพต่าง ๆ ทั้งเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และรังสีเทคนิคเป็นต้นปัจจุบัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขาวิชารังสีเทคนิค นอกจากนี้ยังเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งเป็น ระดับปริญญาโท 5 สาขาวิชาและระดับปริญญาเอก 5 สาขาวิชา

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประวัติความสืบเนื่องจากการเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ของโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2502 ซึ่งต่อมาได้มีการโอนคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลในส่วนที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาสังกัดแผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514 และมีการพัฒนาขึ้นเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่ง จัดตั้งเป็นคณะสหเวชศาสตร์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ซึ่งนับเป็นคณะลำดับที่ 17 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและถือเป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพต่าง ๆ ทั้งเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และรังสีเทคนิคเป็นต้น

ปัจจุบัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขาวิชารังสีเทคนิค นอกจากนี้ยังเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งเป็น ระดับปริญญาโท 5 สาขาวิชาและระดับปริญญาเอก 5 สาขาวิชา

เนื้อหา

  • 1ประวัติ
  • 2หน่วยงานและการศึกษา
    • 2.1ภาควิชา
    • 2.2หลักสูตรการศึกษา
    • 2.3การรับบุคคลเข้าศึกษา
  • 3สถานที่
    • 3.1กลุ่มอาคารจุฬาพัฒน์
  • 4การวิจัย
  • 5บุคคล
    • 5.1หัวหน้าภาควิชาและคณบดี
    • 5.2คณาจารย์และนิสิตเก่า
  • 6กิจกรรม
    • 6.1ด้านกีฬา
    • 6.2ด้านวิชาการ
    • 6.3ด้านสังคม
  • 7อ้างอิง
  • 8แหล่งข้อมูลอื่น

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เริ่มร่างหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรในด้านการตรวจทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยใช้หลักสูตรจากสหรัฐอเมริกาเป็นแบบอย่างและได้ตั้ง "โรงเรียนเทคนิคการแพทย์" ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์และให้บริการการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้ป่วย โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในส่วนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้นเริ่มเปิดให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้านจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิกและเคมีคลินิกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เชวง เดชะไกศยะ เป็นผู้รับผิดชอบ และเริ่มจัดการเรียนการสอนทางเทคนิคการแพทย์ในปี พ.ศ. 2502 โดยจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2513 จึงยกเลิกหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ระดับอนุปริญญา 3 ปี เปลี่ยนเป็นหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ระดับปริญญาตรี 4 ปีแทน

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ขอโอนคณะเทคนิคการแพทย์ส่วนที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปรวมกับสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตั้งเป็นแผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร โดยยังไม่เป็นที่ตกลง แต่มีมติที่ประชุมร่วมของทั้งสองมหาวิทยาลัยให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์รับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2513-2514 จำนวน 70 คน โดยให้นักศึกษาจำนวน 30 คนสมัครใจไปศึกษาต่อชั้นปีที่ 3 ในส่วนที่อยู่บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อ พ.ศ. 2514 เกิดการปฏิวัติการปกครองแผ่นดินขึ้น และได้มีประกาศของคณะปฏิวัติให้โอนคณะเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็น "แผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2521 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ แต่งตั้งคณะทำงานขอข้อมูลเรื่องการศึกษาสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ โดยคณะแพทยศาสตร์ได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ แต่ได้รับการบรรจุให้ดำเนินการจัดตั้งเป็น "ภาควิชาเทคนิคการแพทย์" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแทน

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ยาใจ ณ สงขลา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มีคำสั่งลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์อีกครั้ง โดยทางมหาวิทยาลัยเห็นว่า คณะใหม่ควรจะประกอบด้วยหลายสาขาวิชา คณะกรรมการจึงได้พิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติมว่าควรจะมีสาขาวิชาที่เป็นกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอยู่ด้วยกัน เช่น สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชารังสีเทคนิค ดังนั้น จึงพิจารณาเรื่องชื่อของคณะใหม่ โดยได้เรียนเชิญศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ทองจันทร์ หงส์ลดารมย์ มาร่วมพิจารณาด้วย และนำเสนอชื่อคณะหลากหลาย ในที่สุด คณะกรรมการมีมติเห็นชอบว่าสมควรจะเป็นชื่อ "คณะสหเวชศาสตร์" และใช้ชื่อทางภาษาอังกฤษว่า "The Faculty of Allied Health Sciences"

คณะแพทยศาสตร์จึงได้มีประกาศลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จำนวนปีละ 60 คน สาขาวิชากายภาพบำบัดจำนวนปีละ 30 คน สาขาวิชารังสีเทคนิคจำนวนปีละ 30 คน และจะต้องเพิ่มจำนวนการผลิตบัณฑิตขึ้นอีกตามความต้องการของประเทศในด้านการพัฒนาสาธารณสุข

ในการประชุมของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์โดยให้แยกออกมาจากภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ประกอบด้วย 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากายภาพบำบัด ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด และภาควิชารังสีเทคนิค นับเป็นการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย

ในปีการศึกษา 2548 คณะสหเวชศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร โดยได้เปิดรับนิสิตเป็นรุ่นแรก เพื่อต้องการผลิตบัณฑิตในวิชาชีพนักกำหนดอาหาร ในปีเดียวกันนี้เองคณะสหเวชศาสตร์ได้พัฒนาด้านอาคารสถานที่ โดยได้ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่รอบอาคารจุฬาพัฒน์ 1 และพื้นที่ระหว่างอาคารจุฬาพัฒน์ 1 จุฬาพัฒน์ 2 จุฬาพัฒน์ 3 และจุฬาพัฒน์ 4

พ.ศ. 2551 หลังจากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ทำให้คณะสหเวชศาสตร์ได้ปรับปรุงการบริหารหน่วยงานภายในใหม่ โดยในการประชุมของสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 733 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 จึงอนุมัติให้ออกข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการแบ่งหน่วยงานภายในคณะสหเวชศาสตร์ พ.ศ. 2554 โดยได้ปรับปรุงภาควิชาใหม่ ประกอบด้วย 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากายภาพบำบัด ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก และภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

ต่อมาในปีการศึกษา 2558 คณะสหเวชศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค โดยเป็นการปรับปรุงหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรของโรงเรียนรังสีเทคนิค สังกัดภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งได้ปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการผลิตบัณฑิตในวิชาชีพนักรังสีเทคนิค

ภาควิชา

เมื่อเริ่มจัดตั้งคณะมีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากายภาพบำบัด ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก ภาควิชารังสีเทคนิค และภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชากายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ และรังสีเทคนิค อย่างไรก็ตาม ทางคณะยังไม่สามารถเปิดหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต สาขารังสีเทคนิคได้ จนกระทั่ง มีการจัดแบ่งหน่วยงานภายในคณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการยุบ เพิ่ม และเปลี่ยนชื่อภาควิชาบางส่วนเพื่อความมีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของคณะ ปัจจุบัน คณะสหเวชศาสตร์มีการจัดแบ่งภาควิชาออกเป็น 6 ภาควิชา ดังนี้

  • ภาควิชากายภาพบำบัด
  • ภาควิชาเคมีคลินิก
  • ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก
  • ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก
  • ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
  • ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์

หลักสูตรการศึกษา

คณะสหเวชศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ภาควิชา เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีใน 4 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด โภชนาการและการกำหนดอาหาร และรังสีเทคนิค โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ได้ผ่านการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์และสภากายภาพบำบัดเป็นที่เรียบร้อยแล้วทำให้บัณฑิตสามารถขอขึ้นทะเบียนสอบและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวได้

ทั้งนี้ การเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาบัณฑิตใช้เวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะได้ 1 สาขาวิชา (15 หน่วยกิต) ตามความสามารถและความสนใจของนิสิต

ทางคณะยังจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ระดับปริญญาโท 5 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร และได้ร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอก 1 สหสาขาวิชา ได้แก่ สหสาขาชีวเวชศาสตร์ โดยหลักสูตรที่คณะเปิดการเรียนการสอน มีดังนี้

ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
  • สาขาวิชารังสีเทคนิค

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์โลหิตวิทยาคลินิก
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน
    (หลักสูตรนอกเวลาราชการ)
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
    • แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดด้วยวิธีการดัดดึง
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบประสาท
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดในเด็ก
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ
  • สาขาอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ)
    • แขนงวิชาโภชนบำบัดทางการแพทย์
    • แขนงวิชาโภชนชีวเคมี
    • แขนงวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
    • แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดด้วยวิธีการดัดดึง
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบประสาท
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดในเด็ก
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ)
    • แขนงวิชาโภชนบำบัดทางการแพทย์
    • แขนงวิชาโภชนชีวเคมี
    • แขนงวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์
  • สหสาขาชีวเวชศาสตร์

การรับบุคคลเข้าศึกษา

ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตทุกหลักสูตรต้องเป็นผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อผ่านระบบต่าง ๆ ดังนี้

  • การคัดเลือกเข้าศึกษาโดยระบบกลาง

การคัดเลือกเข้าศึกษาโดยระบบกลางหรือระบบแอดมิชชัน เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในคณะสหเวชศาสตร์พิจารณาจาก GPAX 20%, O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%, GAT (General Aptitude Test) 20% และ PAT2 (Professional Aptitude Test) 30%

  • รับตรงแบบปกติ

คณะสหเวชศาสตร์เปิดรับบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง (แบบปกติ) ในสาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 40 คน และสาขาวิชารังสีเทคนิคและฟิกส์ทางการแพทย์ รับประมาณ 20 คน โดยผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะสหเวชศาสตร์จะต้องได้คะแนนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  • รับตรงแบบพิเศษ
    • โครงการจุฬาฯ-ชนบท เป็นโครงการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะรับนักเรียนจากชนบทจากจังหวัดที่มหาวิทยาลัยกำหนดเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโดยจะได้รับทุนอุดหนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะสหเวชศาสตร์จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.75 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00 และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยคณะสหเวชศาสตร์เปิดรับ 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ รับประมาณ 15 คน สาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 6 คน และสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร รับประมาณ 3 คน
    • โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลในเขตแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) โดยรับนักเรียนมุสลิมจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา (เฉพาะเขตอำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ และอำเภอสะบ้าย้อย) โดยผู้ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขของโครงการต่าง ๆ กำหนดไว้ ได้แก่ เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม สำหรับสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์และสาขาวิชากายภาพบำบัดต้องได้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารไม่ต่ำกว่า 2.75 และสาขาวิชากายภาพบำบัดต้องเป็นเพศชายเท่านั้น เป็นต้น โดยจำนวนที่เปิดรับนิสิตเข้าศึกษา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ รับประมาณ 1 คน สาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 2 คน สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร รับประมาณ 1 คน และสาขาวิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์ รับประมาณ 1 คน

สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตและหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตนั้น ทางคณะเปิดรับสมัครผ่านบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี

กลุ่มอาคารจุฬาพัฒน์

คณะสหเวชศาสตร์ได้ใช้อาคารต่าง ๆ เป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการ และภาควิชา ดังนี้
- อาคารจุฬาพัฒน์ 1 เป็นที่ตั้งของที่ทำการคณะสหเวชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์
- อาคารจุฬาพัฒน์ 2 เป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการ และภาควิชากายภาพบำบัด
- อาคารจุฬาพัฒน์ 13 เป็นอาคารเรียนรวมที่ใช้ร่วมกันระหว่างคณะจิตวิทยา คณะสหเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
- อาคารจุฬาพัฒน์ 14 เนื่องจากบริเวณคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ยังขาดห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานระดับชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างอาคารปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งลักษณะเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 16 ชั้น พื้นที่ใช้สอยอาคารรวมประมาณ 43,062 ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนอาคารปฏิบัติการ เป็นการใช้งานร่วมกันของกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา) ส่วนอาคารอเนกประสงค์ประกอบด้วยห้องกิจกรรมนิสิต ร้านอาหาร ที่จอดรถและสนามเทนนิส ให้บริการแก่บุคลากร และนิสิต สำหรับคณะสหเวชศาสตร์ได้เข้าใช้พื้นที่อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ตั้งแต่ชั้นที่ 2-7 และชั้นที่ 14-15 โดย
ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก และภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการภาควิชาเคมีคลินิก และภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก
ชั้นที่ 5-7 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการวิจัย สังกัดงานวิจัย นวัตกรรมและวิรัชกิจ
ชั้นที่ 14 เป็นที่ตั้งของคลินิกกายภาพบำบัด และคลินิกเทคนิคการแพทย์ (เจาะเลือด) สังกัดหน่วยปฏิบัติการบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ชั้นที่ 15 เป็นที่ตั้งของคลินิกเทคนิคการแพทย์ และคลินิกโภชนาการและการกำหนดอาหาร สังกัดหน่วยปฏิบัติการบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ปัจจุบัน คณะสหเวชศาสตร์มีหน่วยวิจัยเพื่อรองรับการพัฒนาของสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้

  • ศูนย์วิจัยลิพิดและไขมัน
  • ศูนย์ความเป็นเลิศโอมิกส์-นาโน เมดิคัล เทคโนโลยี
  • ศูนย์นวัตกรรมเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวินิจฉัยเฉพาะทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
  • ศูนย์พัฒนาและวิจัยทางโลหิตระดับโมเลกุล
  • ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการจัดการปัญหาความเจ็บปวด และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
  • ศูนย์วิจัยพัฒนาสุขภาพเท้า
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารทางการแพทย์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ประจำปี 2554 เพื่อทำให้ทราบถึงความเข้มแข็งและพัฒนาการของการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาวิชาต่าง ๆ ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยและนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางสนับสนุนการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ในส่วนของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ภาควิชากายภาพบำบัดและภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหารได้รับการประเมินในระดับที่ 4 จาก 5 ระดับ ซึ่งนับเป็นระดับที่ดีที่สุดในสาขาวิชากายภาพบำบัดและสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ไม่มีหน่วยงานใดในสาขาวิชาดังกล่าวได้รับการประเมินในระดับ 5)

หัวหน้าภาควิชาและคณบดี

หัวหน้าภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับรายนามวาระการดำรงตำแหน่งอ้างอิง คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับรายนามวาระการดำรงตำแหน่งอ้างอิง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กล้าหาญ ตันติราษฎร์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2527 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531
2. รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2531 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ณ นคร 28 สิงหาคม พ.ศ. 2535 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ)
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน 1 กันยายน พ.ศ. 2543 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนิดา นพพรพันธุ์ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555
4. ศาสตราจารย์ ดร.ประวิตร เจนวรรธนะกุล 1 กันยายน พ.ศ. 2555 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ปาลนี อัมรานนท์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน (ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ)

คณาจารย์และนิสิตเก่า

ดูเพิ่มที่:รายนามบุคคลจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 จนกระทั่ง มีการจัดตั้งคณะสหเวชศาสตร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในสาขากายภาพบำบัดในปี พ.ศ. 2538 และสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารในปี พ.ศ. 2548 โดยมีคณาจารย์และนิสิตเก่าที่สร้างคุณประโยชน์แก่วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และโภชนาการและการกำหนดอาหารหลายท่าน เช่น

  • รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นนักเทคนิคการแพทย์ดีเด่น จากสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประจำปี พ.ศ. 2561, อดีตนายกสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งอาเซียน (ค.ศ. 2006 - ค.ศ. 2008) อดีตนายกสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งเอเชีย (ค.ศ. 2009 - ค.ศ. 2013), อดีตนายกสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (วาระปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558)
  • ศาสตราจารย์ ดร.วรชาติ สิรวราภรณ์ ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาชีววิทยาโมเลกุล จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์, เมธีวิจัย สกว. รุ่น 1
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน อดีตคณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ, ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ นิสิตเก่ายังได้รับรางวัลนักเทคนิคการแพทย์รางวัลนักเทคนิคการแพทย์ดีเด่นจากสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยฯ หลายท่าน เช่น ทนพญ.ศิริรัตน์ ตัณฑเวชกิจ ลิกานนท์สกุล (พ.ศ. 2556) ทนพญ.อาภรณ์ หงษ์ยันตรชัย (พ.ศ. 2557)

นอกจากการเรียนภายในคณะ ยังมีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นิสิตได้เข้าร่วมเพื่อให้นิสิตมีประสบการณ์อื่น ๆ นอกจากการเรียน ซึ่งมีทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นระหว่างมหาวิทยาลัยหรือคณะ และกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในคณะ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่นิสิตได้จัดขึ้นหรือเข้าร่วม ได้แก่

ด้านกีฬา

  • กีฬาเทคนิคการแพทย์-สหเวชศาสตร์สัมพันธ์ เป็นงานกีฬาที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างนิสิตนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์และคณะสหเวชศาสตร์สถาบันต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กีฬา 5 หมอ เป็นงานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์
  • กีฬา 4 เส้า เป็นงานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะจิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์

ด้านวิชาการ

  • งานการนำเสนอผลงานปริญญานิพนธ์นิสิต-นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ เป็นงานประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานในระดับปริญญานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยบูรพาโดยในงานมีทั้งการนำเสนองานวิจัยด้วยลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจา งานประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
  • การประชุมทางวิชาการกายภาพบำบัดรวม 3+1 สถาบัน เดิมเป็นงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นโดยคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต, ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสาขากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นสถาบันในเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครนายก โดยภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมงานประชุมดังกล่าวเป็นครั้งแรกในการจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 3 เมื่อปีการศึกษา 2556 โดยงานดังกล่าวเป็นงานประชุมวิชาการที่มีการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตจากทั้ง 4 สถาบัน

ด้านสังคม

  • ค่ายเพื่อนกาวน์ เป็นค่ายแนะแนวการศึกษาเพื่อแนะนำคณะสหเวชศาสตร์ให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและบุคคลทั่วไปได้รู้จักเกี่ยวกับคณะให้มากขึ้น รวมทั้ง การแนะนำแนวทางการประกอบวิชาชีพที่คณะเปิดสอนหลังจากจบการศึกษาแล้ว
  • ค่ายอาสาพัฒนาชนบท เป็นการออกค่ายเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ของนิสิต
  • ค่ายอนามัยชุมชน เป็นค่ายที่เกิดจากความร่วมมือของคณะในสายวิทยาศาสตร์การแพทย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อเป็นการนำวิชาชีพของตนมาสร้างประโยชน์โดยการจัดให้มีออกหน่วยบริการทางสาธารณสุขประกอบด้วยนิสิตแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด โภชนาการและการกำหนดอาหาร รวมทั้งสัตวแพทย์
  • โครงการสหเวชฯ จุฬาบริการประชาชน เป็นโครงการที่ให้นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ออกฝึกปฏิบัติการภาคสนามให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในด้านเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และโภชนาการและการกำหนดอาหาร ในขอบเขตของสาขาวิชาชีพที่พึงกระทำได้

  1. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  2. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  3. ราชกิจจานุเบกษา, , เล่ม ๘๘, ตอน ๑๔๓ ก ฉบับพิเศษ, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔, หน้า ๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, , เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๙๙ ก ฉบับพิเศษ, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๖๔
  5. , เข้าถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  6. , ข่าวสดรายวัน, ปีที่ 20, ฉบับที่ 7291, วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553, เข้าถึงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  7. คณะสหเวชศาสตร์,
  8. สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
  9. ประวัติโรงเรียนรังสีเทคนิค (หลักสูตรนี้ได้ปิดทำการเรียนการสอนแล้ว)]
  10. , เล่ม ๑๐๘ , ตอน๒๑๗ ก, ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ , หน้า ๑๒๒๔
  11. , เข้าถึงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560
  12. , เข้าถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  13. , เข้าถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  14. , เข้าถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  15. , เข้าถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  16. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  17. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  18. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  19. , เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557
  20. , เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557
  21. , เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557
  22. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  23. , เข้าถึงข้อมูลวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  24. , เข้าถึงข้อมูลวันที่ 19 ตุลาคม 2557
  25. , เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  26. , เข้าถึงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  27. , เข้าถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
  28. , เข้าถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558
  29. [ สำนักบริการระบบกายภาพ: โครงการอาคารปฏิบัติการรวมและอาคารอเนกประสงค์กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  30. , เข้าถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  31. , เข้าถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  32. , เข้าถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AHSCU2
  34. , คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556
  35. , ภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556
  36. , สารบรรณ ศูนย์บริหารกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556
  37. สมชาย วิริยะยุทธกร, 50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย, วารสารเทคนิคการแพทย์, ปีที่ 41 ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2556
  38. , เข้าถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
  39. , เข้าถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
  40. , Department of Biochemistry, Faculty of Science, Mahidol University, เข้าถึงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  41. , สำนักข่าวไทยมุสลิม, เข้าถึงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  42. , ปีที่ 5, ฉบับที่ 4, เข้าถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
  43. , เข้าถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
  44. , ปีที่ 5, ฉบับที่ 9, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  45. , ปีที่ 5, ฉบับที่ 10, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  46. , ปีที่ 6, ฉบับที่ 3, มีนาคม พ.ศ. 2557, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  47. , คมชัดลึก, ประจำวันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2552, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  48. , คมชัดลึก, ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2553, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
  49. , ปีที่ 5, ฉบับที่ 8, เข้าถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf