เช็คประวัติ พนักงาน จากประกันสังคม พัน ทิป

หลังจากผ่านช่วงวิกฤตวิด-19 ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ต้องมีการวางแผนทางการเงินที่มากขึ้นอย่างเท่าตัว เคยรู้กันไหมว่า การที่คุณจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานหรือเสียชีวีตแล้ว ในกรณีเกษียณอายุ คุณมีโอกาสได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมในรูปเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้หลังเกษียณ รายละเอียดการได้รับเงินส่วนนี้จะเป็นอย่างไร เรามาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมกันก่อนครับ มาดูกันว่ามนุษย์เงินเดือน จะได้เงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกันเท่าไร?

กองทุนประกันสังคมคืออะไร เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร

กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ผู้ประกันตน (มนุษย์เงินเดือน) ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ที่มีรายได้ จ่ายเงินสมทบเข้ามาทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ตัวอย่างหลักประกันเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงาน เงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เป็นต้น

คุณมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยหักจากเงินเดือนในอัตรา 5% เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะถูกหัก 500 บาทเข้ากองทุน แต่จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน

แล้วเราจะได้รับเงินคืนจากประกันสังคมเมื่อไหร่ อย่างไร

การได้รับเงินคืนจากประกันสังคมขึ้นอยู่กับจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ อายุ และสถานะความเป็นผู้ประกันตน ซึ่งรูปแบบการได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมมี 3 กรณี ดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1: ผู้ประกันตนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเกิน 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณอายุจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินรายเดือนใช้ตลอดชีวิต โดยจะได้รับเท่าไร สามารถคำนวณตามได้จากคำอธิบายนี้เลย

การคำนวณเงินเกษียณอายุประกันสังคมหรือเงินบำนาญชราภาพจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท จาก 5 ปี เป็น 15 ปี พอดิบพอดี จะได้เงินบำนาญรายเดือนเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ไม่เกิน 15,000 บาท) แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเพิ่มอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน (ถ้ามีเศษเกินจะถูกปัดทิ้ง เช่น ถ้าสะสมมา 16 ปี 2 เดือน ก็คิดแค่ 16 ปี)

อธิบายเรียบร้อยแล้ว สรุปมาให้เป็นตาราง เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

ระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบ (ปี) เงินบำนาญที่ได้รับ
ร้อยละของค่าจ้างเดือนสุดท้าย จำนวนเงิน (บาท/เดือน)
15 20 3,000
20 27.5 4,125
25 35 5,250
30 42.5 6,375
35 50 7,500

กรณีที่ 2: จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน (ผลกำไรจากกองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุน)

กรณีที่ 3: จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนท่านหนึ่ง จ่ายเงินสมทบของตนเอง 450 บาท/เดือน เป็นเวลารวม 11 เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับ 450*11 หรือ 4,590 บาท

กรณี 2 และ 3 สามารถอธิบายด้วยรูปภาพด้านล่าง เพื่อความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเงินเกษียณกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th

ในส่วนของผู้ประกันตน ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อน แล้วจึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งเงินสมทบและการรับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมได้ หากมีข้อสงสัย ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมว่าเงินประกันตนที่ออมได้จะนำไปออมต่อหรือลงทุนในรูปแบบไหนดีที่เหมาะกับคุณ สามารถโทร. 1572 กด 5 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น. เพื่อรับคำแนะนำแบบส่วนบุคคลจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หรือเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์ KRUNGSRI Plan Your Money

ในการวางแผนเกษียณอายุ หนึ่งในเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก คือ การวางแผนบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ซึ่งนับว่าเป็นรายจ่ายที่มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อยามที่เรามีอายุมากขึ้น ระหว่างวัยทำงาน  เรามักไม่ค่อยห่วงหรือเป็นกังวลกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากนัก  เนื่องจากบริษัทที่เราทำงานอยู่มักมีสวัสดิการประกันกลุ่มที่ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล  นอกจากนี้เรายังสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามการส่งเงินเข้าประกันสังคมมาตรา 33  ซึ่งก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในวัยเกษียณอายุที่สุขภาพก็เริ่มเสื่อมถอย ทำให้มีแนวโน้มว่าค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มสูงขึ้น แต่สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่เคยได้รับจากบริษัทที่ทำงานได้หมดไป ทำให้เรายิ่งต้องเตรียมวางแผนสำหรับเรื่องนี้ให้พร้อมมากขึ้น บทความนี้จะมาช่วยสรุปว่า เราจะมีสิทธิรับการรักษาพยาบาลอะไรบ้าง และควรจะเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการของเรา

ประกันสังคม vs. บัตรทอง

สำหรับสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมนั้น แม้ว่าเราจะเกษียณอายุแล้ว แต่เราก็ยังมีทางเลือกที่จะยกเลิกหรือเก็บสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้  โดยมีรายละเอียดดังนี้


       1. หากลาออก หรือสิ้นสุดสมาชิกภาพจากการเกษียณอายุตามประกันสังคมมาตรา 33  เราก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอีกต่อไป ซึ่งรวมไปถึงสิทธิการรักษาพยาบาลด้วย หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาเกิน 15 ปี (180 เดือน) จะได้รับบำนาญชราภาพแทน อย่างไรก็ตามเราสามารถไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองได้


       2. หากเลือกที่จะคงสถานภาพสมาชิกประกันสังคมไว้ ก็จะต้องส่งประกันสังคมมาตรา 39 ต่อภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ลาออกจากงาน โดยในกรณีนี้ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน คิดเป็นเงินปีละ 5,184 บาท (9% บนฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินสมทบที่ 4,800 บาท กำหนดโดยประกันสังคม) ทำให้ผู้ประกันตนจะยังคงสิทธิรักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของประกันสังคม  (ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต)


ดังนั้นผู้ที่เกษียณอายุส่วนใหญ่ มักจะมีคำถามว่า ควรจะลาออกจากสมาชิกภาพประกันสังคมตามมาตรา 33 เพื่อรับเงินบำนาญชราภาพ ส่วนการรักษาพยาบาลก็ไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามบัตรทอง หรือควรจะรักษาสิทธิประโยชน์ตามประกันสังคมด้วยการส่งประกันสังคมมาตรา 39 ต่อ อย่างไรก็ตาม หากเลือกต่อประกันสังคมมาตรา 39 จะได้รับเงินบำนาญชราภาพก็ต่อเมื่อลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน ทำให้เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน ที่จะนำมาคำนวณเงินบำนาญจะเหลือเพียง 4,800 บาท ส่งผลให้เงินบำนาญที่เราจะได้รับลดลง (ในขณะที่เงินเดือนเฉลี่ยในการคำนวณเงินบำนาญของประกันสังคมมาตรา 33 อยู่ที่ 15,000 บาท) เราจึงต้องพิจารณาถึงความต้องการของเราให้ถี่ถ้วนว่าต้องการได้รับบำนาญชราภาพ (จากประกันสังคมมาตรา 33) หรือต้องการสิทธิรักษาพยาบาล (จากประกันสังคมมาตรา 39) มากกว่ากัน


นอกจากนี้สิทธิรักษาพยาบาลตามประกันสังคม และสิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อตอบคำถามดังกล่าวขอเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันระหว่าง 2 ทางเลือก ดังนี้


ตารางเปรียบเทียบสิทธิการรักษาพยาบาลระหว่างประกันสังคมและบัตรทอง (ที่มา www.nhso.go.th  และ www.sso.go.th)

สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม บัตรทอง
1. การใช้บริการ รพ.คู่สัญญาที่เลือกไว้ รพ.ชุมชนที่ร่วมโครงการ และอยู่ในพื้นที่ที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น หากไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถส่งตัวไปยัง รพ.ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเจาะจงได้
2. การเจ็บป่วยเฉพาะโรค* เช่น ไม่คุ้มครองการปลูกถ่ายไขกระดูกหากเป็นมะเร็งชนิดที่ประกันสังคมกำหนดไว้มาก่อน
ไม่คุ้มครองการปลูกถ่ายไตหากเป็นโรคไตเรื้อรังมาก่อน
คุ้มครองไม่ว่าจะเป็นมาก่อนหรือไม่
3. บริการด้านทันตกรรม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาท/ปี ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีวงเงิน
4. การรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่คุ้มครอง ให้บริการรักษาตัวแบบพักฟื้นหลังผู้ป่วยกลับบ้าน และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังสิ้นสุดการรักษา
5. ด้านยาและเวชภัณฑ์ ใช้ได้ทั้งในและนอกบัญชีหลักแห่งชาติ ใช้ยาที่มีอยู่ในบัญชีหลักแห่งชาติ ส่วนยานอกบัญชีหลัก ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ รวมทั้งกรณีที่ผู้ป่วยยอมจ่ายเงินเอง
6. ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าห้องและค่าอาหารสามัญไม่เกิน 700 บาท/วัน ครอบคลุมค่าห้องและค่าอาหารสามัญ (รพ.รัฐบาล)

*ศึกษารายละเอียดสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ www.nhso.go.th  และ www.sso.go.th


จะเห็นว่า สิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสิทธิรักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ดังนั้น การลาออกจากประกันสังคมมาตรา 33 เพื่อรับเงินบำนาญ และเลือกใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรทอง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการส่งต่อประกันสังคมตามมาตรา 39 เนื่องจากได้รับเงินบำนาญชราภาพที่มากกว่า และยังคงสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามบัตรทอง ซึ่งเป็นทางเลือกในการแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในยามเกษียณได้


อย่างไรก็ตาม การหวังพึ่งสวัสดิการจากรัฐเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ใช่การวางแผนเกษียณที่ดีนัก เนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้จะมีผู้สูงอายุจำนวนที่มากขึ้น และกว่าที่เราจะเกษียณอายุ ก็ไม่รู้ว่านโยบายการให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นอย่างไร เงินงบประมาณจะเพียงพอหรือไม่ จะยกเลิกไปเสียก่อนหรือเปล่า ดังนั้นหากเราไม่มีการวางแผนการเงินของเราในเรื่องนี้ ถึงตอนนั้นก็อาจสายเกินไป ดังนั้นเราจึงควรมีการสำรองเงินไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลของตัวเองและครอบครัว ร่วมกับการซื้อประกันสุขภาพไว้เพิ่มเติมด้วย


ในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและข้อควรพิจารณาต่างๆ ดังนี้

  • ประกันสุขภาพอาจจะ “ไม่คุ้มครองโรคที่เราเป็นมาก่อนทำประกัน”
  • ประกันสุขภาพจะไม่เริ่มคุ้มครองทันที เพราะมี “ระยะเวลารอคอย” ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ เราจะไม่สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ ในกรณีเจ็บป่วยทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วันนับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ ในขณะที่บางโรคอาจมีระยะเวลารอคอยนานถึง 90 - 120 วันหรือมากกว่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาให้หายขาดยาก หรือมีค่ารักษาพยาบาลสูง เช่น มะเร็ง เนื้องอก นิ่ว

“เงื่อนไขประกันสุขภาพ” มียกเว้นไม่คุ้มครองโรคบางโรค เช่น การรักษาเกี่ยวข้องกับความสวยความงาม การศัลยกรรมใบหน้าเพื่อความสวยงาม การคลอดลูกและค่ารักษาอื่นๆ เพื่อการมีบุตร การรักษาที่ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด
 

  •  การทำประกันสุขภาพต้องเปิดเผยข้อมูลตามความจริง


จะเห็นว่าเงื่อนไขของการทำประกันสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการไม่คุ้มครองโรคที่เราเป็นมาก่อนทำประกัน หรือ การมีระยะเวลารอคอยต่างๆ ทำให้เราต้องวางแผนการทำประกันสุขภาพให้ดีว่าควรทำตอนไหน  หากจะทำตอนใกล้เกษียณ ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพของเราให้ดี ให้แข็งแรง เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาในการทำประกันสุขภาพ และได้รับความคุ้มครองที่ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีข้อจำกัดทางการเงิน ก็น่าที่จะวางแผนทำประกันสุขภาพไว้แต่เนิ่นๆ ถือว่าเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอน และการซื้อประกันสุขภาพนั้น มีเงินอย่างเดียวอาจซื้อไม่ได้ ต้องมีสุขภาพที่ดีด้วย


บทความโดย   นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf