เจ้าบ้านสามารถคัดชื่อผู้อาศัยออกได้ไหม

คำว่า "เจ้าบ้าน" กับ "เจ้าของบ้าน" เป็นสองคำที่หลายคนสับสน และเข้าใจผิดกันไม่น้อย เมื่อเจ้าบ้านและเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นหรือไม่เป็นคนเดียวกันก็ได้ แล้วเจ้าบ้านคืออะไร มีหน้าที่อะไร ลองเข้ามาอ่านบทความนี้กัน

เจ้าบ้าน หมายความว่าอย่างไร

เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรืออื่นใดก็ตาม โดยเราสามารถรู้ว่าใครเป็นเจ้าบ้านได้จากทะเบียนบ้าน ซึ่งจะมีระบุเจ้าบ้านเอาไว้นั่นเอง และหากเจ้าของบ้านไม่อยู่ ตาย  สูญหาย  สาบสูญ  หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน 

หน้าที่ของเจ้าบ้าน มักจะเกี่ยวข้องกับงานทะเบียนราษฎร เช่น แจ้งคนเกิด แจ้งคนตาย แจ้งคนย้ายเข้า ย้ายออก แจ้งรื้อถอนบ้าน หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

หน้าที่ของเจ้าบ้าน มักจะเกี่ยวข้องกับงานทะเบียนราษฎร เช่น แจ้งคนเกิด แจ้งคนตาย แจ้งคนย้ายเข้า ย้ายออก แจ้งรื้อถอนบ้าน หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเจ้าบ้านไม่อยู่ เช่นไปต่างประเทศ หรือไม่สามารถปฏิบัติได้ ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านอื่น มาทำหน้าที่แทนได้  และเจ้าบ้านอาจจะเป็นหรือไม่เป็นเจ้าของบ้านก็ได้

เจ้าของบ้าน คือใคร

ส่วน เจ้าของบ้าน หรือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ ผู้มีสิทธิ์ครอบครอง โอน ขาย ใช้หรือให้สิทธิ์ใช้ประโยชน์ บ้านและที่ดินแปลงนั้นๆ เราสามารถรู้ว่าใครเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้จาก หนังสือแสดงกรรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ทางราชการออกให้ นั่นคือ โฉนดที่ดิน โดยดูจากชื่อล่าสุดด้านหลังของโฉนด นั่นเอง 

คราวนี้ เราหาคำตอบของคำถามที่หลายคนอาจข้องใจกัน ระหว่างหน้าที่ของ "เจ้าบ้าน" และ "เจ้าของบ้าน" นั่นคือ 

เจ้าบ้านมีสิทธิไล่คนออกจากบ้านไหม 

ตามกฏหมาย หากเจ้าบ้านไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าว  ก็ไม่มีสิทธิที่จะขับไล่ผู้อาศัยอยู่ออกจากบ้าน และหากเจ้าบ้านไม่ชอบใจ ไม่ถูกกับผู้ที่มีชื่ออาศัยในทะเบียนบ้าน แล้วไปขอคัดชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยที่บุคคลนั้นยังอาศัยอยู่ในบ้าน จะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน เป็นคดีอาญาด้วย 

แต่กรณีที่บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านแล้วจริง และไม่สามารถติดต่อบุคคลนั้นได้พ้น 180 วัน เจ้าบ้านมีสิทธิขอคัดชื่อคนออกจากทะเบียนบ้านได้ 

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : จริงหรือไม่ หากถูกออกหมายจับ อาจโดนคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านได้


พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 ได้เพิ่มหลักเกณฑ์การคัดชื่อบุคคลออกจากทะเบียนบ้านขึ้นมาใหม่
หากบุคคลใดถูกออกหมายจับ และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ยังไม่ได้ตัวภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ออกหมายจับ บุคคลดังกล่าวจะต้องถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านไปอยู่ทะเบียนบ้านกลาง

โดยกำหนดหน้าที่ให้พนักงานฝ่ายปกครองตำรวจ ต้องแจ้งไปยังผู้อำนวยการทะเบียนกลางเพื่อให้นายทะเบียนย้ายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากทะเบียนบ้านและเพิ่มรายชื่อไว้ในทะเบียนบ้านกลาง และให้หมายเหตุไว้ว่าเนื่องจากบุคคลนั้นอยู่ระหว่างการติดตามตัวตามหมายจับ

ทะเบียนบ้านกลาง คือ ทะเบียนที่จัดทําขึ้นเพื่อลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ เช่น บุคคลที่ถูกเจ้าบ้านย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน

 ในฐานะเป็นผู้อาศัย ก็ไปทำเรื่องต่อสำนักงานเขตหรืออำเภอว่าเจ้าบ้านเขาไม่อยู่แล้ว และไม่รู้ว่าเขาอยู่ไหน แต่ต้องรอให้พ้น 180 วันนับแต่เขาย้ายออกไปเสียก่อน เจ้าหน้าที่ทะเบียนเขาก็จะดำเนินการเปลี่ยนคนร้องนี้เป็นเจ้าบ้านและปลดเจ้าบ้านเดิมลงไปเป็นผู้อาศัย จากนั้นเจ้าบ้านคนใหม่ก็ดำเนินการย้ายคนเก่าออกไปอยู่ทะเบียนกลาง

กรณีบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านระบุสถานะเป็นเจ้าบ้านและไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ได้ย้ายออกจากบ้านไปแล้ว

สถานะการเป็นเจ้าบ้านของบุคคลดังกล่าว ย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ย้ายออกไปจากบ้าน (ปล่อยสิทธิการครอบครองบ้าน)

ผู้ที่ครอบครองบ้าน เจ้าของ ผู้เช่า ผู้ดูแลบ้าน สามารถทำหน้าที่เจ้าบ้าน แจ้งย้ายบุคคลดังกล่าวออกไปอยู่บ้านที่อาศัยอยู่จริงในปัจจุบัน

หากบุคคลดังกล่าวไปจากท้องที่ไม่ทราบที่อยู่เกินกว่า 180 วัน ผู้ทำหน้าที่เจ้าบ้านย่อมสามารถย้ายบุคคลดังกล่าวเข้าทะเบียนบ้านกลางได้

���ͧ�ҡ��Ҿ�������ͷ��Թ�������ҹ  ���������Ңͧ��ҹ���������� ����ժ�������㹷���¹��ҹ��� �ӹǹ 10 ��  ��͹�����Ңͧ��ҹ��� �������͡�������������ǵ�����ѹ��� 1  ���Ҥ� 2552  ����������Թ���� 180 �ѹ����  �����Դ��͡Ѻ��Ңͧ�������ҷӡ�����ª����͡�ҡ����¹��ҹ���¤��� ����ҵ�������������͡��ҧ����ѧ�ҷ���������������  ���Ҿ��ҡ���仵Դ��͡Ѻ�ӹѡ�ҹ����¹��ɮ�����  �����ӵͺ������仺͡�Ѻ��Ңͧ��ҹ���������ª��������������¹��ҹ���  ��Т�Ҿ��ҡ���͡��������� ����ҵ�ǡ��ѧ���������ª����͡�ա  ����Һ��Ң�Ҿ��Ҩз����ҧ��

การย้ายทะเบียนบ้าน เรื่องยุ่งยากที่ต้องเจอก่อนจะย้านเข้าบ้านหลังหรือคอนโดใหม่ที่เป็นความฝันของใครหลายคน รวมถึงตัวผู้เขียนด้วย การจะเป็นเจ้าของบ้านใหม่สักหลังคุณต้องตั้งใจเลือกตั้งแต่โครงการและพื้นที่ที่คุณศึกษามาเป็นอย่างดี เพื่อให้คุ้มค่ากับมูลค่าของบ้านที่คุณจะต้องจ่าย ทำเลของบ้านดีๆ การออกแบบบ้านดีๆ โปรโมชั่นดีๆ เหมาะกับตัวคุณ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนเป็นเจ้าของบ้านและผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อคุณตัดสินใจทำสัญญาซื้อขาย สัญญาจำนองกับธนาคารตลอดจน โอนบ้านที่สำนักงานที่ดินบ้านก็เป็นของคุณ ในส่วนของสิ่งที่เรากำลังจะบอกกับคุณต่อไปนี้เป็นสิทธิอีกหนึ่งสิทธิของคุณเจ้าของบ้านคนใหม่

          เมื่อคุณซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการขนย้ายสิ่งของเข้าบ้าน คือ การย้ายทะเบียนบ้าน ให้ตรงกับที่อยู่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าบ้านและสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ เมื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านตรงกับที่อยู่ปัจจุบันของคุณ นอกจากนี้การย้ายทะเบียนบ้าน ให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพียงหลังเดียว จะส่งผลให้คุณไม่ต้องถูกตรวจสอบภาษีที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายรายปีที่คำนวณค่าร้อยละจากราคาของบ้านเป็นจำนวนเงินไม่น้อย เห็นข้อดีของการย้ายทะเบียนบ้านแล้ว เรามาศึกษาวิธีการย้ายทะเบียนบ้าน ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร 2551 (ฉบับที่2) และข้อมูลอ้างอิงจาก bora.dopa.go.th การย้ายทะเบียนบ้านซึ่งในยุคปัจจุบันสะดวกขึ้นมากตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร 2534 กล่าวถึงทะเบียนบ้านไว้ว่าทะเบียนประจำบ้านแสดงเลขประจำบ้านและรายการของผู้อยู่ในบ้าน เมื่อคุณซื้อบ้านใหม่หรือการย้ายบ้าน การย้ายทะเบียนบ้านสามารถทำได้หลายวิธี เราจะมาดูกันว่า การย้ายทะเบียนแบบไหนที่เหมาะกับเจ้าของบ้านคนใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของคุณ

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง วิธีการที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ซื้อบ้าน

          การย้ายทะเบียนบ้านที่แสนสะดวกวิธีแรกที่จะพูดถึงเป็นการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ในชื่อของวิธีการนี้บอกอยู่แล้วว่า “ปลายทาง” การแจ้งย้ายปลายทาง หมายถึง ผู้ที่ย้ายที่อยู่สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนแห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ควรเป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเอง เราจะบอกคุณว่ามีวิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางสามารถแจ้งย้ายในคราวเดียวกันได้ ครั้งละไม่เกินจำนวน 3 คน บุคคลที่จะย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ต้องไปแสดงตัวยืนยันต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทะเบียนเท่านั้น เพื่อสอบถามสาเหตุในการย้ายที่อยู่ มีข้อยกเว้นที่ไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้คือกรณีที่คุณมีที่อยู่เดิมและที่อยู่ใหม่ในเขตเดียวกัน เพื่อให้เข้าใจง่ายขอยกตัวอย่างกรณีผู้ย้ายอยู่นอกพื้นที่ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านเดิม 

          เช่น ทะเบียนบ้านเดิมของคุณอยู่ที่จังหวัดน่าน แล้วคุณซื้อบ้านใหม่หรือมีบ้านที่กรุงเทพมหานคร แต่ถ้าหากว่า บ้านหลังเดิมและบ้านหลังใหม่อยู่ในเขตเดียวกันเช่น บ้านหลังเดิมของคุณอยู่ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานครและคุณซื้อบ้านใหม่ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร คุณจะไม่สามารถแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ คุณต้องให้เจ้าบ้านของทะเบียนบ้านเดิมแจ้งย้ายออกและและเจ้าบ้านหลังใหม่ออกหนังสือยินยอมให้ย้ายเข้า โดยคุณต้องใช้ทั้งทะเบียนบ้านเดิมที่ย้ายออกและทะเบียนบ้านใหม่ที่ย้ายเข้าถ่ายสำเนาแสดงต่อนายทะเบียน การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางสะดวกมาก ใช้เวลาในที่ทำการเขตหรือเทศบาลพื้นที่ตามทะเบียนบ้านเพียง 10 นาที เพื่อไม่ให้การเดินทางไปติดต่อธุรกรรมเสียเที่ยว 

          สิ่งสำคัญคือเอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่คุณต้องเตรียมมีดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านหลังที่จะย้ายเข้า
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย 
  3. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายปลายทางเข้าอยู่ใหม่ ในกรณีที่เราไม่ใช่เจ้าบ้านเอง จำเป็นต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  4. หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
  5. หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ ในกรณีนี้ขอแนะนำเพื่อความสะดวกว่าผู้รับมอบควรเป็นญาติหรือคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

          เมื่อคุณเดินทางไปถึงที่ทำการเขตหรือเทศบาล ให้แจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ว่าต้องการมาย้ายทะเบียนบ้าน เราจะได้รับบัตรคิวเหมือนกับการทำธุรกรรมในสถานที่ต่างๆ จากนั้นนั่งรอเรียกตามคิว มีค่าธรรมในการย้ายทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ ประมาณ 120 บาท อ้างอิงตามค่าธรรมเนียมดำเนินการสำนักงานเขต เท่านี้ก็สิ้นสุดขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านแบบการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ในกรณีที่ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางไม่มีเจ้าบ้าน ผู้ย้ายจะเป็นเจ้าบ้านโดยปริยาย

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางในกรณีที่บ้านหลังใหม่ แบบไม่มีเจ้าบ้าน

          ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่แต่เพียงผู้เดียวไม่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมการย้ายทะเบียนบ้านนอกจากการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ถือว่าเป็นการย้ายทะเบียนบ้านแบบไม่มีเจ้าบ้าน ตามพระราชบัญญัติทะเบียนบ้านจะมีเจ้าบ้านได้เพียง 1 คน เจ้าของบ้านหรือผู้ถือครองกรรมสิทธิ์สามารถทำหน้าที่แทนเจ้าบ้านได้เลย

การย้ายทะเบียนบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้าย + เจ้าของบ้าน

2. ทะเบียนบ้านหลังที่จะย้ายเข้า (แบบนี้เป็นการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง)

3. เอกสารสิทธิ์ อาทิ โฉนดที่ดิน ที่มีชื่อเจ้าของระบุชัดเจน ไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียนว่าเราเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท หลังจากย้ายทะเบียนบ้านสำเร็จก็ทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท

          ถ้าหากว่าบ้านที่จะย้ายชื่อเข้ามีเจ้าของบ้านเป็นคนอื่น หรือ เราเป็นเจ้าของบ้านถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่นการย้ายทะเบียนบ้านก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแค่เพิ่มสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้านหรือถือกรรมสิทธิ์ร่วม และหนังสือยินยอม เช่นคุณย้ายทะเบียนปลายทางไม่มีเจ้าบ้าน แล้วบ้านเป็นของป้า คุณก็เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือยินยอมของป้าไปที่ทำการเขตหรืออำเภอเท่านี้คุณก็ดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางไม่มีเจ้าบ้านได้สำเร็จ

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้าน , การเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน ในทะเบียนบ้าน , การขอเป็นเจ้าบ้าน ในทะเบียนบ้าน

          ในกรณีที่คุณซื้อบ้านแล้ว หรือคุณโชคดีมากมีคนซื้อบ้านให้คุณ เมื่อคุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก มีดังนี้

 1. สัญญาซื้อขายบ้านหรือโฉนดที่ดิน

2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

3. ทะเบียนบ้านเล่มจริง

4. ค่าธรรมเนียม 20 บาท

5. สำเนาทะเบียนบ้านเดิมพร้อมสำเนา หรือจะแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เตรียมสำเนาไว้ 2 ฉบับ

           ถ้าหากว่าบ้านที่คุณต้องการย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านเป็นบ้านที่คุณซื้อใหม่ ตามขั้นตอนการซื้อบ้านใหม่ พอโอนกรรมสิทธิ์กันเรียบร้อย ทางโครงการก็จะส่งมอบทะเบียนบ้านเปล่าเล่มสีน้ำเงินเข้มหรือท.ร.6 ใหม่เอี่ยมให้คุณ 1 เล่ม หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วก็โฉนด หากคุณไม่ได้ซื้อบ้านเงินสด คุณจะได้รับสัญญาจำนองเป็นประกันมาแทนที่โฉนดตัวจริงเพื่อแสดงกรรมสิทธ์ เพียงคุณนำเอาเอกสารทั้งหมดไปที่ทำการเขตหรือเทศบาล พร้อมเอกสาร ดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 2 ฉบับ เผื่อการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านด้วย และทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่

2. ทะเบียนบ้านเดิมพร้อมสำเนา หรือจะแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เตรียมสำเนาไว้ 2 ฉบับ

3. สัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมสำเนา

4. สัญญาซื้อขาย พร้อมสำเนา

5. สัญญาจำนอง พร้อมสำเนา

          ทั้งนี้เอกสารต่างๆที่ถ่ายสำเนา คุณต้องไม่ลืมว่าคุณจะต้องเซ็นชื่อรับรองให้ครบทุกรายการเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการดำเนินเรื่องย้ายทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อำเภอและสำนักงานเขตก็เหมือนกัน

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน แจ้งช้ามีค่าปรับ

          ในกรณีที่เราซื้อบ้านเองเมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าหรือการย้ายทะเบียนบ้านลูกบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ลูกบ้านย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของคุณ หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 พันบาท ในการดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านมีเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

          เพื่อไม่ให้คุณสับสนเราจะแบ่งกรณีการย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน ตามสถานที่เดิมดังนี้

1. เมื่อบ้านของคุณอยู่เขต/อำเภอเดียวกัน ให้คุณเอาเล่มทะเบียนบ้านของที่บ้านเราอยู่ปัจจุบัน กับเล่มทะเบียนบ้านของบ้านใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนของตัวเอง ถ้าใครจะย้ายด้วยก็เอาไปด้วยกันถือบัตรประจำตัวประชาชนของตัวเองไปด้วยเลย ถ้าอยากเป็นเจ้าบ้านด้วยก็เอาสัญญาซื้อขายไปด้วย ถ่ายสำเนาใดๆให้เซ็นชื่อกำกับให้เรียบร้อย

2. เมื่อบ้านของคุณในกรณีอยู่คนละเขต คนละอำเภอ คนละจังหวัด ให้คุณนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวเอง ทะเบียนบ้านเล่มใหม่ สัญญาซื้อขายบ้าน แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าขอย้ายปลายทางมาเข้าบ้านใหม่ ขอเป็นเจ้าบ้านด้วย หากมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมคุณต้องให้เขียนหนังสือแสดงความยินยอมให้เรียบร้อย

          ถ้ายังไม่ได้เล่มทะเบียน ก็เอาเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของหรือแสดงกรรมสิทธิ์ เช่นโฉนด สัญญาซื้อขาย ไปที่ทำการเขตหรืออำเภอด้วยเพื่อคัดทะเบียนบ้านเล่มใหม่เพื่อจะย้ายเข้า

แต่ถ้าหากในกรณีที่สัญญาซื้อขาย โฉนด เป็นชื่อคนอื่น ให้เจ้าของหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำหนังสือมอบอำนาจเนื้อความว่ายินยอมให้คุณย้ายเข้าและเป็นเจ้าบ้าน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปด้วย ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนก็ให้เจ้าของกรรมสิทธิ์เซ็นชื่อรับรองสำเนาด้วย ซึ่งขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อำเภอและสำนักงานเขตก็เหมือนกัน

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้าน

          เมื่อคุณย้ายจากบ้านเดิมไปบ้านหลังใหม่ต้องดำเนินการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้านมีหลักเกณฑ์ว่า เมื่อมีผู้ย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้า อยู่ในบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1.000 บาท เอกสารที่ใช้มีดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

 ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อเทศบาลและสำนักงานเขต

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

ย้ายทะเบียนบ้านเขตเดียวกัน กับ ย้ายทะเบียนบ้านไปต่างเขต มีวิธีที่ต่างกันอย่างไร?

          ถ้าหากว่าคุณจะย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน แล้วบ้านที่คุณซื้อใหม่อยู่ในเขตหรืออำเภอเดียวกัน คุณจะไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ คุณต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกก่อนแล้วจึงย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านหรือย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้าน ในส่วนของเอกสารที่ใช้ในการติดต่อ เมื่อผู้เป็นลูกบ้าน อยู่ในบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องการย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านทะเบียนบ้านหลังใหม่ ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายทะเบียนบ้านออกภายใน 15 วันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หลักฐาน ที่เจ้าบ้านต้องใช้แสดงต่อนายทะเบียนที่เทศบาลหรือสำนักงานเขตมีดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)

4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)

5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้าน ณ ที่เทศบาล หรือ สำนักงานเขต

1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้ง ย้ายออกให้ได้ ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้)

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และจำหน่าย รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด

3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป

ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูกเกิดใหม่ หรือเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

          ในกรณีที่คุณย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านของลูกเกิดใหม่ หรือเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ พ่อแม่ต้องเป็นผู้ดำเนินการย้ายทะเบียนบ้าน ถ้าหากเป็นลูกนอกสมรส สิทธิการดำเนินการจะอยู่ที่แม่ การย้ายทะเบียนบ้านเป็นลูกบ้านเจ้าบ้านจะต้องเป็นผู้ยินยอมทุกกรณี ขั้นตอนการติดต่อย้ายทะเบียนบ้านที่อำเภอและสำนักงานเขตก็เหมือนกัน

1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืน

          ทางเราช่วยคุณผู้ซื้อบ้านศึกษาพรบ.ทะเบียนราษร กฎหมาย และ แชร์ประสบการณ์ การย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านของบ้านหลังใหม่ บทความนี้เป็นการบอกเล่าเก้าสิบเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้าน ซึ่งผู้เขียนเองก็ซื้อบ้านใหม่ร่วมกับคุณแม่และย้ายทะเบียนบ้านแบบปลายทาง เป็นเรื่องที่ไม่ได้ยุ่งยากและใช้เวลาไม่นาน ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์ของ กรมการปกครอง พรบ.ทะเบียนราษฎร 2534 และพรบ.ทะเบียนราษฎร 2551( ฉบับที่2) ย้ายทะเบียนบ้านเรื่องรักษาสิทธิที่เราได้รู้ 

Q&A การย้ายทะเบียนบ้านของคนซื้อบ้านใหม่

1. การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เจ้าของบ้านใหม่แบบเราต้องพกโฉนดไปที่ทำการเขตหรือ

อำเภอหรือไม่ 

ตอบ เมื่อโอนบ้านเสร็จแล้ว นำโฉนดไปแสดงสิทธิ์ในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต่อนายทะเบียนด้วย 

2. คุณเอมม่าซื้อบ้านหลังใหม่ข้างๆบ้านหลังเดิมที่คุณแม่เป็นเจ้าบ้าน คุณเอมม่าสามารถย้าย

ทะเบียนบ้านปลายทางได้หรือไม่ 

ตอบ ไม่สามารถทำได้ คุณเอมม่าต้องให้คุณแม่แจ้งย้ายทะเบียนบ้านออกแล้ว คุณเอมม่าแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านที่ซื้อใหม่ 

3. ถ้าคุณเอมม่าย้ายทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้านแล้ว คุณเอมม่าจะย้ายทะเบียนบ้านลูกสาววัย4ขวบแบบย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นลูกบ้านได้หรือไม้ 

ตอบ ได้ เพราะว่าคุณเอมม่าทำการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นลูกบ้านให้ลูกได้ เพราะเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ 

4. ถ้าสามีคุณเอมม่าที่มีทะเบียนบ้านเดิมอยู่ต่างจังหวัดจะย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้านในทะเบียนบ้านของคุณเอมม่าแบบย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้หรือไม่ 

ตอบ สามีคุณเอมม่าสามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ และต้องมีหนังสือยินยอมจากคุณเอมม่าซึ่งเป็นเจ้าบ้าน ถ้าหากว่าไม่อยากเสียเวลา คุณลูก และสามี ของคุณเอมม่า สามารถย้ายทะเบียนบ้านได้ในคราวเดียวกัน

5. ถ้าคุณแดนซื้อบ้ายใหม่แบบกู้ร่วมกับแฟนสาวคุณแดนสามารถย้ายทะเบียนบ้าน

ปลายทางเข้าทะเบียนบ้านใหม่เพื่อย้ายทะเบียนบ้านมาเป็นเจ้าบ้านได้เลยหรือไม่ 

ตอบ ไม่ได้ คุณแดนต้องแสดงเอกสารกรรมสิทธิ์ และ หนังสือยินยอมจากแฟนสาวเพื่อย้ายทะเบียนบ้านมาเป็นเจ้าบ้าน 

 6. ในกรณีที่แม่ซื้อบ้านใหม่ และแม่มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน คุณจะย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง แม่สามารถทำแทนคุณได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้ แม่ต้องเตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคุณ

7. ถ้าคุณย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านไม่แจ้งย้าย เจ้าบ้านมีความผิดหรือไม่ มีค่าเสียหายเท่าไหร่

ตอบ ถ้าคุณย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านไม่แจ้งย้าย เจ้าบ้านมีความผิด และจะต้องเสียค่าปรับจำนวน 1,000 บาท ณ ที่ทำการเขต หรืออำเภอที่เป็นพื้นที่ก่อนย้ายทะเบียนบ้าน

8. ถ้าคุณย้ายออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านต้องแจ้งย้ายภายในกี่วัน

ตอบ ถ้าลูกบ้านในทะเบียนบ้านย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิมแล้วเจ้าบ้านต้องแจ้งย้ายภายใน 15 วัน

9. เมื่อย้ายทะเบียนบ้านแล้ว คุณต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ คุณจะต้องเตรียมเงินกี่บาท

ตอบ ต้องเตรียมเงิน 120 บาท ค่าธรรมเนียมย้ายทะเบียนบ้าน 20บาท และค่าธรรมเนียมทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ 100 บาท

10. ในกรณีที่คุณพ่อเป็นผู้รับผิดชอบเลี้ยงลูกนอกสมรสยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องการย้ายทะเบียนบ้านลูกเมื่อซื้อบ้านใหม่ สามารถทำได้อย่างไร

ตอบ ติดต่อให้แม่ของเด็กและเจ้าบ้านทะเบียนบ้านเดิมเป็นผู้ย้ายทะเบียนบ้าน หากไม่สามารถตกลงกันได้ต้องฟ้องร้องต่อศาลและให้ศาลเป็นผู้สั่ง

11. รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) นายทะเบียนจะดำเนินการอย่างไร

ตอบ เมื่อทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านเสร็จ นายทะเบียนจะประทับตราโดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด

12. ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง สามารถทำได้ทุกสำนักงานเขต ทุกเทศบาลหรือไม่

ตอบ สามารถย้ายทะเบียนบ้านปลายได้ ทุกสำนักงานเขต ทุกเทศบาล เพราะกรมการปกครองใช้ระบบออนไลน์ เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นเรื่องง่ายสำหรับเจ้าของบ้านใหม่ และหากทำตามขั้นตอนการย้ายบ้านให้ถูกต้อง เราสามารถรักษาสิทธิของตนเองได้มากมาย เช่น การครอบครองกรรมสิทธิ์ต่อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะเจ้าบ้าน ความสะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ความสะดวกในการติดตามข้อมูลข่าวสารเพราะที่อยู่เป็นปัจจุบันและตรงกับทะเบียนราษฎร คุณไม่ต้องเสียภาษีที่อยู่อาศัยเมื่อคุณย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาเป็นเจ้าบ้าน อีกทั้งยังได้เป็นทั้งเจ้าของบ้านและเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอย่างสุขใจ เรายังมีบทความสารพันปัญหาเกี่ยวกับคอนโดและบ้าน คอยอัพเดทให้เพื่อน ๆ ได้ติดตามอยู่เสมอ อย่าลืมติดตามข่าวสารอสังหาฯ คอนโด และไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ กับเรา CondoNewb นะคะ  

เจ้าบ้านสามารถคัดคนออกได้ไหม

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแค่ แจ้งเกิด ตาย ย้าย ส่วนเข้าและออก ต้องยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย ไม่สามารถเอาออกได้ตามอำเภอใจ

คัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง

ย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านหลังเดิม บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

เจ้าบ้านทำอะไรได้บ้าง

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้ แจ้งคนเกิดในบ้าน แจ้งคนตายในบ้าน แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก

เปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านได้ไหม

๑. กรณีเจ้าบ้านมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพการเป็นเจ้าบ้าน เพื่อดำเนินการแจ้งตามกฎหมาย สามารถทำหนังสือยินยอมให้บุคคลอื่น เป็นเจ้าบ้านได้ โดยแสดงเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อนายทะเบียน - เอกสารแสดงการมีสิทธิครอบครองบ้าน ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv Terjemahan แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip lmyour แปลภาษา ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาอาหรับ-ไทย Bahasa Thailand app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม พจนานุกรมศัพท์ทหาร ยศทหารบก ภาษาอังกฤษ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีทั้งหมดกี่ภาค มัจจุราชไร้เงา 1 mono29 มัจจุราชไร้เงา 1 pantip มัจจุราชไร้เงา 3 pantip รายชื่อวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์ 2563 ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาอิสลามเป็นไทย ่้แปลภาษา Google Drive กรมการปกครอง กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ที่อยู่สมุทรปราการ ภาษาอังกฤษ ประปาไม่ไหล วันนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหง เปิดรับสมัคร 2566 มัจจุราชไร้เงา 2 facebook ราคาปาเจโร่มือสอง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น หนังสือราชการ ส ถ หยน ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ อาจารย์ ตจต Google Form Info arifureta shokugyou de sekai saikyou manga online legendary moonlight sculptor www.niets.or.th ประกาศผลสอบ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf